วันนี้เราเดินทางมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอยู่ท่ามกลางแหล่งธรรมชาติ
จะเห็นได้ว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีวิถีชีวิตที่มีเสน่ห์ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก
ส่งผลให้ตัวเมืองเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และการส่งพลังงานไฟฟ้า
มาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนทำได้อย่างยากลำบาก จากปัญหาดังกล่าวทาง กฟผ. เล็งเห็นและเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งเราจะเข้ามาดูวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ตอนนี้เราอยู่กับผู้เชี่ยวชาญเรื่องของพลังงานไฟฟ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ นายอนุศักดิ์ จันทคราม หรือ
คุณแซม ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริด จังหวัดแม่ฮ่องสอน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ
ทางคุณอนุศักดิ์ กล่าวว่าที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าในเขตผาบ่องและยืนยันว่าที่
จังหวัดแม่ฮ่องสอนประสบปัญหาไฟตกไฟดับหลายครั้งเป็นเวลานาน จากปัญหาเรื่องของระบบส่ง
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นภูเขาและป่าอนุรักษ์ ทำให้ กฟผ. ไม่สามารถสร้าง
เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เพื่อส่งจ่ายไฟฟ้าได้
ปัจจุบันระบบส่งจะเป็น 115 kV ของ กฟภ. ซึ่งรับไฟฟ้า 115 kV จากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ส่งมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นระยะทาง 192 km ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะวิ่งตามเสาตามเส้นถนนที่มีต้นไม้
เมื่อเกิดพายุฝน ทำให้ต้นไม้ล้มทับ หรือฤดูร้อนเกิดไฟไหม้ป่า จะส่งผลกระทบเกิดไฟฟ้าดับ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแหล่งผลิตไฟฟ้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมีจำนวน 2 แหล่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อน
แม่สะงา และโรงไฟฟ้าผาบ่อง
ในขณะเดียวกันทาง กฟผ. ยังมีโรงไฟฟ้าดีเซลขนาดกำลัง 4.4 เมกะวัตต์ จะทำงานในช่วงที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเกิดไฟฟ้าดับเท่านั้น
นอกจากนี้จะมีโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ขนาด 0.5 เมกะวัตต์ มาช่วยเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้า
เท่ากับว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมาก ที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
มีการใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 10 – 12 เมกะวัตต์ ซึ่งในปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่สะงาจะเป็นโรงไฟฟ้าหลัก
ซึ่งการผลิตพลังงานไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับฤดูน้ำ ถ้าหากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ จะสามารถผลิตพลังงานได้อยู่ที่
6 เมกะวัตต์ แต่ถ้ามีปริมาณน้ำน้อย จะผลิตพลังงานอยู่ที่ 2 เมกะวัตต์ ส่วนพลังงานดีเซสจะสามารถผลิตพลังงาน
ได้อยู่ที่ 4 เมกะวัตต์กว่า ๆ มาช่วยเสริม ในกรณีที่โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไม่สามารถผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้า
ให้เพียงพอต่อการใช้งานที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากปัญหาไฟตกไฟดับที่เกิดขึ้นหลายครั้ง และจังหวัดแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก และทาง กฟผ. อยู่ในพื้นที่นี้อยู่แล้ว และเล็งเห็นว่าพื้นที่มีความเหมาะสม ต่อการทำ SMART GRID ( ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ )
และ SMART GRID จะไม่ได้กล่าวถึงแหล่งพลังงานเพียงอย่างเดียว แต่จะรวมถึงการควบคุมระบบ การเชื่อมโยง
โรงไฟฟ้าขนาดเล็กเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา คือ ส่วนหนึ่งของ SMART SYSTEM เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต
สมาร์ทกริดมีองค์ประกอบด้วยงานโครงการ 4 SMART
1. SMART SYSTEM
2. SMART ENERGY
3. SMART CITY
4. SMARTLEARNING
SMART ENERGY
