หลายคนที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 มีความกังวลจากการสิ้นสุดของมาตรการส่งเสริม EV
ตั้งแต่ช่วงสิ้นเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา อาจส่งผลกระทบต่อราคารถยนต์ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น
แต่ทางรัฐบาลมีการเคาะงบประมาณเพิ่มเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ทาง ครม. เห็นชอบเคาะเป็นรายการ
เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือเงินเพื่อสนับสนุนอัดฉีดตามมาตรการส่งเสริม EV แบบฉุกเฉิน เป็นเงินจำนวน 1,024.41 ล้านบาท เพื่อต่อระยะเวลาจนถึงสิ้นปี 2566
ประกอบกับมีการเตรียมความพร้อมที่จะเคาะนโยบายมาตรการส่งเสริม EV 3.5 ในปี 2567 หรือตั้งแต่
ปี 2567 – 2568 เป็นต้นไป ที่จะต้องติดตามกันต่อไป ส่วนในปี 2566 สำหรับคนที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
จะมีค่ายรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่จากประเทศจีนที่เข้ามาทำตลาดจำนวนมากและมาตรการส่งเสริม EV ที่ยังคงสนับสนุนจนถึงสิ้นปี
ภาพรวมของมาตรการส่งเสริม EV ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในช่วงที่มีการใช้งบประมาณในเฟสแรก
เป็นเงินมูลค่า 3,000 ล้านบาท คือ เงินสนับสนุน 150,000 บาท การลดภาษีสรรพสามิตลงจาก 8% เหลือ 2%
ส่งผลให้มียอดจดทะเบียนสะสมที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 3.7 หมื่นคัน และคาดการณ์ว่าจะมียอดจดทะเบียน
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% มากกว่า 50,000 คัน ในช่วงปลายปี
ส่วนมาตรการส่งเสริม EV 3.5 ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2567 – 2568 เป็นต้นไป เรื่องของเงินสนับสนุนจะ
ถูกปรับลดลง จาก 150,000 บาก จะคงเหลืออยู่ 100,000 บาท ส่วนการผลิตคืนในปี 2569 จากเดิมที่มีการนำเข้า
รถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน จะต้องผลิตคืน 1.5 คัน แต่ตั้งแต่ในปี 2569 -2570 จะต้องผลิตคืนรถยนต์ไฟฟ้าคืนมากถึง
2 -3 เท่าแทน คือ
ปี 2569 จะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคืน 2 เท่า
ปี 2570 จะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคืน 3 เท่า
จะเห็นว่ามาตรการส่งเสริม EV 3.5 มีความเข้มข้นค่อนข้างมากขึ้น
ในการต่อมาตรการส่งเสริม EV 3.5 ถือว่าเป็นการปูพรมสำหรับค่ายรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่ของประเทศจีน
ที่กำลังเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าย GAC AIONCHANGAN และรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเข้ามา
ในช่วงต้นปี 2567 คือ ค่าย CHERY จะเห็นถึงแนวโน้มที่ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีนจะเข้ามาทำตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทางค่ายรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นแสดงความไม่พอใจ จากการที่ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีนเข้ามาแข่งขันในตลาดรถยนต์จำนวนมาก โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการส่งเสริม EV
สำหรับตลาดรถยนต์ที่นั่งในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา จากผลของมาตรการส่งเสริม EV ที่มีเงินสนับสนุนจำนวน 150,000 บาท การลดภาษีสรรพสามิตลงจาก 8% เหลือ 2% และภาษีนำเข้าเหลือ 0% ถือว่าเป็นแต้มต่อที่สร้างความได้เปรียบอย่างมากให้กับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีน
วันนี้จะเห็นได้ว่าตลาดค่ายรถญี่ปุ่นชะลอตัวลง จากตลาดรถยนต์ 7 ที่นั่งที่ซบเซาอย่างมาก
โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ญี่ปุ้นแบรนด์รอง อาทิ
MITSUBISHI ติดลบอยู่ที่ 17.8% ที่สามารถอยู่ได้จากรถกระบะ และ PPV เท่านั้น ส่วน MPV คือ Mitsubishi Xpander มียอดที่ลดลง
