เปิดเบื้องหลังฉลากเบอร์ 5 ทดสอบอะไรบ้าง? ค่ากินไฟมาจากไหน? ประหยัดจริงไหม? มีแล้วดียังไง?

         วันนี้เรามาอยู่ที่บ้านประหยัดพลังงาน ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
เพื่อหาความรู้เกี่ยวกับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่มีการติดกับเครื่องใช้ไฟฟ้ามาอย่างยาวนาน อาทิ ตู้เย็น
เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ดังนั้นวันนี้เราจึงมาสอบถามเรื่องความประหยัดพลังงาน
และรูปแบบการกำหนดค่าประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

         ทางคุณสมศักย์ ปรางทอง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม โดยมีภารกิจหลัก
ในการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ จะมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ

         ปัจจุบันจากเรื่องกระแสของรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรง รวมทั้งการใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
ส่งผลให้มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้รายจ่ายด้านค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มแพงมากขึ้น
         โครงการประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟภ. ดำเนินการมากกว่า 30 ปี โดยมีการติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 จำนวน 23 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีการแจกฉลากทั้งหมดประมาณ 400 กว่าล้านฉลาก

         ใน 23 ผลิตภัณฑ์ สามารลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศสูงมากกว่า 35,800 ล้านหน่วย
รวมถึงลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 20 ล้านตัน ซึ่งเป็นคุณค่าที่สำคัญของโครงการดังกล่าว
         ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่ กฟผ. พัฒนาขึ้นมา จะมีสัญลักษณ์เลขเบอร์ 5 และจำนวนดาวตั้งแต่ 1 – 3 ดาว

          เป็นการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของการใช้ไฟฟ้า โดยมีการเรียงลำดับตามประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าตั้งแต่ 1 -3 ระดับ

         และภายในปี 2567 ทาง กฟผ. จะเพิ่มเป็น 5 ดาว หรือ 5 ระดับ เพื่อเป็นการขยายขอบเขตช่วงของ
การเลือกใช้การประหยัดพลังงาน

          การคำนวณค่าของตัวเลขที่สามารถประหยัดพลังงาน จะประกอบด้วยหลายขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การสืบค้นข้อมูลเครื่องใช้ไฟฟ้าตามท้องตลาด รวมถึงทาง กฟผ. มีการพูดคุยกับทางผู้ประกอบการจำนวนประมาณ 250 ราย ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ในเรื่องของวิธีการยกระดับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้งานให้กับผู้บริโภคและสามารถประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น

การทดสอบการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

         โดยเรามาอยู่ที่สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กับคุณธีระ ริมปิรังษี ผู้อำนวยการฝ่ายการมาตรฐานและคุณภาพ จะมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ

         ทางสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นแล็บทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
จากการทดสอบให้กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) คือ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” (Thai Industrial Standard) หรือ มอก. ประกอบกับเป็นแล็บทดสอบที่สำคัญให้กับโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟผ.

         สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะมีการทดสอบหลัก อาทิ เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ เครื่องทำน้ำอุ่น
ตู้เย็น เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ในครัวเรือน

การทดสอบเครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านเรือน

         จะเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดตั้งแต่ 5,000 – 40,000 BTU

ห้องทดสอบชุดคอยล์เย็น

         เป็นการจำลองการทำงานของเครื่องปรับอากาศที่อยู่ภายในบ้าน

         การทดสอบ “คอยล์เย็น” หรือ “Indoor Unit” จะมีการติดตั้งเหมือนการใช้งานจริงและ
การติดเทอร์โมเซ็นเซอร์วัดตามจุดต่าง ๆ หลังจากนั้นจะทำการเปิดให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มกำลัง
โดยการปรับอุณหภูมิให้ต่ำที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ซึ่งสภาพแวดล้อมของห้องทดสอบจะกำหนดอุณหภูมิอยู่ที่ 27 °C เมื่อมีการปรับอุณหภูมิห้องทดสอบและเปิดเครื่องปรับอากาศดันปล่อยความเย็นออกมา จนอุณหภูมิมั่นคงอยู่ที่
27 °C จึงจะบันทึกค่าการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งการทดสอบจะต้องควบคุมสภาวะแวดล้อมทุกอย่างตามมาตรฐานที่กำหนด

