ส่องไลน์ผลิตรถไฟฟ้าพรีเมี่ยม AVATR !! ตั้งแต่ขึ้นรูปชิ้นส้วนจนประกอบออกมาเป็นคัน ใช้ Giga Press ด้วย

          วันนี้เราอยู่กันที่เมืองฉงชิ่ง อยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เพื่อมาดูโรงงานค่ายรถยนต์ไฟฟ้าน้องใหม่ อย่าง ค่าย CHANGAN ที่มีการผลิตรถ Deepal S07 และ L07 รวมถึง AVATR จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย หลายท่านต้องการทราบ Know-How เพราะว่าโรงงานแห่งนี้รับผลิตทั้ง Deepal และ AVATR แบบครบวงจร

ส่วน Stamping Workshop

         เราจะเริ่มเข้ามาดูในส่วนของโรง Stamping Workshop ในตอนนี้เข้ามาในส่วนของโรงงาน Workshop
ปั๊มขึ้นรูป จะมีแม่พิมพ์ปั๊มขึ้นรูปทั้งหมด รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการขึ้นรูป กล่าวคือ Metal Sheet หรือ เหล็กแผ่น 

นำมาวางที่ส่วนนี้ ประกอบกับอีกด้านหนึ่ง จะเป็นเครื่องมือหุ่นยนต์ในการดูดเอาแผ่น Metal Sheet นำเข้าสู่แม่พิมพ์

         โดยกระบวนการ จะเริ่มที่ขั้นตอนการโหลดแผ่นเหล็กเข้าไปที่ตู้ ซึ่งจะมีคอนเวเยอร์ทำการลำเรียง
ซึ่งขั้นตอนการเริ่มปั๊มรูป สังเกตที่ส่วนของด้านบน ที่มีเครื่องไฮดรอลิคขนาดใหญ่ที่เริ่มตั้งแต่ นำแผ่นเหล็กเข้ามา
ทำการปั๊มและตัด เพื่อให้ได้ส่วนตามที่ต้องการ หลังจากนั้นจะทำการปั๊มขึ้นรูปที่ละส่วน โดยเรียงจากความหยาบ ความละเอียด จนถึงละเอียดขั้นสูงสุด จนสุดท้ายเป็นชิ้นงานสำเร็จที่ปลายทาง

         ในส่วนทางด้านขวาเป็นไลน์คู่ขนาน เนื่องจากว่าการประกอบโครงสร้างรถยนต์มีหลายชิ้นส่วน
ซึ่งส่วนนี้เป็น Reinforce ที่อยู่ทางด้านหลัง ส่วนก่อนหน้าจะเป็นฝากระโปรงหน้า ส่วนด้านนี้จะเป็นตัวด้านใต้
มีการปั๊มขึ้นรูป โดยมีหุ่นยนต์รับส่งระหว่างกัน ใน 1 นาที จะสามารถผลิตชิ้นส่วนจำนวนเท่ากับ 10 ชิ้น เท่ากับว่า
ภายใน 1 ชั่วโมง สามารถผลิตออกมาเป็นจำนวนเท่ากับ 600 ชิ้น

         ต่อมาจะเป็นในส่วนของที่เก็บแม่พิมพ์ Stamping โดยชิ้นงาน Stamping คือ การนำอลูมิเนียมชีท
ทำการปั๊มขึ้นรูป

         อีกด้านหนึ่งจะเป็นส่วน Jig Check Quality เพื่อตรวจเช็คให้รูปทรงและดาตั้ม ซึ่งจะวางแยกตามพาร์ท
โดยส่วนของแม่พิมพ์จะมีจำนวนมาก ตามชิ้นส่วนของตัวรถยนต์ จึงต้องมีการปั๊มชิ้นส่วนทั้งชิ้นเล็กและชิ้นใหญ่
มาประกอบเข้าด้วยกัน เรียกว่า ส่วนของการขึ้นโครงสร้างตัวรถยนต์

         เมื่อทำการปั๊มชิ้นส่วนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชิ้นงานสำเร็จ คือ ฝากระโปรงรถของรุ่น Deepal L07

