วันนี้เรามาอยู่ที่เมืองฉางชา ตอนกลางของประเทศจีน เพื่อมาดูเทคโนโลยีของ SANY ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถใหญ่
ที่เป็นหัวลากไฟฟ้าทั้งหมด
อย่างที่ทราบว่าเรื่องของรถหัวลากรถเชิงพาณิชย์ที่เป็นไฟฟ้าจะมีข้อจำกัดที่สำคัญทั้งหมด 3 ข้อ คือ
1. เรื่องของระยะทางการวิ่งยังอยู่ในระยะสั้น โดยวิ่งได้ในระยะทางไกลสูงสุดอยู่ที่ 300 กว่ากิโลเมตร
2. หัวลากไฟฟ้าที่มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักการบรรทุกลดลง
3. ใช้ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ค่อนข้างนานเป็นหลักชั่วโมง
ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถยอมรับข้อเสียของรถหัวลากไฟฟ้า เนื่องจากรายได้อาจมีแนวโน้มลดน้อยลง
และไม่สามารถตอบโจทย์ในการทำธุรกิจ แต่ปัญหาการชาร์จแบตเตอรี่ที่ใช้เวลานาน สามารถแก้ไขโดยใช้เทคโนโลยีการสลับแบตเตอรี่
ด้านในของบริษัท SANY
และในวันนี้ทางคุณฉกาจ แสงจัน หรือ คุณจิมมี่ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร
บจก. ลีดเวย์ เฮฟวี่ แมชชีนเนอร์รี่ จะมาเป็นผู้แนะนำในเรื่องของรถหัวลากไฟฟ้า สถานีสลับแบตเตอรี่
และโรงประกอบรถ
ซึ่งบจก. ลีดเวย์ เฮฟวี่ แมชชีนเนอร์รี่ เป็นตัวแทนจำหน่ายจำพวกรถขนาดใหญ่ทั้งงานเหมืองและงานบนถนนของ SANY
โดยทาง SANY จะมีการเน้นเริ่มตั้งแต่เครื่องจักรกลหนัก คือ รถขุด รถตัก หลังจากนั้นจะเป็น
รถผสมปูนมิ๊กเซอร์ จนมาถึงรถหัวลากไฟฟ้า กล่าวคือ เป็นรถที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่
ประเทศจีนเริ่มมีการเปิดประเทศและสร้างเมืองที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
รถหัวลากขนาดใหญ่ของ SANY
ส่วนนี้จะแสดงในส่วนของรถบรรทุกและรถหัวลากขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานที่แตกต่างกัน
โดยมีการแบ่งตามสี คือ
สีฟ้า จะใช้พลังงานไฟฟ้า
สีขาว จะใช้พลังงานไฮโดรเจน
สีแดง จะใช้น้ำมัน
ทาง SANY มีการเตรียมตัวในเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเวลาค่อนข้างนานแล้ว โดยมีการเปิดตัวรถพลังงานไฟฟ้าเมื่อปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มกำลังเข้ามา เนื่องจากหลายประเทศมีการมองในเรื่องของการปล่อยมลพิษ ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน และส่วนต่อไปจะเป็นการแนะนำในส่วนของรถบรรทุกและรถหัวลากขนาดใหญ่ต่าง ๆ
รถบรรทุกขนาดเบา
ซึ่งเป็นรถบรรทุกขนาดเบาที่น้ำหนัก 6 – 8 ตัน จำนวน 6 ล้อ และ 4 ล้อ จะเรียกว่า Light Truck
ส่วนรถบรรทุกที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นจะเป็น Medium Truck จะมีขนาดอยู่ที่ 15 ตัน
ต่อมาจะเป็น รถบรรทุก Heavy Truck หรือรถหัวลากขนาดใหญ่
1. รถหัวลากไฟฟ้า
จะเป็นรถหัวลากที่ใช้เทคโนโลยีใหม่จะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่ต่อตรงกับล้อเพลาหลังโดยตรง
การดีไซด์ภายนอกตัวรถหัวลากมีความสวยงามและล้ำสมัย มีขนาดน้ำหนักอยู่ที่ 38,470 kg หรือ 3.8 ตัน
รวมทั้งรถหัวลากจะมีการใช้แพลตฟอร์มระบบแบตเตอรี่แบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวแบตเตอรี่ ล้อ มอเตอร์
ระบบขับเคลื่อน จะเหมือนกัน โดยจะวางตรงตำแหน่งด้านหลังหัวลาก ซึ่งจะรวมถึงรถผสมปูนมิ๊กเซอร์
