หายนะแน่ถ้าไม่เปลี่ยน!! กฏใหม่ของโลกในยุค GREEN และ DIGITAL เป็นโอกาสทองของ EV World ECO Forum 2024

         สำหรับบริษัทและบุคคลที่ไม่คำนึงถึงคำว่า GREEN และ DIGITAL อาจจะไม่มีพื้นที่ยืนบนโลกในปัจจุบัน
และล้มหายไปในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งคำพูดดังกล่าวมาจาก นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา (ท็อป) เป็นผู้ก่อตั้ง
และ CEO ของ BITKUB GROUP

         ทางคุณท็อปเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำของโลก หรือ World Economic Forum 2024 ที่เมืองดาวอส
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชุมที่ร่วมสุดยอดผู้นำของแต่ละภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม IT,
Google และ Microsoft รวมถึงนายบิล เกตส์ (Bill Gates) นอกจากนี้ทางนายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีของประเทศใหญ่ ๆ เข้าร่วมการประชุมเช่นเดียวกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับทิศทางของโลกในอนาคต

         จากการประชุมดังกล่าว ทางคุณท็อปเล่าให้ฟังเกี่ยวกับคำว่า GREEN และ DIGITAL เป็นที่สิ่งหลายคนให้
ความสนใจที่ทั่วโลกมีการกล่าวถึง และเพื่อให้คนไทยตระหนักและมีการปรับตัว ตามทิศทางของโลกที่มุ่งไปใน
แนวทางดังกล่าว จึงต้องมีการเตียมรับมือให้ทันท่วงที

         ปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่การเป็นสังคมที่ยั่งยืน และมีการเทคโนโลยีดิจิตอลเพิ่มขึ้น

         โดยคำว่า GREEN จะมีการเน้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อม จากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนค่อนข้างมาก
ทำให้การดำเนินชีวิตบนโลกอยู่ได้อย่างยากลำบากมากขึ้น

         ส่วนที่ 2 คือ เทคโนโลยี DIGITAL ที่มีการแข่งขันในเรื่องของความไวและเวลา เพราะฉะนั้น DIGITAL จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทรงพลัง

         ดังนั้น ทั้งคำว่า GREEN และ DIGITAL ถือว่าเป็นเมกะเทรนด์ของโลก และกำลังจะสร้างโลกที่ดีสำหรับ
ทุกคนในอนาคต โดยเฉพาะในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า(EV) และจากกฎใหม่ของโลกที่จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้น
เพื่อทำการส่งเสริมทั้ง GREEN และ DIGITAL ให้เกิดมากขึ้น

GREEN

        หรือการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าไม่ได้ทำการส่งเสริมเรื่องนี้อย่างจริงจัง
จึงทำให้คนทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กับคนที่ธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างเล็กน้อย
         แต่ในปี 2024 จะเริ่มมีการบังคับใช้สำหรับคนทำธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเริ่มถูกกีดกัน
อย่างต่อเนื่อง ส่วนคนทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือธุรกิจที่มีสีเขียว จะได้รับการส่งเสริมอย่างชัดเจน

เรื่องของ GREEN มีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1. ลดการปล่อยคาร์บอน

        ซึ่งมีการบังคับใช้ในเรื่องของมาตรฐาน EURO 5 คือ มาตรฐานทั้งในเรื่องของน้ำมันและเครื่องยนต์
จากช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีการขับเคลื่อนจากมาตรฐาน EURO 3 มาเป็น EURO 4 

        แต่ในปี 2024ประเทศไทยจะเริ่มเป็นมาตรฐาน EURO 5 โดยจะเริ่มจากน้ำมันทั้งน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน
จะต้องมีการปรับลดค่ากำมะถันไม่สูงเกินกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน (10 ppm)

