จากที่ทางค่ายญี่ปุ่นผนึกกำลังยกระดับเทคโนโลยีรถขนส่งเปิดตัวรถบัส รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าและไฮโดรเจน
ดังนั้นวันนี้เราจึงมาที่ TOYOTA ALIVE SPACE บางนา เป็นโชว์รูมที่รวมเทคโนโลยีของ TOYOTA
โดยทาง TOYOTA เป็นผู้ผลักดันรถขนส่งพลังงานสะอาด
สำหรับการรวมตัวผนึกกำลังของค่ายรถญี่ปุ่น มีจุดประสงค์เพื่อยกระดับเทคโนโลยียานยนต์พลังงานสะอาดภายใต้ชื่อกลุ่ม CJPT (Commercial Japan Partnership Technologies Corporation) ก่อตั้งเมื่อปี 2564
ภายใต้การนำของ TOYOTA พร้อมทั้งมีการร่วมมือกับทาง CP ในเรื่องของพลังงานไฮโดรเจน เพื่อตอบโจทย์เทรนด์
Carbon Neutral Mobility Event มีการผลักดันรถเชิงพาณิชย์พลังงานสะอาด คือ รถบรรทุก รถบรรทุกใหญ่ รถตู้ ซึ่งรถเหล่านี้ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นกลุ่มแรกที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด โดยที่จะใช้พลังงานอย่าง
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV และพลังงานไฮโดรเจน FCEV (Fuel Cell Electric Vehicle) ที่ทาง TOYOTA มี
Know-How
รถบัสพลังงานสะอาด TOYOTA SORA
เป็นรถบัส FCEV ขนาด 10 เมตร ใช้พลังงานจากไฮโดรเจน ซึ่งจะมีถังไฮโดรเจนอยู่ด้านบนรถบัสจำนวนทั้งหมด 20 กิโลกรัม เป็นแทงค์จำนวน 10 แทงค์ แบ่งเป็นแทงค์ละ 2 กิโลกรัม
จากนั้นพลังงานไฮโดรเจนจะถูกส่งไปที่ Fuel Cell Stacks ที่อยู่ทั้ง 2 ข้าง คือ ด้านซ้ายและขวา ที่แยกออกมาเป็นไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งมาที่แบตเตอรี่ด้านล่างจำนวน 4 โมดูล ซึ่งเป็นแบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดร์
(NiHM หรือ Ni-MH)
พลังงานไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่ จะส่งเข้ามาที่มอเตอร์มีจำนวน 2 ตัว ที่ส่งเข้าเพลาส่งกำลังบริเวณล้อรถ
เมื่อรวมกันทั้งหมดจะเท่ากับ 6 ล้อ และมีกำลังอยู่ที่ 112 กิโลวัตต์ ประกอบกับรถบัสคันนี้สามารถบรรทุกได้ 79 คน
สามารถวิ่งได้ในระยะทางประมาณมากกว่า 200 กิโลเมตร ต่อการเติม 1 ครั้ง รวมทั้งตัวรูปร่างที่เป็นรถแบบญี่ปุ่น
ทำให้มีสโลปทางขึ้น
นอกเหนือจาก Fuel Cell Stacks ที่อยู่ด้านบนจำนวน 2 เครื่องที่ส่งพลังไฟฟ้าลงมา รถบัสคันนี้สามารถนำ
พลังไฟฟ้าออกมาใช้งานได้ โดยเป็นหัวชาร์จแบบ CHAdeMO
จุดเด่นของรถ FCEV
เมื่อไฮโดรเจนทำปฏิกิริยาได้พลังไฟฟ้า ของเสียที่ได้ออกมา คือ น้ำซึ่งจะ มี 2 ฝั่งที่มาจาก Fuel Cell Stacks
ส่วนน้ำที่ออกมาข้างกันจะออกมาจากเครื่องแอร์ คือ Fill Cell Technology
ภายในรถบัส FCEV
จะเห็นได้ว่าห้องโดยสารมีความกว้างขวางมีความเหมาะสมที่เป็นรถบัสสนามบิน ในส่วนของหน้าจอคนขับ
มีการบอกเรื่องของจำนวนไฟฟ้าในแบตเตอรี่
การทดสอบการใช้งานรถบัส โดยวิ่งที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภายในเต็นท์ของ TOYOTA
ซี่งจะมีตัวอย่างรถคันเล็ก Presentation เรื่องการทำงานของไฮโดรเจน เรื่องการผลิต รูปแบบและเทคโนโลยี
