ประเทศไทยเป็นประเทศแรกของอาเซียนที่ใช้เทคโนโลยีรถไฟตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในตอนนี้มีข่าวดีที่ทาง บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เริ่มนำหัวรถจักรไฟฟ้ามาทดลองใช้ เพื่อเข้ามาเปลี่ยนวงการรถไฟของไทยให้เป็นไฟฟ้าแบบ 100% ตามยุคของพลังงานสีเขียว เราจะมาทำความรู้จักหัวรถจักรไฟฟ้านี้ที่สถานีกลางบางซื่อด้วยกัน
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-11-1024x576.jpg)
ทางผู้ดูแลโครงการหัวรถจักรไฟฟ้า คือ คุณวิมลมาศ วงศ์มกรพันธ์ CEO Mine Mobility Research เป็น ผู้แนะนำเกี่ยวกับโครงการนี้
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-13-1024x576.jpg)
เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนเป็นหัวรถจักรไฟฟ้า
ผลจากการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดภาวะโลกร้อน ส่งผลให้หัวจักรรถไฟแบบเดิมที่ใช้น้ำมันดีเซล ถึงจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งระบบขนส่งรถไฟถือได้ว่าเป็นสายเลือดหลักด้านการขนส่งและมีราคาต้นทุนที่่ถูก
ข้อดีของหัวรถจักรไฟฟ้า
1. ประสิทธิภาพดีกว่า
2. ไร้มลพิษ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ลดภาวะโลกร้อน
3. ลดการซ่อมบำรุง
สาเหตุที่ใช้หัวจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่
เดิมทีประเทศไทยมีรถไฟไฟฟ้าที่ใช้ระบบสายส่งเหนือหัว เรียกว่า Overhead catenary system จากบางซื่อไป รังสิต แต่ด้วยการลงทุนระบบสายส่งดังกล่าวต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก คือ 50 – 100 ล้านบาท/กิโลเมตร
ซึ่งถ้าต้องการทำทั้งประเทศที่มีระยะทางประมาณ 6,000 กว่ากิโลเมตร จะใช้เงินทั้งหมดประมาณ 7 แสนล้านบาท
ประกอบกับทางคมนาคมมีโครงการรถไฟทางคู่ที่ลงทุนเป็นจำนวนเงินหลายแสนล้านบาท ที่เป็นรางรถไฟแบบปกติไม่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไฟฟ้า ดังนั้นหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่จะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าและเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ได้
ด้าน คุณเมธา จีนขำขาว ผู้จัดการวิศวกรไฟฟ้า Mine Mobility Research จะเป็นผู้มาช่วยแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของตัวหัวรถจักรไฟฟ้า และ ตู้ Power Car
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-67-1024x576.jpg)
หัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Locomotive)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-12-1024x576.jpg)
โครงสร้างของหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่
โครงสร้างเดิมของรถไฟของประเทศไทย เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel-Electric Locomotive) มีเครื่อง ถ่ายทอดกำลังประกอบไปด้วย เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) และมอเตอร์ไฟฟ้า ตัวเครื่องยนต์ดีเซลจะขับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้จำหน่ายกระแสไฟฟ้า ป้อนเข้าไปที่มอเตอร์ไฟฟ้า ที่จะขับหมุนเพลาล้อกำลังของรถจักร
ส่วนหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่จะนำส่วนของแบตเตอรี่ลิเธียมมาแทนที่ในส่วนของ Diesel engine โดยยังใช้หลักการทำงานเเบบเดียวกันกับของเดิม ถือได้ว่านี้เป็น หัวรถจักรแบบ BEV
ระบบขับเคลื่อนของหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่
หัวรถจักรไฟฟ้า ประกอบด้วย 2 โบกี้ ( โบกี้ คือ อุปกรณ์ส่วนล่างที่รองรับน้ำหนักตู้รถไฟและลดแรงสั่นสะเทือน ) ซึ่ง 1 โบกี้มี 3 เพลา เมื่อรวมกันเท่ากับ 6 เพลา ในแต่ละเพลาจะมีมอตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนมีกำลังอยู่ที่ 380 กิโลวัตต์/ชั่วโมง แยกกัน เมื่อรวมทั้งหมดจะเท่ากับ 2.2 เมกะวัตต์
