EV คือหายนะหรือโอกาส? คนทั่วโลกจ่อตกงาน 15 ล้านคน!! ธุรกิจไทยอาจไปไม่รอด แล้วจะทำยังไง รับมือแบบไหน?

         ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังถึงจุดเปลี่ยนผ่านจากยุคของเครื่องยนต์น้ำมัน หรือสันดาปภายใน เรียกว่า Internal combustion engine (ICE) เข้าสู่ยุคของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เรียกว่า รถยนต์ไฟฟ้า (EV) หรือ Battery Electric Vehicle (BEV)

         ซึ่งการมาของรถยนต์ไฟฟ้า จะส่งผลกระทบทั้งด้านดีและด้านไม่ดี โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากการมาของรถยนต์ไฟฟ้า จะทำให้ชิ้นส่วนยานยนต์ค่อย ๆ หายไป จากการเปลี่ยนเครื่องยนต์กลไกเป็นพลังงานไฟฟ้า
         การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ หลายคนคาดการณ์ว่าในปี 2025 จะมีสัดส่วนคนที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 35% และภายในปี 2030 จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงถึง 50%
         ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ความต้องการใช้รถยนต์น้ำมันจะลดลง และในส่วนตัวรถ หรือชิ้นส่วน Supply Chain จะมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีการใช้ชิ้นส่วนจำนวน 30,000 ชิ้น/ 1 คัน จะลดลงเหลืออยู่ที่
1,500 – 3,000 ชิ้น / 1 คัน เท่านั้น
         โดยรถยนต์ไฟฟ้าจะไม่มีชิ้นส่วนจำพวก เครื่องยนต์ ระบบไอเสีย หม้อน้ำ ถังน้ำมัน และถังเชื้อเพลิงทั้งหลาย
ทำให้บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนดังกล่าว จะอยู่ได้อย่างยากลำบากมากขึ้น

         การมาของรถยนต์ไฟฟ้าเป็นการแทนที่เทคโนโลยีดั้งเดิมของรถยนต์น้ำมัน โดยจะมีโมดูลดังต่อไปนี้
             1. โมดูล Battery ที่มีราคาเท่ากับ 50% ของตัวราคารถยนต์ไฟฟ้า

             2.  โมดูล มอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีราคาเท่ากับ 25% ของราคาตัวรถยนต์ไฟฟ้า

             3. โมดูลชุดควบคุม Power Control และ Infotainment ที่มีสัดส่วนอย่างละ 15% ของราคา

ตัวรถยนต์ไฟฟ้า

         สำหรับประเทศไทยเป็นฐานการผลิต หรือ Supplier สำหรับการผลิตรถยนต์น้ำมันที่นำโดยค่ายรถญี่ปุ่น
เป็นอันดับที่ 10 ของโลก ซึ่งการเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบเต็ม ๆ

ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า

ยุโรป

         ยุโรปเป็นตัวตั้งตัวตีการผลักดันในเรื่องของพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือไฮโดรเจน
โดยยุโรปเป็นประธานในการประชุม COP ว่ากันด้วยเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนมากขึ้น
ส่งผลให้สภาพอากาศเกิดการแปรปรวน สภาพแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ

         ถึงขนาดที่สหภาพยุโรป (EU) มีการประกาศยกเลิกขายรถยนต์น้ำมันในปี 2035 ซึ่งการประกาศยกเลิกขาย
รถยนต์น้ำมัน จะมีผลต่อการจ้างงาน ทำให้มีการยกเลิกการจ้างงานสูงถึง 14.6 ล้านตำแหน่ง
         ซึ่งมีค่ายรถที่เข้าร่วมกับทางฝั่งยุโรป ไม่ว่าจะเป็น BMW หรือ Mercedes-Benz ที่มีการประกาศอย่างเป็น
ทางการว่า การผลิตรถในอีก 5 ปีข้างหน้า จะยกเลิกการผลิตรถยนต์น้ำมัน และเปลี่ยนไลน์การผลิตเป็น
รถยนต์ไฟฟ้า (EV) แบบ 100%