         สารกำมะถันในน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรคาร์บอน รวมถึงเป็นตัวการสำคัญ
ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 จากผลการวิจัยในเรื่องของมลภาวะที่ปล่อยออกมา โดยส่วนใหญ่มาจากรถโดยสารสาธารณะเครื่องยนต์ดีเซลมากที่สุด
        ดังนั้น หลายคนจะเคยได้ยินว่า รถเมล์จะต้องเป็นเครื่องยนต์ตามมาตรฐาน EURO 3, EURO 4 และ EURO 5 จากการพัฒนาในเรื่องของน้ำมันและเครื่องยนต์จะเป็นส่วนสำคัญ ส่งผลให้ค่ายรถรณรงค์และร่วมลงทุนการวิจัยและพัฒนา(R&D) ให้เครื่องยนต์รองรับเทคโนโลยีตามมาตรฐาน EURO 5 ซึ่งจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนเป็น
จำนวนหลักพันล้านบาท ทำให้บางค่ายรถมีการตัดสินใจเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน EURO 5 จนถึง EURO 6
จึงยอมเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทน

         ส่งผลให้หลายค่ายรถที่ทำรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล จะหันมาทำการผลิตเป็น
รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถพลังงานไฮโดรเจนมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาจากมาตรฐาน EURO 5
มาเป็น EURO 6
        นอกเหนือจากการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยานพาหนะ จะมีการควบคุมการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ส่งออกชาวไทยที่ส่งสินค้าไปกลุ่มประเทศ
สหภาพยุโรป (EU) เป็นกฎที่เรียกว่า Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM
(มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป) หรือ กลไกป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน
ในรูปของสินค้า โดยมีการเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา

        ประเทศสหภาพยุโรปเป็นผู้ผลักดันหลักในเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หมายความว่า ผู้ผลิตภายในประเทศในโซนยุโรป จึงต้องมีการลงทุนในเรื่องของ
กรรมวิธีการผลิต หรือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสินค้า 1 ชิ้น จะต้องเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้นทุนการลงทุน
จะมีราคาค่อนข้างแพง

         ถ้าหากมีสินค้าอื่นที่มีลักษณะและคุณสมบัติเหมือนกัน แต่ผลิตจากกระบวนการที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยใช้เทคโนโลยีที่มีราคาถูกกว่า จะได้มีความเปรียบในเรื่องของราคา
         ดังนั้น สินค้าที่มาทำการตลาดในประเทศโซนยุโรป ทำให้ประเทศในโซนยุโรปเล็งเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกัน
จากกลุ่มธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จึงต้องจ่ายค่าภาษีคาร์บอน ตามมาตรการ CBAM เพื่อให้ราคามีความสมเหตุสมผลและความเท่าเทียม
ในการแข่งขันที่ตลาดยุโรป
         ประกอบกับมีการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสินค้าทั้งหมด 9 ประเภท คือ กลุ่มปูน, 

อะลูมิเนียม, เหล็ก, พลังงาน, ปุ๋ย, เคมีภัณฑ์, เม็ดพลาสติก, ไฮโดรเจน และกลุ่มพอลิเมอร์

         สินค้าทั้ง 9 ประเภท ถ้าไม่มีการควบคุมการผลิต หรือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)
จะต้องจ่ายค่าปรับเหล่านี้ ส่งผลต่อการแข่งขันในเรื่องของราคา เมื่อต้นทุนการผลิตรวมกับค่าภาษีคาร์บอน
อาจทำให้ราคาสูงกว่าเจ้าท้องถิ่น
         ยกตัวอย่าง บริษัทที่มีการผลิตปูนในปริมาณ 1 ตัน ซึ่งขั้นตอนการผลิตปูนในปริมาณ 1 ตัน จะมีการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมกันอยู่ที่ 650 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ 0.65 ตัน

         ถ้ามีการผลิตปูนออกมาและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณดังกล่าว จะต้องเสียค่าปรับตามเรทในกลุ่มปูน ตามกฎของ CBAM ซึ่งจะเสียอยู่ที่ 83 ยูโรต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หมายความว่า
เมื่อทำการขายสินค้าปูนในปริมาณ 1 ตัน โดยคิดที่ประมาณ 500 ยูโร จะต้องบวกกับต้นทุนค่าภาษีคาร์บอน
อยู่ที่ 83 ยูโรต่อตัน คูณกับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 0.65 ตัน จะมีค่าธรรมเนียมใบรับรอง CBAM อยู่ที่
53.95 ยูโรต่อตัน และนำมาคูณกับจำนวนปริมาณปูนที่จัดจำหน่าย จากค่าดังกล่าวที่เป็นต้นทุน ทำให้ราคาแพงขึ้น

