สรุปรวมเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรถ EV ขายไทย 2023 !! แบตเตอรี่ มอเตอร์ ระบบระบายความร้อน ค่ายไหนมีดีอะไร?

         ในปี 2023 รถยนต์ไฟฟ้ามีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมียอดจดทะเบียนมากกว่า 70,000 คัน
และมีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ ๆ เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย สำหรับคนที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งคัน
จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ที่เรียกว่า แพลตฟอร์ม ที่เป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า
ซึ่งแพลตฟอร์มจะครอบคลุมถึงช่วงล่าง แชสซี ล้อยาง ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า แบตเตอรี่ มอเตอร์
และระบบเซ็นเซอร์ด้านความปลอดภัย

         ลองนึกถึงรถบังคับวิทยุหนึ่งคันที่มีส่วนของด้านล่างที่ใช้สำหรับใส่แบตเตอรี่ มอเตอร์และมีกระดองรถยนต์
ที่บ่งบอกว่าเป็น รถยนต์ซีดาน หรือรถยนต์เอสยูวี โดยการนำกระดองรถยนต์มาครอบที่แพลตฟอร์ม
ที่เหมือนกับสเก็ตบอร์ด ในส่วนชองค่ายรถยนต์แต่ละค่ายจะมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง หากค่ายรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง จะต้องทำการจ้างให้ผู้อื่นมาผลิตให้แทน

         ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเอง จะสามารถพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองให้มีความทันสมัยล้ำหน้า สามารถตอบโจทย์ และมีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละแบรนด์ จะมีความแตกต่างจากค่าย
รถยนต์ไฟฟ้าที่จ้างผู้อื่นมาทำการผลิต

         ดังนั้นเทคโนโลยีแพลตฟอร์มจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเป็นการกำหนดเรื่องของระยะทางที่สามารถวิ่งได้ ความแรง ระยะเวลาในการชาร์จ เพราะฉะนั้นเราจะมาเจาะลึกถึงจุดเด่นของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มของแต่ละค่ายรถยนต์ไฟฟ้า

จุดเด่นของแพลตฟอร์มของแต่ละค่ายรถยนต์ไฟฟ้า

1. BYD

         เป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย โดยจะกล่าวถึงเทคโนโลยีแพลตฟอร์มล่าสุดอย่าง BYD SEAL กับเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม E-platform 3.0

         ซึ่งแพลตฟอร์มนี้มีจุดเด่นที่นำมาใช้ โดยอับดับแรกจะเริ่มที่โครงสร้าง ซึ่งเป็นโครงสร้างแพลตฟอร์มแบบ
Cell to body
คือ การเอาแบตเตอรี่เซลล์ ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของตัวรถยนต์ แทนที่จะนำเซลล์ มาประกอบ
เป็นโมดูลแล้วนำมาประกอบกับตัวรถ จะเป็นการลดน้ำหนักและต้นทุน คือการนำเซลล์ Blade Battery
ที่เป็นแบบใบมีด ที่เป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนฟอสเฟตหรือ LFP ใส่ลงบริเวณใต้ห้องโดยสารรูปแบบแซนวิช
โดยมีแชสซีที่นำแบตเตอรี่มาใส่ตรงกลางและนำเอาพื้นห้องโดยสารมาปิดด้านบนกับปิดด้านล่าง
ด้วยโครงสร้างของตัวถาดแบตเตอรี่อีกชั้นหนึ่ง ส่งผลให้แบตเตอรี่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างเสริม
สามารถต้านแรงบิดสูงถึง 40,000 +Nm/° ซึ่งเป็นข้อดีของเทคโนโลยี E-platform 3.0
ทำให้ตัวรถยนต์มีน้ำหนักเบาขึ้น การประกอบมีความรวดเร็วมากขึ้น และช่วยลดต้นทุน

         ส่วนระบบขับเคลื่อนสามารถรองรับมอเตอร์จำนวนทั้งหมด 2 ตัว คือ มอเตอร์ด้านหน้าและด้านหลัง

         ถ้าอ้างอิงจากรถยนต์ BYD SEAL รุ่น Performance จะมีมอเตอร์ด้านหน้ามีขนาดอยู่ที่ 150 kW และมอเตอร์ด้านหลังมีขนาดอยู่ที่ 230 kW เมื่อนำมารวมกันจะเท่ากับ 380 kW เวลาที่มอเตอร์ทำงานพร้อมกัน