โดยหน้าตาของเคบินอาจมีการเปลี่ยนแปลง
2. รถหัวลากพลังงานไฮโดรเจน
เป็นรถหัวลากที่ใช้แพลตฟอร์มระบบขับเคลื่อนเป็นไฟฟ้า แต่ในเรื่องของการกักเก็บพลังงานจะเปลี่ยนจาก
แบตเตอรี่มาเป็นไฮโดรเจนแทน โดยมีการนำไฮโดรเจนไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในแผงเซลล์เชื้อเพลิง
(Fuel Cell Stack) เกิดเป็นพลังงานไฟฟ้าระบบขับเคลื่อน
3. รถดั้มที่ใช้สำหรับงานขนดินและทราย
จะเห็นได้ว่าตัวเก็บแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งการออกแบบดีไซด์ตัวรถมีความสวยงาม ส่วนของห้องโดยสารและตัวล้อมีขนาดที่ใหญ่และล้อมีจำนวนมาก สามารถบรรทุกน้ำหนักอยู่ที่ 31,000 kg หรือ 31 ตัน
ซึ่งจะใช้แพลตฟอร์มระบบแบตเตอรี่เหมือนกับรุ่นอื่น หมายความว่าสามารถใช้สถานีสลับแบตเตอรี่ร่วมกัน
4. รถหัวลากขนาดใหญ่ 5 G
5G คือ Autonomous Car หรือ รถขับเคลื่อนอัตโนมัติไม่มีคนขับ โดยใช้สัญญาณ 5G ในการขับเคลื่อน
ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดของรถบรรทุกในการขนส่ง ประกอบกับมีระบบเซ็นเซอร์จำนวนมาก อาทิ
ระบบ LiDAR และกล้อง รอบคันรถ แสดงว่าในอนาคตเรื่องของเทคโนโลยีระบบความปลอดภัย
จะไม่ได้ถูกแยกเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเท่านั้น แต่รถขนส่งสามารถทำได้เช่นเดียวกัน
สถานีสลับแบตเตอรี่ของ SANY
สถานีสลับแบตเตอรี่ที่ใช้เวลาในการสับเปลี่ยนเพียงไม่กี่นาที ซึ่งสถานีสลับแบตเตอรี่ของ SANY
จะมีทั้งหมด 2 เวอร์ชั่น คือ
1. สถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นแรก จะมีทางเข้าข้างเดียว
2. สถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นสอง จะมีทางเข้าสองทาง
สาเหตุที่ทำสถานีสลับแบตเตอรี่ 2 ทาง เพื่อสร้างความสะดวกให้กับธุรกิจโลจิสติกส์ที่ใช้รถขนส่งขนาดใหญ่
จะสามารถเข้ามาสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้พร้อมกัน ทำให้ใช้พื้นที่ในการสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่ลดน้อยลง
ส่วนกลไกด้านในของสถานีสลับแบตเตอรี่ 2 ทาง จะเหมือนกับเวอร์ชั่นแรก แต่หุ่นยนต์สามารถขยับได้
ทั้งทางซ้ายและขวา นอกจากนี้สถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นสอง จะมีการพัฒนาตัวจับ หรือตัวเปลี่ยน
เพื่อให้สามารถจับแบตเตอรี่ได้แน่นและแม่นยำมากขึ้น
สถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นแรก
จะเป็นรถโม่ผสมปูนไฟฟ้า 12 ล้อ ซึ่งประเทศจีนมีความนิยมใช้รถขนาดใหญ่ และเมื่อรถเข้ามาใน
สถานีสลับแบตเตอรี่เรียบร้อยแล้ว เราจะมาลองจับเวลาในการสลับแบตเตอรี่
ตอนนี้เราได้ทำการจับเวลาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่าการสลับแบตเตอรี่จะใช้เวลาประมาณ 2 นาที
ซึ่งจะใช้เวลาที่รวดเร็วมากกว่าการเติมน้ำมันรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งจะใช้เวลาร่วมกว่า 10 นาที
หรือมากกว่านั้น
ต่อมาเราจะมาดูที่ตัวหุ่นยนต์สลับแบตเตอรี่ที่มีทั้งหมด 2 ตัว คือ ฝั่งทางซ้ายและขวา คือ ฝั่งที่นำแบตเตอรี่
ตัวเก่าออกและฝั่งที่จะเตรียมแบตเตอรี่ตัวใหม่ เพื่อจะนำไปเปลี่ยน
ซึ่งสถานีสลับแบตเตอรี่ของ SANY จะมีความแตกต่างจากคู่แข่ง โดยคู่แข่งส่วนใหญ่จะนำแบตเตอรี่