         ต่อมาจะเป็นส่วนที่เแสดงชิ้นงานจากการตัดและปั๊มขึ้นรูป อาทิ ด้านใน, ด้านนอก ส่วนด้านในจะเป็นจำพวก
ที่เสริมความแข็งแรง เรียกว่า Reinforce ส่วนด้านนอกจะโชว์ความสวยงามพื้นผิวจะเรียบ เพื่อเตรียมทำสี,
ฝากระโปรงท้ายของ AVATR, ฝากระโปรงหลัง, ประตู ซึ่งทุกชิ้นส่วนจะมีรูปลักษณ์ที่ถูกต้อง โดยจะมีการเซ็น QC พร้อมระบุวันที่ และด้วยกำลังการผลิตไลน์ในการประกอบ โการนำทุกชิ้นส่วนที่แสดงชุกชิ้น มาประกอบเป็นโครงสร้างรถยนต์ 1 คัน ซึ่งภายใน 1 วัน จะสามารถผลิตรถออกมาถึง 3,600 คัน ถือว่าเป็นจำนวนค่อนข้างมาก

         ถัดมาในส่วนของ Complement ส่วนประกอบของตัวโครงสร้างรถยนต์ อาทิ บานพับรถตรงประตู

         ต่อมาจะเป็นเหล็กโครงสร้างรถกันแบตเตอรี่ด้านข้าง คือ คานด้านข้างของตัวรถ ส่วนที่เป็นสีดำ คือ
เสาบีอยู่บริเวณตรงกลางรถที่ปิดประตู ซึ่งแบตเตอรี่แพ็คจะอยู่ระหว่างคานด้านซ้ายและด้านขวา
จะเห็นได้ว่าคานจะมีความหนาและแข็งแรงอย่างมาก เหล็กโปรไฟล์ส่วนนี้จะถูกนำไปใช้กับ Deepal

         นอกจากคานด้านข้าง จะมีส่วนการป้องกันที่ด้านหน้า คือ โปรไฟล์ด้านหน้า เมื่อเกิดการเฉี่ยวชน จะเป็นด้านแรก ส่วนเรื่องของความแข็งแรงของโปรไฟล์ โดยเฉพาะส่วนของแบตเตอรี่แพ็ค ในเรื่องของความปลอดภัย จะต้องดูจากความแข็งแรงในการป้องกันของตัวแพลตฟอร์ม

       และนี้คือ ส่วนที่เสริมความแข็งแรงของแบตเตอรี่ทั้งด้านข้างทั้งซ้ายและขวา รวมถึงด้านหน้า ซึ่งอะลูมิเนียมจะมีความแข็งแรงเพียงพอกับการใช้งาน จากเรื่องของวิศวกรรม Materials หรือเรียกว่า วัสดุศาสตร์ ที่ต้องการ
วัสดุที่มีความเบาและแข็งแรง เนื่องจากการใช้เหล็กจะมีน้ำหนักจำนวนมาก ทำให้กินพลังงานค่อนข้างมาก
        ดังนั้นเรื่องของวัสดุมีการพัฒนาให้มีความเบาและแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็กเรียบร้อยแล้ว
จึงมีการใช้อลูมิเนียมอัลลอยในการทำโครงสร้างแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน

         เราเข้ามาถึงโรงเชื่อมเป็นตัวประกอบร่างตัวรถ โดยใช้หุ่นยนต์ Spot Welding ทีละจุด โดยนำ Reinforce 

จาก Stamping มาประกอบรูปร่าง และทำการเชื่อมออกมาเป็นโครงรถ กล่าวคือ การประกอบ Reinforce
ส่วนที่เป็นการรับโครงสร้างความแข็งแรงของห้องโดยสาร ถึงจะมาประกอบพื้นผิวด้านนอกที่เป็นอะลูมิเนียม 

ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้หุ่นยนต์ KUKA ทำงานทั้งหมด

         การแข็งขันเรื่องของต้นทุนสามารถผลิตออกมาเร็วหรือช้า ตัวหุ่นยนต์ จะเป็นตัวตัดสิน ทำให้ต้นทุนมีราคาถูก และสามารถทำการผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็ว

        ส่วนของโรงเชื่อม จะประกอบชิ้นส่วนทีละชิ้นทั้งทางด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านหลัง ออกมาเป็นโครงสร้างรถ สังเกตได้ว่าส่วนของด้านล่างจะเป็นอะลูมิเนียม จากการใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูป ที่มีการนำมาใช้ในรถของประเทศจีนจำนวนมาก ซึ่งจะเหมือนกับ Giga Press

         เราจะเข้าดูใกล้ ๆ ซึ่งส่วนที่ Casting ขึ้นมา เป็นแพรตฟอร์มที่ให้ความรูสึกเหมือนของ Tesla ส่วนของ
Giga Press นำมาประกอบในส่วนของโปรไฟล์ที่เป็นอะลูมิเนียมด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง

        รถยนต์คันนี้ทางวิทยากรบอกว่า เป็นรถแบบพวงมาลัยขับขวา รุ่นที่ส่งออกไปจำหน่ายในประเทศไทย

         ถือว่าการมาในครั้งนี้ ทำให้เห็นเรื่องของเทคโนโลยี โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีนอย่างชัดเจน
รวมถึงเรื่องงานโครงสร้าง จากเหล็กบาร์ด้านข้างที่เป็นโปรไฟล์ที่มีความแข็งแรง รวมทั้งส่วนด้านหลังที่มี
การใช้เทคโนโลยี Giga Press ฉีดขึ้นรูป ที่นำเอามาใช้ในแบรนด์ Deepal และรถยนต์ที่ได้ชมเป็นเวอร์ชั่นของ
ประเทศไทย คือ พวงมาลัยขับขวา ที่กำลังจะทำการส่งออก

         จากไลน์ที่เราเห็นจากขั้นตอนการเชื่อมชิ้นส่วนแต่ละชิ้น มาประกอบเป็นโครงสร้างรถ จนสุดท้ายมาถึง
ขั้นตอนการประกอบเป็นผิว รวมถึงมีการประกอบชิ้นส่วนอื่น ๆ อาทิ ฝากระโปรง และประตู ออกมาเป็นรถ
โดยรถยนต์ที่เห็น คือ AVATR 11 สังเกตจากช่องรูด้านข้างตัวรถ จะเป็นรูตัวเซ็นเซอร์ Lidar และกล้อง
โรงงานแห่งนี้ทำการผลิตทั้ง Deepal และ AVATR ที่มีการประกอบเช็ค และนำไปทำสีต่อ ซึ่งจะเริ่มมองดูเป็น
รูปร่างมากขึ้น

        ส่วนนี้ จะแสดงตัวแพลตฟอร์มของรถยนต์ ในเรื่องของโซนความแข็งแรงที่มีการแยกสี เพื่อสังเกตง่ายมากขึ้น อาทิ สีที่เป็นอลูมิเนียมโปรไฟล์ด้านหน้าทั้ง 2 ชิ้นที่ใช้สีส้ม จะเป็นชิ้นส่วนที่รับแรงกระแทก เป็นการป้องกันไม่ให้
แบตเตอรี่ เกิดความเสียหาย

        ส่วนของสีเขียว คือ อะลูมิเนียมโปรไฟล์ทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อป้องกันแบตเตอรี่จากด้านข้าง

         ส่วนด้านหลังที่เป็นสีเขียวจะเป็น Reinforce ในการป้องกันเรื่องของความแข็งแรงของแบตเตอรี่

         ชิ้นส่วนสุดท้ายที่มีการฉีดขึ้นรูปคล้ายกับ Giga Press ที่มีขนาดเล็กกว่าของทาง โดยจะมีชิ้นบังโคลนด้านซ้ายและด้านขวามาประกอบเข้าด้วยกัน รวมถึงชิ้นป้องกันส่วนท้ายรถ

         หลังจากนี้จะไปในส่วนของ Assembly ที่ต่อจากกระบวนการปั๊มออกมาคันรถ นำมาประกอบและ

ทำสีเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของตัวรถยนต์ ซึ่งจะเป็นไลน์ที่มีความน่าสนใจ
เนื่องจากใกล้จะเห็นเป็นตัวรถยนต์มากที่สุด

ส่วน Assembly Workshop

        หรือไลน์การประกอบตัวรถ หลังจากที่มีการทำบอดี้โครงสร้างและทำสีเสร็จเรียบร้อย จะถูกนำมาประกอบเป็นตัวรถออกมา

         ส่วนบริเวณการประกอบที่มีชิ้นส่วนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และเซ็นเซอร์จำนวนมาก ส่งผลให้พื้นที่บริเวณนั้น
จะต้องมีความสะอาด

        เราเข้ามาที่ไลน์การประกอบตัวรถ จะเห็นได้ว่ามีรถวิ่งจำนวนมาก และตรงส่วนพื้นจะมีจุดเซฟตี้เป็นไฟ LED
ส่องลงมา จะเห็นได้ว่าไลน์มีการวิ่งขนส่งชิ้นส่วนอยู่ตลอดเวลา ทั้งตัวหุ่นยนต์และรถที่มีคนขับ จะขนชิ้นส่วนแบบอัตโนมัติ ซึ่งชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบรถ 1 คัน จำพวก ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ระบบแอร์ คอนโซล แบตเตอรี่ 12 V
เพื่อทำการเตรียมรอมาการประกอบเป็นตัวรถ

