จากข่าวดีที่เป็นข่าวใหญ่สะเทือนวงการของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย เพราะเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566
ที่ผ่านมา ทาง BOI (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดว่ามีค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน ชื่อ Changan Automobile
มีความสนใจลงทุนในประเทศไทย โดยจะให้ทางไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยฝั่งขวา ตั้งใจว่าจะลงทุนเป็นเม็ดเงิน 9.8 พันล้านบาท หลังจากที่มีการศึกษาถึงศักยภาพของไทยถึงเวลา 3 ปี
ทาง Changan เข้ามาศึกษาดูตลาดในไทยเมื่อประมาณปี 2563 โดยมีการเผยแพร่ทาง Facebook และการนำรถยนต์มาทดสอบวิ่ง แต่ก็มีเรื่องที่ยังไม่มั่นใจ
จนในปี 2022 ที่ทาง Changan ได้มองเห็นเรื่องที่ทางภาครัฐของไทยมีการประกาศนโยบายส่งเสริมมาตรการสนับสนุน EV และรถที่เป็นพลังงานสะอาดทางเลือก
จึงตัดสินใจที่จะมาลงทุน โดยที่โรงงานจะตั้งที่โซน EEC (โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก)
โรงงานที่ตั้งจะทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 3 ประเภท คือ
1. Plug-in Hybrid คือ รถยนต์ลูกผสมที่มีทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า
2. BEV/Battery Electric Vehicle คือ รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 100% ในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว
3. Range Extended Electric Vehicle (REEV) คือ รถยนต์ไฟฟ้าที่มีเครื่องยนต์นำมาปั่นไฟเพื่อยืดระยะไฟฟ้า
รถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 3 ประเภท จะถูกผลิตเป็นพวงมาลัยขวา เพื่อการส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อังกฤษ, แอฟริกา และโซนอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่ทางไทยส่งออกรถยนต์น้ำมันที่เป็นพวงมาลัยฝั่งขวาทั้งหมด และมีการตั้งเป้าการผลิตอยู่ที่ 1 แสนคันต่อปี นอกจากนี้ทาง Changan ได้ไปเจรจากับทาง Supplier ผู้ผลิตชิ้นส่วนของรถที่อยู่ในไทยเรียบร้อยแล้ว
มาทำความรู้จักกับค่าย Changan
กล่าวได้ว่าทาง Changan Automobile เป็นค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่เป็นอันดับที่4 จาก 100 แบรนด์ ของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจีน โดยในปี 2022 มียอดขายรถยนต์มากถึง 2 ล้านคัน ซึ่งถ้าเทียบกับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของไทยจะมากกว่าถึง 2 เท่า
ทาง Changan ยังเป็นผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าและระบบขับขี่อัจฉริยะ โดยมีการร่วมมือกับทาง HUAWEI
ในการพัฒนา Software ที่ช่วยในการขับขี่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับยุคของรถยนต์ไฟฟ้า ที่ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงแค่รถยนต์ไฟฟ้า แต่มีการมองถึงการพัฒนาการขับขี่อัตโนมัติในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นการเคลื่อนไหวของทาง Changan จึงเป็นที่น่าจับตามอง
ประวัติที่มาของ Changan
ย้อนกลับไปเมื่อ 161 ปีก่อน จุดเริ่มต้นของ Changan มีเพียงแค่ชื่อ Changan ที่ยังไม่ได้ใช้ชื่อ Changan Automobile และแรกเริ่มไม่ได้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับรถ และบริษัท Changan เริ่มต้นที่ปี 1862 ตั้งอยู่ที่นครฉงชิ่ง (Chongqing)
บริษัท Changan เริ่มต้นทำเครื่องจักรทางการทหารและผลิตอาวุธต่าง ๆ ที่ในช่วงยุคนั้นเป็นสิ่งจำเป็น
อย่างมาก ที่ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากรัฐบาลนครฉงชิ่ง
หลังจากนั้นในปี 1959 ทาง บริษัท Changan มีการต่อยอดจากการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรและอาวุธยุทโธปกรณ์ มีการนำ know-how เหล่านั้นมาผลิตรถครั้งแรก โดยรถที่ทำการผลิตออกมาจะเป็นรถบรรทุกที่ใช้
