ค่าย EV จีนเร่งเดินหน้าผลิตในไทยปี67!! ยังได้เงินอุดหนุน 1.5 แสนถึงสิ้นปี68 มีรุ่นไหนบ้าง? ถูกลงไหม?

         ว่าด้วยเรื่องของเงินอุดหนุนหรือมาตรการ EV เป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท ที่เออกมาครั้งแรกในปี 2565 ส่งผลให้มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าอยูที่หลักหมื่น 10,000 คัน เป็นครั้งแรก และในปี 2566 มีการคาดการณ์
ว่าจะมียอดจดทะเบียนอยู่ที่ 50,000 คัน ในช่วงงาน Motor Expo มียอดจดทะเบียนเป็นจำนวนสูงเกือบ 70,000 คัน เนื่องจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาจากการได้รับเงินอุดหนุน

         โดยปกติราคารถยนต์ไฟฟ้าจะสูงกว่าราคารถยนต์น้ำมัน แต่เมื่อมีการออกมาตรการเงินอุดหนุน
ส่งผลให้ส่วนต่างของราคาลดต่ำลง ทำให้คนเริ่มหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า จากการเป็นเรื่องของเทคโนโลยีใหม่
และช่วยให้เกิดการประหยัดทั้งในส่วนของค่าเชื้อเพลิงและค่าซ่อมบำรุง

         มาตรการ EV ในเฟสแรก จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ส่วนเฟสสอง คือ มาตรการ EV 3.5
ซึ่งเงินอุดหนุนจะจาก 150,000 บาท ลดลงเหลือ 100,000 บาท ถ้วนเท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขของมาตรการ EV 3.5
จะมีการยินยอมให้มีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า แต่จะต้องทำการผลิตคืน หมายความว่าค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับ
เงินอุดหนุนจากมาตรการส่งเสริม EV 3.0 จะต้องเริ่มทำการผลิตจริงในปี 2567 และรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตออกมาเรียบร้อยแล้ว จะยังได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท จนถึงสิ้นปี 2568 แต่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามา
จะเข้ามาตรการ EV 3.5 จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท

         ซึ่งทำให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้า 4 ค่ายแรกจากประเทศจีน ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะตั้งโรงงานผลิต
ในประเทศไทยเพื่อที่จะยังคงได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุน 150,000 บาท ในการรักษายอดการจำหน่าย
และแต่ละค่ายรถยนต์ไฟฟ้ามีการเตรียมความพร้อม ดังนี้

MG

         มีการตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ในประเทศไทย เพื่อเป็นการส่งเสริม Ecosystem
เรื่องของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

         ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้า MG เป็นเจ้าแรกที่รุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อปี 2562 คือ รถยนต์ไฟฟ้า รุ่น MG ZS EV เป็น SUV Crossover ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ราคาอยู่ที่หลักล้านต้น ๆ เริ่มมีการแตกไลน์หลากหลาย Segment ทั้งรถตู้ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้า มียอดสะสมรถไฟฟ้ามากกว่า 18,000 คัน ถือว่าเป็นเจ้าแรกที่ประสบความสำเร็จ

         ทางบริษัท SAIC Motor – CP ร่วมมือกับ MG SALES (THAILAND) เปิดโรงงานประกอบแบตเตอรี่
รถยนต์ไฟฟ้าเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน ใช้เงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท

         ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่จะเป็นแบบ Cell-To-Pack คือ การนำเซลล์มาประกอบเป็น
แบตเตอรี่แพ็ค และมีการนำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า MG 4 ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยม รวมถึงโรงงานประกอบแบตเตอรี่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม WHA ESIE 2 หรือ WHA Eastern Seaboard Industrial Estate 2
ซึ่งจะเริ่มผลิตในปี 2567 เป็นต้นไป

Great Wall Motor (GWM)

         ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าภายใตแบรนด์ ORA หรือ ORA Good Cat ซึ่งทั้งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง GWN และ MG
เป็น 2 ค่ายแรกที่เซ็นเข้าร่วมมาตรการ EV ที่ งาน Motor Show ปี 2565 และจากการมาตรการ EV 3.0
จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เล็งเห็นว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเติบโตแบบก้าวกระโดด
รวมทั้งยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้า ORA Good Cat อยู่ในระดับดี

         ซึ่งรถ ORA Good Cat GT และ ORA Zero 7 หรือ ORA 07 จากการเปิดตัวได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องการการดีไซด์ที่มีเอกลักษณ์ ทาง GWM มองเห็นว่าในท้องตลาดมีความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 70,000 คัน

         ดังนั้นทางค่าย GWM เพื่อเตรียมความพร้อมรับเงินสนับสนุนจากมาตรการ EV ส่งผลให้เกิดการผลิต
รถยนต์ไฟฟ้าและการจ้างงาน ซึ่งมีการเตรียมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ORA ภายในประเทศในไตรมาศแรก ปี 2567
โดยโรงงานที่จะทำการผลิต เป็นโรงงานที่ Takeover มาจากเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 412 ไร่ และมีการปรับปรุงโรงงานเป็น Smart Factory ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับไลน์การผลิต จากการใช้หุ่นยนต์
มีกำลังการผลิตมากกว่า 80,000 คันต่อปีและมีการตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็น Hub ในการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า
โดยจะขายรถยนต์ไฟฟ้าที่ประเทศไทยอยู่ที่ 60% และส่งออก 40%