อย่างรถคันนี้จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าอัตโนมัติของ TOYOTA ที่เคยมีการโชว์ตัวในงานโตเกียวโอลิมปิก
Presentation
จาก Presentation จะมีในเรื่องของก๊าซชีวภาพ (Biogas) จากปุ๋ยขี้ไก่ที่มาจากฟาร์มไก่ของ CP เพื่อจะนำมาแยกเป็นไฮโดรเจน
รถ Bio -gas Derived H2
ตัวถังสีแดงมีความจุ 10 กิโลกรัม ภายในถังมีแรงดันอยู่ที่ 200 บาร์ ถ้าต้องการเติมไฮโดรเจน 10 กิโลกรัม
จะต้องใช้แรงดันประมาณ 700 บาร์ หรือ 70 เมกะปาสคาล
เวลาเติมไฮโดรเจนต้องใช้เครื่องคอมเพรสเซอร์เพื่อเพิ่มแรงดันเติมเข้าไปในรถ โดยสำหรับรถ 10 กิโลกรัม
จะใช้เวลาแค่ 5 นาที ซึ่งจะตอบโจทย์มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ที่มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่
ต้องใช้เวลาเติมประมาณ 30- 50 นาที สำหรับรถในเชิงพาณิชย์
รถ Mobile Hydrogen Station หรือสถานีการเติมไฮโดรเจนเคลื่อนที่
จะมีก๊าซที่ Stacks ออกมาเป็นไฮโดรเจนประกอบกับมีคอมเพรสเซอร์ ถ้าต้องการส่งเสริมให้คนหันมา
ใช้รถ FCEV สำหรับรถเชิงพาณิชย์ จากที่เคยกล่าวไว้ว่าการลงทุนสถานีสำหรับการเติมไฮโดรเจนต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก ดังนั้นช่วงที่สถานียังมีจำนวนที่ไม่เพียงพอ รถ Mobile Hydrogen จะถูกนำมาเติมให้ในจุดที่รถวิ่ง
ตามระยะที่ขาด
รถ TOYOTA Granace FCEV
เป็นรถตู้ที่มีขนาดประมาณรุ่น Alphard ใช้เทคโนโลยี Fuel Cell Stacks ทำหน้าที่เอาไฮโดนเจนมาแยกเป็นไฟฟ้า
เมื่อแปลงเป็นพลังไฟฟ้าจะถูกส่งไปที่มอเตอร์ที่อยู่ตรงกลางด้านใต้คนขับ และจะส่งกำลังไปที่เพลาขับเคลื่อน
ล้อหลัง ประกอบกับรถคันนี้สามารถบรรทุกได้ถึง 1 ตัน
เพื่อให้เห็นภาพพลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก Fuel Cell Stacks จะถูกเก็บที่แบตเตอรี่ Lithium-ion ที่อยู่ด้านใน
ก่อนที่จะส่งพลังไฟฟ้าไปที่มอเตอร์ เพื่อทำการขับเคลื่อน ซึ่งมอเตอร์มีกำลัง 48 กิโลวัตต์
และจากรูปจะมีถังไฮโดรเจนจำนวน 2 ถังที่สามารถเก็บได้ถึง 5 กิโลกรัม และสามารถวิ่งได้ในระยะทางมากกว่า 400 กิโลเมตรต่อ 1 การเติม
ด้านในรถ TOYOTA Granace FCEV
มีการออกแบบเป็นออฟฟิศเคลื่อนที่ และจากที่แบตเตอรี่อยู่ด้านใน จึงสามารถนำพลังไฟฟ้าที่มี Adapter
มาแปลงไฟเป็น 220 โวลต์ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ เช่น โน๊ตบุ๊ค
การเติมพลังงาน
จากการใช้พลังงานไฮโดรเจนรวมทั้งหมด 5 กิโลกรัม จะมีจุดเติมตามภาพ โดยใช้เวลาในการเติมไม่เกิน 5 นาที
แต่ด้วยระยะทางที่สามารถวิ่งได้ยังคงเทียบเท่ากับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV
การทดสอบรถยนต์เชิงพาณิชย์
1. รถ HINO 500 ที่ใช้น้ำมัน
การทดสอบจะเป็นการวิ่งวนรอบด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตร และมีการชะลอความเร็วที่ 30 กิโลเมตร
หลังจากนั้นกลับมาเร่งความเร็ว และนำมาจอดที่เดิม
สเปกของรถ
1. บรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
2. เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 8,864 ซีซี.