         ส่วนของระยะทางโดยแพลตฟอร์มนี้รองรับแบตเตอรี่ได้สูงสุดอยู่ที่ขนาด 82.56 kWh สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 650 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐานของ NEDC ถ้าหากนำรถมาวิ่งจริงจะได้ระยะทางอยู่ที่ประมาณ 500 กว่ากิโลเมตร เมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ในระยะทางอยู่ที่ 300 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้นแพลตฟอร์มจึงมีผลต่อรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลมากขึ้น

         ในส่วนของการระบายความร้อนของแบตเตอรี่ ซึ่งรถ BYD SEAL ใช้เทคโนโลยีฮีทปั๊ม คือ การใช้น้ำยาแอร์
ในการระบายความร้อน กล่าวคือ เวลาทำการชาร์จระบบแอร์จะทำงานด้วย

         มาถึงระบบการชาร์จ มีการชาร์จอยู่ 2 แบบ คือแบบ AC รองรับที่ 7 kW และแบบ DC รองรับสูงสุดที่ 150 kW ถือว่ามีประมาณที่มากและสามารถนำไฟฟ้าออกมาใช้ได้ถึง 3.3 กิโลวัตต์ นี้คือแพลตฟอร์มล่าสุดและจะเป็นแพลตฟอร์มหลักในการพัฒนารถยนต์รุ่นต่อไป อาทิ BYD SEAL U

2. CHANGAN

         ที่มีการเปิดตัวด้วยซีรี่ย์ Deepal อาทิ DEEPAL L07 และ DEEPAL S07 ซึ่งผู้คนให้ความสนใจ
เพราะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ SUV Crossover มีขนาดเทียบเท่ากับ Tesla Model Y ซึ่งทั้งสองรุ่นใช้แพลตฟอร์ม
แบบเดียวกัน คือ เทคโนโลยี EPA1 โดยมีขนาดแบตเตอรี่และมอเตอร์ที่เท่ากัน

         โครงสร้างเป็นแบบ Module to body คือการนำแบตเตอรี่โมดูลมาประกอบแบบแซนวิชภายใต้ห้องโดยสาร
วางไว้ตรงกลางมีฝาปิดเป็นอะลูมิเนียมและมีถาดปิดด้านล่างประกบกัน โดยเป็นโครงสร้างเสริมลดแรงต้านการบิด เวลาเกิดอุบัติเหตุ

         โดย EPA 1 จะใช้มอเตอร์ตัวเดียว คือ Based on Rear-Wheel Drive (RWD) เป็นระบบขับเคลื่อนล้อหลัง สำหรับผู้ที่ชื่นชอบระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ค่าย CHANGAN จะใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง
แต่ยังไม่มีรุ่น All Wheel Drive มีการกระจายน้ำหนักค่อนข้างดีแบบสมดุลทั้ง 4 ล้อ ในแบบอัตราส่วน 50 ต่อ 50 เหมือนรถ MG 4

         นอกจากนี้แพลตฟอร์มสามารถรองรับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่สูงสุดอยู่ที่ 79.97 kWh ส่วนรุ่นที่จำหน่าย
ในประเทศไทยจะมีขนาดแบตเตอรี่อยู่ที่ 66.8 kWh เป็นรุ่นเริ่มต้นและมีแค่รุ่นเดียวเท่านั้น ถ้าผลตอบรับดีอาจจะมีการนำแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยตัวแบตเตอรี่ขนาดใหญ่สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 620 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐานของ NEDC

         นอกจากนี้แพลตฟอร์มไม่ได้รองรับแบบ BEV เพียงอย่างเดียว รวมถึงเทคโนโลยี FCEV หรือ Fuel Cell EV คือ การเติมไฮโดรเจนเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือเทคโนโลยี REEV คือ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าและนำเครื่องยนต์
มาช่วยปั่นไฟฟ้า เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลมากขึ้น และแบตเตอรี่จะหมดช้าลง แพลตฟอร์มนี้รองรับ
ได้ทั้ง 3 เทคโนโลยี

         แบตเตอรี่มีความแตกต่างจากค่ายรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่นในเรื่องของระบบระบายความร้อนแบบแอลกอฮอล์
ที่สามารถดึงความร้อนออกมาได้ค่อนข้างดีมากกว่าระบบน้ำยาแอร์ โดยจะเป็นระบบแอลกอฮอล์แบบระบบปิดที่ดึงความร้อนจากแบตเตอรี่ลูกใหญ่มาทำการแลกเปลี่ยนกับระบบน้ำยาแอร์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่

