ในปัจจุบันผู้คนนิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก และจะเกิดเหตุการณ์การเฉี่ยวชนและอุบัติเหตุทั้งเบาและรุนแรง ซึ่งจะมีปัญหาที่ตามมาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการตีราคาค่าซ่อมแซมและการเคลมประกันที่สูงเกินจริง จนต้องมีประเด็นมาพูดคุยในวันนี้
ยินดีเข้าสู่รายการดราม่า EV วันนี้ จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของเคสปัญหา สำหรับกรณีที่มีการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง ทางศูนย์มีความพร้อมสามารถเปลี่ยนอะไหล่ให้ได้ แต่ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง นอกจากจะประสบปัญหาการเคลมประกัน ยังมีปัญหาเรื่องของอะไหล่ โดยเฉพาะเรื่องของมอเตอร์และแบตเตอรี่ที่เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศมาทั้งคัน ประกอบกับยังไม่มีโรงงานผลิตภายในประเทศไทย ในวันนี้เราจะมาพูดถึงตัวรถยนต์ ORA Good Cat ที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก
ในวันนี้ทางเราได้เรียนเชิญน้องเติ้ล จากทาง Priceza Money เป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องของประกัน เรามาคุยเคสประกันโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดอุบัติเหตุชนหนัก ในบางกรณีต้องเปลี่ยนมอเตอร์ทั้งชุดหรือแบตเตอรี่ทั้งชุด
จากกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าจะมีการรับประกันแบตเตอรี่ 8 ปี หรือ 180,000 กิโลเมตร ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ทางประกันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ทางคุณเติ้ลได้ให้ความเห็นว่าการประกันมี 2 แบบ คือ Waranty เป็นประกันคุณภาพสินค้า เครื่องยนต์ขัดข้อง กับ Insurance เป็นประกันอุบัติเหตุรถยนต์ ซึ่งจะคุ้มครองอุบัติเหตุเท่านั้น
เคสตัวอย่างที่ 1จากคุณเอ๋
เคสแรกของคุณเอ๋ เกิดเหตุการณ์คือรถยนต์ไฟฟ้าไปชนกับเสา พบว่าเกิดจากระบบขับเคลื่อนมีปัญหาจากเพลาขับ และทางประกันไม่ยอมเคลมประกัน ทางคุณเอ๋เล่าว่ามีการขับรถที่ความเร็วความประมาณ 60กิโลเมตร/ชั่วโมง แล้วเจอกับทางสี่แยกซึ่งไม่มีสัญญาณไฟรวมทั้งบดบังสายตาจนเกิดอุบัติเหตุ จนรถไถไปชนเสาที่มองกระจกมองทาง
ทางคุณเอ๋ได้รีบประสานงานเคลียรเรื่องอุบัติเหตุ คู่กรณี และศูนย์ทาง GWM ต่อมาทางศูนย์ประเมินความเสียหาย คือ ช่วงล่าง ล้อหน้าฝั่งคนัขบ กันชน ไฟหน้า เพลาขับ ของตัวรถยนต์ ORA Good Cat ซึ่งต้องบอกรายละเอียดก่อนว่าเป็นตัวรถที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ที่ด้านหน้า นอกจากนี้ทางศูนย์ได้แจ้งปัญหา คือ มีรายการประมาณ 40 – 50 รายการที่ต้องเปลี่ยน ทางคุณเอ๋รอประมาณ 2 อาทิตย์ ทางศูนย์แจ้งมาว่า spare part ไม่มี ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเครื่องปรับอากาศ ขาดอุปกรณ์หลายอย่าง ทำให้รถจอดที่ศูนย์เกือบเดือน ทางเจ้าของเคสต้องมีประสานงานทั้งสำนักงานใหญ่ GWM และได้รับความช่วยเหลือจากโซเชียล กลุ่ม ORA ประเทศไทย
จนตอนนี้ได้อะไหล่มาครบแล้วและเริ่มทำการประกอบ แต่มันเกิดประเด็นที่สาม มีการเริ่มรื้อชิ้นส่วนอื่นที่นอกเหนือจากที่ระบุเพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด ส่งผลให้การเคลมประกันเกิดปัญหาเนื่องจากทางเขาไม่ให้ผ่าหรือรื้อเครื่อง
หลังจากที่ได้ประสานงานกับคุณเวล จนทางประกันสามารถเคลมได้หมด คาดว่าอีกประมาณ 1 สัปดาห์จะได้รถ รวมใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือนกับอีก 1 สัปดาห์ และต้องขอบคุณ ORA Goodcat Thailand