         และคาดการณ์ว่าคนในอุตสาหกรรมยานยนต์แบบเก่า จะลดหายไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอุตสาหกรรม
รถยนต์ไฟฟ้า จะจ้างคนทำงานที่มีทักษะเทคนิคที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม รวมถึงไลน์การผลิตจะมีความทันสมัยมากขึ้น
         เมื่อคิดสัดส่วนคนที่ตกงานจำนวน 14.6 ล้านคน จะอยู่ที่ประมาณ 7% ของแรงงานในยุโรป โดยข้อมูลดังกล่าวอ้างอิงมาจากสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ยุโรป
         นอกเหนือจากผู้ผลิตรถยนต์ จะรวมถึงผู้ผลิตชื้นส่วน อย่าง BOSCH ในประเทศเยอรมัน

         BOSCH ประเมินว่าเมื่อมีการเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า จะทำให้จำนวนแรงงานหายไปถึง 10 เท่า
เนื่องจากทาง BOSCH เป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลให้กับค่ายรถ ซึ่งการเปลี่ยนทักษะจากเครื่องกลมาเป็น
รถยนต์ไฟฟ้าของแรงงานที่เหลืออยู่ จะต้องได้รับการอมรบในเรื่องของความชำนาญเทคโนโลยีแบบใหม่
และการใช้เครื่องมือทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ ถึงจะสามารถรับมาผลิตในไลน์การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า

         ซึ่งประเทศเยอรมันมีการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมรถยนต์แบบเก่าสูงถึง 75,000 ตำแหน่ง ในปี 2025
และอาจจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 178,000 ตำแหน่ง หากมีการยกระดับในเรื่องมาตรการเรื่องของสิ่งแวดล้อม
         จากปัจจุบันเครื่องยนต์มีการพัฒนาไปถึงมาตรฐานยูโร 5 (EURO 5) ถ้าต้องการยกระดับเป็นมาตรฐานยูโร 6 (EURO 6) ซึ่งการลงทุนในเรื่องของเครื่องยนต์ จะทำได้ยาก แต่การทำเป็นรถยนต์ไฟฟ้าราคาต้นทุนจะถูกมากกว่า แต่ในขณะเดียวกัน จะส่งผลกระทบต่อแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์แบบดั้งเดิม

ประเทศสหรัฐอเมริกา

         แบรนด์ยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นค่าย GM(General Motors Company) รวมถึงค่าย Ford มีการเดินหน้าไปทางรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มตัว จากนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือการมีคู่แข่งอย่าง Tesla ที่เข้ามาแข่งขันในตลาดรถยนต์

         ปัญหาการปลดพนักงานของประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่ปี 2018 หรือปี 2019 ที่ทยอยปลดพนักงาน อย่างค่าย GM มีการประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวนถึง 14,000 ตำแหน่ง เมื่อช่วงปลายปี 2018 

ส่วนทางค่าย Ford มีการประกาศลดพนักงานทั่วโลกลง 10% ในช่วงปี 2019
        ยกตัวอย่างในยุคการเปลี่ยนผ่านเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทางค่าย GM มีการปิดโรงงานที่ดีทรอยต์อย่างถาวร
ที่เปิดมาเป็นเวลาร่วม 35 ปี และปิดถาวรในปี 2020 ซึ่งโรงงานแห่งนี้ผลิตรถยนต์น้ำมันและรถปลั๊กอินไฮบริด
รวมทั้งหมด 4 ล้านคัน เนื่องจากค่าย GM จะทุ่มสร้างไลน์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้มีการเลิกจ้างพนักงานจำนวน 800 คน
         ทางค่าย GM มีแผนจะทำรถยนต์ไฟฟ้าออกมาทั้งหมด 20 รุ่น ภายในปี 2023 โดยมีการลงทุนเพิ่มเป็น
จำนวนเงิน 2,200 ล้าน USD ในไลน์การผลิตแบบอัตโนมัติ
         ส่วนทางค่าย Ford ที่มีการออกสินค้า ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะไฟฟ้า Ford F-150 Lightning มีการตั้งเป้า
จะขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้เป็นสัดส่วน 40 – 50% ของยอดขายทั้งหมด ภายในปี 2030

