โตโยต้าใช้แพลตฟอร์มใหม่แบบTesla รุกสู้รถEVจีน!! พร้อมแบตโซลิดเสตท เริ่มผลิตจริงปี 2026 จะทันกินไหม!?

         เมื่อพูดถึงผู้นำเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าย่อมจะนึกถึงค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาจากค่าย Tesla หรือประเทศจีนที่มีการเข้ามาทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมากที่สุด ยกตัวอย่าง ค่าย BYD  ส่วนค่ายรถ
ยักษ์ใหญ่ TOYOTA ที่อยู่ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้ามีการเคลื่อนไหวค่อนข้างช้า
ทำให้ไม่สามารถทำการแข่งขันกับประเทศจีน

         ทั้งที่ TOYOTA มีการเปิดตัว bZ4X ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% ออกมา แต่ด้วยอุปสรรคในเรื่องของเทคโนโลยีและต้นทุนราคารถที่แพงมากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีน จึงไม่สามารถสู้กับทางค่ายรถของ
ประเทศจีนได้ ส่งผลให้หลายคนจึงเริ่มเปิดใจลองใช้รถยนต์ไฟฟ้าจากค่ายรถน้องใหม่จากประเทศจีนแทน

         นอกจากนี้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของญี่ปุ่นยังประสบปัญหาจากเรื่องของ Supply Chain ที่ไม่ได้รองรับในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะเรื่องของแบตเตอรี่ ทำให้ไม่สามารถกดต้นทุนลดลงมา รวมทั้งเรื่องของเทคโนโลยีที่แพลตฟอร์มของค่ายรถญี่ปุ่นยังไม่ใช่แพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง ส่งผลให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าอยู่ใน
ระดับสูง

         ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2023 ทาง TOYOTA มีการเปิดตัวเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ศูนย์วิจัย
เพื่อให้ทางสื่อนักข่าวต่าง ๆ เข้ามาเยี่ยมชมถึงการเตรียมตัวเปิดตัวแพลตฟอร์ม NEXTGEN

         โดย NEXT-GEN EV มีการพัฒนาให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลมากกว่า 800 Km/1 การชาร์จ
โดยจะมีการเริ่มใช้แพลตฟอร์มใหม่ตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป ส่วนไม้ตายที่สำคัญของ TOYOTA จะเป็นแบตเตอรี่ Solid State ที่มีมาร่วม 10 ปี 

         ทาง TOYOTA บอกว่ามีการเตรียมที่จะนำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาใช้ในปี 2027 หรือ 2028 ที่กำลังจะมาถึง
เป็นส่วนสำคัญช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้า NEXT-GEN  สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลกว่า 1,000 Km/1 การชาร์จ
โดยทาง TOTOYA มีการตั้งเป้าหมายจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้จำนวน 3.5 ล้านคัน ภายในปี 2030 โดยจะมี
ถยนต์ไฟฟ้าแพลตฟอร์ม NEXT-GEN จำนวน 1.7 ล้านคัน

         TOYOTA มีความมั่นใจที่จะไม่ยอมสูญเสียตำแหน่งผู้นำด้านรถยนต์ จากการเตรียมความพร้อมในเรื่องของ
รถยนต์ไฟฟ้า ถึงแม้ว่าจะมีการเริ่มต้นที่ล่าช้า แต่มีความตั้งใจที่จะทำอย่างแน่นอน

         สรุปว่าทาง TOYOTA มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดีไซน์
Aero Dynamic และเรื่องของการผลิต ซึ่งวันนี้ทาง TOYOTA มองว่าจะต้องทำการผลิต เพื่อให้ต้นทุนถูกลง
จึงมีการใช้เทคโนโลยี Giga Casting และสุดท้าย คือ เรื่องของแบตเตอรี่

         อย่างที่ทราบกันว่าแบตเตอรี่ คือ หัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งในเรื่องของระยะทางและมีค่าใช้จ่ายต้นทุนเทียบเท่ากับราคาครึ่งหนึ่งของรถยนต์ไฟฟ้า

