ทาง ดร. ธนพล กล่าวถึงบริษัท GAC Aion ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ GAC Group หรือ Guangzhou Automobile Group ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าติดอันดับ 1 ใน 3 ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของจีน
การที่ทาง GAC Aion มีความสนใจจัดตั้งโรงงานที่ไทยอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เติบโตอย่างก้าวกระโดดที่จะสร้างโอกาสในการเป็น Hub EV ของไทยในอาเซียนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และนอกเหนือจากอุตสาหกรรมกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ การผลิตแบตเตอรี่ เพราะว่าทาง
GAC Aion มีเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ของตัวเอง และยังมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องของซอฟต์แวร์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)
ในปัจจุบันทาง GAC Aion มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าด้วยระบบอัตโนมัติ มีการผลิตเทคโนโลยี Robot อุตสาหกรรมการบิน และการคมนาคมอื่น ๆ ซึ่งครอบคลุมทั้ง Ecosystem
บริษัท GAC Aion มีความต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งโรงงาน จึงมีการมองหาโดยเฉพาะพิ้นที่ในโซนนิคมอุตสาหกรรมที่มีเนื้อที่ประมาณ 500 – 1,000 ไร่ เพื่อให้ครอบคลุมกับไลน์การผลิตและระบบขนส่งโลจิสติกส์ทั้งหมด
ซึ่งทาง GAC Aion กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับทางนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก (EEC) และ BOI (Board of Investment) หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ทางนายเซียว หยง ผู้ซึ่งเป็นรองประธาน บริษัท GAC Aion มีความตั้งใจที่จะมาลงทุนที่ไทยแบบ 100 % ลงทุนเป็นเม็ดเงินเท่ากับ 1,300 ล้านหยวน หรือตีเป็นเงินไทยเท่ากับ 6,400 ล้านบาท
แต่ขอดูเงื่อนไขเพิ่มเติม และต้องการมองหาผู้ร่วมลงทุนรายอื่น ๆ เพื่อสร้างความมั่นคง ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้จำนวน 100,000 คันต่อปี ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งใจ
มาทำความรู้จักกับ GAC Aion
GAC Group หรือ กว่างโจว ออโตโมบิลกรุ๊ป ที่ตั้งในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง เป็นผู้ผลิตรถยนต์ในเมือง
กว่างโจวทั้งหมด ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1954 นับจนถึงปี 2023 เท่ากับ 69 ปี และเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 5 ของประเทศจีน โดยมีการร่วมลงทุนกับทางรัฐในเมืองกว่างโจว และมีมูลค่าตลาดมากถึง 500,000 ล้านบาท
ประกอบกับมีการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ คือ Toyota, Honda, Mitsubishi Motors และFiat Chrysler Automobiles
หรือบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการผลิตรถยนต์ในประเทศจีน สามารถจ้างบริษัท GAC ในการผลิตรถยนต์ออกมา
รวมทั้งมีการประสานเทคโนโลยีของบริษัทพันธมิตรอย่าง Toyota Honda นำมารวมกับรถของทาง GAC
ในปัจจุบันทาง GAC ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ ทั้งยานยนต์ไฮบริด ยานยนต์ไฟฟ้า
ที่เป็นพลังงานสะอาด
และทาง GAC มีการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง คือ Trumpchi ที่เป็นรถยนต์สันดาปไฮบริด
ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า คือ Hycan ที่มีการร่วมทุนกับบริษัท NEO
จนสุดท้ายมาเป็นบริษัทแบรนด์ชื่อ GAC Aion ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ของ GAC โดยมีการเปิดตัว
เมื่อปี 2017 ถ้านับปี 2023 จะเท่ากับ 6 ปี ที่พัฒนากลุ่มรถยนต์พลังงานใหม่มีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองชื่อ GEP หรือ GAC Electric Platform เป็นแพลตฟอร์มยุค 2.0
รถของ GAC Aion
AION S
เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 กับแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า GEP 1.0 หรือ GAP Electronic Platform
รถขนาด C Segment ซึ่งมีขนาดรถเท่ากับ Toyota Corolla Altis
ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
มอเตอร์ PMSM ขนาด 135 Kw ให้แรงม้าสูงสุด 181 แรงม้า
แบตเตอรี่ CATL Lithium Ion
ขนาดแบตเตอรี่เท่ากับ 58.8 Kwh สามารถวิ่งได้ 510 กิโลเมตร/ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC
AION LX
เป็นรถที่ได้รับความนิยม เปิดตัวในปี 2019 กับแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า GEP 1.0 ซึ่ง AION LX เป็นแพลตฟอร์มที่นำไปต่อยอดใช้ทำรถยนต์ไฟฟ้าในเครือพันธมิตรต่างชาติ อาทิ Toyota bZ4X และSubaru Solterra เป็นต้น
รถ SUV Crossover
ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
มอเตอร์ PMSM สามารถเลือกขนาดตั้งแต่ 135 – 300 Kw ให้แรงม้าสูงสุด 181 – 402 แรงม้า
แบตเตอรี่ CATL Lithium Ion
ขนาดแบตเตอรี่ใส้ได้สูงสุด 93 Kwh สามารถวิ่งได้ 600 กิโลเมตร/ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC
AION V
เปิดตัวในปี 2020 กับแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า GEP
มีหน้าตาคล้ายคลึงกับ Mitsubishi Airtrek ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100%
มอเตอร์ขนาด 135 Kw ให้แรงม้าสูงสุด 181 แรงม้า
แบตเตอรี่ CATL Lithium Ion
ขนาดแบตเตอรี่เท่ากับ 72.3 Kwh สามารถวิ่งได้ 600 กิโลเมตร/ 1 การชาร์จ
เทคโนโลยีการชาร์จไว สามารถชาร์จ 5 นาที วิ่งได้ 112 กิโลเมตร
มีฟีเจอร์ของ Huawei 5 G สามารถนำไฟฟ้าออกมาใช้ภายนอกอย่าง V2X โดยนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป
เสียบปลั๊ก นำไฟฟ้ามาต่อเชื่อมกับบ้าน หรือ Grid ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่มีฟีเจอร์นี้
AION S PLUS
มีการอัพเกรดในปี 2021 ที่ใช้แพลตฟอร์มตัวใหม่ ชื่อ GEP 2.0
มอเตอร์ขนาด 165 kW ให้แรงม้าอยู่ที่ 211 แรงม้า
แบตเตอรี่ Lithium Ion
ขนาดแบตเตอรี่เท่ากับ 69.9 kWh สามารถวิ่งได้ 510 กิโลเมตร/ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC
AION LX PLUS
มีการอัพเกรดในปี 2021 มีการใช้แพลตฟอร์ม GEP 2.0
แบตเตอรี่ CATL Lithium Ion
ขนาดแบตเตอรี่เท่ากับ 144 Kwh สามารถวิ่งได้ 1,000 กิโลเมตร/ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC
เป็นรถ GAC รุ่นแรกที่สามารถวิ่งได้ถึงหลักพัน
AION Y 2021
เป็นที่นิยมในประเทศลาว และเป็นรถพวงมาลัยขับซ้าย ใช้แพลตฟอร์ม GEP 2.0
มอเตอร์ขนาด 135 kW ให้แรงม้าอยู่ที่ 181 แรงม้า
แบตเตอรี่ เป็นการพัฒนาใน in-house ของทาง GAC ชื่อ Magazine Battery
ขนาดแบตเตอรี่ 80 kWh สามารถวิ่งได้ 600 กิโลเมตร / 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC
สิ่งที่เพิ่มเติม คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ทาง GAC พัฒนาร่วมกับทาง Huawei เป็นระบบขับขี่อัตโนมัติ ชื่อ
ADiGO 3.0 และมีระบบการช่วยจอดอัตโนมัติในการเข้าซอง
สรุป ทาง GAC Aion มีตั้งใจมาจัดตั้งโรงงานรถยนต์ไฟฟ้าในไทยอย่างแน่นอน โดยอยู่ในระหว่างการเจรจา
ข้อตกลงกับทาง BOI และ EEC ประกอบกับการหาผู้ร่วมทุนเพื่อสร้างรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้จำนวนตามที่ตั้งใจ
ซึ่งทาง GAC Aion มีความพร้อมและเทคโนโลยีในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งถ้าสามารถมาทำที่ไทยได้
ทาง GAC Aion จะเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดบิ๊กไฟว์ได้อย่างไม่ยากเย็น โดยที่ยังไม่ได้มีการตั้งราคาที่จะนำมาขายที่ไทย
และนี้คือเรื่องของค่ายบิ้๊กใหญ่ GAC Aion ซึ่งคุณสามารถดูได้จากคลิปด้านล่าง และหากคุณชอบคลิปขอฝากกดไลค์ กดติดตาม กดแชร์ กดSubscribe ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