ห้องทดสอบชุดคอยล์ร้อน

         โดยปกติการใช้งานเครื่องปรับอากาศ จะดึงความร้อนจากห้องที่อยู่อาศัยและระบายความร้อนด้วยคอยล์ร้อน หรือคอนเดนเซอร์ประกอบด้วย อุปกรณ์หลัก 3 อย่าง คือ พัดลมระบายความร้อน (Fan) คอนเดนเซอร์คอยล์ (Condenser coil) และคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ซึ่งห้องทดลองจะจำลองปรับอุณหภูมิสภาพแวดล้อมอยู่ที่
35 °C ให้เหมือนกับภายนอกตัวบ้าน ซึ่งจะต้องควบคุมให้อุณหภูมิทั้ง Indoor/ Outdoor ของห้องทดสอบให้คงที่
จึงจะเริ่มเก็บค่าการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ ก่อนที่จะนำค่าที่ได้มาแปลเป็นฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

ห้องคอนโทรลการทดสอบเครื่องปรับอากาศใช้ตามบ้านเรือน

         ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทดสอบเครื่องปรับอากาศ จะเห็นได้ว่าหน้าจอของชุดคอนโทรลมีหลายหน้าตา โดยจะเริ่มจาก
         ส่วน Power Meter ที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากว่าเป็นส่วนเก็บค่าการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศที่กำลังทำการทดสอบ

         ส่วนชุดควบคุมการทำงานของห้องทดสอบเครื่องปรับอากาศ เพราะว่าทุกพารามิเตอร์ที่ควบคุมการทดสอบ
มีความจำเป็นจะต้องมีการเฝ้าสังเกตอยู่ตลอดเวลา รวมถึงมีการบันทึกค่าต่าง ๆ สำหรับเป็นหลักฐาน
ซึ่งบางส่วนจะเข้ามาที่ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จะเห็นได้จากการพล็อตกราฟอุณหภูมิออกมาเป็นรายงาน 

โดยจะเป็นอุณหภูมิที่มีส่วนสำคัญแต่ละจุดที่ทางมาตรฐานจะต้องทำการบันทึก

         ส่วนของไดอะแกรม แสดงให้เห็นว่าห้องทดสอบจะต้องมีการควบคุมการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุณหภูมิ หรือความชื้นของทั้ง 2 ห้อง คือ ห้อง Indoor ที่เป็นห้องคอยล์เย็น Outdoor ที่เป็นห้องคอยล์ร้อน
นอกจากนี้สามารถดูสภาพการทำงานของเครื่องห้องทดสอบ

การทดสอบเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่

         ซึ่งจะเป็นเครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และบ้านขนาดใหญ่ที่มีคอยล์ร้อนจำนวนน้อย

ห้องทดสอบชุดคอยล์เย็น (Indoor Room)

         จะเป็นห้องที่สามารถทดสอบแฟนคอยล์ 4 ชุดพร้อมกัน หรือ เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน 4 เครื่อง
ซึ่งแฟนคอยล์จะอยู่ภายในตู้ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศที่ทำการทดสอบ จะใช้งานในห้างสรรพสินค้า ตึกขนาดใหญ่ หรืออาคารพาณิชย์ ซึ่งเวลาทดสอบจะให้แฟนคอยล์ปล่อยความเย็นออกมาให้อยู่ภายในห้อง จะมีการติด

เทอร์โมเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิตามจุดต่าง ๆ โดยใช้หลักการแบบเดียวกับการทดสอบเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน

ห้องทดสอบชุดคอยล์ร้อน (Outdoor Room)