         ซึ่งทาง TOYOTA มีการประกาศแผนออกมาเป็นตารางสำหรับ NEXT-GEN Platform ของรถยนต์ไฟฟ้า TOYOTA จะใช้แบตเตอรี่ที่แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
            กลุ่มที่ 1 Performance คือ รถยนต์ไฟฟ้าที่เน้นในเรื่องของสมรรถนะ
            กลุ่มที่ 2 Popularisation หรือรถยนต์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ทั่วไปตามบ้าน
            กลุ่มที่ 3 High Performance คือ รถยนต์ไฟฟ้าที่มีสมรรถนะสูงขึ้น
           กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ใช้ Solid-State Batteries

ตารางที่แสดงถึง Timeline ของแบตเตอรี่

         ปัจจุบันเรื่องของแบตเตอรี่ที่ TOYOTA นำมาใช้ จะขออ้างอิงจาก bZ4X ที่มีการจำหน่ายในประเทศไทย
เรียบร้อยแล้ว

         bZ4X ใช้แบตเตอรี่จะเป็นลิเธียมไอออนที่เป็นของเหลวอิเล็กโทรไลต์ ส่วนโครงสร้างของแบตเตอรี่จะเรียกว่า Monopolar ถ้าเรียกตามผู้ผลิตแบตเตอรี่ของประเทศจีน คือ Cell to Module ซึ่งในปัจจุบัน bZ4X สามารถวิ่งในระยะทางเพียงแค่ประมาณ 500 Km/ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน WLTP

        แต่ในปี 2026 จะมีการพัฒนาปรับปรุงแบตเตอรี่ดังกล่าว ทั้งในเรื่องของคุณภาพและโครงสร้างทางเคมี
ส่งผลให้ตัวรถสามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลมากกว่า 800 Km/1 การชาร์จ และราคาจะถูกลง 20%

         แบตเตอรี่ดังกล่าวจะนำมาใช้กับรถที่เป็นกลุ่ม Performance ที่จะเน้นเรื่องของสมรรถนะเป็นหลัก
โดยจะทำออกมาปี 2026 พร้อมกับแพลตฟอร์มใหม่ ส่วนกลุ่ม Popularisation หรือรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้าน
จะเริ่มจำหน่ายในปี 2026-2027 จะมีการเปลี่ยนแปลงของแบตเตอรี่มีทั้งหมด 2 อย่าง คือ
         1.การเปลี่ยนชนิดแบตเตอรี่จากลิเธียมไอออนเป็นลิเธียมไอออนฟอสเฟส ซึ่งมีราคาที่ถูกลง
         2.การเปลี่ยนโครงสร้างจาก Cell to Module เป็น Cell to Pack ที่เรียกว่า Bipolar battery ส่งผลให้ราคา
ถูกลงกว่า 40%
        ทำให้มีโอกาสความเป็นไปได้จะทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้ากลุ่มเนี้ยมีราคาที่ถูกลง 40%

         กลุ่มต่อมา คือ ในปี 2027-2028 เทคโนโลยีที่จะเอามาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ากลุ่ม High Performance หรือ
กลุ่มสมรรถนะสูง

           จะนำรถยนต์ไฟฟ้ากลุ่มนี้ มาอัพเกรดแบตเตอรี่ใหม่ จะเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างจาก Cell to Module เป็น Cell to Pack รวมถึงมีการพัฒนาปรับปรุงทางเคมี ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ในระยะทางมากกว่า 1,000 Km/1 การชาร์จ และใช้ระยะเวลาในการชาร์จแบบ DC Fast Charge อยู่ที่ประมาณ
20 นาที
นอกจากนี้การเปลี่ยนโครงสร้าง Cell to Module เป็น Cell to Pack ส่งผลให้ราคาจะถูกลงประมาณ 10%

         และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่ม Solid-State Batteries ที่หลายคนรอคอย มีการคาดการณ์ว่าจะนำมาใช้จริง
ในปี 2027 – 2028 เป็นต้นไป โดยกลุ่มที่ใช้ Solid-State Batteries  จะส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ใน
ระยะทาง 1,000 Km/1 การชาร์จ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจน

         ในระหว่างที่ทาง TOYOTA มีการเตรียมเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ NEXT-GEN EV พร้อมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปี 2026 ทางค่ายจีนไม่ยอมอยู่เฉยจากการที่เป็นผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าและผู้ผลิตเทคโนโลยีแบตเตอรี่รายใหญ่อันดับที่ 1 ของโลกเป็นบริษัทสัญชาติจีนหรือ บริษัท CATL ซึ่งในเรื่องของแบตเตอรี่จะต้องคำนึงถึง
ระยะเวลาในการชาร์จที่จะต้องทำให้รวดเร็วและสามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลมากขึ้น

         ล่าสุดทาง CATL มีการเปิดตัวแบตเตอรี่ตัวใหม่ คือ 4C แบตเตอรี่ หรือ Shenxing Superfast Charge Battery เป็นแบตเตอรี่แบบ LEP หรือลิเธียมไอออนฟอสเฟต ในช่วงเดือนสิงหาคม 2023

          แบตเตอรี่ดังกล่าวเพียงใช้เวลาการชาร์จ 10 นาที สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลถึง 400 Km/1 การชาร์จ
จะเร็วกว่าปกติถึง 4 เท่า รวมทั้งมีการออกแบบการจุพลังงานให้เพียงพอสำหรับการวิ่งในระยะทางไกลถึง
700 Km/1 การชาร์จ
โดยจะเริ่มใช้ประมาณช่วงปี 2024 เป็นต้นไป

         นอกจากนี้ทาง CATL มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่นำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า  คือ รถ ZEEKR 001 ที่ใช้ Qilin Battery

          เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลถึง 1,000 Km/1 การชาร์จ เรียบร้อยแล้ว โดยแบตเตอรี่
ดังกล่าวยังไม่ใช่Solid-State Battery และความจุพลังงาน หรือ Energy density ของแบตเตอรี่ Qilin อยู่ที่
255 Wh/kg ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ลิเธียม NMC ที่มีค่าอยู่ที่ประมาณ 260 Wh/kg แสดงให้เห็นถึง
ความสามารถการจุพลังงานที่ทำได้ในปริมาณมาก

         นอกเหนือจาก CATL แล้ว ปัจจุบันมีผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหม่ คือ ค่าย V Lion ที่บอกว่ามีความใกล้เคียงกับ Solid-State Battery มากที่สุด ณ เวลานี้ และมีการนำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าของค่าย NIO

         แบตเตอรี่ของ V Lion เป็นแบบ Semi-Solid ได้นำมาใส่ในรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบตั้งแต่ปลายปี 2023 

ถึงต้นปี 2024 เป็นต้นไป ประกอบกับแบตเตอรี่ดังกล่าวสามารถจุพลังงาน หรือ Energy density อยู่ที่
360 Wh/kg
โดยจะนำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าของค่าย NIO ทั้งหมด โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นรุ่น Top
อย่าง Extended Range

 

         แน่นอนว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในอนาคตข้างหน้าภายในปี หรือ 2 ปีข้างหน้า รถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถวิ่งได้ในระยะทางอย่างน้อย 600 – 700 Km

         นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่นำมาใช้กับแพลตฟอร์มใหม่ของ TOYOTA ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่
ทาง TOYOTA มองควบคู่กัน คือ โครงสร้างหรือแพลตฟอร์มที่จะนำมาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จากข้อจำกัดเรื่องของ
ต้นทุน ซึ่งแพลตฟอร์มที่ TOYOTA จะเป็นของรถยนต์น้ำมันที่นำมาใช้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ส่งผลให้ต้นทุนไม่สามารถสู้กับ
ค่ายรถอื่น ๆ

