ฉางอัน พร้อมบุกตลาด 2รุ่น Deepal SUV+เก๋งไฟฟ้า!! เตรียมเข้าร่วมมาตราการ ตั้งฐานผลิตในไทยดันสู่ฮับEV

         จากรายงานของสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติโครงการลงทุนให้กับค่ายฉางอัน ออโตโมบิล
เรียบร้อยแล้ว โดยจะตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 8,862 ล้านบาท

         เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2566 มีการจัดแถลงข่าวการเซ็นสัญญาระหว่างค่ายฉางอัน และบริษัท ดับบลิวเอชเอ
อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ( WHA Group ) ทำการซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แบรนด์ “ฉางอัน” เป็นฐานการผลิตแห่งแรก
ของอาเซียน

         โดยการแถลงข่าวครั้งนี้ทางประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม
บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ นาย เซิน ซิงหัว (Mr. Shen Xinghua) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด และกรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการ บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ลงนามในสัญญา

         แสดงให้เห็นได้ว่าประเทศไทยมีความเหมาะสมกับการก้าวเป็น Hub EV เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมของ
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนาน และด้านของห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain
การผลิตรถยนต์มีค่อนข้างครบ ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่บทบาทใหม่ในการเป็นฐานกลาง หรือ Hub การส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าไปทั่วโลก

         ฉางอันตั้งเป้าจะตั้งโรงงานมีพื้นที่ครอบคลุม 250 ไร่ และมีกำลังการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 1.1 แสนคันต่อปี
จะสามารถเริ่มทำการผลิตได้จริงในช่วงประมาณไตรมาสแรกของปี 2025 โดยในช่วงแรกจะเป็นการนำเข้า
รถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1,000 คันในปี 2023 และอีกจำนวน 10,000 คัน ในปี 2024
         ดังนั้นตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป จะเน้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งมีการทำตลาด
ภายในประเทศไทยและการส่งออก

         โรงงานของฉางอันที่ประเทศไทยจะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 2 ประเภท คือ Plug-in Hybrid และ BEV
รวมทั้งแบตเตอรี่แพ็ค
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภายในประเทศและต่างประเทศที่มีการส่งออกไปที่ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ แอฟริกาใต้ และตลาดอื่น ๆ ที่เป็นพวงมาลัยฝั่งขวาทั้งหมด

         สำหรับกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 2 ประเภท จะแบ่งออกเป็น
              Plug-in Hybrid สามารถผลิตได้จำนวนสูงสุดอยู่ที่  36,000 คันต่อปี
              BEV สามารถผลิตได้จำนวนสูงสุดอยู่ที่  58,000 คันต่อปี

         จากการตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่จำนวน 1.1 แสนคันต่อปี จะมีกำลังการผลิตส่วนที่เหลืออยู่
เนื่องจากทางฉางอันมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับทาง BOI เพื่อทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอีก 1 ประเภท คือ REEV หรือ Range Extended Electric Vehicle จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กทำหน้าที่ปั่นไฟฟ้า เพื่อให้พลังงานในแบตเตอรี่หมดช้าลง สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลมากขึ้น

           แต่จากข้อกำหนดของประเทศไทยที่มีการแยกประเภทของเครื่องยนต์ตามการปล่อยมลพิษออกมา
ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าแบบ REEV ทับซ้อนกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid

         ในความเป็นจริงรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่า
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ REEV จากการนำเครื่องยนต์มาส่งกำลังลงล้อ เมื่อเปรียบเทียบกับ REEV ที่มีเครื่องยนต์

ทำหน้าที่ปั่นไฟฟ้าชาร์จแบตเตอรี่อย่างเดียวเท่านั้น 

        หากฉางอันสามารถชี้แจงข้อกำหนดแยกรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 2 ประเภทออกจากกันได้อย่างชัดเจน รถยนต์ไฟฟ้าแบบ REEV จะสามารถทำการผลิตที่ประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน

         นอกจากนี้ทางฉางอันเซ็น MOU เข้าร่วมมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ ระยะที่ 2 หรือ
มาตรการ EV 3.5 ที่รถยนต์ไฟฟ้ามีขนาดแบตเตอรี่เกิน 50 kWh ขึ้นไป จะได้รับเงินสนับสนุน 100,000 บาทต่อคัน โดยในช่วงแรกจะยินยอมให้มีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า แต่จะต้องทำการผลิตคืนประมาณ 2-3 เท่า
ในปี 2023 ทางฉางอันจะนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1,000 คัน เข้ามาทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าก่อน

         สำหรับฉางอันทำการตลาดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ชื่อว่า Deepal มีโชว์รูมทั้งหมด
27 โชว์รูม
ในปี 2023
         ทางฉางอันมีการแบ่งบริษัทที่จะมาดำเนินงานในการดูแลเรื่องของการขาย การบริการ และการผลิตออกมาเป็น 3 บริษัทใหญ่ คือ
              1. บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด มีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 4,099 ล้านบาท จะดำเนินการดูแล
ด้านการผลิตยานยนต์เป็นหลัก
              2. บริษัท ฉางอาน ออโต้ คอมโพเน้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด มีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 36 ล้านบาท จะดูแล