3. ให้กำลังสูงสุด 344 แรงม้า
2. รถบรรทุก FCEV ไซด์ 25 ตัน
ที่เติมไฮโดรเจนใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อนล้อหลังจำนวน 2 ตัว ที่เพลาล้อทั้งด้านซ้ายและขวาจำนวนทั้งหมด
8 ล้อหลัง
การทดสอบมีอัตราการเร่งความเร็วที่เริ่มจาก 60 ไป 70 กิโลเมตร ซึ่งสามารถทำได้ดีโดยใช้เวลาระยะสั้น ๆ
ข้อดีของรถ FCEV สำหรับเรื่องมอเตอร์ไฟฟ้ายังคงให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจาก รถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV เพียงแต่
ไม่ต้องมีการแบกน้ำหนักของแบตเตอรี่ เป็นการเก็บพลังงานไฮโดรเจนที่ผลิตเท่ากับความต้องการในการใช้งาน
โดยจะมีแบตเตอรี่เก็บBufferเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นเรื่องการเก็บพลังงานจะทำได้มากกว่าแบตเตอรี่และ
มีน้ำหนักที่เบากว่า
3. รถแท็กซี่ไฮบริดและ LPG
มีที่มาจากคนนำรถไฮบริดมาติดกับ LPG จึงมีการสร้างขึ้นมาเพื่อเสริมตลาด
จะมี EV Mode ที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
เครื่องยนต์ LPG 1.5 มีการใช้ LPG อย่างเดียว โดยใช้ไฮบริดในการปั่นไฟ
สามารถวิ่งได้ระยะทาง 15 – 17 กิโลเมตรต่อลิตร (แต่จะอยู่ที่ประมาณ 15 ลิตร) รถคันนี้มีถังก๊าซ LPG
52 ลิตร จึงสามารถวิ่งได้ประมาณ 500- 600 กิโลเมตร และใช้เวลาเติมประมาณ 2 นาที
การดสอบเวลาเร่งความเร็วตัวเครื่องจะทำงานแต่เวลาผ่อนความเร็วลงจะใช้ไฟฟ้าเข้ามาแทน
ถือว่ามีที่แรกที่ประเทศไทย
4. รถบรรทุกเล็ก ไซด์ 3.5 -4.5 ตัน 6 ล้อ
เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 4,000 ซีซี.
รถเกียร์ออโต้
โดยจะให้ทดสอบขับขี่เอง จากอัตราเร่งจะเห็นได้ว่าต้องใช้เวลาเพื่อให้ความเร็วถึงระดับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
5. รถบรรทุก ISUZU ELF ไซด์ 3.5 – 4.5 ตัน 6 ล้อ
เป็นรถ FCEV ที่ทางประเทศญี่ปุ่นมีการนำมาลองใช้งานส่งของตาม 7-ELEVEN วิ่งรอบเมืองด้านนอก
เนื่องจากเป็นรถบรรทุกขนาดเล็กจึงไม่ต้องใช้ใบขับขี่พิเศษ
การทดสอบการเร่งความเร็วทำได้ดีมาก และเวลาผ่อนคันเร่งจะมีการปั่นไฟกลับเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้า
แต่แหล่งเก็บพลังงานเป็นไฮโดรเจนที่ยังคงมีแบตเตอรี่ Buffer บางส่วน
จากการทดสอบการขับรถบรรทุกของ FCEV เป็นรถเชิงพาณิชย์ที่เป็นไฟฟ้าเมื่อใช้ไฮโดรเจน ที่สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกล โดยเฉพาะรถขนาดใหญ่ที่มี Stacks ถังไฮโดรเจน ซึ่งจะตอบโจทย์มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV
เพราะการเติมไฮโดรเจนใช้เวลาเพียง 5 – 10 นาที และสามารถวิ่งได้ในระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร
ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ที่เป็นรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและการบรรทุกได้จำนวนน้อย เนื่องจากต้องหักค่าน้ำหนักแบตเตอรี่ รวมทั้งระยเวลาในการเติมพลังงานต้องใช้เวลา 30 -40 นาที
