ปัจจุบันตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทำสงครามแข่งขันด้านราคาอย่างดุเดือด โดยค่ายรถที่สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้จำนวนมากอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาต้นทุนถูกที่สุด สร้างความได้เปรียบในการทำราคาออกมาแข่งขันในตลาด
จะเห็นได้ว่าค่ายรถยนต์ไฟฟ้ามีทั้งที่เกิดขึ้นใหม่และล้มหายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถ
คงอยู่ในตลาดได้อย่างยาวนาน จะเป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดอย่าง ค่าย Tesla
ทาง Tesla มีเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต คือ Tesla Giga Press
เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยย่นระยะเวลาการผลิตให้รวดเร็วมากกว่าเดิมถึง 70 เท่า หมายถึง จาก 70 ชิ้น จะเหลือ
เพียงแค่ชิ้นเดียว โดยเป็นการฉีดขึ้นรูปขึ้นมา
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความต้องการแข่งขันด้านต้นทุน จึงหันมาใช้เทคโนโลยี Giga Press ในการผลิต
เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเรื่องของการสัญญากับทางผู้ผลิต คือ IDRA ที่คาดว่าน่าจะหมดอายุ จะมีการเข้ามาซื้อ
เครื่องจักรเทคโนโลยีนี้
ทาง Toyota นำเทคโนโลยี Giga Press มาใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและสามารถลดต้นทุนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
ล่าสุดทาง Tesla เตรียมจะใช้เทคโนโลยีตัวใหม่ เพื่อให้ก้าวหน้ากว่าคู่แข่งที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี Giga Press มากขึ้น จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า Giga Press 2.0
เป็นการพลิกโฉมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอีกขั้นหนึ่ง คือ จากของเดิม
ที่ 70 ชิ้น เหลือชิ้นเดียว แต่เทคโนโลยีตัวใหม่จะเป็น จาก 400 ชิ้นจะเหลือเพียงชิ้นเดียว คือ เมื่อฉีดขึ้นรูปจะได้รถยนต์ 1 คัน
จากการที่ Tesla เคยประสบปัญหาการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จึงต้องพยายามรวบรวมข้อมูลในเรื่องของ
นวัตกรรมความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิต จนสุดท้ายมาพบกับเทคโนโลยีที่ลงตัวที่สุด คือ Giga Press
หลังจากที่นายอีลอน มัสก์ พบกับเทคโนโลยีดังกล่าว ที่สามารถยืนยันถึงความสำเร็จในการลดต้นทุนในการผลิตได้มากถึงครึ่งหนึ่ง
ในช่วงการผลิต Tesla Model 3 ที่มีจำนวนยอดจองประมาณ 300,000 กว่าคัน แต่ทาง Tesla ผลิตออกมาได้จำนวนน้อยมาก จากการขาดเทคโนโลยีการผลิต จึงมีการสะสม Know-How จนสามารถสร้างนวัตกรรมออกมา
ดังนั้น Tesla จึงเป็นผู้บุกเบิกในการใช้แท่นพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีแรงจับยึดตัวแม่พิมพ์ตั้งแต่ 6,000 – 9,000 ตัน ทำการขึ้นรูปที่ฉีดน้ำอะลูมิเนียมขึ้นไป
อย่างที่ทราบโครงสร้างของรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นอะลูมิเนียม การขึ้นรูปที่ใช้การฉีดน้ำอะลูมิเนียมเหลวเข้าไปในแม่พิมพ์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ รุ่น Model 3 และ รุ่น Model Y ที่มียอดการขายจำนวนมาก จึงต้องใช้เทคโนโลยี Giga Casting เพื่อลดต้นทุนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะเรื่องของราคา
Giga Press 2.0 จะมีการเพิ่มความซับซ้อนในการขึ้นรูป จากแบบเดิมที่จะผลิตแบ่งเป็นชิ้นส่วนหน้ากับ
ชิ้นส่วนหลัง แต่เทคโนโลยีใหม่จะผลิตเหลือเพียงชิ้นเดียว หรือจาก 400 ชิ้น เหลือเพียงชิ้นเดียวเป็นรถทั้งคันเท่านั้น
จึงเป็นหัวใจสำคัญต่อการบรรลุแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูก โดยเฉพาะ Model 2 ที่จะสามารถผลิต