         ทาง TOYOTA มีความคิดว่าจะต้องนำมาขึ้นรูปใช้เทคโนโลยี Giga Casting

         ถ้าพูดถึงเทคโนโลยี Giga Casting คือ การฉีดอะลูมิเนียมเหลวขึ้นเป็นโครงสร้างส่วนหน้าและส่วนหลัง
แทนการนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาเชื่อมติดต่อกันที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานและมีต้นทุนค่อนข้างสูง ซึ่งทาง Tesla สามารถทำได้ประสบความสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จนกลายเป็น Giga Casting 2.0 ที่สามารถฉีดอะลูมิเนียม 1 ชิ้น
ขึ้นมาเป็นรถ 1 คัน

         ทาง TOYOTA เล็งเห็นแล้วว่าสามารถลดเวลา ถ้าต้องการลดต้นทุนและผลิตได้จำนวนมาก จะต้องใช้
เทคโนโลยีนี้ และจะนำมาใช้ในโรงงานต้นแบบที่ TOYOTA เมียวชิ รวมทั้งมีการสาธิตการฉีดเป็นตัวรถออกมาให้ดู

         เทคโนโลยี Giga Casting ได้จับมือร่วมกับบริษัท ไอชิน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตโครงสร้างชิ้นส่วนให้กับ TOYOTA เป็นบริษัท OEM หรือ (Origianl Equipment Manufacturer) จากการใช้เทคโนโลยี Giga Casting ที่ฉีดอะลูมิเนียมเป็นโครงสร้าง จะลดการใช้ชิ้นส่วนจาก 50 -120 ชิ้น จะเหลือเพียงชิ้นเดียว จะช่วยลดเวลาและต้นทุนการผลิต
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้ TOYOTA ถึงเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ 3.5 ล้านคันต่อปี ภายในปี 2030
หรือรถยนต์ไฟฟ้าแพลตฟอร์ม NEXTGEN จำนวน 1.7 ล้านคัน

          แพลตฟอร์มเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Giga Casting ทางค่าย TOYOTA ไม่ใช่ค่ายแรกที่นำมาใช้
เมื่อมองที่ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าอื่น ๆ ของประเทศจีน ต่างก็มีการนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นค่ายในเครือของจีลี (Geely)
อย่าง ZEEKR 009 ที่ใช้กับรถตู้ไฟฟ้า หรือ XPENG 

          ที่ต่างฝ่ายมองว่าเป็นการช่วยลดต้นทุน จากการที่จะต้องมีการเชื่อม 800 จุด แต่เทคโนโลยีนี้จะฉีดอะลูมิเนียมขึ้นรูปทีเดียว ซึ่งจะมีความสะดวกมากกว่า นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการแข่งขันรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากสงครามของการแข่งขันของรถยนต์จะอยู่ที่เรื่องของราคา ซึ่งถ้าค่ายรถยนต์ที่มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ในปริมาณมาก มีความรวดเร็ว ราคาถูก และสามารถวิ่งได้ในระยะทางไกล จะมีสิทธิ์คว้าชัยชนะการเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

         สรุป การที่ TOYOTA มีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม NEXT-GEN EV รวมทั้งการใช้ Giga Casting พร้อมทั้ง
แบตเตอรี่ใหม่ รวมถึงมีแบตเตอรี่อย่าง Solid-State ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับทาง TOYOTA ว่าจะสามารถกลับมาอยู่ในตลาดเป็นคู่แข็งอันดับต้น ๆ ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า จะเห็นได้ว่าวันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับค่ายรถอื่น ๆ โดยเฉพาะค่ายรถจากประเทศจีนที่เรื่องของรภยนต์ไฟฟ้าค่อนข้างนำไปไกลแล้ว ดังนั้นจะต้องดูว่า TOYOTA จะสามารถดึงดูดสาวกของTOYOTA ให้รอซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อ TOYOTA สามารถทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าถูกลง และมีเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันกับค่ายรถจากประเทศจีนได้มากยิ่งขึ้น

         คุณสามารถดูข่าวเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.