ชำแหละระบบขับเคลื่อน Power Domain Control BYD Atto3 รถเข้าเกียร์เอง!? – ชำแหละดูให้รู้ไปลย Ep.1

         ทางเราทำรายการใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า ชำแหละดูให้รู้ไปเลย ซึ่งจะนำรถยนต์ไฟฟ้ามาผ่า ชำแหละ และเรียนรู้พร้อมกัน โดยเฉพาะเรื่องของกระแสที่เป็นปัญหาอยู่ เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้น

         วันนี้เราจะมาชำแหละรถ BYD Atto 3 โดยทางคุณมนัส ผู้ดูแลเพจ ALL EV Service
ซึ่งทางคุณมนัสจะดูแลรถยนต์ไฟฟ้า ในส่วนของ System ของ Control รวมถึงมอเตอร์
และ Inverter ต่าง ๆ

         ทางคุณมนัสบอกว่า ทางเรามีความเชี่ยวชาญในส่วนของมอเตอร์มาก่อน เนื่องจากมอเตอร์ที่มีลักษณะเดียวกันในรถยนต์ไฟฟ้า จะอยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ประเทศไทยมานานแล้ว

         โดยทางด้านคุณมนัสจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการซ่อมการบำรุง และการดูแลรักษาระบบต่าง ๆ ของมอเตอร์เป็นอย่างดี ส่งผลให้เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามา จึงมีความมั่นใจในเรื่องของการบริการ และการซ่อมบำรุง

         จากประเด็นปัญหาในเรื่องของ Power Domian ของ BYD Atto 3 ที่เกียร์เกิดการเปลี่ยนเองระหว่างขับขี่ ทางคุณมนัสอธิบายว่า Power Domian จะมีการรวมอุปกรณ์หลากหลายภายใน Body เดียวกัน

จุดรับพลังงานไฟฟ้าแรงสูง

จุดจ่ายพลังงานไฟฟ้าแรงสูงออกไปสู่อุปกรณ์ต่าง ๆ

       โดยจะเป็นจุดรับพลังงานไฟฟ้าแรงสูงเข้ามา และทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าแรงสูงไปสู่แบตเตอรี่ หรือระบบ Air Systems ต่าง ๆ รวมทั้งจะมีอุปกรณ์หลัก Vehicle Controller 

คือ กล่อง VCU ของรถยนต์ไฟฟ้า

ส่วนชำแหละของ Power Domain

         จะเป็นซากของรถ BYD Atto 3 ที่นำมารื้อ เพื่อทำการวิจัย ซึ่ง Power Domain 

ของรถ BYD Atto 3 จะเป็นแพลตฟอร์มแบบเดียวกับรถ BYD Dolphin โดยจะมีอุปกรณ์ที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

         เมื่อเราดูใกล้จะเห็นได้ว่า Body ภาพรวมจากโรงงาน จะประกอบด้วย Power Domain, Drive Motor และชุดเกียร์

Power Domain

Drive Motor และชุดเกียร์

         จึงเป็นสาเหตุเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเกิดการเฉี่ยวชน จะต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ยกเซตทั้งหมด จากกรณีปัญหาการเปลี่ยนเกียร์เองของรถ BYD Atto 3 จะสามารถทำการเปลี่ยนแยกเฉพาะ Power Domain

         แต่ในกรณีที่มาจากโรงงาน จะมีการวิจัยทั้ง Power Domain และ Motor รวมถึงทำการจัดชุดเซตมาด้วยกัน ส่วนกรณีที่เกิดปัญหาที่ Power Domain จะสามารถทำการเปลี่ยนเฉพาะ Power Domain โดยไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนทั้งหมด

         เมื่อดูจากโครงสร้างของ Power Domain จะมีรูระบายความร้อนด้วยน้ำ

( Water Cooling ) ซึ่งคอมเพรสเซอร์จะอยู่ด้านข้าง

         ซึ่งระบบระบายความร้อนด้วยน้ำจะหมุนเวียนสัมพันธ์กันระหว่าง Coolant ของมอเตอร์ และ Power Domain

Coolant ของมอเตอร์

         ส่วนของระบบไฟของ Power Domain จะรับไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากการชาร์จรถทั้งแบบ AC และ DC โดยเข้ามาที่ Power Domain ก่อน และจะทำการชาร์จออกไปที่แบตเตอรี่ใหญ่ที่อยู่ด้านล่าง

         นอกจากนี้จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นไฟฟ้าแรงดันสูง 300 V จะนำมาเลี้ยงมาที่ส่วนของระบบแอร์

