ปั๊มชาร์จไฟฟ้า หรือ สถานีอัดประจุ DC Fast Charge
ตัวอย่าง จากสถานี NGV Station ของ ปตท. สาขากำแพงเพชร ซึ่งแต่ก่อนเป็นปั๊ม NGV แต่ในปัจจุบัน
เปลี่ยนมาเป็นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100 % เรียบร้อยแล้ว
บริษัทผู้ผลิต : บริษัท โพลีเทค
ผู้ผลิตเครื่อง Dc Fast Charge และนำมาติดตั้งให้กับปั๊ม ปตท. ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ทีมงานที่ดูแลเครื่องชาร์จไฟฟ้า
คุณศรชัย ผู้เป็นคนดูแลส่วนของเครื่องชาร์จ
เครื่อง DC Fast Charge มีกี่แบบ
โดยหลักเป็น เครื่อง DC Fast Charge ที่มี 3 หัวชาร์จ คือ DC Fast Charge 2 หัว และ AC 1 หัว เป็น เครื่อง DC 120 kW และ AC 22 kW รวมเป็นตัวต้นเครื่อง 142 kW
แต่ที่ใช้อย่างแพร่หลายภายในประเทศจะเป็นหัวชาร์จแบบ CCS ในปลายปีทาง ปตท. จึงเปลี่ยนเป็นเครื่อง
DC Fast Charge ที่มี 2 หัวชาร์จ แบบ CCS
การติดตั้งเครื่อง DC Fast Change มีกี่ขั้นตอน
- ขั้นตอนทดสอบเครื่อง
- การติดตั้งที่หน้างาน
- การทดสอบระบบและฝึกสอนให้นายสถานี
สำหรับบริษัท โพลีเทค จะอยู่ในกระบวนการส่วนขั้นตอนทดสอบเครื่อง
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- เมื่อเครื่องส่งมาถึงแล้ว ทางพนักงานจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อย
2. หลังจากนั้นใส่ตัวโมดูล ด้านในเครื่องมีอุปกรณ์การทำงานอยู่ 2 ส่วนหลักคือ
ต่อมาจะมีการทดสอบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 3 คัน แบ่งเป็นทีละคัน และพร้อมกันทีเดียว เพื่อทดสอบ ความสามารถของการจ่ายไฟฟ้าของเครื่องชาร์จ พร้อมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่องชาร์จ
เครื่องชาร์จ DC 120 kW แรงดันจ่ายได้ถึง 1,000 Volt ซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดได้ทุกรุ่น ตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปที่มีขนาดเป็นประมาณ 400 + – หรือ 800 +- จนถึง 1,000 Volt
3. การทดสอบการชาร์จผ่านแอปพลิเคชัน
เมื่อเสียบหัวปลั๊ก จะใช้ Mobile Application : PTT EV Station สั่งสแกนชาร์จ
การสื่อสารระหว่างรถกับเครื่องชาร์จ จะใช้เวลาในการสื่อสารระยะเวลานึง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยก่อนที่จะจ่ายไฟฟ้า ความต้องการไฟฟ้าของรถยนต์ และเครื่องชาร์จสามารถจ่ายได้เท่าไร เมื่อชาร์จเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะสั่งหยุดผ่าน Mobile Application ถือว่ากระบวนการชาร์จเสร็จสิ้น
การติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้าที่หน้างาน