         โดยในช่วงเดือนกันยายน 2020 มีการเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนถึง 1,400 ตำแหน่ง เพื่อปรับโครงสร้าง เนื่องจากการมุ่งทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ในส่วนของไลน์การผลิตเครื่องยนต์ และชิ้นส่วน จะไม่มีความจำเป็น
อีกต่อไป
         นอกจากนี้ยังมีการประกาศเลิกจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น 1,000 ตำแหน่ง ในปี 2021 โดยจะเป็นพนักงานที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเคยชินกับการผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิมและความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีแบบใหม่
จะน้อยกว่าพนักงานที่มีอายุน้อย
         และคาดว่าคนที่ทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาอาจจะตกงานจำนวนสูงถึง 75,000 ตำแหน่ง หากสัดส่วน
รถยนต์ไฟฟ้าเติบโตเป็น 50% ภายในปี 2030 จึงเป็นสาเหตุทำให้แรงงานที่เหลืออยู่ จะต้องมีการเร่งปรับตัว

ประเทศไทย

         เป็นการฐานการผลิตรถยนต์น้ำมันที่นำโดยค่ายรถญี่ปุ่นมาร่วม 60 กว่าปี

         เมื่อเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้า ทางรัฐบาลของประเทศไทยมีการวางเป้าผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ คือ จะผลิตให้ได้ 30% หรือ 7 แสนคัน ภายในปี 2030

         อย่างที่ทราบว่ารถยนต์น้ำมันมีการใช้ชิ้นส่วนจำนวน 30,000 ชิ้น / 1 คัน แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
จะเหลือชิ้นส่วนเพียง 1,500 – 3,000 ชิ้น / 1 คัน

         เมื่อดูจากข้อมูลในปี 2562 ประเทศไทยมีบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด 2,500 แห่ง ซึ่งบริษัทมีการจ้างแรงงานเป็นจำนวนอยู่ 326,400 คน หรือ 47% ของกำลังแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ทั้งหมดของประเทศไทย

         ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านี้ที่หายไป เมื่อตีเป็นบริษัทอยู่ที่ประมาณ 816 แห่ง คือ เมื่อเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
จะทำให้บริษัทเหล่านี้หายไป

ระดับความรุนแรงของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า มีทั้งหมด 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

1. หายไปเลย

         คือ กลุ่มจำพวกเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนแหวนลูกสูบ ข้อเหวี่ยง ระบบจ่ายเชื้อเพลิง หัวเทียน ไอเสีย ถังน้ำมัน และเทอร์โบ จะหายไปทั้งหมด เพราะไม่มีการนำไปใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้
จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

2. ผลกระทบปานกลาง

         คือ ยังคงสามารถอยู่ได้ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า แต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ อาทิ
         ระบบแอร์ โดยจะเป็นระบบแอร์คอมเพรสเซอร์ไฟฟ้า จะไม่ใช่ระบบแอร์ที่ใช้กำลังเครื่องยนต์มาปั่น

         ระบบเบรค และระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ จะต้องเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า รวมถึงระบบไฟฟ้าในรถ ระบบหล่อเย็น
ระบบเกียร์
จะยังอยู่ในรถยนต์ไฟฟ้า เพียงแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบเท่านั้น

3. ผลกระทบน้อยที่สุด

         คือ ส่วนที่เป็นตัวถังช่วงล่าง โช๊ค ล้อยาง ชิ้นส่วนประกอบภายในรถจำพวก เบาะ และคอนโซลต่าง ๆ
รวมถึงไฟหน้า และไฟท้าย จะยังอยู่เหมือนเดิม
         สัดส่วนของส่วนที่มีราคา เมื่อเปรียบเทียบกับราคาของรถ ชิ้นส่วนดังกล่าวจะมีราคาค่อนข้างน้อย
ซึ่งส่วนที่ราคาแพง คือ ระบบไฟฟ้า
         และระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ มอเตอร์ จะเป็นของทางค่ายรถ Supplier จากประเทศจีนที่
เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยจะเหลือส่วนที่ผลิตน้อยลง รวมทั้งมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น
จาก Supplier ของประเทศจีน

