เกิดอะไรขึ้น!? เชลล์สั่งปิดปั๊มไฮโดรเจนถาวรทุกสาขา มุ่งหน้าทำสถานีชาร์จ EV ในอเมริกาแทน

         เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยียานยนต์พลังงานสะอาดแห่งอนาคต วันนี้เกิดข้อถกเถียงแบ่งเป็น 2 ฝ่าย อย่างชัดเจน คือ ฝ่ายที่เลือกรถยนต์ไฟฟ้า(EV) หรือ BEV (Battery Electric Vehicle) ที่มีการกักเก็บพลังงานในรูปแบบไฟฟ้า ถึงจะเป็นพลังงานสะอาด

         ส่วนอีกฝ่ายกล่าวว่าจะต้องใช้พลังงานไฮโดรเจน อย่าง เทคโนโลยี FCEV (Fuel Cell Vehicle) ที่นำไฮโดรเจนมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

         ซึ่งผู้ที่ผลักดันพลังงานไฮโดรเจนจะเป็นทางฝั่งยุโรป และประเทศญี่ปุ่นที่นำโดย นายอากิโอะ โตโยดะ อดีต CEO ของ TOYOTA

         กล่าวว่าพลังงานไฟฟ้าไม่ใช่พลังงานที่ถาวร แต่พลังงานไฮโดรเจนจะเป็นตัวผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการถกเถียงขึ้นมา
        แต่ล่าสุดเกิดข่าวใหญ่ที่สะเทือนวงการรถยนต์ จากสถาบันยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตพลังงานเชื้อเพลิงน้ำมันอันดับที่ 5 ของโลก คือ Shell มีการประกาศปิดสถานีเติมไฮโดรเจนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

         ในความเป็นจริงการปิดสถานีเติมไฮโดรเจนในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่รัฐแคลิฟอร์เนีย
เริ่มมีการทยอยปิดสถานีเติมไฮโดรเจนตั้งแต่ปี 2023 จากการประกาศยกเลิกแผนสร้างสถานีเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ขนาดเล็กจำนวนทั้งหมด 48 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย 

         ทั้งที่ บริษัทได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐเป็นจำนวนเงินมากกว่า 1,330 ล้านบาท หรือ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แต่การสร้างสถานีเติมไฮโดรเจนไม่ประสบความสำเร็จ
         ซึ่ง Shell มีการปิดสถานีเติมไฮโดรเจนที่เป็น Light-Duty Hydrogen Fueling Stations คือ สถานีเติม
ก๊าซไฮโดรเจนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จำนวนทั้งหมด 7 สถานี โดยทาง Shell มีการส่งจดหมายถึงลูกค้าที่ใช้
ก๊าซไฮโดรเจน

        หากกล่าวถึงเทคโนโลยี FCEV จะออกมาก่อน การเกิดรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla โดยในช่วงเวลาก่อนหน้าเทคโนโลยี FCEV มีการผลักดันจากค่ายรถญี่ปุ่น ยกตัวอย่าง Toyota Mirai และHonda Clarity หรือ
Hyundai Nexo
ของประเทศเกาหลีใต้

         สถานที่แรกที่มีการสนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาดของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ รัฐแคลิฟอร์เนีย
จึงมีการส่งเสริมให้นำเทคโนโลยี FCEV มาใช้ โดยจะมีการทำสถานีเติมไฮโดรเจน พร้อมทั้งมีการสนับสนุนจาก
ทางรัฐบาล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
         ทาง Shell ยืนยันยกเลิกแผนการสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถขนาดเล็กทั้งหมดในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ยังคงมีการผลักดันในเรื่องไฮโดรเจนสำหรับรถอุตสาหกรรมหนัก หรือรถบรรทุก

สาเหตุที่สถานีเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ขนาดเล็กไม่เป็นที่นิยม

         เนื่องจากว่ายอดจดทะเบียนรถ Fuel cell ในปี 2023 มีจำนวนอยู่ที่ 3,143 คันเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่า 1% ของ
รถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่ขายในช่วงเวลาเดียวกัน

         โดยยอดจดทะเบียนของรถ Fuel cell ที่จำนวน 3,143 คัน ประกอบด้วยค่ายรถ 3 ยี่ห้อ คือ Toyota Mirai, Hyundai Nexo และHonda Clarity

         เมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายรถยนต์ทั้งหมดของประเทศสหรัฐอเมริกา ตัว รถ Fuel cell จะมีสัดส่วนน้อยกว่า 0.25% หมายความว่า ทุกการขาย รถ Fuel cell จำนวน 1 คัน จะมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 400 คัน คิดเป็นอัตราส่วน 400:1 กลายเป็นเป็นว่าเมื่อจำนวนประชากรผู้ใช้รถ Fuel cell มีน้อย ทำให้การลงทุนทำสถานีเติมไฮโดรเจนไม่มีความคุ้มค่า
         นอกจากนี้สำหรับโครงการสถานีเติมไฮโดรเจนประสบปัญหาในการขออนุญาตในเรื่องของการจัดหาไฮโดรเจนที่มาจากพลังงานสะอาด ที่ต้องเผชิญในเรื่องของต้นทุนที่สูงมากกว่า
         ส่วนพลังงานไฮโดรเจนที่จะเป็นพลังงานสะอาด จะต้องเป็นไฮโดรเจนที่เป็น Green โดยจะต้องผลิตจากกระบวนการที่แยกด้วยไฟฟ้าเท่านั้น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