          จะเห็นได้ว่าไลน์การประกอบจะเป็นแบบ 2 ชั้น คือ เมื่อทำสีรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะวิ่งขึ้นลงส่งระหว่างไลน์
โดยใช้ลิฟต์ส่งผ่านคอนเวเยอร์ ซึ่งไลน์ส่วนนี้จะผลิตและประกอบทั้ง Deepal และ AVATR

         ต่อมาเราจะเข้ามาที่ส่วนไลน์การประกอบภายในตัวรถ โดยจะมีเครื่องมือช่าง (Hand Tools) ตัวยิงโค้ด Tracking ซึ่งรถที่เห็นจะเป็นรถยนต์น้ำมันของ CHANGAN สังเกตได้จากรูเติมน้ำมัน ส่วนภายในตัวรถมีการไวริ่ง รวมถึงมีการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ

         ต่อมาจะ AVATR 12 ที่มีการประกอบเรียบร้อยแล้ว โดยมีชุดแอร์ คอมเพสเซอร์ มอเตอร์ ที่มีการไวริ่ง
ทั้งส่วนของภายในและภายนอก ซึ่งทำในส่วนของภายนอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะไปทำส่วนด้านในต่อ

         จากไลน์การประกอบมีความยืดหยุ่น จะสามารถ Track ตามเลขนับเบอร์ และมีการสลับการประกอบรถ อาทิ จากรถยนต์น้ำมัน มาเป็นรถ AVATR

          ส่วนด้านในของ AVATR 12 ที่เป็นรถอัจฉริยะ ซึ่งเราสังเกตได้จากเซ็นเซอร์ของ HUAWEI จะมีการไวริ่ง
เก็บสาย จำพวกระบบเซ็นเซอร์จำนวนมาก ส่วนชุดคอนโทรลจะอยู่ที่เบาะที่นั่งแถวที่สอง

เซ็นเซอร์ของ HUAWEI

ชุดคอนโทรล อยู่ที่เบาะนั่งแถวที่สอง

         เราจะข้ามมาที่ฝั่งการประกอบส่วนที่เป็นนอกรถ จะเป็นรถ AVATR 12 ซึ่งส่วนประกอบก่อนหน้านี้
จะเป็นการกระกอบข้างหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนนี้จะมีการไวริ่งสายไฟ High Volt ไล่ระบบคอมเพรสเซอร์
         ดังนั้นด้านนี้จะเป็นการประกอบภายนอกทั้งหมด หลังจากนั้นจะไล่ไปทางไลน์ฝั่งประกอบภายใน

         ต่อมาเราจะพบกับตัวประกอบน็อตล้อจำนวน 5 ตัว พร้อมกัน ที่ช่วยลดเวลาในการประกอบ ซึ่ง Manpower
ถือว่าเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ที่สามารถช่วยลดต้นทุนราคาให้ต่ำลง นอกเหนือจากเรื่องของขั้นตอนการผลิต
เครื่องที่ใช่และวัสดุทุกอย่าง ส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบมีบทบาทสำคัญ สามารถลดต้นทุนราคาให้ลดลง เพราะว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีการแข่งขันในเรื่องของต้นทุนราคา

         เมื่อมาดูที่รถ AVATR 12 จะเห็นได้ว่ามีการใช้เบรกของ Drembo

         ต่อมาเราจะมาดูรถ Deepal L07 หรือ SL03 พวงมาลัยซ้าย กำลังอยู่ในขั้นตอนการประกอบ โดยโรงงานแห่งนี้ จะทำทั้งพวงมาลัยซ้ายและขวา

        จะเป็นขั้นตอนการประกอบส่วนด้านในของ Deepal L07 ซึ่งยังไม่ได้ทำการประกอบส่วนของกันชน

         ส่วนของไลน์นี้จะมีชิ้นส่วนที่รอการประกอบ จากที่กล่าวว่าจะประกอบข้างนอก ไล่มาที่โครงสร้าง
รวมถึงท่อไอเสีย

         ถัดมาจะเป็นส่วนของการประกอบกระจก ซึ่งกำลังทาด้วยไพรเมอร์และยิงกาว จะเป็นกระจกบานหน้าและ
บานข้าง ที่จะนำมาประกอบเข้ากับตัวรถ

         ต่อมาจะเป็นการประกอบชุดเครื่องล่าง ซึ่งจะมีหุ่นยนต์มาช่วยในการประกอบ ส่วนของด้านล่างสามารถ
ปรับตามระยะของรถ จากไลน์การผลิตที่มีความยืดหยุ่น