คือ การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียน ประกอบด้วย โซล่าฟาร์มมีกำลังการผลิตขนาด
3 เมกะวัตต์ โดยมีการแบ่งพื้นออกเป็น 3 แปลง แปลงละ 1 เมกะวัตต์ รวมถึงแบตเตอรี่สำหรับการเก็บพลังงาน
โดยสามารถนำพลังงานไฟฟ้าจาก กฟภ. หรือ จากภายนอกเข้ามากักเก็บที่แบตเตอรี่ได้
เมื่อมีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าฟาร์ม จะสามารถนำพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกเข้ามาทำการชาร์จ
โดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่ค่าไฟฟ้ามีราคาถูก หรือราคาแพง ซึ่งในช่วง TOU ปัจจุบันจะมีช่วงเวลาที่ผู้ใช้ไฟฟ้า
ในปริมาณน้อย และส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่เหลืออยู่ จะนำมาเก็บกักไว้ที่แบตเตอรี่ ส่วนช่วงเวลาที่มีความต้องการ
ใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมาก ทางโรงไฟฟ้าจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกไป ซึ่งการบริการจัดการจะขึ้นอยู่กับระบบ SMART แบบอัจฉริยะ
ในส่วนของแบตเตอรี่หลัก หรือ Battery Energy Storage System (BESS) มีความจุแบตเตอรี่เท่ากับ
1 เมกะวัตต์ ต่อ 1 ชั่วโมง หรือ 4 เมกะวัตต์ ต่อ 15 นาที จะใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนรุ่นใหม่ที่ไม่มีการปล่อยมลภาวะ ส่วนของด้านในจะเป็นการร่วมกันของแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ใช้การต่อทั้งแบบอนุกรมและขนาน โดยมีระบบจัดการที่เป็นส่วนของระบบไมโครกริด ( Microgrid คือ ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ) คือ SMART SYSTEM รวมทั้งมีระบบระบายความร้อน แอร์ ระบบตรวจจับความผิดปกติ ในกรณีที่แบตเตอรี่ก้อนใดก้อนหนึ่งเกิดปัญหา จะมีการแจ้งเตือน
และแบตเตอรี่หลักมีทั้งหมด 3 ชุด
ต่อมาในตู้คอนเทรนเนอร์แบตเตอรี่ จะมีระบบตรวจจับและระบบดับเพลิง เพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะอยู่ใน
ตู้แบตเตอรี่ทั้งหมด
ส่วนพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ก่อนนำไปใช้งานจะต้องแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งส่วนที่แปลงจะเรียกว่า Power Conversion System (PCS) จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเครื่อง Inverter
โดยเราจะเข้ามาที่ห้องที่ใช้สำหรับการแปลงกระแสไฟฟ้าจากไฟฟ้ากระแสตรงที่มาจากพลังงานโซล่าเซลล์และแบตเตอรี่ มาแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ นำมาเติมในระบบ โดยจะต้องจ่ายเข้ามาที่หม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยน
แรงดันให้เท่ากันกับ กฟภ. ซึ่งตู้แบตเตอรี่มีทั้งหมด 3 ชุด และ PCS จะมีทั้งหมด 3 ชุดเช่นเดียวกัน เพื่อแปลง
กระแสไฟฟ้าของแต่ละตู้แบตเตอรี่หลังจากนั้นจะมาร่วมกันที่หม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อยกระดับแรงดัน
ส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกไป
เพราะฉะนั้นการทำงานจะมีกระแสไฟฟ้าทั้งการไหลเข้าและไหลออก ช่วงที่มีการชาร์จแบตเตอรี่กระแสไฟฟ้า
จะไหลเข้ามาจากหม้อแปลงไฟฟ้า และมาสู่ PCS หลังจากนั้นจะเข้ามาที่แบตเตอรี่ และถ้าหากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เกิดปัญหาไฟตกไฟดับ จะนำพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) นำมาแปลงกระแสไฟฟ้าสลับ ( AC ) ยกระดับแรงดันที่ 22 kv จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในขณะที่ระบบแบตเตอรี่จ่าย
พลังงานไฟฟ้ามาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะต้องเสริมพลังงานไฟฟ้าที่มาจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก คือ โรงไฟฟ้าดีเซล
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เข้ามาช่วย
SMART SYSTEM
ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมบริหารจัดการพลังงานทั้งหมด ทั้งในส่วนของโซล่าฟาร์มและแบตเตอรี่
โดยจะเชื่อมโยงไปที่แหล่งพลังงาน หรือโรงไฟฟ้า อาทิ โรงไฟฟ้าแม่สะงา โรงไฟฟ้าดีเซส
ในส่วนของห้องควบคุมของโครงการจะมีทั้งหมด 2 ส่วน คือ ส่วนของ SMART ENERGY กับส่วนของ
SMART SYSTEM เป็นศูนย์รวมการควบคุมของ SMART GRID
ส่วนที่ 1จะเป็นบอร์ดที่แสดงภาพรวมของด้านวงจรไฟฟ้าทั้งระบบ เพื่อดูในเรื่องของค่าพลังงานไฟฟ้า
และเวลาเกิดสภาวะผิดปกติ