         จากตัวอย่างดังกล่าว จะทำให้การแข่งขันภายในประเทศกับเทคโนโลยีที่มีการลงทุน ในส่วนของราคา
จะมีความเท่าเทียมมากขึ้น

2. คาร์บอน เครดิต

         การเปลี่ยนคาร์บอนให้เป็นสินเชื่อ หรือ เงิน โดยบริษัท Tesla มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงมีคาร์บอน เครดิต ค่อนข้างมาก ที่สามารถแท็กเป็นแบบดิจิตอล ส่งผลให้หลายคนมี
ความต้องการซื้อคาร์บอน เครดิตจาก Tesla เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างค่ายรถยนต์น้ำมัน คือ ค่าย Ford และ General Motors (GM) ดังนั้น Tesla สามารถทำเงินได้กำไรจาก
การขาย คาร์บอน เครดิต มากกว่าการขายรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงแรก ๆ เนื่องจากว่าการซื้อคาร์บอน เครดิต
สามารถเคลมในเรื่องของภาษีคาร์บอนในประเทศนั้น ๆ ภาษีนิติบุคคล

         ประเทศไทยที่รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเข้ามา จึงมีหลายคนให้ความเห็นว่าควรทำคาร์บอน เครดิต โดยมีบริษัทที่มี
การทำเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุด คือ BYD ที่มีการใช้คาร์บอน เครดิต ของ VERRA คือ มีการแท็กจากการที่ลูกค้าใช้
รถยนต์ไฟฟ้า ทำการชาร์จที่สถานี และพลังงานไฟฟ้าสามารถแท็กได้ว่ามาจากแหล่งพลังงานสะอาด
จะเปลี่ยนเป็นแต้ม ซึ่งแต้มดังกล่าวมาจากการแท็กระยะทางวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละ 1 KM ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีการคิดเป็นจำนวน และทำการตีเป็นตัวเงินออกมา

         ปัจจุบันการรับซื้อคาร์บอนมีการเทรดจริงในต่างประเทศ จากการเปลี่ยนปริมาณคาร์บอนเทรดเป็นจำนวนเงิน ซึ่งประเทศไทยขาดกลไกหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญ คือ ผู้ที่กำหนดการตีค่าจำนวนเงินตามค่าปริมาณคาร์บอนจาก
แหล่งต่าง ๆ อาทิ คาร์บอนจากรถยนต์ไฟฟ้า และคาร์บอนจากสถานีผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานสะอาด เป็นต้น
         ในปี 2024 คาดว่าน่าจะมีบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้เกิดคาร์บอน เครดิต ถ้าหากสามารถทำได้ประสบความสำเร็จ จะเป็นกำไรของคนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า และคนที่ติดโซล่าเซลล์
         เมื่อกล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่มีคนกังขากล่าวว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้า สุดท้ายไปสกปรกที่โรงไฟฟ้าต้นน้ำอยู่ดี
จะต้องยอมรับว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นการรวบปัญหาที่โรงไฟฟ้า แต่ปัจจุบันภาคการผลิตไฟฟ้ามีการเน้น
ในเรื่องการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทรายใหญ่ อย่าง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์

         หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตพยายามมุ่งเน้นในเรื่องของพลังงานสะอาด โดยใช้พลังงานหมุนเวียน
ซึ่งต้นทุนในการผลิตพลังงานสะอาดค่อนข้างสูง กลุ่มนี้สามารถนำคาร์บอน เครดิต ไปทำการขายได้เช่นเดียวกัน

         ซึ่งปัจจุบันการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นที่นิยมใช้ในประเทศมากที่สุด คือ โซล่าฟาร์มพลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานจากลมในบางพื้นที่ จะต้องมีแรงลมไม่ต่ำกว่า 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึงจะสามารถสร้างกังหันลมที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าและมีความคุ้มค่า รวมทั้งมีการกำลังมองหาพลังงานตัวเลือกอื่น ๆ

