ในปี 2024 ประเทศไทยเป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก จากการเปลี่ยนบทบาทใหม่จาก ดีทรอยต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) หรือฐานการผลิตรถยนต์น้ำมัน รถยนต์ Hybrid และรถยนต์ Plug-in Hybrid
ที่นำโดยค่ายรถญี่ปุ่น กำลังพลิกโฉมสู่ฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแบรนด์ของประเทศจีน
หลายคนมองว่าประเทศไทยมีความเป็นไปได้ในการเป็น Hub EV ของอาเซียน หรือฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน อย่างที่ทราบว่าประเทศไทยมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน แต่มีความเห็นต่าง
จากการที่ประเทศไทยไม่มีแร่สำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ คือ แร่นิกเกิล (Nickel) ที่สามารถหาได้จาก
ประเทศอินโดนีเซีย
องค์ประกอบของ EV Supply Chain สำหรับการเป็น Hub EV มีดังต่อไปนี้
1. Raw Materials Mining
การขุดเหมืองเอาวัตถุดิบที่ใช้ในการทำแบตเตอรี่ ซึ่งประเทศไทยจะไม่มีในส่วนนี้ อย่าง ประเทศอินโดนีเซียมี แร่นิกเกิล (Nickel) เป็นจำนวนมาก และเป็นแร่ที่สำคัญต่อการใช้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้า
ส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมา จะใช้แบตเตอรี่ลิเธียมเป็นหลัก โดยจะนำมาใช้กับแบตเตอรี่ลิเธียมแบบ NMC
ส่งผลให้แบตเตอรี่สามารถบรรจุปริมาณพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศอินโดนีเซียมีความได้เปรียบในเรื่องนี้
2. Battery Cell Manufacturing
การผลิตแบตเตอรี่เซลล์ คือ การนำแร่มาสกัดแยกแร่ออกมา เพื่อประกอบให้เป็นถ่านก้อน หรือ แบตเตอรี่
เมื่อนำมารวมกันเป็นจำนวนมาก จะเรียกว่า แบตเตอรี่เซลล์
3. Battery Pack Assembling
การประกอบแบตเตอรี่เซลล์ คือ การนำแบตเตอรี่หลายเซลล์มาประกอบเป็นโมดูล และมารวมกันทำเป็น
แบตเตอรี่แพ็คขนาดใหญ่ที่อยู่ในรถยนต์ไฟฟ้า
4. การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
แบตเตอรี่ที่ทำการแพ็คเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำมาประกอบกับตัวแชสซีของรถยนต์ไฟฟ้า
หรือขั้นตอนที่เรียกว่า EV Manufacturing ซึ่งประเทศไทยมีความเข้มแข็ง และมีการลงทุนของค่ายรถต่าง ๆ
ในเรื่องนี้
5. EV Sales And Dealership
ช่องทางในการจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า คือ ศูนย์ โชว์รูม และDealer หรือ ตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ
ที่นำรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจัดจำหน่าย
6. EV Service
การดูแลหลังการขายทั้งตัวรถ โครงสร้างพื้นฐานและสถานีชาร์จ ซึ่งประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ
ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งในเรื่องของสถานีชาร์จ และโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับรถยนต์ไฟฟ้า
7. EV Components Recycling
การนำอุปกรณ์รถยนต์ไฟฟ้าที่พังเสียหาย อาทิ แบตเตอรี่ แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
มาทำการรีไซเคิล เพื่อกำจัดให้อย่างถูกต้อง เนื่องจากหลายคนมีความกังวลว่ารถยนต์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ ดังนั้น การนำไปทิ้งเฉย ๆ จะกลายเป็นขยะมลพิษ โดยเฉพาะตัวแบตเตอรี่ที่จะต้องนำมารีไซเคิลให้ถูกต้อง
จากองค์ประกอบของ EV Supply Chain จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีจุดอ่อนเพียงข้อเดียว คือ
เรื่อง Raw Materials Mining หรือวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งประเทศไทยไม่มีแร่นิกเกิล (Nickel)
เหมือนกับประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอินโดนีเซียมีความได้เปรียบในการผลิตแบตเตอรี่ในเรื่องนี้
แต่ EV Supply Chain จะไม่ต้องการองค์ประกอบเพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย
ประเทศไทยมีความได้เปรียบที่เป็นจุดเด่น จากการเป็นฐานการผลิตรถยนต์น้ำมันมาก่อน สามารถทำการผลิต
ได้ทั้งตัวถังช่วงล่างเพียงแค่มีการปรับเปลี่ยน เรื่องของโครงสร้าง Dealership โครงสร้างพื้นฐาน และสถานีชาร์จ ซึ่งประเทศไทยมีจำนวนมากเป็นอันดับที่หนึ่ง
รวมทั้งตลาดภายในประเทศมีความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากกว่าทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ประกอบกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งการซื้อและการผลิต โดยมีการส่งเสริมสำหรับ
ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยักษ์ใหญ่ที่สามารถผลิตได้ที่ระดับเซลล์ และมีการกำจัดรีไซเคิลอย่างถูกต้อง