ในส่วนที่ 2 จะหน้าจอรวมในส่วนของ SMART SYSTEM เป็นการดึงรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ระบบ
และการควบคุม ซึ่งระบบจะทำงานโดยอัตโนมัติทั้งหมด
SMART CITY
EV BUS
เป็นตัวอาคารที่เก็บรถบัสไฟฟ้า ( EV BUS ) จะอยู่ในส่วนของ SMART CITY ซึ่งรถบัสไฟฟ้ามีความพิเศษตรงที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าย้อนกลับเข้าในระบบ
SMART CITY เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SMART GRID เป็นการส่งเสริมให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็น
เมืองสีเชียว จะประกอบด้วย EV BUS มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และจักรยานไฟฟ้า
ซึ่งการออกแบบลวดลายที่ตัวรถบัสไฟฟ้ามาจากคนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ประกวดได้รางวัลชนะเลิศ
เพื่อให้รถบัสไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของคนแม่ฮ่องสอน
รถบัสไฟฟ้าจะให้บริการแก่ประชาชนเป็นการเดินทางระหว่างโครงการ SMART GRID ศูนย์การเรียนรู้ไปที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการสนับสนุนนักท่องเที่ยวในการมาเที่ยวชมดูงาน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ต่อมาจะเป็นตู้ Vehicle to Grid ( V2G ) ชาร์จเจอร์ เป็นตู้ที่ดึงพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถบัสไฟฟ้า
กลับคืนมาในระบบ GRID ที่แปลงเป็น 22 kv
ตู้ Vehicle to Grid ( V2G ) สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้กำลังสูงสุด 150 kW ขนาดของแบตเตอรี่จะอยู่ที่ 170 kWh ส่วนของหัวชาร์จจะเป็นแบบ Type 2 และมี DC Fast charge อยู่ด้านล่างสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป
กล่าวคือรถบัสไฟฟ้าที่มีระบบดึงพลังงานไฟฟ้าออกมาจากตัวรถ ซึ่ง On Board Charger ใช้ได้แบบ 2 ทิศทาง และตู้ Vehicle to Grid ( V2G ) ทำแบบ 2 ทิศทางเช่นเดียวกัน คือ ใช้ชาร์จแบตเตอรี่ หรือดึงไฟฟ้าย้อนกลับเข้าไป
ในระบบ
นอกจากนี้ SMART CITY ไม่ได้มีเพียงแค่ยานยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะรวมถึงในตัวเมือง
เพราะฉะนั้นทาง กฟผ. จึงเข้าไปเข้าทำ SMART CITY ภายในเมืองหลายที่ อาทิ โรงพยาบาลศรีสังวาล,
อำเภอเมือง,เทศบาล,สวท. สถานีวิทยุ และสถานีตำรวจแม่ฮ่องสอน
ทางโครงการติดตั้งระบบการจัดการพลังงานในอาคาร โดยมีการติดตั้งบิลบอร์ดเป็นภาพจอแสดงผลเหมือน
ในห้องควบคุม รวมถึงเรื่องของไฟฟ้าแสงสว่าง และแผงโซล่าเซลล์ รวมทั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EleX by EGAT เพื่อส่งเสริมให้คนแม่ฮ่องสอนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
โดยเราจะไปดูตัวอย่างที่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ SMART CITY ที่ทาง กฟผ. เข้ามาทำ
โดยมีการติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 30 kw และการติดตั้งอุปกรณ์ในการจัดการพลังงาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นส่วนหนึ่งของการประหยัดพลังงาน
ส่วนของบิลบอร์ดจะแสดงการใช้พลังงานภายในตัวอาคาร จะมีรูปของโซล่าเซลล์ ทางด้านซ้ายจะแสดงใน
เรื่องของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การลดตัวจำนวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งตัวบิลบอร์ดจะมี
การเปลี่ยนแปลงหน้าตาตลอดเวลา
ส่วนทางด้านขวาจะสามารถเจเนอเรตผลิดไฟฟ้าได้ยอด 12.21 ยูนิต ลำดับต่อมามีการใช้จริง 116 ยูนิต
และมีการรับพลังงานด้านนอกจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 53.7 ยูนิต ในสถานที่ราชการ,อำเภคและโรงพยาบาล
ควรที่จะมีการผลิตพลังงานและมีระบบการจัดการเป็นของตัวเอง
ส่วนหน้าจอนี้จะแสดงการผลิดพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 12.21 ยูนิต แต่มีการใช้จริงอยู่ที่ 116 ยูนิต และมีการรับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก คือ กฟภ. อยู่ที่ 53.77 ยูนิต แสดงให้เห็นว่าที่นี้มีแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นของตัวเอง เพื่อสถานที่สำคัญ อย่างสถานที่ราชการ,อำเภค และโรงพยาบาล ซึ่งควรจะต้องมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าและ