NETA

         รถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าทำตลาดในประเทศไทย คือ รุ่น NETA V เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาสามารถเข้าถึงง่าย
โดยมียอดจดทะเบียนมากกว่า 10,000 คัน ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 549,000 บาท

         ทาง NETA ร่วมมือกับ บริษัท บางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี จำกัด ในการทำไลน์ประกอบรถยนต์ไฟฟ้า
ในประเทศไทยกับรถ NETA V Minorchange ( NETA V-II ) หรือ NETA AYA ซึ่งจะเริ่มผลิตและขายจริง
ในไตรมาศแรกปี 2567

         โรงงานที่ทาง NETA ในประเทศไทย ถือว่าเป็นโรงงานแห่งแรกที่ผลิตอยู่นอกประเทศจีน จะเน้นให้ประเทศไทยเป็น Hub ส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าพวงลัยขวาทั้งหมด โดยโรงงานมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 20,000 คันต่อปี
ออกมาค่าย NETA ยังอยู่ในมาตรการ 3.0 จนถึงสิ้นปี จากความกังวลในเรื่องของมาตรการ EV 3.5
ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของ NETA จะมีขนาดแบตเตอรี่ไม่ถึง 50 kWh จะไม่ได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท
โดยจะเหลือเพียงแค่ 50,000 บาท แจ่เนื่องจากทางค่าย NETA มีการเซ็นมาตรการ EV 3.0
เมื่อมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จะได้รับเงินสนับสนุนที่ 150,000 บาท จนถึงสิ้นปี 2568

BYD หรือ Build Your Dream

         เป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศไทย ที่มีการเปิดรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 3 รุ่น BYD ATTO 3, BYD DOLPHIN และ BYD SEAL

         ซึ่งทาง BYD มีแผนจะตั้งโรงงานที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566
จะอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม WHA Group ที่จังหวัดระยอง

         นายเค่อ หยู่ปิน GM หรือ General Manager ของค่าย BYD บอกว่าแผนการก่อตั้งโรงงานจะเสร็จ
ภายในช่วงไตรมาศแรกในปี 2567 และดำเนินการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าล็อตแรกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน 2567 โดยรุ่นแรกที่ผลิตออกมาคือ BYD DOLPHIN เป็นรถ City Car ที่ได้รับความนิยมและมียอดขายอยู่ในระดับดี
         พร้อมทั้งได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท จนถึงสิ้นปี 2568 จากการผลิตในประเทศไทย โดยกำลังการผลิตของโรงงาน BYD จะอยู่ที่ 150,000 คันต่อปี ส่วนของโรงงานทาง BYD Thailand จะเป็นผู้ดูแล
ส่วนบริษัท Rêver Automotive Thailand จะเป็นผู้ดูแลฝั่งขาย

         นอกจากนี้ทาง BYD มีเทคโนโลยีที่จะมาจำหน่าย คือ DMi สำหรับคนที่ยังไม่มีความพร้อมใช้รถยนต์ไฟฟ้า
แบบ 100% สามารถเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid หรือ Duel Mode ของทาง BYD

         จะเห็นได้ว่าค่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 4 ค่ายมีความพร้อมที่จะเริ่มไลน์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
และจะเริ่มจำหน่ายในช่วงไตรมาส 1 -2 ปี 2567

         สรุป สำหรับเงินอุดหนุน 150,000 บาท หรือมาตรการ EV 3.0 ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2565 และกำลังจะสิ้นสุดลง
ในเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าส่วนลดเงินอุดหนุนจาก 150,000 บาท จะได้รับเงินอุดหนุนเพียง 100,000 บาท เท่านั้น แต่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศไทย อาทิ 4 ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่กล่าวมา
จะยังคงได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท จนถึงสิ้นปี 2568 เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรม
การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศไทย

         แต่หากต้องการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า จะเข้ามาตรการ EV 3.5 ซึ่งเป็นเฟสที่ 2 ของมาตรการ EV โดยเงินอุดหนุนจะลดลงเหลือ 100,000 บาท และขนาดแบตเตอรี่จะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นจาก 30 เป็น 50 kWh ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่เท่านั้น อาทิ ค่าย GAC Aion, Changan หรือ Chery

         ซึ่งผลประโยชน์จากมาตรการ EV ที่การแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
ในประเทศ การสร้างอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้าในประเทศไทย และสุดท้ายการขายส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า
เพื่อดันประเทศไทยสู่การเป็น Hub EV ส่งออกไปทั่วโลก

         คุณสามารถดูข่าวนี้ได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHAREกด SUBSCRIBE
ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.