รูปแบบการผลิตไฮโดรเจน จะจำแนกตามสี ดังต่อไปนี้

1. Grey Hydrogen

         จะเป็นพลังงานไฮโดรเจนมาจากการกลั่นปิโตรเคมีที่เป็นสารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะไม่ใช่พลังงานสะอาด
ดังนั้นผลออกมาจึงเป็น Grey Hydrogen

2. Blue Hydrogen

         จะเป็นพลังงานไฮโดรเจนที่ผลิตมาจากฟอสซิล แต่มีกระบวนการเพิ่มเติม คือ การดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) เพราะว่าคาร์บอน ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น จึงต้องมีการดักจับคาร์บอนลงไปในหลุมที่ขุดแก๊ส
หรือเจาะน้ำมันขึ้นมา ทำให้ราคาต้นทุนสูงขึ้น

3. Green Hydrogen

         จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทำการแยกไฮโดรเจนจากน้ำ ทำให้ต้นทุนสูงมากขึ้น

ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนต่อกิโลกรัมของแต่ละแบบ ตามรูปด้านล่างดังนี้

         ปัจจุบันสถานีเติมไฮโดรเจนจะต้องขาย Green Hydrogen อยู่ที่ 4.5 – 12 USD/kg เพื่อให้ได้ผลกำไรที่มากเพียงพอต่อต้นทุนการลงทุนสถานี การขนส่ง โดยจะเป็นต้นทุนของก๊าซจะอยู่ที่ 300 บาท/kg จะต้องขายที่จำนวน 700 – 800 บาท/kg แต่ล่าสุดจะต้องขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,200 บาท/kg ทำให้ราคาแพงขึ้น
         จะเห็นได้ว่าการที่ก๊าซไฮโดรเจนปรับต้นทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คนที่เติมไฮโดรเจนจำต้องจ่ายในราคาที่แพง
         นอกเหนือจากนี้ทาง Shell เป็นผู้ลงทุนและให้บริการสถานีเติมไฮโดรเจน จะต้องลงทุนในเรื่องของ
โครงสร้างพื้นฐานสถานีเติมไฮโดรเจน ซึ่งจะต้องใช้เม็ดเงินจำนวนสูงมาก โดยข้อมูลจาก Hydrogen Fuel Cell Partnership หรือ องค์กรการค้าที่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้ข้อมูลว่า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างสถานีเติม
ไฮโดรเจนจำนวน 1 สถานี จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือตีเป็นเงินไทยจะอยู่ที่ประมาณ
70 ล้านบาท

         ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ยากต่อการคืนกำไรกลับมา จากจำนวนประชากรรถ Fuel Cell ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนอยู่ที่ 17,284 คันเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนประมาณล้านกว่าคัน
จึงต้องใช้เวลาในการคืนทุนเป็นระยะเวลานาน
         กลายเป็นว่า ต้นทุนการลงทุนสถานีเติมไฮโดรเจนมีราคาแพง คนใช้รถ Fuel Cell มีจำนวนน้อย และใช้เวลา
คืนทุนเป็นเวลานาน
         หากเปรียบเทียบกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการลงทุนตู้ชาร์จ การขอไฟ และการเดินสายไฟ
เพื่อเตรียมความพร้อมการให้บริการ ซึ่งต้นทุนของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 5 ล้านบาทต่อสถานี

         กล่าวคือ 1 สถานีเติมไฮโดรเจน จะเท่ากับ 12 ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะเห็นได้ว่าการลงทุนสถานีชาร์จ
รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายลงทุนน้อยกว่า และจำนวนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า ส่งผลให้โอกาสการคืนทุน
จะทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
         การที่ Shell ยกเลิกแผนการทำสถานีเติมก๊าซไฮโดรเจน จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้รถ Fuel Cell
ทั้ง Toyota Mirai, Hyundai Nexo และHonda Clarity ที่จะต้องเติมก๊าซไฮโดรเจน จำต้องหยุดให้บริการชั่วคร่าว เนื่องจากรถ FCEV มีราคาขายที่ค่อนข้างแพง เพราะมีการรวมแพ็คเกจในการเติมไฮโดรเจน
         ดังนั้น เมื่อมีการปิดสถานีเติมไฮโดรเจน ทำให้คนที่ใช้รถ FCEV หาสถานที่เติมไฮโดรเจนยากมากขึ้น
จึงตัดสินใจขายรถทิ้ง แต่เมื่อประกาศขายก็ไม่มีคนซื้อ ทำให้ราคารถ FCEV ร่วงลงมาประมาณ 60 – 80%
         ยกตัวอย่าง Toyota Mirai ปี 2021 ราคา ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 18,475 USD

         หรือ Toyota Mirai ปี 2017 ราคา ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 9,650 USD