จากเหตุการณ์นี้ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าจะไม่เหมือนรถน้ำมัน โดยมีการำเข้าจากต่างประเทศมาทั้งคัน ประกอบด้วยตัวโมดูลมอเตอร์และโมดูลแบตเตอรี่ และเราก็เป็นเหมือนดีลเลอร์
ดังนั้นทางเราไปทำการแกะหรือรื้อซ่อมเฉพาะชิ้นส่วน โดยที่ไม่ได้รับอนุณาตจากบริษัทแม่ ซึ่งมันจะกระทบเรื่องการรับประกัน เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรเปลี่ยนอะไหล่ยกชิ้นจะดีกว่า
เรื่องของเบี้ยประกัน ปีหน้าเบี้ยประกันอยู่ที่ 50,000 เลยไหม ขอตอบว่าไม่ว่าจะเคลมเท่าไร เบี้ยประกันจะสูงขึ้นไม่เกิน 20% ซึ่งตอนนี้บริษัทประกันมีประมาณ 5 -6 บริษัท
เคสตัวอย่างที่ 2
เคสที่สอง เหตุการณ์ คือ คนขับรถขับเคลื่อนเกิดการเลี้ยว ส่งผลให้กล่องแบตเตอรี่จนเกิดความเสียหาย ในวันที่ 28 พ.ย. และเริ่มแจ้งศูนย์เมื่อวันที่ 24 เป็นรถ ORA Good Cat รุ่น 500 Ultra ที่มีประกันชั้นหนึ่งอยู่แล้ว เมื่อตรวจเช็คสรุปได้ว่าต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ต้องบอกก่อนว่าเป็นแบตเตอรี่แพค มีค่า IP 67 จมน้ำได้ลึก 1 เมตร ไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่ถ้าเกิดมีรูรั่วจะทำให้อากาศ น้ำ และฝุ่นเข้าไปได้ จะก่อให้เกิดปัญหากับแบตเตอรี่แน่นอน แต่ที่นืทางประกันเห็นว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ จึงมีการเสนอให้พิจารณาคืนทุนเงินประกันที่ 770,000 ทุน 80% โดยให้ตีเป็นซาก ซึ่งทางเจ้าของซื้อรถมาราคาประมาณ 900,000 แล้วทำไมต้องมาตีเป็นซาก ซึ่งมูลค่าแบตเตอรี่เกิน 70% ของราคารถ
ในมุมประกันซึ่งเราจะพูดถึงก่อนว่าทุนประกันที่คุ้มครอง ซึ่งจะรถที่ซื้อก่อนมาตรการของภาครัฐเราจะซื้อราคาเต็ม ทุนประกันจะสูงกว่า และมีกลุ่มนึงที่ซื้อหลังจากประกาศหลังช่วงเดือน พ.ค. – มิ. ย. ซื้อได้รับประกันส่วนลดแล้ว ทุนประกันจะถูกลงไม่เท่ากัน
จากกรณีเคสของแบตเตอรี่ มีข้อสงสัยว่าทำไมเราไม่ได้ทุนประกันเต็ม 100% ทางคุณเติ้ลชี้แจงว่าเวลาเราไปทำประกันกับบริษัทประกันจะมีการระบุไว้เลย จะได้ทุนประกัน 80% จากราคาซื้อขาย ทั้งรถน้ำมันและรถไฟฟ้า ตาม คปภ. ที่กำหนด
มันมีที่มา 2 กรณี
1. ทาง คปภ. คิดมาแล้วว่าถ้าให้ทุนประกันที่ 95 – 100 % วินัยการระวังในการขับขี่ของคนขับจะน้อยลง
2. เรื่องของการทุจริต ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราใช้รถมาปีหนึ่งแล้วอยากเปลี่ยน ในกรณีปกติเราจะไปขายมือสอง ราคาจะตก แต่ถ้าเรามีทุนประกัน 100 % ก็ทำให้เป็นอุบัติเหตุไป
กลับมาที่เปลี่ยนแบตเตอรี่มีการตีราคาเกิน 70% ของราคารถ ราคาค่าซ่อมอยู่ที่ 602,998.50 สรปแล้วทางเจ้าของรถต้องจ่ายส่วนต่างอีก 30,000 ทั้งที่มีประกันทั้งที่มีประกันชั้น 1 ทั้งทีความเสียหายเพียงเล็กน้อย และได้รับการประเมินอย่างไม่ใส่ใจ ในตอนนี้ทางศูนย์ GMN ได้รับเคสนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องออกค่าใช้จ่าย 30,000 บาท
ทาง GMN ได้มีการตรวจสอบสามเรื่อง คือ
1. การทดสอบระบบแรงดันไฟฟ้าภายในแบตเตอรี่และการทำงานของแบตเตอรี่
2. การตรวจสอบการรั่วไหลของระบบหล่อเย็น(Coolant) ภายในแบตเตอรี่
3. การตรวจสอบการรั่วไหลของฝุ่นและอากาศเข้าในแบตเตอรี่
เครื่องเทสแบตเตอรี่และทีมงานที่มาตรวจสอบ
สรุปแล้วค่าใช้จ่ายมีค่าแรงร่วมอุปกรณ์ประมาณ 40,000-50,000 บาท พอเปลี่ยนเคสสามารถนำแบตเตอรี่ของเดิมมาใส่ มาทำให้เป็นหนึ่งเพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้าไป เพราะจะมีการรับประกัน 8 ปี
นี่แหละก็เลยกลายเป็นว่าเคสนี้เป็นเคสตัวอย่างของการสื่อสารผิดพลาด และทาง GMN ได้มีการปรึกษากับประกันหลายค่ายแล้ว สำหรับคนที่จะใช้ aura good ca อาจต้องเจอปัญหาอีกพักนึง ตราบใดที่ยังไม่ได้ผลิตในประเทศไทย
หากคุณชอบบทความนี้ สามารถดูคลิปตัวเต็มได้ที่ด้านล่าง