ลูกใหม่มาวางก่อน และเมื่อต้องการทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ถึงจะหยิบแบตเตอรี่ลูกใหม่มาใส่แทน
ซึ่งจะเสียเวลามากกว่าถึง 2 เท่า
ขนาดความจุของแบตเตอรี่ที่สามารถสลับแบตเตอรี่จะอยู่ที่ 282 และ 350 kWh ซึ่งจะแบตเตอรี่ 2 รุ่น
ที่เป็นที่นิยมในตลาด ซึ่งการชาร์จแบตเตอรี่ขนาดความจุ 280 kWh แบบ DC จะใช้เวลาในการชาร์จเป็นชั่วโมง
เพราะว่าเครื่องชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ 280 – 300 kW ซึ่งแบตเตอรี่สามารถรองรับได้ที่ 300 kW
แต่ตัวรถจะรองรับได้อยู่ที่ 240 kW ตามมาตรฐานยุโรป
ด้านในของสถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นแรก
เราจะเข้าไปที่ด้านในของสถานีสลับแบตเตอรี่ เพื่อดูการทำงาน ในส่วนแรกเราจะเจอกับหุ่นยนต์ที่เป็น
ระบบไฮดรอลิค ทำหน้าที่ในการยกแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่ทำการชาร์จเรียบร้อยแล้ว จะนำมาเตรียมพร้อมไว้ที่อีกฝั่งหนึ่ง ส่วนอีกฝั่งหนึ่งจะเว้นว่าง เพื่อทำการหยิบแบตเตอรี่ลูกเก่าออกมาวางที่ไกด์ไลน์ ซึ่งในส่วนของไกด์ไลน์ด้านบน
จะประคองแบตเตอรี่ให้อยู่ในล็อคให้อยู่ในตำแหน่งที่ตรงจุด ซึ่งหุ่นยนต์จะต้องมีการเรียนรู้ถึงการหยิบจับแบตเตอรี่และการวางตำแหน่งที่ถูกต้อง
หุ่นยนต์จะมีจำนวนทั้งหมดอยู่ที่แกนวางแบตเตอรี่ ตัวฟันเฟื่องหมุนเครื่อง และรางที่ด้านล่าง
ซึ่งสามารถขยับทางซ้ายและขวา
แกนวางแบตเตอรี่
ตัวฟันเฟื่องหมุนเครื่อง
รางที่ด้านล่าง
เมื่อนำแบตเตอรี่ลูกเก่าออกมาเรียบร้อยแล้ว จะยกมาทำการชาร์จตรงที่วางแบตเตอรี่ ซึ่งจะมีตัวไกด์ไลน์ยึดแบตเตอรี่ให้อยู่ในล็อค ประกอบที่วางแบตเตอรี่จะมีที่เสียบชาร์จคอนเนคเตอร์เป็นสปริงและเสียบชาร์จแบบ DC
จากการที่ขนาดความจุของแบตเตอรี่อยู่ที่ 282 kWh ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องชาร์จขนาด 300 kW จะต้องใช้เวลาประมาณ 50 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ดังนั้นจะต้องมีการการชาร์จแบตเตอรี่หลายลูก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ
การเปลี่ยนแบตเตอรี่ จะเห็นได้ว่าที่วางแบตเตอรี่จะมีทั้งที่เสียบชาร์จสลับกับที่วางแบตเตอรี่เท่านั้น
ซึ่งจะมีแบตเตอรี่ในสถานีสลับแบตเตอรี่จำนวนทั้งหมด 10 ก้อน
ส่วนของโปรแกรมหุ่นยนต์มีความฉลาดที่นอกจากจะทำหน้าที่หยิบแบตเตอรี่ออกมาจากรถ
เพื่อทำการสลับแบตเตอรี่ จะต้องมีการบริหารจัดการ สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่ชาร์จเสร็จเรียบร้อยแล้ว
หรือรู้ว่ามีแบตเตอรี่ที่กำลังชาร์จอยู่
นอกจากนี้ในเรื่องของความปลอดภัยที่สถานีสลับแบตเตอรี่จะมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงบนเพดาน
เนื่องจากว่าการชาร์จแบตเตอรี่ จะเกิดความร้อน และถ้าหากระบบไฟไม่มีการตัด มีโอกาสเกิดไฟลูกไหม้ขึ้นมา
การลงทุนสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่และแบตเตอรี่คาดการณ์ว่า จะต้องใช้งบลงทุนจำนวนหลายสิบล้านบาท
แต่การลงทุนสถานีสลับแบตเตอรี่สามารถตอบโจทย์การใช้งาน โดยเฉพาะรถเชิงพาณิชย์
รวมทั้งในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีโมเดล คือ การขายรถที่ไม่รวมแบตเตอรี่ และทำการเช่าซื้อแบตเตอรี่แทน
โดยจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อเข้ามาสถานีสลับแบตเตอรี่ ส่งผลให้การใช้รถยนต์ไฟฟ้าแพร่หลายมากขึ้น
สถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นที่สอง
ซึ่งสถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นที่สองในภาพรวมมีการพัฒนาหลายอย่าง โดยที่เห็นได้อย่างชัดเจน
คือ ตัวไกด์ไลน์ทรงกรวย ที่จะช่วยให้การวางแบตเตอรี่ลงได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
ต่อมาจะเป็นส่วนของตัวชาร์จที่ตัวรถ การวางแบตเตอรี่จะกดลงตรงเบ้าคอนเนคเตอร์ จะมีสปริงเป็นตัวรองรับ ซึ่งชุดคอนเนคเตอร์ ประกอบด้วย 2 ค็อด ส่วนตรงกลางจะเป็น Coolant ทำหน้าที่ระบายความร้อนของแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้งาน
ส่วนของแบตเตอรี่ของสถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นที่สองจะมีขนาดที่เล็กลง เนื่องจากประเทศจีนจะนิยมใช้
รถเชิงพาณิชย์ภายในประเทศ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ทำให้ต้นทุนลดลง อาทิ โรงเหล็กอยู่ในพื้นที่ตามที่คาดการณ์ จะไม่ต้องลงทุนแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ เนื่องจากว่าการสลับแบตเตอรี่จะต้องสต๊อกแบตเตอรี่
และผู้ที่สต๊อกแบตเตอรี่ คือ ค่ายรถผู้ให้บริการ
ประเทศจีน จะเรียกว่า แบตเตอรี่แบงค์ คือ มีคนกลางมาบริหารจัดการในเรื่องนี้ หรือมีนักลงทุนที่บริหารที่ด้วยตัวเอง ซึ่งเรื่องของประเทศจีนมีการพัฒนาในเรื่องของแบตเตอรี่หลายด้าน และเห็นควรว่าแบตเตอรี่ควรมี
หลากหลายขนาด
อย่าง CATL จะเป็นแบตเตอรี่ที่เหมือนกับช็อกโกแลตโมเดลที่แบ่งเป็นท่อน สามารถวางเป็น 1 ท่อน 2 ท่อน และ 3 ท่อน ตามความต้องการใช้งานตามระยะทางที่ต้องการวิ่ง
ด้านในของสถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นที่สอง
จะเห็นได้ว่าตัวหุ่นยนต์จะเหมือนกับสถานีสลับแบตเตอรี่เวอร์ชั่นแรก แต่จะมีความแตกต่างที่มีช่องสามารถ
สลับแบตเตอรี่ได้ทั้งฝั่งซ้ายและขวา ซึ่งจะต้องมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่หุ่นยนต์ เพื่อทำการสลับแบตเตอรี่ทั้ง 2 ฝั่ง
ส่วนต่อมาที่วางแบตเตอรี่ที่มีไกด์ไลน์รูปทรงกรวย โดยสถานีสลับแบตเตอรี่มีแบตเตอรี่ทั้งหมด 3 อัน
โดยที่วางจำนวน 1 อัน ยังอยู่ในระหว่างการจัดทำ
โรงประกอบรถของ SANY
ซึ่งโรงประกอบรถของ SANY เป็น Lighting Factory ที่จะต้องได้มาตรฐานจากสถาบันยุโรป
ส่วนของไลน์การผลิตสามารถผลิตรถบรรกทุกน้ำมัน รถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือรถหัวลากไฟฟ้า และไฮโดรเจน
ได้ในช่วงเวลาขณะเดียวกัน จากส่วนของด้านบนที่มีจำนวนหลายเลยอร์
นอกจากนี้ไลน์การผลิตมีการใช้หุ่นยนต์ที่ทาง SANY เป็นผู้ผลิต ทำหน้าที่ขนตัวรถมาประกอบ
และเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบ โดยจะเคลื่อนที่ไปตามจุดต่าง ๆ ตามสถานี ทำให้มีความยืดหยุ่น
ซึ่งรถพลังงานไฮโดรเจนจะเป็น TA1 ซึ่งเป็นผู้นำด้านไฮโดรเจน ส่วนรถพลังงานไฟฟ้ามียอดขายอับดับหนึ่ง
ในประเทศจีน
ปัจจุบันทางประเทศจีนพยายามผลักดันในเรื่องของพลังงานสะอาดหลาย ๆ ทาง ไม่ใช่แค่พลังงานไฟฟ้า
เพียงอย่างเดียวจะมีการผลักดันเรื่องของพลังงานไฮโดรเจน เพราะว่าพลังงานไฮโดรเจนสามารถ