         นอกจากนี้จะมีส่วนของ Smart BMS ที่ทำการเชื่อมต่ออัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่แบบ Real time จากเทคโนโลยีที่เรียกว่า ระบบการจัดการแบตเตอรี่ดิจิทัลแบบ IBC (Intelligent Battery Control) ประกอบกับมีระบบควบคุมจัดการภายในรถยนต์ 3 โมดูล อาทิ ระบบควบคุมตัวรถยนต์,ระบบควบคุมห้องคนขับ
และระบบ Autonomous Driving จะรวมอยู่ในแพลตฟอร์มนี้

         เทคโนโลยีการชาร์จจะรองรับการชาร์จ AC 7 kW และ DC 87 kW การนำไฟฟ้าออกมาใช้ภายนอกตัวรถยนต์เป็นแบบ V2L (Vehicle-to-load) สามารถนำพลังงานฟ้าออกมาได้ทั้งหมด 3.3 kW ถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้าง
มาก และเป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่ถูกนำมาใช้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจในส่วนเทคโนโลยีของ CHANGAN

3. GAC AION

         มีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่น คือ GAC AION Y PLUS และ GAC AION ES ในงาน Motor Expo 

เพื่อนำมาทำเป็นรถแท็กซี่ เป็นรถซีดาน ที่หลายคนให้ความสนใจ

         ซึ่งเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่นำใช้คือ AEP 3.0 เป็นแพลตฟอร์มของค่าย GAC AION โครงสร้างที่นำมาใช้เป็นแบบแบตเตอรี่ Module to pack คือ การนำแบตเตอรี่มาเซลล์มาประกอบเป็นโมดูลและนำโมดูลมาใส่เป็นแพ็ค
หลังจากนั้นจึงยกทั้งถาดมาประกอบเข้ากับตัวรถ

         ส่วนของเทคโนโลยีแพ็คมีชื่อเรียกว่า MAGAZINE BATTERY ซึ่งติด 1 ใน 10 ของเทคโนโลยีด้าน
ความปลอดภัยของแบตเตอรี่ กล่าวคือ เวลาที่แบตเตอรี่เซลล์เกิดความเสียหายและเกิดความร้อน
จะไม่มีการลุกไหม้ หรือการระเบิด เพราะจะลดการส่งความร้อนไปยังเซลล์ข้างเคียง และมีการเพิ่มระบบระบาย
ความร้อนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เซลล์ไม่เกิดความร้อนและการลุกไหม้ จะมีเพียงแค่การเกิดควันขึ้นมาเท่านั้น
เป็นผลการทดสอบจากการทดลองยิงปืนไปที่แบตเตอรี่

         ส่วนของแบตเตอรี่จะใช้แบตเตอรี่ของตัวเองที่ทำการพัฒนาขึ้นมา โดยแบตเตอรี่มีขนาดความจุสูงสุดอยู่ที่ 76.8 kWh เป็นลิเธียม NMC สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 610 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC ซึ่งจะเป็นสเปคของต่างประเทศ

         ในส่วนของการขับเคลื่อนของแพลตฟอร์ม AEP 3.0 เป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า โดยมอเตอร์ด้านหน้าจะมีขนาด
อยู่ที่ 150 kW ซึ่งจะเป็นรถ GAC รุ่น AION ทั้งหมด อาทิ GAC AION ES หรือ GAC AION Y PLUS 

เป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้ามีขนาดมอเตอร์ด้านหน้ามีขนาด 150 kW

         ส่วนของรถยนต์รุ่น GAC AION รุ่น HYPER เป็นมอเตอร์ขับหลังขนาด 250 kW ในระบบขับเคลื่อนล้อหลัง
จะมีมอเตอร์จำนวน 2 ตัว คือ มอเตอร์ขับเคลื่อนล้อหน้าจำนวน 1 ตัว และมอเตอร์ขับเคลื่อนล้อหลังจำนวน 2 ตัว
หันหน้าชนกัน และมีชุดเกียร์

         ระบบขับเคลื่อนล้อหลังมอเตอร์มีกำลังสูงสุดที่ 250 kW เฉพาะรุ่นพรีเมี่ยมเท่านั้น อาทิ GAC AION HYPER SSR มีลักษณะคล้าย รถยนต์ Ferrari รุ่นนี้ใช้งานทั้งหมด 3 มอเตอร์ ใช้เทคโนโลยีขั้นตอนสูง AEP 3.0
คือ มอเตอร์หน้ารวมมอเตอร์หลัง 2 ตัว ส่งผลให้การออกตัวเริ่มที่ 0-100 อยู่ที่ 1.9 วินาที

