ประเทศจีนกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตสูงขึ้นทุกปีทั้งในประเทศจีน และการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนไปตลาดต่างประเทศทั่วโลก อาทิ ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ในขณะเดียวกันมีข่าวว่าค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนเริ่มล้มหายไปจำนวนมาก ซึ่งสวนทางกับ
การขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า จากจำนวนค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนหลักร้อยล้มหายไปเหลือเพียงแค่
หลัก 10 ค่ายเท่านั้น
จากข่าวล่าสุดเกี่ยวกับค่าย WM Motor (WM Motor Technology Group Company Limited)
เป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ทาง ปตท. มีการเซ็น MOU เพื่อศึกษาถึงความเป็นได้ในการตั้งโรงงานผลิต
รถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในประเทศไทย รวมทั้งมีการนำรถมาทดสอบวิ่งเรียบร้อยแล้ว
แต่ปัจจุบันทางบริษัท Weltmeister ที่เป็นสตาร์ทอัพด้านรถยนต์ไฟฟ้า ขอยื่นล้มละลายเรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากสภาวะการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า
บริษัท Weltmeister หรือ WM Motor เป็นบริษัทที่มีความโดดเด่นทั้งด้านเรื่องของเทคโนโลยีและการดีไซน์ของตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถเทียบเท่ากับบริษัทค่ายรถยนต์ไฟฟ้า 3 ยักษ์ใหญ่ของประเทศจีน ณ ปัจจุบัน
ย้อนกลับในปี 2015 ผู้ที่ก่อตั้ง คือ นายฟรีแมน เฉิน เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารของบริษัทยักษ์ใหญ่
อย่าง Geely และ Volvo มาก่อน
ทาง Weltmeister สร้างรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถสู้กับสตาร์ทอัพของประเทศจีนในช่วงปี 2020
โดยค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีชื่อเสียง คือ NIO, Li Auto และ Xpeng ที่ปัจจุบันจะอยู่ในตลาดหุ้น Nasdaq
ของประเทศสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว
ประกอบกับ Weltmeister มีบริษัท Baidu ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของประเทศจีน เป็นผู้สนับสนุน
ในเรื่องของเทคโนโลยีและมีหน่วยงานกำกับดูแลทรัพย์สินของรัฐบาลเซี่ยงไฮ้มาเป็นผู้สนับสนุน เมื่อมองในภาพรวมของบริษัทมีแนวโน้มไปได้ด้วยดี
สาเหตุการล้มละลายของ Weltmeister จะเริ่มตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมา
ทำให้คนจะต้องอาศัยอยู่ภายในบ้าน จึงไม่มีความต้องการซื้อรถยนต์ เพื่อใช้ในการเดินทาง ส่งผลให้ยอดขายของ
รถยนต์ไฟฟ้าตกลง จนเกิดการขาดทุนสะสม
จนถึงปี 2023 เกิดวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน ส่งผลให้คนมีความระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น
ส่งผลให้ยอดการขายรถยนต์ไฟฟ้าของ Weltmeister ลดลง
ดังนั้นค่าย Weltmeister จึงไม่สามารถประคับประคองบริษัท เมื่อดูผลประกอบการตั้งแต่ปี 2019 – 2021
ซึ่งยอดขาดทุนสะสมจากเดิมอยู่ที่ 4 พันล้านหยวน จากการใช้เงินเพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและรถยนต์ไฟฟ้าแบบใหม่ ประกอบด้วยรถ SUV 3 รุ่น และซีดาน 2 รุ่น
แต่ในปี 2019 – 2021 ยอดการขาดทุนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า จาก 4 พันล้านหยวน เป็น 8.2 พันล้านหยวน
เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์จะเท่ากับ 1.13 พันล้านดอลลาร์ หรือตีเป็นเงินไทยจะอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท
ทำให้ Weltmeister ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้ จะต้องยื่นฟ้องล้มละลาย
บริษัท WM Motor หรือ Weltmeister ไม่ใช่บริษัทแรกที่มีการยื่นล้มละลาย แต่ยังมีบริษัทอื่นที่ล้มละลายตามมา เมื่อย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2565
เดือนสิงหาคม 2565 บริษัท Yangtse River Automobile Group เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีน
ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัท DiDi และบริษัท Li Auto ทำการยื่นล้มละลาย
ในเดือนมีนาคม 2566 บริษัท Letin ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน มีการยื่นล้มละลาย
และเดือนพฤษภาคม 2566 บริษัท Aiways ที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็น SUV คือ Aiways U5 เพื่อมาทำเป็น
รถแท็กซี่ไฟฟ้า
ขอประกาศยื่นล้มละลาย ทำการหยุดไลน์การผลิต ปิดตัวโชว์รูม และการจ่ายเงินเดือนพนักงานมีความล่าช้า
