หนีน้ำมันแพงมาเจอค่าไฟขึ้น!? กกพ.เตรียมเสนอขึ้นค่าไฟสถานีชาร์จรถ EV 2.92 บาทต่อหน่วย ตลาดมีสะดุดแน่

          เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) มีแผนปรับอัตราราคาค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority หรือ EV Low Priority จากอัตราเดิมอยู่ที่ 2.63 บาท/หน่วย มาเป็นอัตราใหม่ที่ 2.91 บาท/หน่วย รวมกับค่าบริการรายเดือน 312.24 บาท เนื่องจากครบวาระ 2 ปี

         ทางการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายออกความเห็นให้ทาง กกพ. มีการทบทวนราคาค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน

         เรื่องของค่าไฟฟ้าเป็นประเด็นที่คนกล่าวถึงอย่างมากเพราะกระทบต่อทุกภาคส่วน ซึ่งในช่วงก่อนหน้า
ทาง กกพ. มีมติเห็นชอบค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) เป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้า

ประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์/หน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

         แต่สุดท้ายผลการประชุม กกพ. เพื่อพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวด พฤษภาคม – สิงหาคม
ปี 2566  ได้เห็นชอบตามที่อนุกรรมการการกำกับดูแลการปรับอัตราค่าบริการไฟฟ้าพิจารณากรณีการไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอขอทบทวนภาระค้างรับค่า Ft สะสม หรือ AF ส่งผลให้ค่า Ft จากเดิมอยู่ที่ 98.27 สตางค์/หน่วย ลดลงเป็น 91.19 สตางค์/หน่วย หรือประมาณ 7.08 สตางค์/หน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย
จากเดิม 4.77 บาท/หน่วย มาเป็น 4.70 บาท/หน่วย
ซึ่งสามารถลดต้นทุนได้ส่วนหนึ่ง

         ในตอนนี้รถยนต์ไฟฟ้า(EV) มีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการปรับอัตราค่าไฟฟ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority ทาง กกพ. ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตั้งแต่วันที่ 2 – 9 พฤษภาคม 2566 ผ่านทาง Website ของ กกพ. คือ www.erc.co.th

ความหมายของ สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority

          คือ การใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ถูกจัดให้เป็นความสำคัญระดับรอง โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายสามารถเข้าควบคุม ปรับลด หรือตัดการใช้ไฟฟ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้เมื่อมีข้อจำกัดของระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชนทั่วไป และรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าประเทศ

          จะเห็นได้จากที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไปชาร์จสถานีแล้วพบว่าตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ที่ 

120 kW แต่เมื่อทำการชาร์จจริงจะได้พลังงานไฟฟ้าที่น้อยกว่าความต้องการ อาจเป็นเพราะในบริเวณและช่วงเวลานั้นมีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก

         สถานีอัดประจุไฟฟ้าหรือสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน หรือ
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(กพช.) 
วันที่มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าแห่งแรก มีการคิดคำนวณเรื่องของต้นทุน และราคา

          ได้มีการเคาะนโยบายครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบวางแนวทางการกำหนดอัตราค่าไฟสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นแบบคงที่
ตลอดวัน โดยใช้อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลา Off Peak ของประเภทกิจการขนาดเล็ก (ประเภท 2.2) ที่แรงดัน 

22-33 กิโลโวลท์  ค่าพลังงานไฟฟ้าจะอยูที่ 2.63 บาท/หน่วย โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องจัดการแบบ Low Priority

          หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีการเคาะราคาค่าไฟฟ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ 

Low Priority ออกมา ทาง กกพ. บอกว่ามีการใช้ค่าไฟ 2.63 บาท/หน่วย ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 จนมาถึง 

24 เมษายน 2566 ที่ครบวาระ 2 ปี

         จึงมีการยื่นทบทวนปรับอัตราค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น จากเดิม 2.63 บาท/หน่วย มาเป็น 2.91 บาท/หน่วย บวกค่าบริการรายเดือน 312.14 บาท ซึ่งนโยบายนี้จะมีการปรับทบทวนทุก 4 เดือน

          แต่จากกระแสรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 ที่เติบโตสูงขึ้นอย่างมาก การปรับราคาค่าไฟฟ้าของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะสวนทางกับนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าที่ให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า

         ทางรัฐบาลมีแผนนโยบาย 30@30 ด้วยการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือ รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030

         ช่วงกลางปี 2565 ที่มีการประกาศนโยบายมาตรการสนับสนุนการใช้ EV เช่น การลดภาษีการนำเข้าเหลือ 0% การลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% เป็นต้น 

          ส่งผลให้คนสนใจหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยในปี 2565 มีจำนวนยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่ 9,729 คัน

          ส่วนในปี 2566 มีจำนวนยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในช่วง 4 เดือนแรกเท่ากับ 18,599 คัน เมื่อมองไป
ข้างหน้าถึงช่วงปลายปี คาดว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตมากกว่า 70,000 คัน

          แต่ตอนนี้จากที่คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เนื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ต้องมาประสบกับ

ค่าไฟฟ้าที่แพงมากขึ้นแทน

         รวมทั้งผู้ที่ลงทุนเรื่องของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อต้นทุนราคาไฟฟ้าขายส่งที่แพงขึ้น ทำให้กำไรถดถอยลง  ซึ่งการลงทุนเรื่องของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนเงินหลักล้านบาทที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการคืนทุน
ส่งผลให้ต้องมีการขึ้นค่าบริการไฟฟ้าจะขัดต่อการเติบโตของยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 ที่ไม่ต่ำกว่า 70,000 คัน

          ดังนั้นมีความเห็นควรตึงราคาที่อัตราเดิมอย่างน้อยถึงปี 2568 ประเทศไทยอยู่ในช่วงที่เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อขายในประเทศ จะไม่ต้องสะดุดจากสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่คิดค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันค่าบริการของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

          ช่วงเวลา On Peak (เวลา 9.00-22.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์  ) อยู่ที่ราคา 7.5 บาท/หน่วย

          ช่วงเวลา Off Peak (เวลา 22.00-09.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์  และเวลา 00.00 น. – 24.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการ (ไม่รวมวันหยุดชดเชย)) อยู่ที่ราคา 4.5 บาท/หน่วย

          สรุป การที่ กกพ. เตรียมขึ้นค่าไฟฟ้าของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ท่ามกลางตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปี 2566 คาดว่าอยู่ที่ 70,000 คัน จากการส่งเสริมให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า แสดงถึง

ความขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งถ้าอยากให้คนหันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของนโยบายควรที่จะสนับสนุน
ให้สอดคล้องกันและกัน

         ซึ่งทางกระทรวงการคลังมีการลดภาษีสรรพสามิต ทำให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นกระทรวงพลังงานที่ดูแลเรื่องของสถานีชาร์จควรที่ดำเนินการให้ไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากมีการตั้งเป้าหมายที่สำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อนำไปสู่การเป็น HUB รถยนต์ไฟฟ้า จึงอยากให้มีการตรึงราคาจนถึงปี 2568

         เพื่อน ๆ สามารถดูข่าวได้จากคลิปด้านล่างนี้ และถ้าหากชอบคลิปนี้ขอฝากกด LIKE กด SHARE 

กด SUBSCRIBE และกดกระดิ่ง ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.