         นอกจากนี้ Power Domain จะมี On-Board Charger และตัวขับมอเตอร์ เนื่องจากมี Inverter อยู่ด้านใน Power Domain เช่นเดียวกัน

         ต่อมาจะเป็นสายหลักที่รับคำสั่งมาจากคันเร่ง ระบบเกียร์ ระบบเซ็นเซอร์ และBody ต่าง ๆ จะเข้ามาที่ Main VCU ใน Power Domain

         เท่ากับว่า Power Domain เป็น 8 in 1 ที่มีการรวมสัญญาณจ่ายไฟฟ้า High Volt ควบคุมมอเตอร์ทั้งหมด

ส่วนประกอบของชุดเซต Power Domain ชุดเกียร์ และ Motor

ส่วนของ Power Domain

         เริ่มจากส่วนที่รับกระแสไฟเข้าทั้ง AC และ DC กล่าวคือเวลาที่ชาร์จ CCS2 จะมีหัวชาร์จทั้ง Type 2 และ Combo 2 เมื่อรับมีกระแสไฟเข้าจะส่งไปยัง Power Domain จะมีเมนหลักเป็น VCU คือหน่วยประมวลผลกลางของตัวรถยนต์ไฟฟ้า

         เราจะเริ่มทำการแกะ Power Domain โดยเริ่มจากถอดสาย DC และ AC เมื่อเปิดออกมา ส่วนของภายในจะมีการทำสัญลักษณ์ เพื่อทำความเข้าใจได้ง่าย หลักการจะเริ่มจากการชาร์จกระแสไฟฟ้า DC ผ่านเข้ามาที่ บัสบาร์ (ตัวรับกระแสไฟ) ซึ่งจะสังเกตได้ว่าบัสบาร์ใหญ่ จะมีการเว้นช่องระยะห่าง ต่อมาจะผ่านมาที่เพาเวอร์รีเลย์ สำหรับรอคำสั่ง เพื่อทำการตัดต่อ ส่วนช่องด้านหลังจะต่อสายเข้ามาที่แบตเตอรี่ใหญ่ และ VCU Controller ที่เป็นเมนหลักในการสั่งการอุปกรณ์ และมีตัวเซ็นเซอร์ทั้งขาเข้าและขาออก ในการตรวจสอบการเข้าของกระแสไฟฟ้า

บัสบาร์

เพาเวอร์รีเลย์

VCU Controller

ตัวเซ็นเซอร์

         ในกรณีที่ระบบรถยนต์ไฟฟ้าเกิดมีปัญหาขึ้นหรือระบบตัวรถยนต์ไฟฟ้าสื่อสารกับตู้แล้วพบปัญหาเพาเวอร์รีเลย์จะไม่ทำการตัดต่อกระแสไฟ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงส่วนของแบตเตอรี่ใหญ่

         กรณีปกติเพาเวอร์รีเลย์รับสัญญาณเข้าแล้วส่งกลับไปยัง VCU ให้เปิดการงานเพาเวอร์รีเลย์จะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่แบตเตอรี่ใหญ่ผ่านพอร์ตและมีกระแสไฟส่วนหนึ่งส่งผ่านบัสบาร์เข้าไปยังวงจร DC to DC แปลง DC กระแสไฟสูงให้เป็นกระแสไฟ DC ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อนำไปใช้ชาร์จแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์

         แล้วจึงนำมารวมเลี้ยงระบบของตัวรถยนต์ไฟฟ อาทิ ระบบเอนเตอร์เทน, ระบบเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็น Low volt ที่ยังเป็นกระแสตรง และบางส่วนจะดรอพ
กระแสไฟบางส่วนลงเพื่อไปเลี้ยงแอร์คอมเพรสเซอร์จาก 400 โวลต์ ดรอพลงมาเหลือ 300 โวลต์
ที่จุดส่วนของ Air Out และ Battery Out

         ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละมีกำลังไฟที่ไม่เท่ากัน อาทิ รุ่น Dolphin, ATTO 3 มีกำลังอยู่ที่ 400 โวลต์ส่วนของ VCU ( Vehicle Control Unit : ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบระบบการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า) และภายใต้ VCU มีชิฟ IGVT หรือเรียกอีกหนึ่งว่าระบบ Inverter
ทำหน้าที่แปลงไฟ DC ให้เป็น AC เพื่อที่จะขับเคลื่อนไดรฟ์ระบบมอเตอร์ เมื่อถอดการประกอบออกมาจะพบทั้ง VCU และ ECU ( Electronic Control Unit ) ในส่วนของ ECU จะรับคำสั่งจากคันเร่ง หรือระบบเปลี่ยนเกียร์ต่าง ๆ มาทำการประมวลผลส่งข้อมูลต่อให้ระบบ Inverter
เพื่อให้ไดรฟ์ระบบมอเตอร์แจ้งผล อาทิ อยู่ที่เกียร์ P หรือ เกียร์ N