         จะเป็นคอยล์ร้อน 1 ตัว ขนาด 100,000 BTU ซึ่งควบคุมแฟนคอยล์ทั้งหมด 6 ตัว จากห้องทดสอบแฟนคอยล์ห้องแรกจำนวน 4 ตัว และห้องทดสอบอื่นจำนวน 2 ตัว จึงเป็นห้องทดสอบเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ที่มีหลายชุดแฟนคอยล์ นอกจากนี้ทาง กฟผ. มีแผนนำเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เข้าโครงการประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
ในวันที่ 1 ม.ค. 2567

ห้องคอนโทรลการทดสอบเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่

         ลักษณะของห้องคอนโทรลการทดสอบเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่มีหลักการที่คล้ายคลึงกับห้อง

คอนโทรลการทดสอบเครื่องปรับอากาศตามบ้านเรือน แต่การมอนิเตอร์และการแสดงค่า
จะมีความทันสมัยมากขึ้น

การทดสอบตู้เย็น

         การใช้งานตู้เย็นตามบ้านเรือน จะไม่มีการถอดปลั๊ก ซึ่งห้องทดสอบจะเรียกว่า Walk-in Chamber สามารถปรับอุณหภูมิความชื้นตามมาตรฐานที่กำหนด

         ซึ่งสายที่เชื่อมโยงเข้ากับตู้เย็น คือ เซ็นเชอร์อุณหภูมิ ที่ทำการตรวจวัดค่าอุณหภูมิในจุดต่าง ๆ ที่มาตรฐานกำหนด อาทิ ช่องแช่แข็ง จะมีการติดเซ็นเซอร์ทั้งหมด 5 จุด และช่องแช่แข็งปกติ ซึ่งทั้ง 2 ช่อง จะต้องได้ค่าอุณหภูมิตามที่กำหนด เมื่ออุณหภูมิคงที่ จึงจะมีการบันทึกค่าการใช้พลังงาน ในช่วงระยะเวลาตามมาตรฐานที่กำหนด

การทดสอบตู้แช่สินค้าเชิงพาณิชย์

         ซึ่งจะเป็นตู้แช่สินค้า อาทิ เครื่องดื่ม อาหารสด และอาหารเวฟ การทดสอบจะต้องนำก้อนเนื้อเทียมมาแช่ใน
ตู้แข็ง เพื่อจำลองให้เหมือนการใช้งานจริงตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อดูลักษณะการใช้พลังงาน
หรือจำลองการใช้พลังงานจริง

         ดังนั้นเพื่อเป็นไปตามมาตรฐาน จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้เนื้อเทียม ซึ่งภายในตู้แช่จะมีตัวเซ็นเซอร์และการใส่ก้อนเนื้อเทียมในตู้แช่จะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดถึงจำนวนชั้นที่วางและจำนวนชิ้น

         ส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการวัดจากห้องทดสอบ อาทิ เรื่องอุณหภูมิ ค่าพลังงานที่ใช้ จะปรากฏขึ้นที่หน้าจอ
ส่วนนี้

         หลังจากที่มีการวบรวมข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว จะทำเป็นรายงานผลการทดสอบ เพื่อส่งให้กับทาง กฟผ.
นำไปพิจารณาในการออกฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

         กล่าวคือ จากการทดสอบเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด จะต้องถูกนำมาทดสอบที่สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และจัดส่งรายงาน อาทิ การใช้พลังงาน ที่มีข้อกำหนดโครงการประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เพื่อทำการออกฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

ส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า (EV)

         ทางคุณเรืองฤทธิ์ หนิแหน วิศวกรอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

         ทางคุณเรืองฤทธิ์อธิบายว่า จะให้บริการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าในด้านต่าง ๆ รวมถึงเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ให้บริการทดสอบ

การทดสอบเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

         เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 จากข้อกำหนดเครื่องชาร์จแบบ AC
ไม่เกิน 40 kW ส่วนเครื่องชาร์จแบบ DC ไม่เกิน 60 kW

         การทดสอบเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องมีตัวจำลองแบตเตอรี่ตัวรถ เรียกว่า EV Simulator ทำหน้าที่ดึงกระแสไฟฟ้าจากเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

         โดยเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะมีหัวชาร์จในการต่อ ไม่ว่าจะเป็นแบบ CCS, CHAdeMO หรือ AC Type 2
จะโปรโตคอลจำลองทำการสื่อสารกับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องตรงกัน โดยเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ที่ทำการทดสอบ จะใช้หัวชาร์จ CCS2 ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย

         การทดสอบจะใช้โปรโตคอลของ CCS2 ในการสื่อสารกับ BMS ของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะกดดูค่าจากระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์

         ซึ่งการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 จะดูค่าพลังงานที่จ่ายให้กับตัวรถและวัดค่าพลังงานที่ดึงจากการไฟฟ้า การคำนวณ คือ การค่า Output ตั้งหารด้วย Input จะได้ค่าประสิทธิภาพ

         เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC จะต้องติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เนื่องจากปัจจุบันเครื่องชาร์จ
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC จะมีเรื่องของ IoT เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้ง Bluetooth และ WiFi รวมทั้งเครื่องชาร์จ
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC บางเครื่อง จะมี LCD จำนวนมาก ซึ่งส่วนนั้นจะเป็น Power Input ที่นอกเหนือจากการจ่ายพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นในช่วงสถาวะที่ไม่มีการงาน จะมีการใช้พลังงานค่อนข้างมาก หรือในช่วงที่มีการชาร์จ
รถยนต์ไฟฟ้า อาจจะมีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ 50 kWh แต่ความเป็นจริง Input จะอยู่ที่ 52 -53 kWh
จึงมีความจำเป็นต้องใช้ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

         เริ่มทำการทดสอบการทำงานเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยการสั่งสตาร์ทเครื่อง ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะใช้วิธีที่แตกต่างกัน อาทิ แอปพลิเคชันจากมือถือ หรือใช้ RFID Card ซึ่งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่จะทำการทดสอบ
จะใช้ RFID Card จึงเลือกวิธีสแกนบัตร ทำการสตาร์ทเครื่อง หลังจากนั้นกดเริ่มชาร์จ และจะดูค่า Simulate
กำหนดที่ 500 Volt 30 Ah หลังจากนั้นจะรอการชาร์จที่ตั้งระยะเวลาทดสอบ 20 นาที

ห้องทดสอบ EMC (Electromagnetic Compatibility)

         เป็นการทดสอบในช่วงเวลาทำการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือช่วงที่ไม่ได้ทำการชาร์จ มีการส่งสัญญาณรบกวนอุปกรณ์อื่น ๆ จากการที่เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีการเชื่อมต่อสัญญาณ IoT รวมทั้งรถยนต์ไฟฟ้ามีการปล่อยสัญญาณจากระบบ ADAS ระบบโซนาร์ จะต้องไม่มีการรบกวนระหว่างกัน

         การทดสอบตัวรถยนต์ไฟฟ้า หรือเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะทำการทดสอบตรงโต๊ะสีขาว รวมถึงผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ อาทิ รถบัส 2 ชั้น ห้องทดสอบสามารถทดสอบรถตามมาตรฐาน ECE R10 ที่ในอีก 2 ปีทางกรมขนส่ง
ทางบกจะมีการบังคับใช้ แต่ทางEU มีการบังคับใช้มานานแล้ว ในอนาคตยานยนต์ไร้คนขับ หรือ Autonomous Vehicle จะเข้ามา การส่งสัญญาณจะเพิ่มมากขึ้น

         ต่อมาเมื่อทำการทดสอบการทำงานเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนของรายงานสรุปผล
จะออกมาเป็นลักษณะตามภาพ เพื่อนำมาประเมินประสิทธิภาพในการออกฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

การทดสอบแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

         ด้านในจะมีเครื่อง Charge/Discharge แบตเตอรี่ สำหรับกรณีชาร์จแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ 1 Channel
500 Amp ซึ่งมีทั้งหมด 2 Channel สามารถขนานได้ประมาณ 1 MW

         สำหรับการทดสอบแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์จะใช้ 2 เครื่องดังภาพ

         ในการทดสอบแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 จะดูจากค่าพลังงานที่ชาร์จ
แบตเตอรี่ให้เต็มเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจะดึงพลังงานไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ทั้งหมด ภายในตู้ทดสอบจะมี

แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ที่มีการใช้งานโดยทั่วไป โดยมีการจำลองอุณหภูมิตามมาตรฐานที่กำหนด ส่วนเครื่องด้านขวาจะเป็นเครื่องประจุชาร์จ Charge/Discharge ซึ่งจะเชื่อมต่อสายไวร์ริ่งมาที่แบตเตอรี่ทดสอบ แล้วข้อมูลจะถูกมาที่ห้องคอนโทรล

แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

เครื่องประจุชาร์จ Charge/Discharge

ห้องคอนโทรลการทดสอบแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

         เนื่องจากว่าการทดสอบแบตเตอรี่ ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดมีการชาร์จที่มากเกินไป มีโอกาสที่แบตเตอรี่จะเกิดการระเบิด ดังนั้นแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในห้อง Chamber เพื่อป้องกันการระเบิด โดยให้คนควบคุมอยู่ด้านนอก

         การทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5ของแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ เมื่อนำแบตเตอรี่มาใส่ที่ห้อง Chamber จะใช้เครื่องประจุชาร์จทำการ Charge/Discharge ซึ่งเงื่อนไขในการทดสอบของฉลากประหยัดไฟฟ้า

เบอร์ 5 จะชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม และดึงกระแสไฟฟ้าออกมาในอัตราที่แตกต่างกัน ที่หน้าจอจะแสดงค่า kWh
เมื่อแบตเตอรี่ทำการชาร์จเต็ม 100% ยกตัวอย่างแบตเตอรี่ทำการชาร์จเต็ม 100% อยู่ที่ 2,524 kWh
หลังจากนั้นจะทำการดึงกระแสไฟฟ้าที่ 1C ใช้พลังงานอยู่ที่ 2,434 kWh จะนำค่าพลังงานตอนดึงกระแสไฟฟ้าหารด้วยค่าพลังงานตอนที่ชาร์จเต็ม จึงได้ค่าประสิทธิภาพออกมา

         เราจะกลับมาที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. เพื่อมาพูดคุยกับทางคุณสมศักย์ ปรางทอง ซึ่งทางคุรสมศักย์ได้ให้ข้อมูลว่าทาง กฟผ. มีแผนที่จะขยายไปอีกส่วนหนึ่ง จากความสำคัญของอาคารและบ้านที่อยู่อาศัย ถ้าหากมีการนำมาใช้กับตัวอาคารจะสามารถลดพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 10%

         หลักการบ้านประหยัดพลังงานแนวคิด 4 E คือ

         ซึ่งแบบบ้านใหม่ของ กฟผ. สามารถยื่นกับทางธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ให้ดอกเบี้ยพิเศษสำหรับบ้านประหยัดพลังงาน เรียกว่า Green Bond

         จากเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้าที่เครื่อง Charger จะอยู่ภายในบ้าน ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาในครัวเรือน 

จากการมุ่งเข้าสู่การเป็น บ้านในอนาคตจะมีรถยนต์ไฟฟ้า โซลาร์เซลล์ Inverter ที่แปลงไฟจากโซล่าเซลล์เข้าสู่
ตัวบ้าน

         ในปี 2567 ทาง กฟผ.มีแผนที่จะติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับแผงโซลาร์เซลล์