         เทคโนโลยีระบบชาร์จแบตเตอรี่ AC อยู่ที่ 7 kW ส่วนของการชาร์จ DC อยู่ที่ 87 kW และมีระบบ V2L
รองรับขนาดที่ 3.3 kW โดยที่สามารถนำไฟฟ้าออกมาใช้งาน

         GAC AION เป็นค่ายที่สนใจ เพราะช่วงล่างของรถยนต์ทางค่ายสามารถทำออกมาได้ดีและมีเทคโนโลยี
GAC AION HYPER หากรถยนต์รุ่น GAC AION HYPER เข้ามาทำตลาดเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบรถยนต์ Performance ที่มีความเร็วและความแรง แต่จะต้องในเรื่องของราคาต่อไป

4. TESLA

         เป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของ โลก ซึ่งมีรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทย ประกอบด้วย 2 รุ่น คือ TESLA MODEL เป็นรถเก๋งซีดาน ที่มีพัฒนาโฉมหน้าใหม่เป็น TESLA Model 3 Project HIGHLAND ในส่วนของแพลตฟอร์มแบตเตอรี่และมอเตอร์ จะยังคงเหมือนเดิม ส่วนรุ่นที่ 2 คือ TESLA MODEL Y ซึ่งเป็นรุ่นที่มียอดขายจำนวนมาก เป็นรถ SUV Crossover

         โครงสร้างของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ทั้ง 2 รุ่น จะใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นเดียวกัน คือ โครงสร้างแบบ Module to pack คือ การนำแบตเตอรี่มาประกอบเป็นเซลล์ หลังจากนั้นมาประกอบเป็นโมดูล ต่อมานำโมดูลมาใส่เป็นแพค และยกทั้งถาดมาประกอบเข้ากับรถยนต์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทางค่ายใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนการจะใช้แบตเตอรี่
Tesla 4680 จะยังไม่ทำเป็น Cellto Body ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย เพราะ แบตเตอรี่ Tesla 4680
ในปัจจุบันนี้ยังมีกำลังการผลิตที่ไม่มากเพียงพอ ถึงแม้ว่ามีการนำแบตเตอรี่ Tesla 4680 มาใช้เพียงแค่รถยนต์รุ่น Tesla Semi Truck และ Tesla Cyber Truck จำนวนยังไม่เพียงพอ

         ระบบขับเคลื่อนแพลตฟอร์มสามารถรองรับมอเตอร์จำนวนสูงสุดอยู่ที่ 2 ตัว โดยมอเตอร์เริ่มต้นจะเป็นมอเตอร์
เดี่ยวขนาด 239 kW นำมาใช้กับรถรุ่น Standard ซึ่งเป็น Rear-Wheel Drive (RWD) ทั้งหมด
ส่วนรุ่น Long Range หรือ รุ่น Performance จะมีมอเตอร์จำนวน 2 ตัว คือ มอเตอร์แบบเดี่ยวขนาด 239 kW และมอเตอร์หน้าขนาด 158 kW ถือว่า All-Wheel Drive (AWD) คือระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา
มีกำลังขับเคลื่อนที่มีความแรง

         ส่วนของแบตเตอรี่ที่แพลตฟอร์มสามารถรองรับ จะมีขนาดความจุอยู่ที่ 75.0 kWh โดยใช้แบตเตอรี่ลิเธียม NMC ถ้าเป็นรุ่นเริ่มต้นจะใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟส หรือ LFP ส่วนรุ่น Long Range และ รุ่น Performance ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม NMC สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 533 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน WLTP

         ระบบระบายความร้อนแบตเตอรี่ของ TESLA จะใช้เทคโนโลยีแบบฮีทปั๊ม คือ การใช้น้ำยาแอร์ในการหล่อเลี้ยงระบายความร้อนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ทั้งหมด รวมถึงมีการอัพเดทส่งข้อมูลสามารถตรวจสอบแบตเตอรี่ได้เอง
ซึ่งเป็นระบบ Open Source ทั้งหมด

         เทคโนโลยีการชาร์จของ TESLA ส่วนของการชาร์จแบตเตอรี่ AC สามารถรองรับอยู่ที่ 11 kW ส่วนการชาร์จ DC สามารถรองรับสูงสุดที่ 250 kW แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สถานีซุปเปอร์ชาร์จไม่ได้ติดตั้งอยู่ตามทางหลวงและ
เส้นทางหลัก ๆ แต่กลับมีการติดตั้งบริเวณบนห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ถ้ามีการติดตั้งขยายออกนอกห้างสรรพสินค้า จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และจะต้องติดตามถึงการทำเรื่องนี้ของ TESLA