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-70-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-72-1024x576.jpg)
แบตเตอรี่
แบตเตอรี่อยู่ด้านในประตู 2 ช่อง บริเวณกลางหัวรถจักรไฟฟ้า จำนวน 28 แพ็ค ขนาด 835 กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือ 0.8 เมกะวัตต์
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-79-1024x576.jpg)
สเปคของหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่
หัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ น้ำหนักกดเพลา 19 ตันต่อเพลา ซึ่งสามารถลากน้ำหนัก 2,500 ตัน เมื่อรวมกับกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า 2.2 เมกะวัตต์
ถ้าลาก ตู้ Power Car น้ำหนักกดเพลา 20 ตันต่อเพลา มีทั้งหมด 4 เพลาที่ไม่มีมอเตอร์ไฟฟ้า รวมน้ำหนักทั้งหมดเท่ากับ 80 ตัน จะกินน้ำหนัก 2,500 ตันออกมาเล็กน้อย
ข้อกำหนดเรื่องการบรรทุกน้ำหนัก
รางรถไฟมีข้อกำหนดว่าไม่ควร รับน้ำหนักกดลงเพลาเกิน 20 ตัน/เพลา ในปัจจุบันมีรางรถไฟใหม่ ขนาด 20 ตันต่อเพลาและรางรถไฟเก่า ขนาด 16 ตันต่อเพลา
หากมีต้องการวิ่งในรางรถไฟแบบเก่า ทาง EA สามารถทำหัวรถจักรไฟฟ้าที่มีสเปคน้ำหนักต่อเพลาลดลงและลดจำนวนแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถวิ่งในรางได้ แต่ถ้าเป็นรางรถไฟเก่าขนาด 16 ตัน ที่ใช้มาเป็นเวลานานและอยู่ในทางที่ทุรกันดาร อาจไม่สามารถนำหัวจักรรถไฟฟ้ามาวิ่งได้
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-83-1024x576.jpg)
ด้านในหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่
1. ห้องคนขับมี 2 ห้อง ประจำ 2 ทิศ
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-91-1024x576.jpg)
2. ด้านในถัดจากห้องคนขับ ถือว่าเป็น Know-how การขับเคลื่อนของหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ จะเห็นได้ว่ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในจำนวนมาก ประกอบด้วย คอมเพรสเซอร์ ที่หัวรถจักรไฟฟ้ามีการใช้ลมในการเบรค Traction Inverter ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อไปขับมอเตอร์ไฟฟ้า AC และแบตเตอรี่ 8 เมกะวัตต์ ที่จะมีคอนโทรลและระบบระบายความร้อน
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-98-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-97-1024x576.jpg)
การทดสอบร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
1. วัดขนาดของรถไฟ เมื่อวิ่งบนรางจะต้องไม่เกิดการชน
2. การทดสอบด้วยความเร็ว วัดความเร็วสูงสุดเมื่อวิ่งเฉพาะหัวรถจักรไฟฟ้าอย่างเดียว ทดสอบเวลาเบรคแบบกะทันหันต้องมีระยะที่ปลอดภัยและการเบรคต้องมีประสิทธิภาพ
3. เสียงและการสั่นสะเทือน ที่ห้องคนขับจะมีเสียงที่เบากว่าและส่วนหัวรถจักรไฟฟ้าเวลาวิ่งจะมีแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่ารถจักรดีเซลไฟฟ้า
ระยะทางและความเร็ว
วิ่งเฉพาะหัวรถจักรไฟฟ้า : สามารถวิ่งได้ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ถ้าลากที่น้ำหนัก 2,500 ตัน : สามารถวิ่งได้ 250 – 300 กิโลเมตร ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 40 – 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง สูงสุดอยู่ที่ 70 -80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ข้อจำกัดการวิ่งบนรางรถไฟ
1. จุดตัด คือ มีถนนวิ่งผ่านรางรถไฟเป็นจำนวนมาก ทำให้รถไฟวิ่งไม่ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องมีการหยุด เป็นระยะ
2. จากความกว้างของรางรถไฟที่ค่อนข้างแคบอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร ทำให้รถไฟวิ่งได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง และยังมีผลเรื่องของความเร็วเวลาเข้าโค้ง ถ้ารางรถไฟมีความกว้างมากขึ้น จะสามารถทำ ความเร็วเวลาเข้าโค้งได้สูงตามไปด้วย