จะได้รับการส่งเสริมยกเว้นภาษีนิติบุคคล 15 ปี จึงเป็นแรงจูงใจสำหรับค่ายรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่จากประเทศจีน หรือค่ายผู้ผลิตแบตเตอรี่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยปี 2024
1. ค่าย MG
ซึ่งค่าย MG มีการเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกของอาเซียน โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 50,000 ก้อน/ปี จะนำมาติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผลิตในประเทศไทย คือ MG4 รวมทั้งมีการเปิดอย่างเป็น
ทางการสำหรับบริษัท ชื่อว่า HASCO-CP BATTERY SHOP บนพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 75 ไร่ อยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 2 (WHA ESIE 2) โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ ส่วนของการประกอบแบตเตอรี่และส่วนการทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ที่ค่าย MG ทำการผลิต คือ การนำแบตเตอรี่เซลล์เข้ามาแพ็คเป็นโมดูล และนำโมดูลมาใส่เป็น
แบตเตอรี่แพ็ค อย่างที่ทราบว่ารถยนต์ไฟฟ้าของค่าย MG จะสามารถเปลี่ยนเป็นโมดูล คือ แบตเตอรี่ LFP
เมื่อทำการผลิตออกมาเป็นแพ็คขนาดใหญ่ จะเป็นจำนวนอยู่ที่ประมาณ 3,000 แพ็ค หรือ 3,000 คัน/ปี
โดยรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน จะใช้ 16 โมดูล ซึ่งแบตเตอรี่ที่ผลิตออกมา จะนำมาใส่ในรถยนต์ไฟฟ้า MG 4 ที่จะทำการผลิตในช่วงกลางปี 2024
2. เอ็นวี โกชัน (NV Gotion)
เป็นบริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการจับมือระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ NUOVO PLUS
ในเครือของ ปตท. และ Gotion High-tech กลายเป็น NV Gotion
ทำการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 5 GWh และมีการตั้งเป้าการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 8 GWh ในอนาคตข้องหน้า
บริษัทนี้ดำเนินการนำเข้าแบตเตอรี่เซลล์มาทำการประกอบและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ในรูปแบบของโมดูลและแบตเตอรี่แพ็ค โดยมีการนำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าและตัวการเก็บกักพลังงาน คือ Energy Storage System
ที่เอามาใช้ในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน
ประกอบกับมีการวางแผนจะผลิตแบตเตอรี่ในระดับเซลล์ในอนาคตข้างหน้า เพื่อรับการส่งเสริมจากทาง BOI
3. SVOLT
เคยเป็นบริษัทลูกของ GWM (Great Wall Motor) ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทออกมารับจ้างผลิตแบตเตอรี่ให้กับทุกค่าย ซึ่ง SVOLT (THAILAND) เปิดสายการผลิตแพ็คแบตเตอรี่ครั้งแรกของประเทศไทยที่โรงงานใน
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมกับส่งมอบแบตเตอรี่ให้กับรถยนต์ไฟฟ้า
ซึ่งทางค่าย GWM มีการผลิตรถยนต์หลายรุ่น คือ รถยนต์ Hybrid, รถยนต์ Plug-in Hybrid และ
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% ไม่ว่าจะเป็น HAVAL H6, HAVAL JOLION, GWM TANK 500, TANK 300 และ
ORA Good Cat
ล่าสุด ORA Good Cat จะเป็นเวอร์ชั่นที่ผลิตในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว จะใช้แบตเตอรี่ของ SVOLT
ที่เป็นเวอร์ชั่นนำเข้า แต่จะมีการผลิตแบตเตอรี่เพื่อนำมาใช้กับ ORA Good Cat ทั้งหมดที่เป็นเวอร์ชั่นไทย
ทาง SVOLT แสดงเทคโนโลยีอย่างเซลล์แบตเตอรี่ L600 short blade battery ที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก
รวมถึงจะเน้นในรถกลุ่ม A Segment ซึ่งเป็นรถกลุ่มที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยจะทำการผลิตแบตเตอรี่ให้กับ
NETA V เจนที่ 2 ประกอบกับมีการตั้งเป้าการผลิตเป็นจำนวนอยู่ที่ 20,000 ชุด ในปี 2024 คาดว่าจะเป็น
การนำเซลล์แบตเตอรี่มาแพ็คเป็นโมดูล นำโมดูลมาใส่รวมกันเป็นแบตเตอรี่แพ็ค และนำมาประกอบเข้ากับ
รถยนต์ไฟฟ้า
ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ SVOLT มาได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมีค่ายรถที่รอรับ จึงมีความพร้อมสามารถนำมาประกอบได้ทันที
4. อมิตา เทคโนโลยี
เป็นแบตเตอรี่สัญชาติไทยภายใต้เครือของบริษัท E@ (Energy Absolute Public Company Limited)
โดยทำการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน จากข่าวที่ว่าทาง อมิตา เทคโนโลยี ทำการผลิตแบตเตอรี่แบบระดับเซลล์
ที่เป็นเซลล์ถุง ซึ่งเริ่มต้นการผลิตจาก 1 GWh/ปี ในโซนเศรษฐกิจพิเศษ EEC ซึ่งมีโรงงานครอบคลุมอยู่ประมาณ 80,000 ตารางเมตร โซนอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
และจะมีการขยายการผลิตในเฟสแรกเป็น 4 GWh/ปี และในอนาคตข้างหน้าจะขยายเป็น 50 GWh/ปี