ในเชิงพาณิชย์ทางการทหาร จะตรงกับจีนในช่วงปี 1950 – 1977 ที่เป็นยุคก่อตั้งเริ่มต้นอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีน
ในปี 1980 บริษัท Changan ได้เปิดไลน์ใหม่ในการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เพื่อเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมของตัวเอง ซึ่งรับผลิตจากค่ายรถต่างชาติ คือ ฟอร์ด มาสด้า และซูซูกิ
ไลน์การผลิตใหม่ เป็นการเรียนรู้ know-how จะตรงกับยุคของอุตสาหกรรมรถยนต์จีนในปี 1978 – 2000
ซึ่งเป็นยุคที่ทางรัฐบาลจีนเปิดให้ค่ายรถยนต์ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศจีน โดยมีจุดประสงค์เพื่อการเรียนรู้ know-how การผลิตรถยนต์ของต่างชาติ
และเมื่อปี 1999 ทาง Changan ที่คิดว่าได้เรียนรู้ know-how จากค่ายรถยนต์ต่างชาติมากเพียงพอ จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะผลิตรถยนต์เป็นของตัวเอง จึงการก่อตั้งแผนกชื่อว่า Changan Automobile
เพื่อทำการออกแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นำ know-how ที่ได้จากการผลิตรถยนต์ของต่างชาติ มาสร้างเป็นรถที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง ในช่วงปี 2000 – 2009 จะเห็นว่าทางค่ายรถจีนใน
หลาย ๆ ค่าย เริ่มจะมีรถที่เป็นแบรนด์ของตัวเองออกมาสู่ท้องตลาดในประเทศจีน
และในช่วงเวลาเดียวกันปี 1999 ทาง บริษัท Changan ได้เปิดตัวรถตัวเองคันแรก คือ Changan Star ซึ่งเป็นรถตู้ขนาดเล็กมินิ MPV ที่มาพร้อมกับรถบรรทุกขนาดเล็ก 4 ล้อ ที่ทั้ง 2 รุ่นใช้แพลตฟอร์มและขุ่มพลังแบบเดียวกัน คือเป็น เครื่องยนต์เบนซิล 1.0 ลิตร
ถ้าสังเกตถึงรูปร่างจะเห็นว่าทั้ง 2 รุ่น มีความคล้ายคลึงกับ Suzuki Carry
จากการที่เคยรับจ้างการผลิตชิ้นส่วนให้กับทางซูซูกิ ทาง บริษัท Changan ได้นำมาพัฒนาเป็นรถของตัวเอง
ซึ่งต้องบอกว่าค่ายรถจีนในช่วงนั้นที่ต้องการสร้างรถแต่ด้วยไม่มีพื้นฐาน หรือ know-how ของตัวเอง
จึงต้องมีการ copy แล้วพัฒนาให้ดีกว่า ดังนั้นค่ายรถจีนในยุคนั้นจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับรถของชาติญี่ปุ่นอย่างมาก
เมื่อทาง Changan ได้มีการพัฒนารถยนต์น้ำมันออกมาเรื่อย ๆ ในหลากหลายรุ่น จนแผนก Changan Automobile ได้กลายเป็นมาบริษัทในที่สุด
ปี 2008 จากที่ทาง Changan ผลิตขายรถยนต์น้ำมันมาตลอด ได้มองเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของเทรนด์พลังงานสะอาด เรื่องปัญหาของมลพิษ จึงมีการจับมือกับทางบริษัทสัญชาติอเมริกัน ชื่อ GREENTECH AUTOMOTIVE ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่จะทำรถยนต์พลังงานใหม่ขึ้นมา
จะสอดคล้องกับในปี 2009 เป็นช่วงที่รัฐบาลจีนส่งเสริมสนับสนุนรถยนต์พลังงานสะอาด เนื่องจากจีนมีปัญหาเรื่องมลภาวะจากแหล่งโรงงานของจีนที่รับผลิตสินค้าหลายอย่างส่งไปทั่วโลก
ดังนั้นจึงได้มีการส่งเสริมรถพลังงานใหม่ เช่น รถ PHEV, รถยนต์ไฟฟ้า(EV), และรถ REEV โดยรถทั้ง 3 ประเภทจะได้รับเงินสนับสนุนจากทางรัฐบาลตามสัดส่วน
ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมาทางรัฐบาลจีนมีความจริงจังผลักดันในเรื่องของรถพลังงานใหม่ ซึ่งให้ทาง Tesla ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับต้นของโลกมาตั้งที่ประเทศจีนและถือหุ้นที่เป็นต่างชาติ 100% เพื่อเป็นการเร่งให้ค่ายรถจีนเกิดการพัฒนารถพลังงานใหม่ออกมาให้ได้
จนกระทั่งถึงปี 2015 ทาง Tesla เริ่มขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีน ส่งผลให้ทาง Changan มองเห็นโอกาสการเติบโตเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าแบบก้าวกระโดด จึงตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา ชื่อ Changan New Energy Automobile
ที่จะเน้นขายรถยนต์ที่เป็นพลังงานใหม่ทั้งหมดทั้ง PHEV, EV และ REEV
ในปี 2016 ทาง Changan ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกชื่อรุ่น EADO EV
EADO EV
