ค่ายรถญี่ปุ่นอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก เนื่องจากไม่มีการพร้อมเตรียมรับมือกับการมาของรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนที่เข้ามาแข่งขันอย่างรวดเร็ว รวมทั้งรถยนต์นั่งพื้นฐานของประเทศญี่ปุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทยที่มีราคาระดับเริ่มต้นตั้งแต่ 500,000 – 800,000 บาท ใช้แพลตฟอร์มแบบ Asian Platform ซึ่งไม่ใช่ Global Platform ทำให้คุณภาพของรถยนต์ลดน้อยลง เมื่อเทียบกับราคา โดยในช่วงเวลาก่อนหน้าการใช้แพลตฟอร์มแบบเดิมสามารถทำตลาด เนื่องจากไม่มีแพลตฟอร์มอื่นเข้ามาเปรียบเทียบ
ทุกค่ายรถญี่ปุ่นจะทำการตลาดยากมากขึ้น โดยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มระบบ Adaptive Control
ในรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เพราะตลาดรถยนต์มีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในส่วนของอุปกรณ์ การประกอบ วัสดุเบาะ ของรถค่ายญี่ปุ่นที่ใช้แพลตฟอร์มแบบ Asian Platform มีคุณภาพที่ลดต่ำลง
ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีนที่ใช้แพลตฟอร์มเป็น Global Model ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของตลาดทั่วโลก ยกตัวอย่าง รถยนต์ไฟฟ้า BYD Dolphin ที่มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ
แต่กระนั้นทางค่ายญี่ปุ่นมีการวางรากฐานเป็นอย่างดี โดยมีศูนย์บริการจำนวนมาก และบริการหลังการขายที่ดี
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนยังมีจุดอ่อนในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องใช้เวลา แต่รถยนต์ไฟฟ้าในส่วนของการซ่อมบำรุง จะมีจำนวนที่น้อยมากกว่า ดังนั้นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนจะต้องมีเตรียมความพร้อม
ในเรื่องการสำรองชิ้นส่วนอะไหล่ต่าง ๆ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่นำมาซ่อม มาจากการประสบอุบัติเหตุ
ดังนั้นจุดเปลี่ยนในอนาคตข้างหน้า ค่ายรถญี่ปุ่นทั้งหมดจะเสียเปรียบค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน
โดยในปัจจุบันค่ายรถญี่ปุ่นไม่มีแพลตฟอร์มที่สามารถทำการแข่งขันกับรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน
ยกตัวอย่างรถ Honda e:N1
จะเห็นได้ว่ารถ Honda e:N1 จุดชาร์จจะอยู่ในตำแหน่งข้างหน้าโลโก้ จะเป็นแพลตฟอร์มแบบเก่าที่แปลงมาจาก
รถยนต์น้ำมันที่ไม่มีการใช้ในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงการพัฒนารถยนต์ของค่ายรถญี่ปุ่นที่ล่าช้า ซึ่งการวางจุดชาร์จ
รถยนต์ไฟฟ้าที่ข้างหน้าโลโก้ จะใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Gen แรก อาทิ รถ MG ZS เป็นต้น
ในปัจจุบันไม่มีการวางจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บริเวณดังกล่าว เพราะเป็นจุดเสี่ยงเมื่อเกิดการชนที่จะมีผลต่อ
ในเรื่องของความปลอดภัย
นอกจากนี้ค่ายรถญี่ปุ่นไม่สามารถสร้างความได้เปรียบทางด้านของราคา เนื่องจากแบตเตอรี่มีราคาแพง
ซึ่งทางคุณเต้ยได้มีการพูดคุยกับทางผู้บริหาร Honda ที่ยอมรับว่าไม่สามารถกดราคาของแบตเตอรี่ให้ลดต่ำลง
เพราะฉะนั้นทางค่ายรถญี่ปุ่นจะต้องพิจารณานโยบายของตัวเองว่า รถยนต์ญี่ปุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทย
จะต้องลดขนาดกำไรลงและแทนที่ด้วยเรื่องของคุณภาพ
นอกจากนี้ค่ายรถญี่ปุ่นจะต้องยอมรับว่าไม่สามารถสร้างกำไรจากการขายรถยนต์ในประเทศไทยได้เทียบเท่ากับสมัยก่อน จากการเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขัน ซึ่งนโยบายของค่ายรถญี่ปุ่นที่มาตั้งฐานการผลิตที่ประเทศไทย
มาจากค่าแรงถูก
รวมถึงทางค่ายรถยุโรปขายรถยนต์ที่ประเทศไทยในราคาสูง ยกตัวอย่าง รถ BMW Series 3 มีราคาขายที่
ต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านบาท แต่ราคาขายในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาท
ทั้งที่เป็นการประกอบรถภายในประเทศไทย จึงเป็นคำถามที่ว่าเมื่อเป็นการประกอบรถยนต์ภายใน แต่ราคาขายกลับสูงมากกว่าตลาดต่างประเทศ
ประเทศไทยจึงเป็นตลาดที่ค่ายรถญี่ปุ่นสามารถทำกำไรได้สูงมาก เมื่อมองในความเป็นจริงจะเหมือนกับ
การขายของเก่า ในราคาที่แพงมากกว่าของใหม่
การที่ค่ายรถญี่ปุ่นมาทำตลาดที่ประเทศไทยมาอย่างยาวนานสามารถทำรายได้จำนวนมาก แต่ต้องยอมรับว่าค่ายรถญี่ปุ่นมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย โดยการสร้าง Supply Chain
ที่จำนวนหลักแสนล้าน
ส่วนในเรื่องของราคารถยนต์ค่ายญี่ปุ่นที่ประกอบในประเทศไทยกลับสูงกว่าการนำเข้ารถยนต์ ซึ่งมีคุณภาพที่ดีมากกว่า ยกตัวอย่าง รถ Toyota Crown ราคาขายในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาท แต่ราคาขายที่
ประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท ทั้งทีต้นทุนค่าแรงและวัตถุดิบของประเทศญี่ปุ่นมีราคาที่สูงมากกว่า
ดังนั้นถ้าค่ายรถญี่ปุ่นต้องการแข่งขันกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน จะต้องปรับปรุงในเรื่องของคุณภาพและเกรดของรถยนต์ให้เป็น Global Model
คุณสามารถดูเรื่องราวนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