จะเห็นได้ว่ามีหลายบริษัทที่ทยอยล้มละลายอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ยื่นขอฟ้องล้มละลายจะเป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำตลาดในประเทศจีนเป็นหลัก ซึ่งประเทศจีนมีค่ายรถยนต์ที่จดทะเบียนทำแบรนด์ขึ้นมาจำนวนประมาณ 400 กว่าแบรนด์
ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากหลักร้อยจะล้มหายไปเหลือเพียงแค่หลักสิบแบรนด์ สาเหตุที่แบรนด์ค่ายรถยนต์ไฟฟ้า
มีจำนวนมาก มาจากการแตกค่ายแบรนด์ย่อยของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีการนำ Know-how ส่วนหนึ่งร่วมมือกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าอื่น ๆ จนเกิดเป็นแบรนด์ใหม่ขึ้นมา อาทิ SAIC MOTOR และ GEELY
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีแบรนด์ในเครือจำนวนมาก ทางรัฐบาลจีนมีการส่งเสริมในเรื่องของ
ยานยนต์ไฟฟ้า ตามแผนการลดการนำเข้ารถยนต์น้ำมัน ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศจีน จึงมุ่งเน้นการสร้าง
ยานยนต์ที่เป็นพลังงานสะอาด โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า ที่ขับเคลื่อนเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ
ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนเติบโตเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยในปี 2022 มียอดใช้รถยนต์ไฟฟ้าจำนวนร่วม 6 ล้านคัน เมื่อทางรัฐบาลจีนมีการส่งเสริมให้เงินสนับสนุน เพื่อคนให้หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า จนเกิดเป็นฟองสบู่ขึ้นมา ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความต้องการเงินสนับสนุน จัดทำแบรนด์ในเครือของตัวเองจำนวนมาก
การสนับสนุนในเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีน
1. ด้านผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
จากบทความของ MIT บอกว่าประเทศจีนเล็งเป้าหมายเป็นเรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์ หากเป็นยานยนต์พลังงานน้ำมัน หรือ Hybrid จะไม่สามารถสู้กับทางค่ายญี่ปุ่น หรือยุโรป จึงมีการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าขึ้นมา
เมื่อมีบริษัทที่สามารถทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาได้ประสบความสำเร็จ ทางรัฐบาลจีนจะมีการซื้อ
รถยนต์ไฟฟ้า มาทำเป็นรถโดยสาร คือ รถแท็กซี่ รถยนต์นั่ง โดยมีเงินสนับสนุนเป็นจำนวนเงิน 2 แสนล้านหยวน
หรือประมาณ 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นการช่วยผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในระยะแรก ถ้าเป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าใหม่
ที่ก่อตั้งขึ้นมา
ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าหลายแบรนด์จะได้รับเงินสนับสนุน เพื่อทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ทางรัฐบาลจีน
จะยอมรับซื้อเข้าไปใช้งาน โดยมีการสนับสนุนตั้งแต่ปี 2010 – 2020 ที่มีการอัดเม็ดเงินจำนวน 152 พันล้านหยวน
ในปี 2018 มีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือค่ายรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศจำนวนทั้งหมด 487 ราย
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ใหญ่ทำการแตกแบรนด์ย่อยออกมา เพื่อรับเงินสนับสนุน จนกลายเป็นการพัฒนา
และเกิดการแข่งขันระหว่างบริษัทด้วยกันเอง
2. ด้านผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
ทางภาครัฐมีความต้องการกระตุ้นให้เกิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ซึ่งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาครั้งแรก จะมีราคาที่สูงกว่ารถยนต์น้ำมัน
ดังนั้นทางภาครัฐจึงต้องให้เงินสนับสนุน เพื่อลดส่วนต่าง ทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าใกล้เคียงกับรถยนต์น้ำมัน ซึ่งจำนวนเงินสนับสนุนอยู่ที่ประมาณ 60,000 หยวนต่อคัน หรือตีเป็นเงินไทยอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท
ในระยะแรก ซึ่งเริ่มให้เงินสนับสนุนตั้งแต่ปี 2010 หลังจากนั้นจำนวนเงินจะทยอยลดลงและยกเลิกในปี 2022
เมื่อทางรัฐบาลจีนยกเลิกเงินสนับสนุนให้กับทางผู้ซื้อ ทำให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นค่ายย่อยจำนวน 400 ราย เริ่มไม่สามารถขายรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากราคารถยนต์ไฟฟ้ากลับมาแพงเท่าเดิม รวมถึงไม่สามารถลดราคาต้นทุนและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้จำนวนน้อย จึงมีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่ค้างส่งจำนวนหลายพันคัน เกิดการขาดสภาพคล่องและรายได้ติดลบ