         หรือรูปแบบการกักเก็บพลังงาน อย่าง Energy Storage ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ จากการที่พลังงานหมุนเวียน
จะไม่มีความเสถียร ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง จะเห็นได้จากหลายค่ายที่นอกเหนือจากพลังงานหมุนเวียน จะมีการผลักดันในเรื่องของการกักเก็บพลังงาน เพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้าในกรณีที่ต้องการ
นำมาใช้ เนื่องจากปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตมาจากพลังงานหมุนเวียนในช่วงเวลาของแต่ละวันจะไม่เท่ากัน
จึงมีการลงทุนในเรื่องของ Energy Storage เพิ่มเติม

DIGITAL

         บทบาทของ DIGITAL จะอยู่ในเรื่องของ GREEN เนื่องจากการลงทุนในเรื่องของ GREEN จะใช้เงินจำนวนมาก จนอาจจะไม่สามารถจับต้องได้ จึงนำเรื่องของ DIGITAL มาเป็นฐานในการช่วย

         ซึ่ง DIGITAL เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโต ยกตัวอย่าง ประเทศจีน มีสัดส่วนการเติบโตถึง 44% ของ GDP
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนำมาใช้ในเรื่องของ Big Data หรือ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในปัจจุบัน เพื่อสร้างประสิทธิภาพ
ให้กับธุรกิจแบบดั้งเดิม ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงการผลิต เรื่องของการขนส่งและ
การบริโภค เพื่อความยั่งยืน ดังนั้น เทคโนโลยี DIGITAL ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงาน สามารถสร้างผลลัพธ์
เพิ่มมากขึ้น

         ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยี DIGITAL ให้มีการเติบโต จะต้องมีการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
โดยในปี 2024 จะเห็นได้ว่ามีเทคโนโลยีในเรื่องของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จนไปถึงการศึกษาสัญญาณระดับ 5G
หมายความว่า เทคโนโลยีดิจิตอลจะมีบทบาทมากขึ้น
         ในช่วงที่มือถืออกมาใหม่ ๆ จะใช้งานเพียงแค่การโทร จนกระทั่งมีสัญญาณ 3G และ 4G ถึงจะเริ่มดูวิดีโอผ่าน
ทางมือถือ ต่อมาเมื่อเป็นสัญญาณ 5G ที่แทบจะเข้าไปในโลกเสมือน จากการประมวณผลที่ใช้เวลารวดเร็วมากขึ้น
จึงเป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทั้งทางด้านการศึกษา ธุรกิจ และสาธารณะ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดที่มีการต่อยอดออกมา

         จากที่เรากล่าวถึงเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า โครงข่ายเทคโนโลยีอัจฉริยะ จะมีสิ่งที่จะเห็นได้จากในอนาคตอันใกล้
คือ เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City หมายความว่า หลายสิ่งจะสามารถสื่อสารระหว่างกัน อาทิ รถยนต์สื่อสารกับ
ไฟจราจร จากการกล่าวถึงเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตกลายเป็นรถไร้คนขับในอนาคต
         ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ คือ เรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน, การสื่อสาร และเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต
จะต้องมีความเสถียรและความไว ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกัน การเก็บข้อมูลผ่าน Big Data และ
AI ทำการประมวลผล เมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้หล่อหลอมรวมกัน ส่งผลให้เทคโนโลยีดิจิตอลเติบโตอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากมีการสนับสนุนระหว่าง GREEN และ DIGITAL

         นอกจากนี้ DIGITAL จะมีบทบาทในส่วนของภาคการผลิต จะเห็นได้ว่าในอนาคตของการผลิต อาทิ
รถยนต์ไฟฟ้า จะเริ่มใช้แรงงานคนน้อยลงอย่างต่อเนื่อง จากการแข่งขันเรื่องของต้นทุนในการผลิตและ
ราคารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
         ถ้าสามารถทำการผลิตออกมาในปริมาณมากและมีความรวดเร็ว จะมีความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุน สามารถทำการตลาดมากขึ้น ดังนั้น การใช้ DIGITAL เข้ามา คือ การใช้หุ่นยนต์ในการสื่อสาร โปรแกรมต่าง ๆ
การใช้หุ่นยนต์ทำการเชื่อม หุ่นยนต์ขนส่งภายในโรงงาน โดยหุ่นยนต์ทำการขนส่งชิ้นส่วนมา ส่วนคนทำหน้าที่เชื่อมต่อชิ้นส่วนระหว่างสถานี การประกอบ หรือ การ QC ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า
         เพราะฉะนั้นเรื่องของ Smart Factory กำลังจะเข้ามามีบทบาท จากการมาของ DIGITAL ประกอบกับ
มีการใช้พลังงานสะอาด คือ การติดโซล่าบนหลังคา นำมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ถึงจะครบวงจรสำหรับการผลิตแบบ Smart