5. MG

         ซึ่งเป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเป็นค่ายแรก ๆ และทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าตื่นตัวมากที่สุด ซึ่งค่ายรถ MG มีการออกรถยนต์จำนวนหลายรุ่น แต่ถ้านับเทคโนโลยีที่เป็นแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้าให้นับที่รถ MG4

         ซึ่งเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่นำมาใช้ เรียกว่า เนบิวลาแพลตฟอร์ม โดยโครงสร้างนำแบตเตอรี่มาประกอบเป็นโมดูลและนำโมดูลมาใส่เป็นแพค คือ โครงสร้างแบบ Module to pack

         โดยรถ MG4 จะมีการ Balance แบบ 50:50 ซึ่งส่วนของด้านหน้าสและด้านหลังจะมีความยาวที่สั้นมาก
ส่วนตรงกลางตัวแบตเตอรี่จะมีขนาดใหญ่มาก นับได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าจริง
โดยเริ่มนับรถรุ่นแรกที่ใช้ คือ รถ MG4

         แพลตฟอร์มสามารถรองรับแบตเตอรี่ขนาดความจุสูงสุดอยู่ที่ขนาด 64 kWh เป็นแบตเตอรี่ลิเธียม NMC สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 535 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC แต่ถ้าเป็นรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทยจะใช้แบตเตอรี่ขนาด 57 kWh สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 425 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ

         ระบบขับเคลื่อนของแพลตฟอร์มนี้ จะเป็นระบบขับเคลื่อนแบบล้อหลังเพียงอย่างดียว
เป็นแบบ Rear-Wheel Drive (RWD) โดยจะมีมอเตอร์หลังขนาดอยู่ที่ 125 kW ซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการขับเคลื่อนแบบระบบล้อหลัง โดยเฉพาะการเข้าโค้ง ซึ่งรถ MG4 ที่มีการโหวดจากสื่อรถหลายคนว่าเป็นการขับที่มีความสนุกที่สุด จากการ Balance, ช่วงล่าง, ด้านหลัง, Multi-Link คือ ระบบกันสะเทือนคู่หลัง , ด้านหน้าเป็นระบบกันสะเทือน แม็คเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut) ซึ่งทางค่าย MG สามารถทำออกมาได้ค่อนข้างดี

         ระบบระบายความร้อนของแบตเตอรี่ ซึ่งเนบิวลาแพลตฟอร์ม เป็นการระบายความร้อนด้วยระบบ

LIQUID COOLING SYSTEM มีการใช้น้ำยาหล่อเย็นในการระบายความร้อน ทั้งในส่วนของแบตเตอรี่และมอเตอร์

         ส่วนเทคโนโลยีการชาร์จ ในส่วนของการชาร์จ AC รองรับอยู่ที่ 6.6 kW ส่วนการชาร์จ DC รองรับอยู่ที่ 88 kW และมีระบบนำไฟฟ้าออกมาข้างนอกแบบ V2L อยู่ที่ 2.2 kW

         นอกเหนือจากรถรุ่น MG4 ทางค่าย MG มีรถยนต์ไฟฟ้าอีกรุ่นหนึ่งที่ยังไม่มีการกล่าวถึงในเรื่องของเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม คือ MG MAXUS 9 ซึ่งค่าย MG ในบริษัทแม่อย่าง SAIC Motor Corporation ซึ่งมีแบรนด์เป็นจำนวนมาก อาทิ Roewe ที่มาทำรถ MG EP หรือ MG4 ที่เป็นแบรนด์ของ MG

         ส่วนรถตู้ไฟฟ้าในต่างประเทศจะเป็นแบรนด์ MAXUS ที่เป็นแบรนด์รถยนต์พรี่เมียม เมื่อมาเข้ามาในตลาดประเทศไทย จึงมาตีกับแบรนด์ MG เรียกว่า One Brand One Policy เท่านั้น กล่าวถึงเทคโนโลยีแพลตฟอร์มของ MAXUS 9 จะไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทาง จึงมีการใช้ชื่อว่า Mifa 9 เนื่องจากแบรนด์ในต่างประเทศ 

เรียกว่า MAXUS Mifa 9

         รถ MG MAXUS 9 จะเป็นแพลตฟอร์มที่รองรับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบให้เหมาะกับรถยนต์ที่เป็นรถตู้
สามารถรองรับแบตเตอรี่ขนาดความจุอยู่ที่ 90 kWh สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดที่ 520 กิโลเมตร
ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC และแบตเตอรี่ลิเธียม NMC เนื่องจากตัวถังรถยนต์ใหญ่
ทำให้มีการกินพลังงานเป็นจำนวนมาก รวทั้งมาพร้อมกับระบบขับเคลื่อนแบบล้อหลังแบบ Rear-Wheel Drive (RWD) ซึ่งมีมอเตอร์ขนาด 150 kW