ขั้นตอนการประกอบแบตเตอรี่

         การประกอบแบตเตอรี่ของ AVATR 12 เมื่อตัวรถมาถึงจุดการประกอบแบตเตอรี่ จะมีตัวดาตั้มทำหน้าที่เป็นไกด์ ทำให้แบตเตอรี่ตรงตำแหน่ง หลังจากนั้นจะดันแบตเตอรี่ขึ้นไป โดยการยิงน็อตจำนวน 10 ตัว แบ่งเป็นฝั่งละ 5 ตัว เพื่อให้แบตเตอรี่ล็อคกับตัวรถ  สุดท้ายเทรย์จะถูกดัน เพื่อเตรียมรอแบตเตอรี่อันใหม่ สำหรับการประกอบ
แบตเตอรี่แพ็คกับรถคันต่อไป

         ต่อมาจะเป็นการประกอบแบตเตอรี่ของ Deepal L07

         ไลน์ประกอบแบตเตอรี่เป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า โดยแบตเตอรี่แพ็ค จะถูกจัดเตรียมใส่เทรย์
เพื่อมารอรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อทำการดันขึ้นประกอบ ซึ่งการประกอบจะมีตัวไกด์ ทำให้แบตเตอรี่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หลังจากนั้นจะทำการดันแบตเตอรี่แพ็คขึ้นไป โดยจะมีตัวยิงน็อตฝั่งละ 5 ตัว เพื่อให้แบตเตอรี่ล็อคกับตัวรถ
เมื่อประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวเทรย์จะถูกดันเข้ามาเก็บ เพื่อจะเตรียมรับแบตเตอรี่แพ็ครุ่นต่อไป
เราจะเห็นได้ว่าจะมีรุ่น AVATR และ Deepal L07 ที่ใช้แบตเตอรี่คนละขนาดกัน ต่อมาจะทำการไวริ่งระบบ High Volt

ส่วนการประกอบระบบ High Volt

         เมื่อรถที่ทำการประกอบแบตเตอรี่แพ็คเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมาทำการยิงน็อตเพิ่ม เพื่อความป้องกัน
และจะประกอบสายไฟ ชุด Coolant โดยมีการใช้ประแจทอร์คขัน เพื่อให้แบตเตอรี่ยึดติดกับตัวรถแน่นหนามากขึ้นและเพิ่มความแข็งแรง เนื่องจากแบตเตอรี่มีน้ำหนักเป็นตัน จะเห็นได้ว่า AVATR มีการใช้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่มาก

         ส่วนท่อเส้นยาว คือ ท่อระบายความร้อน (Cooling Pipe)

         สุดท้ายจะเป็นการประกอบระบบ High Volt ซึ่งชุดสายสีส้มด้านหลังเป็นชุด High Volt เชื่อมกับแบตเตอรี่
จะมีการยิงน็อตเสริมเข้าไป โดยจะต้องใช้ประแจทอร์คขัน เพื่อเสริมความแข็งแรง หลังจากนั้นจะประกอบ

ชุดปลั๊กไฮโวลท์ คอนเนคเตอร์ และทำการมาร์คจุดที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว

         สรุป สำหรับการพาทัวร์โรงงาน AVATR Deepal S07 และ L07 ที่จำหน่ายในประเทศไทย ที่เราพาไปดูตั้งแต่การปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนเชื่อม ออกมาเป็นตัวโครงรถที่มีความแข็งแรงค่อนข้างสูง โดยเฉพาะส่วนที่ป้องกันแบตเตอรี่ เนื่องจากใช้โปรไฟล์ด้านข้างเป็นอะลูมิเนียม ด้านหน้า และด้านหลัง รวมถึงมีสิ่งที่น่าแปลกใจ คือ การใช้เทคโนโลยี Giga Press ในการขึ้นรูป คือ การฉีดอะลูมิเนียมให้ออกมาเป็นตัวรูป รวมกระทั่งเรื่องของไลน์การประกอบ
         จะได้เห็นว่าเรื่องของการประกอบแบตเตอรี่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับแบรนด์ระดับโลก และนี้คือแบรนด์
รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ CHANGAN และ AVATR ที่น่าสนใจอย่างมาก ที่จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอย่างเต็มตัว

         และนี้ก็คือเรื่องราวของไลน์ผลิตรถไฟฟ้าพรีเมี่ยม AVATR และ Deepal ของ CHANGAN ที่คุณสามารถรับชมได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.