VCU

ECU

         แล้วมาถึงในส่วนของ Inverter อธิบายจากการที่กระแสไฟ DC ของตัวเมนหลักจากแบตเตอรี่ออกมาเข้าสู่ DC Link Capacitor ทำการกระจายกระแสไฟฟ้า DC ออกมา 3 ส่วน และทำการแปลงกระแสไฟฟ้าเป็น AC 3 เฟส โดยจะเป็นระบบความถี่ค่อนข้างสูง

         ต่อมาในส่วนของสายต่อชุดนี้เป็นตัวคำสั่งให้เดินหน้าหรือถอยหลังมายังแผงวงจร เพื่อส่งคำสั่งไปยังมอเตอร์ โดยลักษณะมีการสลับเฟส เพื่อให้มอเตอร์หมุนเดินหน้าหรือถอยหลัง 

กล่าวได้ว่ากระแสไฟฟ้าเข้า VCU แล้ว Inverter ทำการเปลี่ยนกระแสไฟเป็น AC 3 เฟส
แล้วส่งออกไปยังขั้วสเตเตอร์ ทั้งหมด 3 เฟส

ในส่วนของ On-Board Charger

         ส่วนนี้จะอยู่ด้านล่างของ Power Domain ซึ่งทุกอย่างจะรวมอยู่ใน Body เดียวกัน จะเห็นได้ว่าตัวพอร์ตชาร์จเจอร์ระหว่าง AC และ DC มีการแยกกันอย่างชัดเจน ในส่วนของพอร์ต DC จะสามารถชาร์จเข้ามาที่แบตเตอรี่โดยตรง ส่วนตัวพอร์ต AC ที่เป็นการชาร์จไฟจากบ้าน
เมื่อกระแสไฟฟ้า AC กระแสไฟจะวิ่งเข้ามาที่แผงวงจร AC จะผ่านกระบวนการแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า DC และจะวิ่งกลับขึ้นไป On-Board Charger ด้านบนแล้วชาร์จกลับเข้าไปที่แบตเตอรี่ใหญ่

         โดยจะวิ่งเข้ามาที่ On-Board Charger และทำการชาร์จไปที่แบตเตอรี่ใหญ่

         ซึ่งเส้นนี้มีความพิเศษ คือ ในขณะที่ไม่มีการชาร์จ AC อุปกรณ์ชุดนี้จะใช้กระแสไฟจะกลับไปเลี้ยง DC to DC ถ้าในขณะที่ AC ระบบดังกล่าวจะไม่ทำงานระบบจะนำกระแสไฟ DC กลับขึ้นมาเข้าชาร์จแบตเตอรี่อีกครั้งไปกลับในทางเดียวกัน

         ในส่วนของ V2L คือ การดึงกระแสไฟจากแบตเตอรี่แล้วแปลงเป็น AC ใช้กระบวนการที่คล้ายกันเมื่อ AC เข้ามาแปลงเป็น DC ส่วนของ Capacitor แปลง DC เป็นขนาด 400 โวลต์ เพื่อชาร์จกลับเข้าแบตเตอรี่ High Volt ในส่วนของแผงคอนโทรล On-Board Charger 

ส่งผ่านมายัง DC จะมีฟิล DC ทำการโพรเทคชาร์จกลับเข้าแบตเตอรี่ใหญ่

AC และ DC

กระแสไฟฟ้า AC จะเข้าด้านนี้

Capacitor

แผงคอนโทรล On-Board Charger

         ซึ่งรวมถึงลักษณะพิเศษของวงจร กล่าวคือ ขณะที่ชาร์จ DC ออกไป แต่ในกรณีที่ใช้ระบบ V2L ก็ดึง DC กลับมาเข้าแผงวงจรแปลงเป็น AC โดยผ่านขดลวด

         หรือ ส่วนของทรานฟอร์เมอร์ที่มีลักษณะการทำงานในเกิดความถี่และความร้อนสูง
รวมถึงความร้อนสูงส่วนของ Body ตรงนี้จะมีน้ำ Coolant วนไหลผ่านเพื่อระบายความร้อนจึง
รวมถึงส่วนของ Power Mosfet ที่อยู่บริเวณบนของทรานฟอร์เมอร์จะถูกดูดความร้อนออกไปจากระบบ V2L เป็นแบบ Coolant หมุนเวียน ส่วนของตรงนี้คือ Power Mosfet
เป็นเครื่องการันตีได้ว่าช่างในอนาคตอันใกล้นี้สามารถซ่อมในส่วนได้อย่างแน่นอน
เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับ Inverter