         ส่วนเทคโนโลยีการชาร์จจะรองรับการชาร์จ AC อยู่ที่ 11 kW ส่วนการชาร์จ DC รองรับอยู่ที่ 120 kW และไม่มีระบบ V2L เพราะภายในรถยนต์สามารถดึงไฟเสียบปลั๊กเล่นคอมพิวเตอร์ ซึ่ง รถ MG MAXUS 9 จะเป็นรถยนต์สไตล์
ผู้บริหารตามองค์กร

6. HYUNDAI

         ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศเกาหลีใต้ที่กลับมาทำตลาดในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งกับ
รถ HYUNDAI IONIQ 5 ซึ่งเป็นรถ SUV Crossover ที่มีหน้าตา Retro-Futuristic

         โดยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มของทาง HYUNDAI คือ EGMP หรือ Electric Global Modular Platform 

เป็นแพลตฟอร์มที่นำไปใช้ถึงตัวพรีเมียม อาทิ Genesis อย่าง Kia ก็นำไปใช้ โดยมีการพัฒนาร่วมกัน

         โครงสร้างของ EGMP รองรับมอเตอร์ด้านหน้าและด้านหลังอย่างละตัว สามารถรองรับแบตเตอรี่ขนาด
ความจุอยู่ที่ 77.4 kWh เป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ ถ้าเป็นรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทยแบตเตอรี่อยู่ที่
ขนาด 72.6 kWh สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดที่ 481 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จตามมาตรฐาน WLTP

         ด้านการขับเคลื่อน กรณีที่เป็นรุ่นเริ่มต้นระบบการขับเคลื่อนจะเป็นแบบ Rear-Wheel Drive (RWD)
เป็นหลักรุ่นระดับกลางระบบการะขับเคลื่อนจะเป็นแบบ Rear-Wheel Drive (RWD) แต่ตัวมอเตอร์จะมีขนาดใหญ่มากขึ้น ในส่วนของรุ่นระดับ Top ระบบการขับเคลื่อนจะเป็นแบบ All-Wheel Drive (AWD) จะมีมอเตอร์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยมอเตอร์ด้านหน้ามีขนาดอยู่ที่ 70 kW จะเป็นขนาดเล็ก ส่วนมอเตอร์ด้านหลังมีขนาด 160 kW
โดยที่ให้แรงม้ารวมกันอยู่ที่ 305 แรงม้า การออกตัวที่ 0-100 ใช้เวลาเพียง 3 วินาทีกว่า ๆ เท่านั้น

         เทคโนโลยีการชาร์จของ HYUNDAI มีการชาร์จอยู่ 3 ระดับ Slow Charge แบบ AC รองรับสูงสุดที่ 10.5 kW
และการชาร์จ DC รองรับสูงสุดอยู่ที่ 50 kW แต่มีสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ Ultra Fast charge รองรับสูงถึง 350 kW

         HYUNDAI IONIQ LAB ที่มาเปิดในประเทศไทย จะมีสถานีชาร์จอยู่ทางด้านหน้า โดยจะทำการชาร์จ
โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าของ HYUNDAI เท่านั้น ถึงจะรองรับระบบ Ultra Fast charge ส่วนการนำออกมาใช้ในระบบ V2L ของ HYUNDAI สามารถนำออกมาได้สูงสุดที่ 3.6 kW

7. Great Wall Motor

         ที่มีการเปิดตัว GWM ORA 07 เป็นแบบ Type D Segment มีทั้งหมด 2 รุ่น คือ รุ่น LONG RANGE
และรุ่น PERFORMANCE

         เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ใช้มีชื่อว่า Lemon E Platform ที่ใช้เหมือนกับรุ่น ORA GOOD CAT แต่มีการพัฒนา
ให้ดีมากขึ้น อาทิ อัพเดท Firmware ข้อมูลที่มีความว่องไวมากกว่าของเดิม

         ส่วนของแบตเตอรี่เป็นลิเธียม NMC ป็นโครงสร้างแบบ Module to pack นำแบตเตอรี่มาประกอบเป็นโมดูลและนำโมดูลมาใส่เป็นแพคมาประกอบเข้ากับโครงสร้างรถ ซึ่งความจุของแบตเตอรี่สูงสุดอยู่ที่ 83.5 kWh
สามารถวิ่งได้ในระยะทางระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 640 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน NEDC
หากเป็นการวิ่งตามความเป็นจริจะอยู่ที่ประมาณ 500 กิโลเมตรขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถวิ่งใน
ระยะทางใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน

         ระบบขับเคลื่อนสามารถรองรับมอเตอร์สูงสุดจำนวน 2 ตัว โดยเริ่มที่รุ่น LONG RANGE จะมอเตอร์แบบขับเคลื่อนล้อหน้าแบบ Front-Wheel Drive (FWD) ซึ่งมอเตอร์มีขนาดอยู่ที่ 150 kW ส่วนรุ่น PERFORMANCE
จะเป็นระบบขับเคลื่อนแบบ All-Wheel Drive (AWD) ประกอบด้วย มอเตอร์ด้านหน้าขนาดอยู่ที่ 150 kW
และมอเตอร์ด้านหลังขนาดอยู่ที่ 150 kW ทำแรงม้ารวมกันสูงสุดอยู่ที่ 300 kW

         ส่วนระบบระบายความร้อนเป็นแบบระบบ LIQUID COOLING SYSTEM ระบายความร้อนด้วยของเหลว Coolant เป็นการระบายความร้อนแยกกันระหว่างแบตเตอรี่และมอเตอร์

         ระบบเทคโนโลยีการชาร์จของ GWM ORA 07 จะทำการชาร์จมีความไวมากกว่าของ ORA GOOD CAT
เพราะมีการอัพเดทฮาร์ดแวร์ขึ้นมา ซึ่งการชาร์จ AC รองรับสูงสุดที่ 11 kW ส่วน DC รองรับอยู่ที่ 88 kW และสามารถนำไฟฟ้าออกมาใช้ได้ถึง 3.3 kW

         ส่วนในเรื่องของราคาเปิดตัวมีความน่าสนใจ เพราะราคาอยู่ที่หนึ่งล้านต้น ๆ และได้แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่

8. NETA

         ค่าย NETA มีรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำตลาดในประเทศอยู่รุ่นเดี่ยวคือ NETA V ที่มีราคาเข้าถึงง่ายและเหมาะสำหรับ
ผู้ที่อยากจะเริ่มใช้รถยนต์ไฟฟ้า ตอนนี้ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหญ่ อย่าง NETA X ซึ่งจะผลิตในประเทศไทย
เป็นรถ SUV ไซส์กลาง จากราคาของรุ่น NETA V มีราคาที่ไม่สูงมาก จึงมีการคาดการณ์ว่าราคาของ NETA X
จะอยู่ที่ประมาณล้านต้น ๆ

         เทคโนโลยีแพลตฟอร์มของทาง NETA ที่ใช้มีทั้งหมด 2 แพลตฟอร์ม ของรุ่น NETA V จะเป็นแพลตฟอร์ม
ที่เรียกว่า HPA จำพวก City Car หรือรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ส่วนรถยนต์ไฟฟ้ารรุ่นใหญ่ อาทิ NETA U
จะใช้แพลตฟอร์ม HPC

         โครงสร้างของแพลตฟอร์มแบบ Module to pack นำแบตเตอรี่มาประกอบเป็นโมดูลและนำโมดูลมาใส่เป็นแพคมาประกอบเป็นโครงสร้าง โดยแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ จะเป็นแบบ LFP ทั้งหมด ก่อนหน้าในรุ่น NETA V
เคยมีการใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียม NMC แต่จากราคาที่สูง ทางค่ายจึงเปลี่ยนมาใช้เป็นแบตเตอรี่แบบ LFP

         แพลตฟอร์มสามารถรองรับแบตเตอรี่ขนาดความจุสูงสุดอยู่ที่ 38.54 kWh ของ NETA V สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 384 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐานของ NEDC ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบระบบขับเคลื่อนล้อหน้า มีมอเตอร์หน้าขนาด 70 kW สามารถวิ่งได้ในความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 115 กิโลเมตร / ชั่วโมง

         ส่วนของรุ่น NETA X สามารถรองรับแบตเตอรี่ขนาดความจุสูงสุดอยู่ที่ 72.08 kWh ซึ่งแบตเตอรี่ที่จะนำมาใช้กับรุ่น NETA X กำลังอยู่ในช่วงการตัดสินใจว่าจะใช้แบตเตอรี่ LFP ของทาง BYD โดยกำลังอยู่ในขั้นของการเจรจา หากสามารถทำได้แบตเตอรี่ จะสามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดถึง 501 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐานของ CLTC เพราะรุ่น NETA X อยู่ในขั้นทดลองรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่ประเทศจีน จึงยังไม่มาทำตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