ออกมาได้ในจำนวนหลายสิบล้านคันในปี 2030 เพื่อนำมาต่อยอดทำเป็น Robo Taxi หรือแท็กซี่ไร้คนขับ
สำหรับเทคโนโลยี Giga Press 2.0 ที่เป็นการต่อยอดจาก Giga Press 1.0 ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าว
กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการพัฒนาตัวต้นแบบและการปรับปรุงเพื่อให้เสร็จสมบูรณ์
Giga Press ได้แรงบันดาลใจมาจากตัวรถของเล่นที่มีชิ้นส่วน คือ กระดอง ตัวด้านล่างที่เป็นสเก็ตบอร์ด
ที่นำมาต่อด้วยน็อต 2 ตัวแกะออกมา ซึ่งทางนายอีลอน มัสก์ บอกว่าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ในปริมาณมาก
มีความรวดเร็ว และราคาถูก จะต้องทำเหมือนกับรถของเล่น
ปัจจุบัน Giga Press ที่มีการใช้งานอยู่ จะเป็นเครื่องฉีดน้ำอะลูมิเนียมเข้าไป โดยมีไซส์ตั้งแต่ 6,000 – 9,000 ตัน สำหรับขนาด 9,000 ตัน จะนำมาใช้ในการผลิต Tesla Cybertruck เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นรถกระบะที่มียอดจอง
ทั่วโลกสะสมอยู่ประมาณหลักล้านคัน
โดยตัวโครงสร้างที่เป็น Giga Casting ที่มีการฉีดขึ้นรูป จะมีความแข็งแรงกว่ามากกว่าแบบเดิม
ที่เป็นการตัดแต่ละชิ้นแล้วนำมาเชื่อมประกอบติดกัน แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการฉีดขึ้นรูปที่มีความเป็นชิ้นเดียว
ส่งผลให้ความแข็งแรงหรือความเป็น Rigidity สูุงขึ้น
การขึ้นรูปแบบพิเศษของ Tesla Cybertruck ส่งผลให้มีความทนทานต่อการใช้งานสูงขึ้น นอกเหนือจากโครงสร้างที่แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษด้วยการเทคนิคขึ้นรูปจากการฉีดด้วย Giga Press
ส่วนผิวด้านนอกของ Tesla Cybertruck ใช้สแตนเลสสตีลรีดเย็น ทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าเดิม 30 เท่า รวมทั้งกระจกที่เป็น ArmorGlaz ที่สร้างมั่นใจด้านโครงสร้างของ Tesla Cybertruck ที่ขึ้นรูปโดย Giga Casting
เทคโนโลยี Giga Press 2.0 จะมีความแตกต่างจาก Giga Press 1.0 ดังนี้
Machine
เครื่องฉีดขึ้นรูปในกลุ่มของ IDRA Group จะมีขนาดใหญ่มากกว่าเดิมประมาณ 2 เท่า จากเครื่องฉีดขึ้นรูปของ Giga Press 1.0 ที่มีขนาด 6,000-9,000 ตัน สำหรับ Giga Press 2.0 จะมีขนาดอยู่ที่ 16,000 ตัน แต่ความสามารถในผลิตจะถูกจำกัดให้ผลิตได้เฉพาะ 1 คัน ของรถยนต์ขนาดเล็กเท่านั้น
จะตรงตามเป้าหมายของทาง Tesla ที่มีความต้องการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือ
25,000 เหรียญ ซึ่งน่าจะใช้ Giga Press 2.0 ทำการผลิตออกมา และคาดว่าจะเริ่มในปี 2025
นอกจากนี้ส่วนของวิธีการผลิตการใช้ Giga Press 2.0 มีส่วนที่สร้างความได้เปรียบ คือ ความเร็วในการสร้างโมเดลใหม่ จากของเดิมการออกรถยนตไฟฟ้าโมเดลใหม่จะใช้เวลา 3 – 4 ปี ส่วน Giga Press 2.0 จะช่วยให้การออก
รถยนต์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ใช้เวลาเพียงประมาณปีครึ่งถึง 2 ปีเท่านั้น
โดยจะใช้เทคโนโลยีวิธีการ เรียกว่า การขึ้นรูปแบบทราย คือ การเทน้ำอะลูมิเนียมลงในแม่พิมพ์ทรายเครือซิลิก้าที่มีคุณสมบัติสามารถทนความร้อนจากโลหะอะลูมิเนียมเหลว
ช่วงเวลาการขึ้นรูป จะใช้ทรายที่ขึ้นรูปแบบ 3D Printing ปริ๊นท์ออกมาทำเป็นโครงสร้างตัวรถ หลังจากนั้นจะทำการฉีดอะลูมิเนียมเหลวเข้าไปแทนที่ทรายในแม่พิมพ์ทราย ซึ่งมีข้อดีและข้อเสีย ดังต่อไปนี้
ข้อดี คือ สามารถขึ้นรูปได้อย่างรวดเร็ว และการขึ้นรูปแบบ 3D Printing เวลาขึ้นทราย ส่งผลให้ต้นทุนถูกกว่า
แม่พิมพ์ที่เป็นโลหะ
ข้อเสีย คือ เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการเก็บผิวอีก 1 รอบ เพราะว่าผิวที่ได้จากแม่พิมพ์ทรายจะเป็นเม็ดทรายผิวหยาบ ๆ จึงต้องทำการขัดให้ผิวเรียบ
ประกอบกับถ้าเกิดตัวเครื่องพิมพ์ไม่ละเอียดจนเกิดเป็นโพรงอากาศ หรือจุดตำหนิจากการฉีดขึ้นรูป