การชาร์จหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่
1. ตัวรับ มีลักษณะเป็นเบ้าสี่เหลี่ยม ที่ฝั่งหัวรถจักรไฟฟ้า มี 1 ตัวรับ และ Power Car มีทั้งหมด 3 ตัวรับ
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-89-1024x576.jpg)
2. เครื่องชาร์จหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ขนาด 1 เมกะวัตต์ เวลาชาร์จฝั่งเครื่องชาร์จจะมี มอเตอร์ Actuator ดันหัวชาร์จเข้าไปเสียบที่ตัวรับ เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด อีกทั้งตัวปลั๊กมีกลไกที่สามารถเอียงตัวให้เข้ากับตัวหัวรถจักรไฟฟ้า เพราะระยะการจอดชาร์จจะคลาดเคลื่อนอยู่
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-53-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-54-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-56-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-57-1024x576.jpg)
ตู้แบตเตอรี่แยก (Power Car)
คือ ตัวเติมระยะทางวิ่ง บรรจุแบตเตอรี่ ขนาด 3.1 เมกะวัตต์/ชั่วโมง เมื่อต่อพ่วงสามารถวิ่งได้ที่ 250 -300 กิโลเมตร
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-108-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-109-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-110-1024x576.jpg)
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-111-1024x576.jpg)
ด้านในตู้ Power Car
ด้านในจะเป็นแบตเตอรี่แพ็ค ที่ทาง EA เป็นผู้พัฒนาและออกแบบตั้งแต่เซลล์ โมดูล และแพ็คเลเวล จำนวน 2 ตู้คอนเทรนเนอร์ ตู้คอนเทรนเนอร์ละ 60 แพ็ค รวมทั้งหมด 120 แพ็ค
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-113-1024x576.jpg)
การพ่วงไฟสำหรับการเพิ่มระยะระหว่างตู้ Power Car และหัวรถจักรไฟฟ้า
ในตู้ Power Car มีสายไฟที่เชื่อมต่อแต่ละแบตเตอรี่ไปที่ห้องตรงกลาง และกระจายพลังงานผ่านสายไฟวิ่งมาที่ด้านหัวและท้ายของตู้ ตำแหน่ง Connector เป็น DC Power มีขั้วบวกและขั้วลบ แล้วมาต่อพ่วงเข้ากับหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/Screenshot-2023-04-04-222617-1.jpg)
ส่วนตรงนี้จะเป็น Auxiliary Power เป็น AC Power ยกตัวอย่าง ในกรณีที่ต้องการมีการพ่วงไฟมาที่ ห้องโดยสารเพื่อจ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น แอร์
![](https://evguarantee.net/wp-content/uploads/2023/04/พลิกโฉมรถไฟไทยด้วยหัวจักรไฟฟ้า-116-1024x576.jpg)
Battery Swapping Station
ในอนาคตตู้ Power Car จะสามารถทำแบบ Swap เนื่องจากทาง EA มีความต้องการลดเวลา จากการชาร์จไฟฟ้ากับเครื่องชาร์จ 3 เมกะวัตต์ ที่จะใช้เวลาในการชาร์จอยู่ที่ 1 ชั่วโมง
จึงมีการพัฒนาการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทั้ง 2 ตู้คอนเทรนเนอร์ โดยการยกตู้คอนเทรนเนอร์แบตเตอรี่ตู้เก่าทั้ง 2 ตู้ออก และใส่ตู้คอนเทรนเนอร์ที่มีแบตเตอรี่ที่จุไฟฟ้าเต็มเรียบร้อยแล้วใส่เข้าไปแทน ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที
นี้คือเรื่องราว หัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่เพื่อคนไทย จากการที่ EA มุ่งสร้างนวัตกรรมสำหรับคนไทย และเล็งเห็นถึงโอกาสในเรื่องของจุดเปลี่ยนของรถไฟ ที่พลังงานสะอาดกำลังเข้ามา รวมทั้งหัวรถจักรไฟฟ้าดังกล่าว ยังสามารถสร้างในประเทศไทยได้ ตามวิสัยทัศน์ของ EA ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมทั้งยังเป็นการสร้างอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นทาง EA มุ่งหวังว่าหัวรถจักรไฟฟ้านี้จะไม่ใช่แค่หัวทดสอบ แต่จะเป็นหัวรถจักรไฟฟ้าที่ใช้งานได้จริงและสามารถใช้ได้ทั้งประเทศ เพื่อเป็นการพลิกโฉมวงการรถไฟของประเทศไทย
คุณสามารถชมคลิปเรื่องหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ได้ที่ด้านล่างนี้ และหากคุณชอบคลิปนี้ ขอฝาก กดแชร์ กดไลค์ กด Subscribe ให้ด้วยนะครับ