         ซึ่งจะมีการติดแผงโซลาร์เซลล์ตามหลังคาบ้านครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของ Inverter เป็นตัวแปลงไฟจากแผงโซลาร์เซลล์เข้าสู่ตัวบ้าน เพราะฉะนั้นถ้าการแปลงไฟไม่มีประสิทธิภาพ แสดงว่าจะไม่ได้พลังงานไฟมาใช้อย่าง
คุ้มค่า ดังนั้น Inverter จึงมีความจำเป็นกับครัวเรือน นอกจากมาตรฐานความปลอดภัยที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็น
ผู้กำหนด เรื่องของมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานที่ กฟผ. เป็นผู้ดูแลและส่งเสริมจึงมีความจำเป็นเช่นเดียวกัน

         จะเห็นได้ว่าเรื่องของเทคโนโลยีมีการขับเคลื่อนไม่ว่าจะเป็นวัสดุบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
EV Charger แบตเตอรี่ โซลาร์เซลล์ และระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างที่เข้ามาเรียบร้อยแล้ว หมายความว่าในอนาคตบทบาทฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ

         ทาง กฟผ. จะมอบคุณค่าใหม่ให้กับประชาชน คือ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แบบเดิม จะมอบคุณค่าเมื่อมีการเลือกใช้งานเท่านั้น

         แต่ปัจจุบันมีการปรับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 มีระดับถึง 5 ดาว ที่สามารถเลือกช็อปสเกลประสิทธิภาพได้หลากหลายมากขึ้น

         อันที่ 2 ประชาชนในค่าฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แบบใหม่ จะมีแสดงค่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 จะสอดคล้องกับแนวทางของประเทศไทยในเรื่องของ Carbon Neutrality

         ส่วนหนึ่ง คือ สิ่งที่ลืมไม่ได้ในเรื่องของสินค้าที่ผลิตออกมาและติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตั้งแต่ต้นน้ำใช้งานและปลายน้ำเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งกระบวนการ จะมีข้อกำหนดโครงการเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิ มีการใช้พลาสติกและวัสดุที่เป็นมิตรกับ โดยจะระบุในเกณฑ์ของฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แบบใหม่ 5 ดาว

         นอกจากนี้จะมี QR Code ที่ทาง กฟผ. มีความตั้งใจที่จะส่งมอบให้กับประชาชน เพราะว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เลือกซื้อจากแหล่งจำหน่าย ณ ช่วงเวลานั้นเป็นการตัดสินใจเลือกจากหน้าฉลาก ราคากับฟีเจอร์ต่าง ๆ แต่เมื่อนำกลับไปใช้งานที่บ้าน

         ประชาชนหรือว่าผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถสแกน QR Code ที่ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แบบใหม่ จะสามารถรู้รายละเอียดการติดตั้งการเรียนรู้ศึกษา แหล่งสถานที่รับซ่อมบำรุง และข่าวสารต่าง ๆ ที่จะอยู่ในเว็บไซต์หลังบ้าน
ของ QR Code ที่ให้บริการตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่บ้านจนถึงวันสุดท้ายที่ไปจากครัวเรือน

         จาก 30 ปีที่ผ่านมา ทาง กฟผ. ทำหน้าที่บอกประชาชนว่าสินค้าได้มาตรฐานประหยัดไฟจากการทำฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 วันนี้กำลังก้าวสู่ยุคใหม่ที่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ในเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2

         ถ้าผู้ประกอบการอยากจะเข้าร่วมโครงการติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 สามารถเข้าร่วมสมัครโครงการได้ที่เว็บไซด์ของ กฟผ.

         ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์ในการเรียกความเชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานมีความปลอดภัย ประสิทธิภาพพลังงานประหยัดพลังงานไฟฟ้าให้กับครัวเรือนและภาพรวมของประเทศชาติ รวมถึงการลดการใช้ทรัพยากร ประกอบกับการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2

         และนี้คือเรื่องราวฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ท่านสามารถรับดูได้ที่คลิปด้านล่างนี้ และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.