         จากที่กล่าวมาหลายคนจะเห็นว่าการมาของ GREEN และ DIGITAL ทำให้งานบางส่วนหายไปค่อนข้างมาก
แต่ในขณะเดียวกันมีอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ถึงจะเป็นแรงงานที่ต้องการในอนาคตข้างหน้า

อาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น มีดังต่อไปนี้

1. ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน

         ไม่ว่าจะเป็นพลังงานโซล่าเซลล์ พลังงานลม หรือ การเก็บกักพลังงาน Energy Solutions
ซึ่งจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบระบบจัดการพลังงานทั้งตามบ้าน โรงแรม หรือโรงงาน

2. วิศวกรซอฟต์แวร์และไฟฟ้า

         ยุคต่อไปจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นแรงงานจะต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านของฮาร์ดแวร์ไฟฟ้า ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเกิดการเรียนรู้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นแรงงานจะต้องมี
ความถนัดทั้ง 2 ด้าน

3. นักพัฒนา Blockchain

         Blockchain มีการนำมาใช้ในเรื่องของเทคโนโลยีการเงิน, สุขภาพ และโลจิสติกส์ จากการเป็นเทคโนโลยีที่
มีความโปร่งใสค่อนข้างสูง

4. วิศวกร AI และการเรียนรู้ของเครื่อง

          นักพัฒนา Cyber Security จากการพึ่งพาในเรื่องของระบบ Cyber ค่อนข้างมาก แต่อาจจะมีการ Hack
ข้อมูลเกิดขึ้น ยกตัวอย่าง Smart Factory ถ้ามีการ Hack ข้อมูลสินค้าที่จะนำมาจำหน่าย จึงต้องมีแรงงานทำหน้าที่ออกแบบระบบ Cyber Security หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก
         วิศวกร AI เรื่องของการออกแบบ Machine Learning เพื่อให้ AI มีความฉลาดมากขึ้น เรื่องของการวิเคราะห์
ข้อมูล Big Data จะต้องการคนที่มีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ได้อย่างเชี่ยวชาญ

5. Startup ในเรื่องของเทคโนโลยีสีเขียว

         Startup ในเรื่องของเทคโนโลยีสีเขียว เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีธุรกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งการปรับตัวธุรกิจดังกล่าวให้เข้าสู่ยุคของ DIGITAL
         ทาง บริษัท Startup จะต้องให้การบริการ คำแนะนำ การแก้ปัญหา การให้เครื่องมือ เพื่อทำการติดตั้ง
ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ ให้บริษัทธุรกิจแบบดั้งเดิมเป็นไปตามเทรนด์ในเรื่องของ GREEN และ DIGITAL
ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

6. แพลตฟอร์มเรื่องของการ Sharing

         แพลตฟอร์มเรื่องของการ Sharing เป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมในอนาคต โดยเฉพาะรถยนต์
ยกตัวอย่าง Tesla ที่มีการมองในเรื่องของ Robo Taxi เมื่อเจ้าของรถไปทำงาน จะปล่อยรถให้วิ่งอัตโนมัติรับคน
เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และกำหนดเวลาเมื่อเลิกงานให้รถวิ่งกลับมา
         ดังนั้นธุรกิจแพลตฟอร์มการ Sharing จึงเป็นสิ่งที่ต้องการในอนาคตข้างหน้า เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของเทคโนโลยี DIGITAL และความยั่งยืน

         จากฎใหม่ของโลกในยุค GREEN และ DIGITAL เพื่อการเข้าสู่สังคมที่ยั่งยืน และการคว้าโอกาสทางด้านอาชีพ

ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคุณสามารถรับชมได้ที่คลิปด้านล่าง แล้วถ้าคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.