SUZUKI ที่เป็นรถ ECO CAR ขนาดเล็ก คือ Suzuki SWIFT ติดลบอยู่ที่ 39.1%
MAZDA จะเน้นเป็นรถที่นั่ง SUV Crossover ติดลบอยู่ที่ 59%
NISSAN ติดลบอยู่ที่ 48.4%
ดังนั้น จากมาตรการส่งเสริม EV ส่งผลกระทบตลาดรถยนต์ญี่ปุ่นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นยังอยู่ที่ Hybrid
มีการใช้ไฟฟ้าในบางค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเท่านั้น ประกอบกับการส่งเสริมที่น้อยมาก นอกจากนี้เรื่องสเปคและ
ราคาไม่สามารถสู้กับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน
อย่างล่าสุด ทางค่าย BYD มีการเปิดตัว BYD SEAL
การที่ BYD เปิดตัวรถยนต์ขนาด D-segment เป็นการตอกย้ำว่าทางค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน
เข้ามาทำตลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีรถยนต์ทั้งขนาดเล็ก และSUV Crossover ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้ากลุ่มนี้จะแย่ง
ส่วนแบ่งการตลาด
BYD SEAL มียอดการจองในวันแรกจำนวนสูงถึง 1,100 คัน
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มรถยนต์ของค่ายญี่ปุ่นที่เป็น D-segment ในช่วง มกราคม – กรกฎาคม ที่ผ่านมา
อันดับที่ 1 TOYOTA CAMRY มียอดขายอยู่ที่ 3,562 คัน
อันดับที่ 2 HONDA ACCORD มียอดขายอยู่ที่ 1,979 คัน และกำลังจะเปิดตัวใหม่ประมาณช่วงเดือน
ตุลาคม 2566
จะเห็นว่าค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่ส่วนใหญ่ยังคงใช้เทคโนโลยี Hybrid และรถยนต์มีราคาที่แพงมากกว่า กลายเป็นว่า
การที่รัฐบาลส่งเสริมเรื่องมาตรการ EV โดยมีเงินสนับสนุน 150,000 บาท การลดภาษีสรรพสามิต และภาษีนำเข้า จะเป็นการสร้างความได้เปรียบให้กับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน
นอกจากนี้เมื่อมาตรการส่งเสริม EV 3.0 สิ้นสุดลง และต่อมาที่ EV 3.5 ในระยะยาวอาจจะเพิ่มผลกระทบต่อ
หนี้ของภาคครัวเรือน เนื่องจากผลของมาตรการส่งเสริม EV ทำให้คนมีภาระหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นฟองสบู่ ทางค่ายญี่ปุ่นจึงมีความกังวลและแสดงความไม่พอใจออกมา
ในความเป็นจริงช่วงที่รถยนต์ญี่ปุ่นจำหน่ายออกมาเป็นส่วนที่สร้างหนี้สินให้กับภาคครัวเรือนเช่นเดียวกัน
รวมทั้งรถยนต์ญี่ปุ่นมีมาตรการรถยนต์คันแรกที่สร้างรายได้เป็นจำนวนมาก
จากเสียงความไม่พอใจของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่สะท้อนมาถึงทางรัฐบาล โดยทางนายกรัฐมนตรีคนล่าสุด
คือ นายเศรษฐา ทวีสิน
มีแพ็กเกจดึงนักลงทุนที่ค่ายรถยนต์น้ำมัน โดยเฉพาะค่ายรถญี่ปุ่น ทาง นายเศรษฐา ทวีสิน ได้มีกล่าวถึง
ในงาน The Next Chapter ประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
และได้มีการคุยกับหลายฝ่าย คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ว่าประเทศไทยจะต้องไม่ลืมบุญคุณ
ที่ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนและสร้างฐานการผลิตในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับฉายาว่าเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” จากการส่งออกรถยนต์ไปทั่วโลก โดยเฉพาะพวงมาลัยฝั่งขวา เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยเกิดการเติบโต
แต่เมื่อถึงยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทางประเทศไทยจะต้องช่วยประคับประคอง เนื่องจากทางค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นมีการปรับตัวที่ค่อนข้างช้าและไม่สามารถสู้ในเรื่องของ Supply Chain ของ
รถยนต์ไฟฟ้า
เพราะฉะนั้นทางประเทศไทยไม่ควรสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนเพียงฝ่ายเดียว เพราะรถยนต์น้ำมันยังมีช่วงเวลาสุดท้ายในอีก 10 -15 ปี หรือผู้ใช้บางกลุ่มยังคงใช้รถยนต์น้ำมันอยู่