         ส่วนเทคโนโลยีการชาร์จ ระบบการชาร์จรุ่น NETA V การชาร์จ AC รองรับอยู่ที่ 6.6 kW ส่วนการชาร์จ DC
รองรับสูงสุดที่ 50 kW และสามารถนำไฟฟ้าออกมาชาร์จได้แบบระบบ V2L ถึง 3.3 kW

9. VOLVO

         กล่าวถึงรุ่น VOLVO EX30 เวลาที่จะเริ่มนับรถยนต์ไฟฟ้าให้เริ่มต้นที่รุ่น VOLVO EX30 รุ่นก่อนหน้า อาทิ VOLVO XC40 พัฒนามาจากแพลตฟอร์มที่เป็นแบบปลั๊กอินไฮบริด สังเกตได้จากอุโมงค์ลมบริเวณท่อไอเสียที่พื้นห้องโดยสาร ดังนั้นให้นับรถยนต์ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแท้ 100 % ให้เริ่มต้นที่รุ่น VOLVO EX30
และอย่างที่ทราบกันว่าค่าย VOLVO ถูกถือหุ้นด้วยบริษัท จีลี่ ออโตโมบิล จึงเกิดการแชร์เทคโนโลยีแพลตฟอร์มขึ้นมา ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาต่ำกว่า 2 ล้าน เป็นแบรนด์รถยุโรปที่สามารถทำราคาได้ต่ำกว่า 2 ล้าน เป็นแบรนท์แรก

         ซึ่งแพลตฟอร์มที่ใช้ชื่อว่า SEA หรือ Scalable Electric Architecture ใช้เป็นแพลตฟอร์มเดียวกัน อาทิ
รุ่น ZEEKR หรือรุ่นสมาร์ทวัน จึงทำให้ราคาถูกลง

         โครงสร้างเป็นแบบ Module to pack นำแบตเตอรี่มาประกอบเป็นโมดูลและนำโมดูลมาใส่เป็นแพคมาประกอบเป็นโครงสร้าง โดยระบบขับเคลื่อนหลักเป็นแบบ Rear-Wheel Drive (RWD) เป็นหลัก

         แพลตฟอร์ม SEA มีข้อดีที่มีการยืดหยุ่นสูง ที่สามารถทำการยืด หด ลด ขยาย ได้ทั้งหมด และสามารถเลือกบรรจุขนาดแบตเตอรี่ได้ตั้งแต่ 58-100 kWh โดยเฉพาะรุ่น ZEEKR 009 รถตู้ไฟฟ้ามีขนาดบรรจุของแบตเตอรี่
อยู่ที่ 100 kWh ขึ้นไป ส่วนของรุ่น VOLVO EX30 แบตเตอรี่มีขนาดความจุอยู่ที่ 69 kWh เป็นลิเธียม NMC
สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลสุดที่ 480 กิโลเมตร ต่อ 1 การชาร์จ ตามมาตรฐาน WLTP

         แพลตฟอร์มรองรับมอเตอร์สูงสุดจำนวน 2 ตัว คือ มอเตอร์ด้านหน้าและมอเตอร์ด้านหลัง รุ่น VOLVO EX30 เป็นรุ่นเริ่มต้นจะเป็นมอเตอร์ด้านหลังขนาด 200 kW ถ้าเป็นรุ่น TOP จะเป็นมอเตอร์แบบ All-Wheel Drive (AWD) คือ มอเตอร์ด้านหลังมีขนาดอยู่ที่ 200 kW และมอเตอร์ด้านหน้ามีขนาดอยู่ที่ 115 kW ขับเคลื่อนพร้อมกัน

         เทคโนโลยีการชาร์จของค่าย VOLVO รองรับการชาร์จ AC อยู่ที่ 11 kW ส่วนการชาร์จ DC รองรับอยู่ที่
150 kW
ไม่มีเทคโนโลยี V2Lในรถยนต์ไฟฟ้าของค่าย VOLVO

         และนี้เป็นอัพเดทข้อมูลด้านแพลตฟอร์มของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละค่ายที่เข้ามาจำหน่ายตลาดในประเทศไทย
ปี 2023 สังเกตุได้ว่าค่ายที่มีเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองจะสามารถต่อยอดพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ออกได้อย่างรวดเร็วและง่ายได้เปรียบกว่าค่ายอื่นรวมถึงส่วนของแบตเตอรี่ด้วยจะยิ่งต่อยอดไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นไป

         ซึ่งท่านสามารถรับชมเรื่องราวทั้งหมดได้ที่คลิปด้านล่างนี้ และหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.