         Toyota Mirai ปี 2020 ราคา ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10,000 USD

         สำหรับเทคโนโลยียานยนต์ที่เป็นรถส่วนบุคคลจะเหมาะกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เนื่องจากสามารถ
ทำการชาร์จที่บ้าน จึงไม่เหมาะกับการใช้ไฮโดรเจน
         ส่วนไฮโดรเจนจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง โลจิสติกส์ เนื่องจากสามารถทะลุข้อจำกัดบางอย่างของ
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV

         จากที่เคยเห็นมา รถขนส่งที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าจะมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ จากการใช้พลังงานจำนวนมาก
เพื่อให้สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกล จึงต้องมีการเพิ่มแบตเตอรี่ ซึ่งจะส่งผลให้บรรทุกน้ำหนักน้อยลง
จากกฎหมายที่คิดจากจำนวนน้ำหนักทั้งหมดที่รวมทั้งตัวรถ แบตเตอรี่ และขนส่ง เมื่อน้ำหนักแบตเตอรี่มากขึ้น
จะทำให้น้ำหนักบรรทุกน้อยลง

         แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นไฮโดรเจน ซึ่งมีข้อดี คือ FCEV จะสามารถเก็บพลังงานได้มากกว่า BEV อยู่ที่ 3 -5 เท่า
ยกตัวอย่าง เรือขนส่ง ควรจะใช้พลังงานไฮโดรเจน คือ การนำไฮโดรเจนมาเก็บในถัง และมาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเรือจะอยู่ใกล้น้ำ

         จากที่เคยถ่ายเรือเดินสมุทร ที่นำน้ำทะเลมาแยกเป็นไฮโดรเจนด้วยไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์บนดาดฟ้าของเรือ
ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก

         รวมทั้งเรือขนส่งที่ปล่อยมลภาวะมากที่สุด เนื่องจากการอยู่ในท้องทะเลที่ดักจับได้ยาก มีการใช้เชื้อเพลิงที่
ต้นทุนถูกที่สุด และการลงทุนด้านเทคโนโลยีน้อยที่สุด ดังนั้น เรือเดินสมุทรสมควรจะเปลี่ยนมาใช้ไฮโดรเจนเป็น
อย่างแรก โดยการนำน้ำมาแยกเป็นไฮโดรเจน ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนได้มากกว่า 3,000 ตันต่อลำ
         ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ รถไฟไฮโดรเจนที่มีการวิ่งเส้นทางประจำ หรือรถบรรทุกที่มีการวิ่งระหว่างเมือง

         ทั้งนี้ ประเทศจีนมีการทำสถานีเติมไฮโดรเจน ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำจำนวนมาก โดยใน 2 – 3 มณฑล จะมี 1 สถานี เนื่องจากการเติมไฮโดรเจน 1 ครั้ง สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 700 – 800 กิโลเมตร ส่งผลให้มีความคุ้มค่าจาก
การกักเก็บพลังงานได้ในจำนวนที่มากกว่า BEV ซึ่งจะตอบโจทย์ต่อการใช้งาน เพียงแค่ทำให้ราคาของไฮโดรเจน
ถูกลง และสามารถนำมาใช้งานได้จริง

         สรุป สำหรับไฮโดรเจนควรไปต่อหรือพอแค่นี้ การที่สถาบันยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตพลังงานเชื้อเพลิง 
อย่าง Shell ทำการปิดสถานีเติมไฮโดรเจน จะต้องบอกว่าถ้าเป็นรถเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลจะมีความเหมาะสมกับรถยนต์แบบ BEV หรือ EV ในการชาร์จไฟ
เพราะว่าสามารถหาสถานีเติมได้ง่าย และสามารถทำการชาร์จตามบ้าน
         แต่ถ้าเป็นไฮโดรเจนที่มีการลงทุนทำสถานี รถ FCEV จะเหมาะกับอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์มากกว่า
ในเรื่องของการขนส่ง อย่าง พวกเรือขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานจำนวนมาก หรือพวกรถหัวลากรถบรรทุก
จะมีเส้นทางการวิ่งที่แน่นอน รวมถึงรถไฟที่มีการวิ่งในเส้นทางเดิม โดยสามารถแวะเติมไฮโดรเจนได้
ซึ่งจะดีกว่าการใช้พลังงานน้ำมันอย่างดีเซล

        ดังนั้น ทั้ง 2 เทคโนโลยีจึงเป็นเทคโนโลยีพลังงานสะอาดแห่งอนาคตที่สามารถตอบโจทย์และมีความสำคัญ
เท่ากัน เพียงแต่มีการใช้งานคนละแบบ จึงต้องจับตาดูจากรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเติบโต และส่วนไฮโดรเจนจะไล่กันมาภายใน 2-3 ปี โดยน่าจะเริ่มได้เห็นใช้งานจริง

         แล้วนี้คือเรื่องราวของ Shell ที่มีการประกาศปิดสถานีเติมไฮโดรเจนในประเทศสหรัฐอเมริกา คุณสามารถรับชมได้จากคลิปด้านล่าง และหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.