เรื่องการขายส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ใหม่ของยานยนต์
              3. บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 270 ล้านบาท จะดูแลในเรื่องของ
การขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถตู้ และรถยนต์ขนาดเล็กที่คล้ายกัน รวมถึงการดูแลบริการหลังการขายทั้งหมด

         โดยทั้ง 3 บริษัท มีทุนจนจดทะเบียนรวมทั้งหมดอยู่ที่ 4,405 ล้านบาท

ประวัติของฉางอัน

         บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล ตั้งอยู่ที่รัฐฉงชิ่ง เป็นบริษัทรถเก่าแก่ของประเทศจีนมีอายุ 153 ปี ก่อตั้งขึ้นในปี 1862

         เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและระบบขับขี่อัจฉริยะ จากการร่วมมือกับทาง Huawei และเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 3 – 4 ของประเทศจีน ซึ่งในปี 2022 มียอดขายจำนวนมากกว่า 2 ล้านคัน โดยสำนักงานใหญ่และฐานการผลิตหลัก จะอยู่ที่รัฐฉงชิ่ง

         ฉางอันทำการผลิตรถยนต์ทุกแบบตั้งแต่รถยนต์สันดาป รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และรถยนต์ไฟฟ้าประเภท REEV โดยมีการแตกแบรนด์จำนวนทั้งหมด 6 แบรนด์ ทำตลาดแยกส่วนแบ่งอย่างชัดเจน คือ

          1. Changan Auto

         เป็นรถ SUV และรถที่นั่งส่วนบุคคลที่ราคาสามารถเข้าถึงได้ง่าย

         2. Oshan

         เป็นรถ SUV และรถ MPV ที่มีราคาอยู่ในระดับกลาง

         3. Kaicene

         สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถบรรทุกขนาดเล็ก และรถตู้ขนส่ง

         ทั้ง 3 แบรนด์ส่วนใหญ่จะเน้นที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปและไฮบริดเป็นหลัก

         ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะมีทั้งหมด 3 แบรนด์ คือ

         1. ChangAn Deepal

         ที่จะมาทำตลาดในประเทศไทย เป็นรถยนต์ไฟฟ้ามีราคาสามารถเข้าถึงได้ง่าย

         2. Changan Qiyuan

         เป็นรถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยมขึ้นมาอีกหนึ่งระดับ

         3. Avatar

         เป็นรถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยมขั้นสุด ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ฉางอัน ลงทุนร่วมกับ CATL คือ การนำเทคโนโลยี

แบตเตอรี่ล่าสุดมาใส่ในตัวรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้

         ปัจจุบันโรงงานผลิตรถยนต์ของทางฉางอันมีทั้งหมด 13 แห่ง อยู่ทั่วโลก อาทิ ประเทศจีน บราซิล รัสเซีย
ไนจีเรีย และมาเลเซีย
สามารถผลิตรถยนต์ได้จำนวนสูงถึง 2 ล้านคันต่อปี รวมทั้งมีศูนย์วิจัยและพัฒนาตั้งอยู่ที่ประเทศจีน อิตาลี ญี่ปุ่นอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เพื่อรองรับการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีในการออกแบบ
ยานยนต์สมัยใหม่ทั้งหมด

รถยนต์ ChangAn Deepal ที่มาทำตลาดในประเทศไทยมีทั้งหมด 2 รุ่น คือ

         1. ChangAn Deepal S7

         เป็นรถ SUV Crossover ที่หลายคนบอกว่ามิติตัวรถเทียบเท่ากับ Tesla Model Y
         ขนาดและมิติตัวถัง

              ความยาวของรถ   :  4,750 มม.
              ความกว้างของรถ :  1,930 มม.
              ความสูงของรถ     :  1,625 มม.
              ระยะฐานล้อ  :  2,900 มม.

         เปรียบเทียบมิติของตัวรถระหว่าง ChangAn Deepal S7 กับ Honda CR-V และ Tesla Model Y
(ยาว x กว้าง x สูง / ฐานล้อ)
               Deepal S7        :  4,750 x 1,930 x 1,625/ 2,900 มม.
               Honda CR-V    :  4,694 x 1,864 x 1,692 / 2,700 มม.
               Tesla Model Y :  4,751 x 1,921 x 1,624 / 2,890 มม.

         จากการเปรียบเทียบระหว่าง ChangAn Deepal S7 กับ Honda CR-V จะเห็นได้ว่าระยะฐานล้อของ
ChangAn Deepal S7 จะมีความยาวที่มากกว่า ส่งผลให้ห้องโดยสารมีความกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะตรงบริเวณ

หัวเข่าที่นั่งแถวที่หนึ่งและแถวที่สอง จะมีพื้นที่สามารถยืดเหยียดขาได้อย่างสบาย ซึ่งเป็นข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า
ที่ไม่มีเครื่องยนต์ สามารถขยับล้อด้านหน้าให้ใกล้กับหน้ารถได้มากขึ้น

         แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ Tesla Model Y จะมีมิติที่ใกล้เคียงกัน โดยความยาวและความสูงของรถมี
ความแตกต่างกันเพียงแค่ 1 มม. ส่วนความกว้างของรถจะแตกต่างกัน 7 มม. ถ้าเป็น ChangAn Deepal S7 จะอยู่ที่ 1,930 มม. ส่วน Tesla Model Y จะอยู่ที่ 1,921 มม. และระยะฐานล้อ Tesla Model Y จะสั้นมากกว่าอยู่ที่ 10 มม. หรือ 1 ซม. จะเห็นได้ว่า ChangAn Deepal S7 สามารถสู้กับ Tesla Model Y

         เรื่องของขุมพลังหรือ Power Trend

         ChangAn Deepal S7 มีทั้งหมด 2 รุ่น คือ
         1. Standard Range
              มอเตอร์ไฟฟ้าขับหลัง 1 ตัว มีพละกำลังอยู่ที่ 258 แรงม้า แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 320 นิวตันเมตร
              แบตเตอรี่ Lithium Ternary (NMC) ขนาดความจุเท่ากับ 58.1 kWh
              อัตราเร่ง 0-100 km/h ใน 6.7 วินาที
              ความเร็วสูงสุด Top Speed อยู่ที่ 180 km/h
              สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสุดอยู่ที่ 520 km. ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน CLTC
         2. Extended Range
              มอเตอร์ไฟฟ้า มีพละกำลังอยู่ที่ 218 แรงม้า แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 320 นิวตันเมตร
              แบตเตอรี่ Lithium Ternary (NMC) ขนาดความจุเท่ากับ 79.9 kWh
              อัตราเร่ง 0-100 km/h ใน 7.5 วินาที
              ความเร็วสูงสุด Top Speed อยู่ที่ 180 km/h
              สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสุดอยู่ที่ 620 km ต่อ 1 การชาร์จ  ตามมาตรฐาน CLTC

         ChangAn Deepal S7 จะใช้แบตเตอรี่ของ CATL ซึ่งเป็นการจับมือพัฒนาระหว่างฉางอัน กับทาง CATL
และใช้ระบบปฏิบัติการของทาง Huawei
        ราคาของ ChangAn Deepal S7 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.3 – 1.5 ล้านบาท

         2. ChangAn Deepal SL03 (ChangAn Deepal L07)

         เป็นรถยนต์ซีดานไฟฟ้า เทียบได้กับกลุ่มรถ D Segment ซึ่งออกมาชนกับ Tesla Model 3 ปัจจุบันมีการเปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น ChangAn Deepal L07

         ขนาดและมิติตัวถัง

              ความยาวของรถ   :   4,820 มม.
              ความกว้างของรถ :  1,890 มม.
              ความสูงของรถ     :  1,480 มม.
              ระยะฐานล้อ  :  2,900 มม.

         เปรียบเทียบมิติของตัวรถระหว่าง ChangAn Deepal L07 กับ Toyota Camry (ยาว x กว้าง x สูง / ฐานล้อ)
              Deepal SL03     :  4,820 x 1,890 x 1,480 / 2,900 มม.
             Toyota Camry :  4,885 x 1,840 x 1,445 / 2,825 มม.
จากระยะฐานล้อของ ChangAn Deepal SL03 ที่ยาวมากกว่า ทำให้ความกว้างขวางของห้องโดยสารเพิ่มมากขึ้นกว่า 7 ซม.
         เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า คือ BYD Seal และ Tesla Model 3 (ยาว x กว้าง x สูง / ฐานล้อ)
              BYD Seal          :  4,800 x 1,875 x 1,460 / 2,920 มม.
              Tesla Model 3 :  4,694 x 1,849 x 1,441 / 2,875 มม.
          จะเห็นได้ว่า ChangAn Deepal L07 ทำออกมาได้น่าสนใจอย่างมาก

          เรื่องของขุมพลังหรือ Power Trend
ChangAn Deepal SL03 มีทั้งหมด 2 รุ่น คือ
          1. Standard Range
               มอเตอร์ไฟฟ้า มีพละกำลังอยู่ที่ 258 แรงม้า แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 320 นิวตันเมตร
               แบตเตอรี่ Lithium Ternary (NMC) ขนาดความจุเท่ากับ 58.1 kWh
               อัตราเร่ง 0-100 km/h ใน 5.9 วินาที
               สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสุดอยู่ที่ 515 km ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน CLTC
          2. Extended Range
               มอเตอร์ไฟฟ้า มีพละกำลังอยู่ที่ 218 แรงม้า แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 320 นิวตันเมตร
               แบตเตอรี่ Lithium Ternary (NMC) ขนาดความจุเท่ากับ 79.9 kWh
               อัตราเร่ง 0-100 km/h ใน 6.9 วินาที
               สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสุดอยู่ที่ 705 km ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน CLTC
          ราคาเปิดตัวของ ChangAn Deepal SL03 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.1 – 1.3 ล้านบาท

         และนี้คือเรื่องราวของฉางอันที่จะเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในอาเซียนที่ประเทศไทย พร้อมทั้งรถยนต์ไฟฟ้าที่จะมาทำตลาดในบ้านเรา ซึ่งคุณสามารถดูเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.