สเปคของรถ
1. เป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถ C-Segment
2. ขนาดแบตเตอรี่ 26 kWh สามารถวิ่งได้ 160 KM/1 การชาร์จ
3. แบตเตอรี่ลิเธียม Lithium ion
4. ขุมพลังมอเตอร์อยู่ที่ 120 แรงม้า
5. เป็นแพลตฟอร์ม PHEV ที่เอาเครื่องยนต์มาใช้ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร
จากเหตุผลที่รถยนต์ไฟฟ้ายังวิ่งได้ในระยะทางที่น้อย
จากนั้นในปี 2017 เปิดตัวรถรุ่น REEV เนื่องจากว่ารถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่มีราคาแพงมาจากราคาของแบตเตอรี่ ถ้ายิ่งเพิ่มขนาดแบตเตอรี่ราคาจะยิ่งสูง ดังนั้นรถ REEV จึงเป็นทางเลือกที่น่าจะตอบโจทย์การใช้งานในประเทศจีน
รถ REEV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเครื่องยนต์ทำหน้าที่ปั่นไฟเพื่อยืดระยะ มีการเปิดตัวรุ่น Raeton CC
Raeton CC
สเปคของรถ
1. เป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถ C-Segment ที่ยกระดับแพลตฟอร์มจากรุ่น EADO EV
2. ขนาดแบตเตอรี่ 26 kWh
3. แบตเตอรี่ลิเธียม Lithium ion
4. เครื่องยนต์ที่มาต่อร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องยนต์เบนซิล 1.0 ลิตร ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ของ Changan
5. สามารถยืดระยะได้จากเดิม 160 KM/1 การชาร์จ เป็น 660 KM/1 การชาร์จ
ส่งผลให้เป็นรถยนต์รุ่นที่ยอดขายดี เพราะหากมองจากระยะทาง 500 KM ขึ้นไป ทำให้คนคิดว่ามีความน่าใช้งาน
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบัน ทาง Changan ได้พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าโดยใช้เวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น
รถของ Changan ที่เข้ามาทำการตลาด
จากที่ไปงาน SHANGHAI AUTO 2023 เมื่อวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมา ทาง Changan นำรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
มาโชว์จำนวน 2 รุ่น
รุ่นที่ 1 Changan Shenlan SL03 เป็นรถยนต์ไฟฟ้า
สเปคของรถ
1. เป็นรถซีดานไฟฟ้าขนาดกลาง
2. ขุมพลังของมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 189 kW ให้แรงม้าสูงสุด 258 แรงม้า
3. แบตเตอรี่ CATL ซึ่งเป็นการจับมือพัฒนาระหว่าง Changan, CATL และ HUAWEI
4. เป็นแบตเตอรี่ประเภทลิเธียมเทอร์นารี ขนาด 58.1 kWh สามารถวิ่งได้ 515 KM/1การชาร์จ
5. ราคาที่เปิดขายในจีนอยู่ที่ประมาณ 180,000 หยวน หรือตีเป็นเงินไทยประมาณ 900,000 บาท
ซึ่งถ้ามีการเข้ามาจำหน่ายที่ไทยถ้าได้รับเงินสนับสนุนและรวมภาษี น่าจะตีราคาอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านต้น ๆ
รุ่นที่ 2 CHANGAN Shenlan S7 มีข้อมูลรายละเอียดที่น้อยมาก
สเปคของรถ
1. เป็นรถ Crossover SUV
2. ขุมพลังของมอเตอร์ไฟฟ้า PMSM ที่ให้แรงม้าถึง 258 แรงม้า
3. ความเร็วสูงสุดอยู่ 180 KM/ชั่วโมง
4. เรื่องแบตเตอรี่ยังไม่มีรายละเอียด
5. มีรายละเอียดเพียงแค่ว่าเป็นรถที่ประหยัดพลังงานมากใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 0.142 kWh/1KM ถ้าตีเป็นค่าไฟฟ้าที่คิดเป็นหน่วยละ 4.7 บาท จะเท่ากับกิโลเมตรละ 67 สตางค์
6. ราคาอยู่ที่ประมาณ 165,000 USD ตีเป็นเงินไทยประมาณ 800,000 กว่าบาท
ซึ่งถ้ามีการเข้ามาทำตลาดที่ไทยก็ต้องมาตีราคาสุทธิอีกที
นี้จึงเป็นข่าวดีที่ค่ายรถจีนรายใหญ่ตัดสินใจเข้ามาลงทุนที่ไทย คือ GAC AION และ Changan ส่งผลให้
ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ที่ไทยจะกลายเป็น “EV HUB” อาเซียน จะอยู่ไ
ม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน
และนี้คือเรื่องราวข่าวของการเคลื่อนไหวของ Changan ที่มีต่อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งคุณสามารถดู
รายละเอียดเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบเนื้อหาคลิปนี้ก็ขอฝากกดไลค์ กดติดตาม กดแชร์
และกดSUBSCRIBE ให้พวกเราด้วยนะครับ