สาเหตุการล้มละลายของค่ายรถยนต์ไฟฟ้า มีดังนี้
1. มีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นจำนวนมาก
ในช่วงระยะแรกที่ทางภาครัฐมีเงินสนับสนุนส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในประเทศ ส่งผลให้มีบริษัท
ที่ขอจดทะเบียนจำนวนทั้งหมด 487 ราย เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเกิดขึ้นมา ทางค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีการแข่งขันในเรื่องของต้นทุนราคาระหว่างกัน ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่สามารถทำได้ย่อมจะหายไป
จะเห็นว่าค่าย BYD NIO Li Auto รวมทั้ง Tesla ที่มีการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีน ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีการแข่งขันทางด้านราคา ถ้าค่ายรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถผลิตต้นทุนให้ราคาถูก จะไม่สามารถอยู่ในตลาด
2. เศรษฐกิจในประเทศจีนที่ถดถอย
จากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 และการเกิดวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศจีนชะลอตัว ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถผลิตในราคาต้นทุนถูก จะมีช่องว่างที่สามารถลดราคาของ
รถยนต์ไฟฟ้า จะเห็นได้จาก Tesla และ BYD ที่มีการลดราคารถยนต์ไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นความต้องการ
ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีต้นทุนราคาแพง จะไม่สามารถทำโปรโมชั่นเล่นราคาเหมือนกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าค่ายใหญ่
3. การพัฒนา Product
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน ถ้าไม่มีสินค้าแบบใหม่ ฟีเจอร์ใหม่ หรือมีเทคโนโลยีที่ล้าสมัย จะไม่สามารถดึงดูดให้คนสนใจหันมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
ดังนั้นการพัฒนาและวิจัยตัวรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องใช้เม็ดเงินการลงทุนจำนวนมาก ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้า
ที่มีสายป่านค่อนข้างสั้น จะอยู่อย่างลำบาก ซึ่งตรงกันข้ามกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าค่ายใหญ่ที่มีสายป่านค่อนข้างยาว
จะมีความได้เปรียบสามารถพัฒนา Product ที่ตอบโจทย์ของตลาดออกมาได้อย่างต่อเนื่อง
4. แหล่งเงินทุน
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถอยู่ในตลาดในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเข้าตลาดหุ้นเกือบทั้งหมด เป็นการหาแหล่งเงินทุนในการพัฒนาวิจัย เพื่อสร้าง Product ใหม่ ที่สามารถดึงดูดให้คนมาสนใจในตัวสินค้า
ดังนั้นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าค่ายใหญ่ทั้งหมดจึงเข้าตลาดทุนไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น Nasdaq ตลาดหุ้นฮ่องกง
จะเห็นได้จากค่ายรถยนต์ไฟฟ้า Li Auto, NIO และ Xpeng ที่เข้าตลาดหุ้น Nasdaq เรียบร้อยแล้ว
จึงมีความได้เปรียบในเรื่องของเงินทุนสำหรับการพัฒนาสินค้าใหม่ออกมา
5. ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตจำกัด
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาได้ในจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาต้นทุนการผลิตถูกลง รวมทั้งมีการขายทั้งในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ จากคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ถ้าค่ายรถยนต์ไฟฟ้ามีกำลังการผลิตที่จำกัด จะไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าได้ทันและจะสูญเสียโอกาส
การสั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากตลาดในอนาคต รวมทั้งประเทศจีนมีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนหลักร้อย
หากค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีความพร้อม ทางค่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อื่นจะเข้ามาแทนที่ จะเห็นได้ว่าทั้ง
ตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศจีนที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือดไม่แพ้กัน
สรุปสาเหตุของการล้มหายไปของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีนจากหลักร้อยเหลือเพียงแค่หลักสิบค่าย
ที่คุณสามารถดูได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE
ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