สำหรับปี 2024 จะเห็นได้ว่าความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตแบบก้าวกระโดดทั่วทั้งโลก แม้แต่ในประเทศไทย
ที่มีการคาดการณ์ว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในปีนี้จะสูงถึง 150,000 คัน จากการเติบโตของยอดรถยนต์ไฟฟ้า สิ่งที่จะเป็นเงาตามตัว คือ เรื่องของราคาแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความกังวล
แบตเตอรี่ที่มีการใช้งานเป็นปัจจุบัน จะเป็นตระกูลแร่ลิเธียมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นลิเธียมนิเคิลแมงกานิสโคบอลต์ออกไซด์ (NMC) หรือ ลิเธียมฟอสเฟต (LFP) ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาลิเธียมมีการผันผวนอย่างมาก
ซึ่งเป็นแร่ส่วนสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ รวมถึงเป็นแร่ที่มีอยู่อย่างจำกัด
หลายคนมองว่าแบตเตอรี่ลิเธียมมีราคาแพง จึงมองหาทางเลือกแบตเตอรี่ที่เป็นตระกูลเกลืออื่น ๆ คือ
แบตเตอรี่โซเดียม ซึ่งหลายคนรอคอยเวลาการผลิตที่สามารถใช้งานได้จริง
ในปี 2024 มีหลายค่ายในประเทศจีนเตรียมจะตั้งโรงงานพร้อมกับนำแบตเตอรี่โซเดียม มาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าจริง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ทางค่ายยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของประเทศจีน คือ ค่ายรถยนต์ไฟฟ้า BYD (Build Your Dream) มีการวางศิลาฤกษ์สำหรับโรงงานผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนแห่งแรกที่เมืองซูโจว
ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงปักกิ่งกับเซี่ยงไฮ้
เป็นโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 1 หมื่นล้านหยวน หรือ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีกำลังการผลิตต่อปีตามแผนอยู่ที่ 30 GWh ถือว่าเป็นจำนวนค่อนข้างมาก
ทางค่าย BYD มีการร่วมมือลงนามกับบริษัทในเครือ คือ บริษัทผู้ผลิตสามล้อยักษ์ใหญ่ อย่าง Huaihai Group
เพื่อผลิตแบตเตอรี่โซเดียมและนำมาใช้กับรถสกูตเตอร์ และรถ 3 ล้อขนาดเล็ก เนื่องจากแบตเตอรี่โซเดียมเหมาะกับรถที่ใช้ความเร็วต่ำ
ซึ่งในช่วงก่อนหน้า มีข่าวว่าค่าย BYD คือ รถ BYD SEAGULL ที่เป็นรถ Eco Car ขนาดเล็ก จะนำแบตเตอรี่โซเดียมมาใช้งาน แต่ในปัจจุบันมีการตรวจสอบแล้ว พบว่ายังคงใช้แบตเตอรี่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP)
แบตเตอรี่โซเดียมกักเก็บพลังงานค่อนข้างน้อย หมายความว่า น้ำหนัก 1 กิโลกรัม สามารถวิ่งได้ในระยะทางค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีน้ำหนักเบามากกว่า และสามารถทำให้รถวิ่งได้ในระยะทางไกลมากกว่า
ดังนั้นแบตเตอรี่โซเดียมทางค่าย BYD จึงมองว่าในช่วงเริ่มต้น จะนำมาใช้กับรถสกูตเตอร์ ไฟฟ้าและ
รถ 3 ล้อขนาดเล็กที่วิ่งในระยะทางใกล้ ๆ เท่านั้นก่อน
ต่อมาจะมีค่ายหนึ่งที่มีการนำแบตเตอรี่โซเดียมไอออนมาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าจริงและพร้อมจะขายส่งมอบ
ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2024 กับแบรนด์ YiWei ซึ่งเป็นแบรนด์ในเครือของ JAC Group ที่ได้รับการสนับสนุนจากทางเครือของ Volkswagen
ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการตั้งโจทย์ว่า จะลดการพึ่งพาการใช้แร่หายาก คือ แร่ลิเธียม จึงกลายเป็น
รถยนต์ไฟฟ้าคันแรกที่ใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออน
รถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว คือ Yiwei E10X เป็นเวอร์ชันที่มีการผลิตและพร้อมจำหน่ายจริงเรียบร้อยแล้ว
โดยจะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนจากบริษัท HiNa Battery เป็นบริษัทที่ผลิตโซเดียมไอออนขึ้นมาอย่างเดียวเท่านั้น
บริษัท HiNa Battery เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ และปัจจุบันเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุพลังงานเทียบเท่ากับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP)
เรื่องของสเปค ในส่วนของแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถรุ่นนี้เป็นการจัดเรียงแบบ Cell to Pack (CTP) คือ
การนำแบตเตอรี่ทรงกระบอกมาตั้งเรียงในลักษณะแบบของรังผึ้ง กล่าวคือ การนำเซลล์แบตเตอรี่
นำมาใส่ในแบตเตอรี่แพ็คขนาดใหญ่ ซึ่งเซลล์แบตเตอรี่ที่ใช้ คือ Hina NaCR 32140 ที่มีความหนาแน่นของ
พลังงานอยู่ที่ 120 Wh/กิโลกรัม ถ้าเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) ที่มีความจุพลังงานอยู่ที่ประมาณ 160 Wh/กิโลกรัม จะมีส่วนต่างอยู่ประมาณประมาณ 20-30%