มีระบบการจัดการเป็นของตัวเองเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าเสริมความมั่นคงทางระบบไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น
ในส่วนห้องทำงานของอำเภอแม่ฮ่องสอนที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการใช้ ซึ่งก่อนการติดตั้งอุปกรณ์
จะต้องมีการประเมินระบบไฟฟ้าเดิมก่อนการพัฒนาปรับปรุงติดตั้งใช้พลังงานไฟฟ้า
เริ่มต้นมีการเปลี่ยนหลอดไฟให้เป็นหลอด LED และมาติดตั้งตัวควบคุมอุณหภูมิของระบบปรับอากาศ
ในกรณีที่ไม่มีคนอยู่ แอร์จะปิดโดยอัตโนมัติ
ในส่วนของไฟฟ้าแสงสว่างจะมีการควบคุม ดังนี้
1. แบบ MANUAL ผ่านทางเว็บเพจในรูปแบบออนไลน์ ที่สามารถสั่งควบคุมได้จากทุกที่
2. ควบคุมแบบตั้งเวลา อาทิ คนเข้ามาทำงานกี่โมง – กลับกี่โมง
3. มี Motion Sensor ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหว ซึ่งระบบจะเรียนรู้โดยอัตโนมัติ ในกรณีที่ไม่มีคนอยู่
ระบบจะปิดไฟอัตโนมัติ
กล่าวคือส่วนของ SMART CITY จะมุ่งเน้นสถานที่สำคัญ เมื่อเกิดปัญหาไฟตกไฟดับ จะสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการจัดการภาคผู้ใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะส่วนราชการที่สำคัญต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญสูงสุด
อันดับแรก คือ โรงพยาบาลศรีสังวาล และมีกรณีที่ รพ.สต. ผาบ่อง เคยประสบปัญหาไฟฟ้าดับ 2 – 3 วัน
ทำให้วัคซีนที่แช่ เกิดการเสียหาย จนต้องมีการย้ายวัคซีนไป ทาง กฟผ.จึงมีการติดตั้ง Solar Rooftop กับแบตเตอรี่ เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุไฟฟ้าดับ 3 วัน ยังจะสามารถเก็บรักษาวัคซีนได้
SMARTLEARNING
ในส่วนแรกจะเป็นการฉายภาพยนตร์ พร้อมกับแบบจำลองของการทำงานของ SMART GRID ทั้งหมด
โซลที่ 1 ส่วนของโครงการ จะมีแผงโซล่าเซลล์กับแบตเตอรี่ ศูนย์การเรียนรู้ และศูนย์ควบคุม
โซลที่ 2 ส่วนของชุมชนผาบ่องที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ SMART GRID เพราะพื้นที่อยู่ใกล้กับโครงการ
โซลที่ 3 ส่วนของตัวเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งทาง กฟผ. มาทำระบบ SMART CITY
โซลที่ 4 โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่สะงา
SMART GRID จะมีการสื่อสารเชื่อมถึงกันทุกจุด เพื่อให้ภาคประชาชนเกิดความเข้าใจ จึงมีการทำในรูปแบบภาพยนต์ที่สื่อสารให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
ต่อมาจะเป็นภาพจำลองการเชื่อมโยงของโครงการ SMART GRID ตามสถานที่ต่าง ๆ
พื้นที่ของโครงการ จะมีแบตเตอรี่อยู่ทั้งหมด 3 ก้อน ศูนย์เรียนรู้ โซล่าฟาร์ม จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับ
ทาง กฟภ. และระบบส่งไฟฟ้า 115 kV จากอำเภอแม่แตง โดยเชื่อมโยงกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่สะงา
หลังจากนั้นจะจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับภาคประชาชน
รวมถึง SMART CITY ประกอบด้วย โรงพยาบาลที่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ อบต. สถานีตำรวจ ศาลากลาง
ซึ่ง SMART CITY จะมีในส่วนของการจัดการพลังงานภายในอาคาร ป้ายบิลบอร์ดที่แสดงการใช้พลังงานไฟฟ้า
แสงสว่างโซล่าเซลล์ ตามสถานที่ต่าง ๆ
ในอนาคตโครงการ SMART GRID ณ ปัจจุบัน ยังเป็นตัวต้นแบบแล้ว จะต้องมีการพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้น
อีกมาก โดยมีการเชื่อมโยงกับ กฟภ. กับทางเขื่อนแม่สะงา ซึ่งในอนาคตอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า จะมีการพัฒนาระบบให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ถ้าเกิดปัญหาไฟตกไฟดับ จังหวัดแม่ฮ่องสอนจะต้องมีไฟฟ้าใช้ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอ 10 นาที หรือ 1 ชั่วโมง
กล่าวคือจะเป็นการพัฒนาในอนาคต 2 – 3 ปีข้างหน้า จะปลั๊กกับระบบภายนอกมากขึ้น เพราะ SMART CITY
จะมีอยู่แค่ในบางพื้นที่เท่านั้น
และนี้คือการแก้ปัญหาไฟตกไฟดับของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ด้วยการใช้เทคโนโลยีของ SMART GRID
ของ กฟผ. เป็นโครงการต้นแบบโครงการเดียวของประเทศที่คุณสามารถดูได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบ
คลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