ทำให้เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งบางคนบอกว่าการฉีดขึ้นรูปแบบทรายที่เครื่องฉีดขึ้นรูปมีขนาดใหญ่มากขึ้น
ทำให้กระบอกสามารถฉีดแรงดันสูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอะลูมิเนียมเกิดการแข็งตัว อาจส่งผลให้ตัวแม่พิมพ์ทรายไม่สามารถทนต่อแรงดันที่ฉีดเข้ามา จึงมีความเห็นให้กลับไปใช้แม่พิมพ์โลหะแบบเดิม
แต่ถ้าจะเลือกกลับไปใช้แม่พิมพ์โลหะแบบเดิม จะต้องทำแม่พิมพ์ใหม่ทั้งหมดสำหรับเครื่องฉีดขึ้นรูปขนาด 16,000 ตัน อาจจะต้องลงทุนมากกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับแม่พิมพ์แบบทรายที่สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนที่ถูกกว่า
Material
Giga Press 2.0 จะใช้วัตถุดิบแบบใหม่สำหรับการฉีดขึ้นรูป ซึ่งการใช้แม่พิมพ์เหล็กแบบเดิม ราคาของต้นทุน
จะอยู่ในระดับสูง ดังนั้น จึงควรเลือกใช้แม่พิมพ์ทราย โดยใช้วัสดุที่ทรายสามารถทนได้ และจะตรงตามหลัก Engineering 4M คือ
Man – ทักษะของคน
Machine – เครื่องจักร
Material – วัสดุใหม่
Method – กรรมวิธีผลิต
ถ้าใช้อะลูมิเนียมที่เป็นโลหะผสมทำพิเศษ จะช่วยให้การขึ้นรูปมีราคาต้นทุนที่ถูกลง เมื่อนำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก คือ การฉีดอะลูมิเนียมขึ้นมาเฟรมขนาดเล็ก ซึ่งความซับซ้อนของโครงสร้างน้อยกว่า Tesla Cybertruck อย่างมากที่ต้องการความแข็งแรงของโครงสร้าง
ในส่วนของการขึ้นรูปที่จะต้องออกมาได้อย่างสมบูรณ์ อาจจะต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของคุณภาพทางวัสดุ เรื่องของการอบไล่ความเค้น และการบิดตัวอะไหล่ ถ้ามองจากปัจจุบันแนวโน้มจากกรรมวิธีทั้งในเรื่องของการผลิตเครื่องจักรและเรื่องของ Material มีแนวโน้มที่จะมาลงตัวที่รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
Tesla กำลังพัฒนาเรื่องของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก RoboTaxi ซึ่งเป็นรถเชิงพาณิชย์ที่จะทำการผลิตออกมาจำนวนมากถึงหลาย 10 ล้านคัน ทั่วโลก
รวมทั้ง Giga Press 2.0 ขนาดเครื่องฉีดขึ้นรูปอยู่ที่ 16,000 การนำตัวเครื่องมาตั้งที่โรงงานเดิม ขนาดของพื้นที่จะไม่สามารถรองรับได้ ประกอบกับทาง Tesla จะมีการตั้งโรงงานใหม่อย่าง Giga Factory Maxico
โดยมีเป้าหมายทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูก จากต้นทุนค่าแรงที่ต่ำ รวมถึงขนาดของโรงงานใหม่สามารถตั้งเครื่องจักรอย่าง Giga Press 2.0 ขนาด 16,000 ตัน
สรุป Tesla เตรียมใช้เทคโนโลยี Giga Press 2.0 จาก 400 ชิ้นเหลือแค่ชิ้นเดียว เป็นรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
1 คัน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนระหว่างการพัฒนาวิจัย ถ้าหากสามารถทำได้ประสบความสำเร็จ จะเป็นการพลิกโฉม
วงการการผลิตรถยนต์โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบันมีการแข่งขันในเรื่องของต้นทุน โดยมีการใช้เทคโนโลยี Giga Press อาทิ Toyota ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน แต่ Tesla ได้ล้ำหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบทำให้ต้นทุนถูกลง เพราะว่า Tesla ตั้งเป้า
จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มีราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือ 25,000 เหรียญ คือ Model 2 และ RoboTaxi คาดว่าจะเริ่มในปี 2025
และนี้คือข่าวเทคโนโลยีใหม่ Giga Press 2.0 ของ Tesla ที่จะมาพลิกโฉมวงการการผลิตรถยนต์
โดยมุ่งเป้าหมายทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่คุณสามารถดูได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้
ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