ทำให้รถขนส่งวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลมากกว่า แต่การลงทุนในเรื่องสถานีจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
ซึ่งจะแตกต่างจากรถพลังงานไฟฟ้าที่มีการต่อสายไฟเดิมตามเสาอยู่แล้ว เพียงแค่มาทำสถานีชาร์จ
จากที่เราได้ดูไลน์การผลิตของ SANY จะเห็นถึงการผลิตที่มีความไฮเทค รวมถึงการสร้างรถหัวลากไฟฟ้า
1 คัน จะใช้เวลาในการผลิต 4 นาที เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตและการใช้หุ่นยนต์มาช่วยอำนวยความสะดวก
นอกจากนี้ทาง SANY จะเป็นผู้แพ็คแบตเตอรี่และมีแนวโน้มมีแผนที่จะเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่
เพราะต้นทุนที่สำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ตัวแบตเตอรี่ ดังนั้นควรที่จะต้องทำการผลิตแบตเตอรี่
โดยใช้ Know-How ของตัวเอง ซึ่งทาง SANY วางแผนว่าจะทำให้แบตเตอรี่มีขนาดที่เล็กลง
แต่สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลมากขึ้น
ส่วนทางสถานีสลับแบตเตอรี่ของ SANY จะมีเทคโนโลยีของตัวเอง จากความเชี่ยวชาญในเรื่องของ
เครนยกของ จะใช้หลักการยกของหนักที่เหมือนกัน ซึ่งน้ำหนักของแบตเตอรี่จะอยู่ที่ 3 ตัน และ แบตเตอรี่แพ็ค 1 ลูก ขนาดความจุ 350 kWh จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านกว่าบาท
ต่อมาจะเป็นไลน์การผลิตตัวประกอบต่าง ๆ ใช้รายละเอียดค่อนข้างสูง อาทิ Spot Welding การเชื่อมต่อตัวรถ
ส่วนสุดท้ายจะเป็นส่วนการผลิตหัวรถ จะมีลักษณะหน้าตาที่หลากหลายตามการออกแบบของ SANY
และจะนำส่วนของตัวรถทั้งหมดมาประกอบเข้าด้วยกันที่ส่วนพื้นที่แรกที่เราเดินเข้ามา
สรุป จากการที่เรามาที่อาณาจักรของ SANY ณ เมืองฉางชา ประเทศจีน เพื่อพามาดูสิ่งที่จะมาปฏิวัติ
วงการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีสถานีสลับแบตเตอรี่ จะเห็นได้ว่าการสลับแบตเตอรี่จะใช้เวลาได้
อย่างรวดเร็วมากกว่าการเติมน้ำมัน โดยใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที ซึ่งในอนาคตข้างหน้าการสลับแบตเตอรี่อาจจะสามารถทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันเป็นช่วงของการเริ่มต้นแค่ Generation 2 เท่านั้น
ส่วนของเรื่องของไลน์การผลิต การผลิตรถหัวลากขนาดใหญ่ โรงงานจะเหมือนกับ Smart Factory
ที่มีความสะอาด และมีการใช้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน ทำให้มีความทันสมัย ซึ่งจะเป็นภาพลักษณ์
เมื่อมีการเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะต้องเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ต้นน้ำ
รวมถึงวิธีการใช้งานที่สามารถตอบโจทย์
เรื่องของการชาร์จเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งผู้ประกอบกับที่ต้องการการประหยัดพลังงาน
ไม่สามารถยอมรับข้อเสียการใช้รถบรรทุกไฟฟ้าที่ไม่สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการ คือ ล้อไม่หมุน เงินไม่เข้า และใช้เวลาในการชาร์จเป็นชั่วโมง
สุดท้ายนี้ทางคุณจิมมี่อยากให้คนเปิดใจรับเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า เพราะว่าเราทุกคนมีหน้าที่ต้องลดมลภาวะของโลกที่อยู่ในช่วงวิกฤต จึงอยากขอให้พวกเราช่วยลดการสร้างมลพิษให้ได้มากที่สุด