ขอให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์น้ำมันเฟสสุดท้ายก่อนที่จะหายไป จึงมีการออกแพ็กเกจเกิดขึ้น ถ้าหากจะเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียว จะส่งผลเสีย ทำให้คนตกงานเป็นจำนวนหลักแสนคน เนื่องจากประเทศไทยมีแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นจำนวนมาก จึงควรจะต้องค่อย ๆ ทำที่ละเฟส
ซึ่งแพ็กเกจที่จะทำออกมา คือ การเคาะต่ออายุมาตรการรถที่เป็น Eco Car เพิ่มอีก 2 ปี
รถ ECO CAR สำหรับการต่อมาตรการแพ็กเกจ
ซึ่งรถ ECO CAR หมายถึง รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้เงื่อนไข คือ
1. เครื่องยนต์เบนซิน ต้องมีขนาดไม่เกิน 1,300 CC
2. เครื่องยนต์ดีเซล ต้องมีขนาดไม่เกิน 1,500 CC
3. ผ่านมาตรฐานมลพิษ คือ มาตรฐานยูโร 5 (EURO 5) ขึ้นไป
การปล่อยไอเสียที่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์จะต้องไม่เกิน 100 G/km และอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า 23.25 km/L จะเหมาะกับเครื่องยนต์ขนาดเล็กหรือเครื่องยนต์ที่เป็นรถ Hybrid นำมอเตอร์ไฟฟ้ามาช่วย
ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) พิจารณาเห็นชอบขยายเวลา
สิทธิประโยชน์ในเรื่องของภาษีสรรพสามิตจาก 17% ลดลงเหลืออยู่ที่ 14% ในความจริงมาตรการนี้จะสิ้นสุด
ในเดือน ธันวาคม 2566
หมายความว่าเมื่อมีการจะสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะต้องมีการสนับสนุนรถยนต์น้ำมันญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน อย่างน้อยในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่เล็งเห็นว่าจะต่อไปอีก 2 ปี ส่งผลให้รถ ECO CAR หลังจากนี้ จะช่วยให้รถยนต์ญี่ปุ่นสามารถอยู่ได้อีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเตรียมจะเคาะออกมาอีกครั้งหนึ่ง จึงต้องมารอติดตามกันต่อไป
สรุป สำหรับคนที่ต้องการจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 ที่มาตรการส่งเสริม EV สิ้นสุดลง ทางภาครัฐมี
การเคาะงบประมาณจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อต่อมาตรการจนถึงสิ้นปีโดยใช้เงื่อนไขเหมือนเดิม หากใครต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 จึงยังได้รับมาตรการส่งเสริม EV อยู่ แต่ในปี 2567 จะเป็นมาตรการส่งเสริม EV 3.5
ที่เงินสนับสนุนจาก 150,000 บาท ลดลงเหลืออยู่ที่ 100,000 บาท หมายความว่าราคาของรถยนต์ไฟฟ้าจะแพงขึ้นประมาณ 50,000 บาทต่อคัน ดังนั้นใครมีแผนจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าควรซื้อภายในปี 2566
สำหรับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่แสดงความไม่พอใจจากการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ทางรัฐบาลเล็ง
ที่จะคลอดแพ็คเกจ เพื่อสนับสนุนรถ ECO CAR ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กตามมาตรการเรื่องของมลภาวะจะต่อให้
อีก 2 ปี ที่จะต้องรอการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
สุดท้ายนี้ การที่ค่ายรถยนต์จะเป็นที่นิยมของผู้ใช้งาน จะต้องดูในเรื่องเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ต่อเงิน
ในกระเป๋า จะเห็นได้ว่าราคาค่าน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้าจึงน่าจะเป็นทางออกที่หลายคนเลือก
ถ้ารถยนต์ญี่ปุ่นไม่ปรับปรุงเรื่องของเทคโนโลยีและไม่สามารถตอบโจทย์ได้ รถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนจะเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดในระยะยาว
และนี้คือข่าวของเสียงสะท้อนจากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่มีต่อมาตรการส่งเสริม EV ของรถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะจากประเทศจีน ที่คุณสามารถดูได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