โดยแบตเตอรี่ที่ทาง อมิตา เทคโนโลยี ทำการผลิต Pouch Cell หรือเซลล์ถุง ที่เป็นของตัวเอง จะนำมาประกอบเป็นโมดูล หลังจากนั้นจะนำโมดูลมาใส่รวมกันเป็นแบตเตอรี่แพ็ค
ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบเซลล์ถุง จะนำมาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าของเครือ E@ รวมทั้งนำมาใช้
ในเรื่องเทคโนโลยี Energy Storage System เนื่องจากทาง E@ กำลังทำเรื่องของพลังงานหมุนเวียน
จากการทำการผลิตแบตเตอรี่ด้วยตัวเองและนำมาใช้เอง จึงสามารถควบคุมต้นทุนตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำ
ค่ายที่กล่าวถึงจะเป็นค่ายที่มีการลงทุนและทำการผลิตแบตเตอรี่จริงเรียบร้อยแล้ว ต่อมาจะมาดูค่ายที่กำลัง
ทำการผลิตแบตเตอรี่ในอนาคต
ค่ายที่กำลังทำการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต มีดังต่อไปนี้
1. ค่าย BMW
กำลังเริ่มก่อสร้างโรงงานการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง เพื่อใช้ในการประกอบ
รถยนต์ไฟฟ้า จะเห็นได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีการแข่งขันในเรื่องของราคา การที่จะลดต้นทุนลงมา
ทาง BMW Group Manufacturing Thailand เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แรงดันสูง หรือ High Volt ครอบคลุมพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร โดยมีเม็ดเงินการลงทุนมากกว่า 1,600 ล้านบาท ซึ่งจะนำมาใช้ในการประกอบรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่จะทำการผลิตในโรงงานที่ประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2025
2. ค่าย CATL
มีการประกาศร่วมกับทาง อรุณพลัส (ARUN PLUS) บริษัทในเครือของ ปตท. ว่าจะทำการประกอบ
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน Cell-to-Pack ในประเทศไทย ภายใต้เงินทุนจำนวน 3,600 ล้านบาท
3. ค่าย BYD
ทางค่าย BYD มีการตั้งโรงงานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีการชักชวนให้
ทางค่าย BYD มาทำการผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย ทำให้ราคาสามารถแข่งขัน เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Hub EV
ที่สามารถส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก เนื่องจากค่าย BYD สามารถทำการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ดังนั้น ค่าย BYD จึงเล็งในการลงทุนการทำแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) หรือ Blade Battery
ที่ประเทศไทยเป็นจำนวนเงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ถ้ามีการทำการผลิตแบตเตอรี่จริง กำลังการผลิตตั้งเป้าอยู่ที่ 24 GWh/ชั่วโมง
สรุป สำหรับบทบาทใหม่ของประเทศไทยเข้าสู่ยุคของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า จากการเป็นฐานการผลิต
รถยนต์น้ำมันมาก่อน จะเห็นได้ว่าการที่ประเทศไทยจะเป็น Hub EV ของอาเซียนไฟฟ้า จำเป็นจะต้องมี
EV Supply Chain ครบทุกองค์ประกอบ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีในเรื่องของ Raw Materials Mining หรือวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ คือ แร่นิกเกิล (Nickel) เหมือนกับประเทศอินโดนีเซีย
แต่จากการที่ประเทศไทยมีความแข็งแรง หรือจุดเด่น ทางด้านอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนในนเรื่องของการเป็น
Hub EV ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตแบตเตอรี่เซลล์ ปัจจุบันกำลังให้ความส่งเสริมในเรื่องของ
การรีไซเคิล จะเห็นได้ว่าวันนี้ เราก้าวเข้าสู่ยุคของยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างแข็งแรง จากประเทศไทยที่มีความพร้อม
ส่วนความกังวลในเรื่องปัญหาคนที่จะตกงาน จากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่จะใช้
ไลน์การผลิตแบบระบบอัตโนมัติค่อนข้างมาก ซึ่งจะต้องยอมรับว่าจะมีคนตกงานเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันในอุตสาหกรรมแบบใหม่ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะจำนวนมาก ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการและมีรายได้สูง
จากการที่แรงงานใช้ทักษะระดับสูง จะส่งผลให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลางเข้าสู่
รายได้ระดับสูง และโลกกำลังต้องการอยู่ ณ วันนี้ จึงอยากให้ลองเปิดใจ ถึงแม้ว่างานบางอย่างจะหายไป
แต่มีโอกาสใหม่เกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ
และนี้คือเรื่องราวของประเทศไทยที่จะเป็น Hub EV ของอาเซียน โดยมีการตั้งโรงงานผลิตเเบตเตอรี่ที่เป็น
ชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ที่คุณสามารถรับชมได้ที่คลิปด้านล่าง แล้วถ้าคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