โดยส่วนของตัวรถมีความจุแบตเตอรี่แพ็คอยู่ที่ 25 kWh สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลสูงสุด 252 กิโลเมตร
ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน CLTC ส่วนความสามารถในการชาร์จแบบ DC ที่ 10 – 80% จะใช้เวลาชาร์จภายใน 20 นาที ถือว่าเป็นจุดเด่นของแบตเตอรี่โซเดียมไอออน
ทางบริษัท HiNa Battery ที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2017 มีการเร่งพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนให้เข้าสู่
ระดับเชิงพาณิชย์ซึ่งรถ Yiwei E10X ที่ใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนเป็นแบตเตอรี่แบบไซลีนิคอล
นอกจากนี้ ทางผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่เบอร์ 1 ของโลก คือ บริษัท CATL เคยเผยรถแบรนด์ iCar ของ
Chery Auto จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกที่ใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนของทาง CATL
ทาง CATL มีการผลิตแบตเตอรี่อย่างหลากหลาย และมีความสนใจในแบตเตอรี่โซเดียมไอออนเนี่ย
เนื่องจากในอนาคตที่ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตมากขึ้น ในส่วนของแร่ที่หายากและมีอยู่อย่างจำกัด
อย่าง แร่ลิเธียม จะเกิดการขาดแคลนอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าปัจจุบันปริมาณของแร่ลิเธียมยังคงเพียงพอต่อ
การนำมาใช้ในการผลิต
ดังนั้น CATL จึงเริ่มพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออน เพราะว่าเกลือโซเดียมสามารถหาได้ค่อนข้างมาก
โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2021 ณ ช่วงเวลานั้น การพัฒนาความสามารถของแบตเตอรี่โซเดียมไอออนเทียบเท่ากับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) โดยมีความหนาแน่นของพลังงานอยู่ที่ 160 Wh/ต่อกิโลกรัม
ส่วนของต้นทุนในการผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเธียม
ปัจจุบัน CATL สามารถพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนมีความหนาแน่นของพลังงานสูงถึง 200 Wh/กิโลกรัม โดยที่ความจุระดับนี้ ทาง CATL กำลังจะต่อยอด ทำการผลิตออกมาในจำนวนมาก เพื่อให้ราคาถูกลงสามารถ
เข้าถึงได้ง่าย
ส่วนรถ iCar ยังคงใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) อยู่ จะต้องติดตามต่อ เพราะว่าแบตเตอรี่
โซเดียมไอออนกำลังจะเริ่มเป็นที่นิยม แต่จากเรื่องของข้อจำกัดในความจุพลังงานต่อน้ำหนัก ถ้าทำการผลิต
แบตเตอรี่โซเดียมไอออนออกมา น่าจะขายในบางเซกเมนต์ คือ จำพวกกลุ่มรถขนาดเล็กที่ใช้ความเร็วไม่มากวิ่งใน
ตัวเมืองที่น่าจะตอบโจทย์ ส่งผลให้ราคาเข้าถึงได้ง่าย สำหรับรถ Eco Car
แต่ถ้าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไปและมีการเดินทางวิ่งต่างเมือง การใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) น่าจะตอบโจทย์มากกว่า ส่วนราคาจะแพงขึ้น หรือถ้าเป็นรถ High Performance จะใช้แบตเตอรี่ตระกูลลิเธียม NMC
ส่วนเรื่องของข้อจำกัดทาง CATL กำลังพัฒนา และจะต้องรอดูเวลาที่สามารถจะนำมาใช้งานได้จริง
สรุป สำหรับแบตเตอรี่โซเดียมไอออนปี 2024 มาอย่างแน่นอน โดยมีการผลิตเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจริงออกมา ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ที่มองว่าโซเดียมไอออนจะต้องออกมาในเชิงพาณิชย์
ซึ่งแบตเตอรี่โซเดียมไอออนมีข้อดีจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่ถูกกว่ากับลิเธียมประมาณ 1 ใน 3
โดยราคาโซเดียมอยู่ที่ประมาณ 40-80 USD /kWh สำหรับเซลล์ Na-ion ถ้าเป็นลิเธียมราคาจะอยู่ที่
120 USD /kWh สำหรับเซลล์ Na-ion จะเห็นได้ว่าราคามีแตกต่างกันอย่างมาก
อย่างที่ 2 คือ เรื่องของคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการชาร์จที่สามารถรองรับการชาร์จประจุกระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ประกอบกับทนต่ออากาศหนาวได้ดี รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แต่จากเรื่องของข้อจำกัด คือ เรื่องของการจุพลังงานต่อน้ำหนักและเรื่องของแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำ
ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ อาจจะค่อย ๆ ถูกปลดล็อคเรื่องของเทคโนโลยีและมาติดตามว่าค่ายไหนจะสามารถผลิต
แบตเตอรี่โซเดียมออกมาได้ก่อน
และนี้ก็คือเรื่องราวของแบตเตอรี่โซเดียมไอออน ที่คุณสามารถรับชมได้จากคลิปด้านล่าง
ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