Power Mosfet

ทรานฟอร์เมอร์

         แล้วคือสิ่งที่เราจะสื่อว่าเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาเมื่อหมดการการันตีไม่ว่าจะด้วยระยะทางหรืออายุการใช้งานเกิน 8 ปี ก็ไม่จำเป็นต้องยกชุดอะไหล่เปลี่ยน หากมีความเข้าใจในวงจรดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนแยกชิ้นส่วนได้ เพิ่งแค่เข้าใจกระบวนการแกะ รื้อ ถอดออกอย่างถูกต้อง ในกรณีที่ยังไม่มีความไม่เข้าใจในกระบวนดังกล่าว อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวอุปกรณ์มากขึ้น

         หลังจากดูชุดคอนโทรลเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการส่งกระแสไฟไปยังมอเตอร์เป็นไฟ 3 เฟส ส่วนนั้นจะมีทั้งมอเตอร์และชุดเกียร์ โดยกระแสไฟฟ้าจะเข้ามาที่ขดลวด Stator เพื่อสร้างความถี่สนามแม่เหล็กมาไดรฟ์ตัว Rotor กระแสไฟจะเข้ามาที่ขดลวด Stator ทั้งหมด 3 เฟส ทำให้มอเตอร์เกิดการหมุนหลังจากที่มอเตอร์เริ่มหมุน จะส่งแรงขับมาที่ชุดเกียร์ กล่าวคือ การนำกำลังส่งลงไปที่ล้อ

         มาถึงในส่วนของชุดเกียร์ของมอเตอร์ ซึ่งอยู่ในอัตราทด 10/1 โดยชุดเฟืองจากเข้าที่ด้านหลังของชุดเกียร์ เมื่อมอเตอร์เกิดการหมุนและชุดเฟื่องของชุดเกียร์มีการหมุน จะมีกำลังส่งไปยังเพลาขับล้อทั้ง 2 ฝั่งทั้งซ้ายและขวา โดยรอบหมุนลบ 10/1 แล้วจะเท่ากับ 16,000 รอบ
กล่าวคือ มอเตอร์รับกระแสไฟเข้ามาส่งกำลังเข้ามอเตอร์และมอเตอร์หมุนผ่านชุดเกียร์
แล้วจากนั้นเกิดกำลังลงเพลาล้อ ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อน เป็นการมองภาพตัว Power Domain ทั้งหมด

เพลาขับล้อซ้ายและขวา

         แล้วก็มาถึงการสรุปปัญหารถเข้าเกียร์เองจาก N เป็น P จะต้องมาดูการทำงานของ Power Domain โดยเมื่อเข้าเกียร์จะส่งสัญญาณ 2 ส่วน คือ มาที่ VCU และอีกส่วนส่งไปที่จอ Display ในขณะนี้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่เกียร์อะไร

         ในกรณีที่ปกติ อาทิ การเข้าเกียร์ D คำสั่งจะส่งไปที่ VCU ส่งต่อไปที่ Invertor แล้วส่งต่อไปยัง Motor ว่าจะต้องเดินหน้าหรือถอยหลัง

         ในส่วนของกรณีที่เกิดปัญหาอาจมาจากคำสั่งที่ไม่สัมพันธ์กัน หรือปัญหาทางระบบซอฟต์แวร์ หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีปัญหา ทำให้ผลที่แสดงออกที่หน้าจอเกิดการรวน
เพราะเป็นระบบ Power Electronics Control ซึ่งวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ การลงซอฟต์แวร์ใหม่ หากยังไม่หายก็ต้องในส่วนของฮาร์ดแวร์ อาจจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางส่วนมีปัญหา หรืออาจถึงขั้นเปลี่ยนPowerDomain คือ ชุด Power Domain ประกอบด้วย VCU,
On-Board Charger
, DC to DC, MCU (Motor ControlUnit) ที่มี Inverter รวมถึง PDU (POWER DRIVE UNIT), BMS Controller พร้อมทั้งมอเตอร์และชุด Transmission

         แล้วนี้คือความรู้จากชำแหละระบบขับเคลื่อน Power Domain Control BYD Atto3
ถ้าคุณสนใจสามารถรับชมได้ที่คลิปด้านล่างนี้ และหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE
กด SHARE กดSUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.