ที่พื้นที่หน้างาน ใช้สายไฟฟ้า 3 เฟส ขนาด 95 ตารางมิล. สามารถทนกระแสไฟได้ 1,000 Volt สำหรับเครื่อง DC Fast Change มีตัวแปลงกระแสไฟ AC หลัก 1000 Volt มาเป็น DC ประมาณ 400 Volt
ก่อนที่จะนำเครื่องชาร์จไฟฟ้ามาติดตั้ง ต้องทราบถึงสเปคของสถานีก่อน เครื่องชาร์จใช้กี่กิโลโวตต์ โดยมีการคำนวนขนาดหม้อแปลงที่ต้องใช้ คือ ตั้งแต่ 250 kVA ขึ้นไป และต้องมีการอนุญาตจากทางการไฟฟ้า เพื่อต่อสายให้เข้ามาที่ Safety Switch เบรกเกอร์ตู้แรกสำหรับปิดเปิดไฟฟ้าเข้าระบบ
หลังจากนั้นสายไฟฟ้าจะวิ่งไปตามแนวท่อมาที่กล่องพักสาย ถ้าไม่มีการพักสายจะดึงสายยาก แล้วต่อไปที่บ่อพักสายเผื่อกันตัวเครื่อง MDB ทรุดหลักจากนั้นจะต่อเข้ากับตู้ MDB
แต่ละสถานีมีตู้ MDB จำนวนสูงสุด คือ 2 ตู้ โดยมีการกำหนดคือ 1 ตู้ MDB ต่อ 2 เครื่องชาร์จ และ 1 เครื่องชาร์จมี 2 หัวจ่าย
เมื่อนำตู่เตรื่องชาร์จมาลงในพื้นที่ที่กำหนด จะนำสายไฟฟ้าจากตู้ MDB มาต่อกับตู้ชาร์จไฟฟ้า โดยผ่าน เมนเบรกเกอร์
ผ่านเบเนติค ซึ่งเป็นตัวแยกหัวจ่ายไฟฟ้า
มีตัว Surge สำหรับกันฟ้าลง เห็นได้จากชนิดของสายไฟฟ้าที่ใช้ประกอบคือ สายกราวด์ สายไฟ และ
สายนิวทรัล นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ป้องกันไฟลวก DC
จะเป็นขั้นตอนเข้าสายวายริ่งตัวหางปลาจากตู้ MDB เข้าสู่เครื่องชาร์จ ใช้ประแจทอร์คที่กำหนดมาตรฐานเอาไว้ และใส่โมดูลตัวแปลงไฟฟ้าจาก AC เป็น DC จำนวน 6 ตัวต่อ 1 ตู้ ซึ่งจะมีการกำหนดค่ามาตรฐานกำกับ
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งมอบเครื่องชาร์จไฟฟ้า
เมื่อการไฟฟ้าปล่อยไฟฟ้าเข้ามา เริ่มที่ตู้ MBD เพื่อเปิดตัวแมน
- เช็คอุปกรณ์ภายในเครื่องชาร์จไฟฟ้า สามารถใช้ได้หรือไม่
แมนสกิตเบรกเกอร์ ต้องตรวจสอบว่าสามารถออน์ขึ้นได้ไหม แล้วกดปุ่มทริปเปิลเทส เพื่อทดสอบว่า แมนสกิตเบรกเกอร์จะสามารถตัดการทำงานได้หรือไม่ ต่อไปจะเป็นการรีเซตคือการออน – ออฟ ของ แมนสกิตเบรกเกอร์ขึ้นมาใหม่ โดยจะต้องมีการกดลง แล้วกดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
2. ตรวจสอบตัวควบคุมของตู้ชาร์จ
ทดสอบ RCD Type B ตัวกันไฟฟ้ารั่ว และตัว Over Load ทำหน้าที่กันกระแสไฟฟ้าเกิน เมื่อออนเบรคเกอร์แล้วหน้าจอสกรีนจะติดขึ้นมา
มีการส่งข้อมูลเข้าแอปทุก 30 วินาที เมื่อสรุปผลการชาร์จแล้ว ถือว่าเสร็จสิ้นการทดสอบ
การอบรมพนักงานวิธีการใช้เครื่องชาร์จและวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น
งบประมาณการลงทุนการสร้างสถานีชาร์จ DC Fast Charge
จากตัวอย่างปั๊ม ปตท. แก๊ส NGV สาขามีนบุรี กม5 ใช้งบประมาณโดยรวม 3 ล้านบาท ประกอบด้วย เครื่องชาร์จเครื่องละ 1 ล้านบาท ซึ่งสถานีนี้มีจำนวน 2 ตู้ รวมกับระบบ Power หม้อแปลง และ Meter เพิ่มขึ้น โดยประมาณ 1 ล้านบาท