         ดังนั้น ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากยุคของรถยนต์น้ำมันมาสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้า ประเทศไทยจะเดินรอยตาม ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา หรือยุโรป ที่มีการปลดพนักงานลงอย่างแน่นอน
         สำหรับแรงงานที่มีทักษะใหม่ในเรื่องของไฟฟ้า ซอฟต์แวร์ โปรแกรมมิ่ง เคมี หรือเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์
จะมีจำนวนน้อย เป็นที่ต้องการของบริษัทและให้ค่าตอบแทนสูง ส่งผลให้มีรายได้สูงกว่ารถยนต์น้ำมัน

         ส่วนของโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ จะมีธุรกิจเกิดใหม่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ
แบตเตอรี่ ธุรกิจการับจำกัด รีไซเคิล และฟื้นฟูแบตเตอรี่ รวมถึงอาชีพในเรื่องของการดัดแปลง ซ่อมมอเตอร์ไฟฟ้า
และระบบส่งกำลังที่เป็นไฟฟ้า ซึ่งยังขาดแคลนคนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญจำนวนมาก
         ประกอบกับเรื่องของซอฟต์แวร์ การอัปเกรดโปรแกรม เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเปรียบเสมือนกับสมาร์ทโฟน
วิ่งได้ ที่มีการลงโปรแกรม อัปเกรดซอฟต์แวร์ ใส่แอพพลิเคชันต่าง ๆ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตจะเป็นแบบเดียวกัน

        ซึ่งยังไม่รวมถึงธุรกิจโดยรอบรถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นช่างติดตั้ง ช่างเซอร์วิส เครื่องชาร์จ
ช่างตรวจสภาพรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากในอนาคตรถยนต์ไฟฟ้ามือสอง จะเกิดขึ้นจำนวนมาก รวมทั้งช่างซ่อม
รถยนต์ไฟฟ้า วิศวกรยานยนต์ และคนที่ติดโซล่าเซลล์

         นอกเหนือจากรถยนต์ไฟฟ้า จะเกี่ยวเนื่องในเรื่องของพลังงานสะอาด ซึ่งคนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าหันมาติดโซล่าเซลล์เป็นจำนวนมาก
         หรือถ้าใครมีทักษะเหมือนกับช่างดำที่นำแบตเตอรี่เก่าในซากรถยนต์ไฟฟ้า เอามาเก็บกักพลังงาน
ถือว่าเป็นโอกาสอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นสำหรับการมาของยุครถยนต์ไฟฟ้า

         สรุป รถยนต์ไฟฟ้า คือ หายนะ หรือโอกาส จากผลกระทบที่คนทั่วโลกอาจจะตกงานเป็นจำนวนสูงถึง 15 ล้านคน ส่วนธุรกิจผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์น้ำมันของประเทศไทยอาจจะหายไป แต่ก็สามารถมองได้ทั้ง 2 ด้าน คือ หายนะและโอกาส แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จะมีทั้งวิกฤติและโอกาสอยู่เสมอ ยกตัวอย่าง เครื่องจักรไอน้ำที่มา ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น หรือยุคของคอมพิวเตอร์ที่จะมาแทนแรงงานคน หรือ AI ที่กำลังจะมา
         จะเห็นได้ว่าคนที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แต่มันก็เป็นโอกาสครั้งใหญ่ ทำให้คนตั้งตัวได้ สำหรับคนที่สามารถเรียนรู้และคว้าโอกาสได้ทัน

          และนี้ก็คือเรื่องราวของการเปลี่ยนผ่านจากรถยนตืน้ำมันมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีผลกระทบทั้งทาง
ด้านหายนะ จากการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาส สำหรับผู้ที่สามารถปรับตัว เรียนรู้เพิ่มทักษะ และคว้าโอกาสได้ทัน
ที่คุณสามารถรับชมได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE
ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.