ดังนั้น รถ FCEV จะช่วยลดข้อจำกัดส่วนนี้
สเปกของรถบรรทุก FCEV
1. FCEV Lite Duty Trucks
1. เป็นรถบรรทุกขนาดเล็ก บรรทุกได้ขนาด 3 ตัน
2. มีการพัฒนาร่วมกันระหว่าง TOYOTA และ ISUZU
3. ใช้เทคโนโลยี FCEV ตำแหน่งของ Fuel Cell Stacks ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า จะอยู่ที่ตรงกลางรถ
โดยมีถังไฮโดรเจนทั้ง 2 ด้าน เมื่อแปลงเป็นพลังไฟฟ้าจะถูกส่งไปที่มอเตอร์แล้วส่งกำลังลงไปที่เพลาล้อ
ที่ขับเคลื่อนด้านหลัง มีกำลังอยู่ที่ 48 กิโลวัตต์/การเติมไฮโดรเจนเต็ม 10 กิโลกรัม สามารถวิ่งได้ในระยะทาง
มากกว่า 200 กิโลเมตร
Fuel Cell Stacks และ แบตเตอรี่
แบตเตอรี่อีกด้านที่มีขนาดใหญ่
4. แรงดันอยู่ที่ 700 บาร์ หรือ 70 เมกะปาสคาล
5. แบตเตอรี่ที่เป็น Buffer เมื่อมีการผลิตไฟฟ้าจาก Fuel Cell Stacks เป็นแบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดร์
(NiHM หรือ Ni-MH)
2. Heavy Duty Truck FCEV
1. เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง HINO กับ TOYOTA
2. บรรทุกได้ 11 ตัน
3. ใช้เทคโนโลยี FCEV ตำแหน่งของ Fuel Cell Stacks จะอยู่ตำแหน่งหน้ารถ ทำการผลิตผลิตไฟฟ้าดึงพลังงานไฮโดรเจน
4. ถังไฮโดรเจนมีจำนวนทั้งหมด 6 ถัง ทั้งด้านบนและด้านล่าง
5. ใช้ไฮโดรเจนอัดทั้งหมด 50 กิโลกรัม สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 600 กิโลเมตรต่อ 1 การเติม
6. มีแรงดันอยู่ที่ 700 บาร์ หรือ 70 เมกะปาสคาล
7. หลังจากที่ผลิตพลังไฟฟ้าจาก Fuel Cell Stacks จะถูกนำไปเก็บที่แบตเตอรี่
8. แบตเตอรี่มี 2 ตัว คือ Lithium-ion อยู่ตรงกลางและท้ายรถ
9. จะนำพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะไปขับมอเตอร์ลงเพลาที่ให้กำลังสูงสุด 262 กิโลวัตต์
ดังนั้นจึงสามารถรับน้ำหนักและทำความเร็วได้เป็นอย่างดี
จะเห็นได้ว่าการที่ค่ายญี่ปุ่นผนึกกำลังภายใต้ชื่อกลุ่ม CJPT ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ FCEV ภายใต้การนำของ TOYOTA โดยเฉพาะกลุ่มรถเชิงพาณิชย์ คือ รถบัส รถบรรทุกเล็ก รถบรรทุกใหญ่ มีความน่าสนใจอย่างมาก
ที่สามารถเจาะทะลุข้อจำกัดของรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV เชิงพาณิชย์
แต่ทั้งนี้มีเรื่องสำคัญจากราคาของไฮโดรเจนสำหรับการเติม ซึ่งราคาไฮโดรเจนที่ประเทศญี่ปุ่นมีค่าสูงเท่ากับราคาน้ำมัน แต่ที่ประเทศไทยมีการร่วมมือกับทาง CP ที่ใช้ก๊าซชีวมวลจากขี้ไก่ เพื่อมาแยกเป็นไฮโดรเจน ถ้าทำได้จำนวนมากและมีราคาถูก ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป
ถ้าคุณสนใจเนื้อหารถ FCEV และต้องการดูแบบฉบับเต็มสามารถดูได้จากคลิปด้านล่างนี้ และถ้าหากคุณถูกใจคลิปนี้ขอฝากกดไลค์ กดแชร์ กด Subscribe ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