ทดสอบรถ EV จีนปลอดภัยแค่ไหน!? มาตรฐาน EURO NCAP คืออะไร? ทำยังไง? ค่ายไหนได้คะแนนเท่าไหร่?

         หลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐาน EURO NCAP ที่เป็นการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัย อย่างล่าสุดมีคลิปจากรถ BYD Seal ที่นำรถมาอัดกระแทกกับสิ่งกีดขวาง คือ กำแพง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของคนภายในรถ จากผลการทดลองสามารถยืนยันได้ว่าตัวรถผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน EURO NCAP และ

มีคะแนนความปลอดภัยอยู่ที่ระดับ 5 ดาว

         จึงมีคำถามถึงความแตกต่างระหว่าง NCAP และ EURO NCAP ทั้งวิธีการทดสอบ ความน่าเชื่อถือของ
วิธีการวัดผล โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า

รายละเอียดและที่มาของ EURO NCAP

         EURO NCAP ชื่อเต็มคือ European New Car Assessment Program หรือโครงการประเมินความปลอดภัยของรถยนต์ใหม่ในยุโรป

         หมายความว่า การส่งรถยนต์ใหม่เพื่อมาจำหน่ายที่ยุโรป จะต้องผ่านมาตรฐาน EURO NCAP ซึ่งปัจจุบันเป็นองค์กรที่ประเมินให้คะแนนความปลอดภัยของรถยนต์ในยุโรปเป็นหลัก โดยจะมีการทดสอบความปลอดภัยที่อ้างอิงตามการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ จากการใช้งานที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นการถูกชนจากทางด้านหลัง
ด้านหน้า ด้านข้าง หรือ การชนแบบออฟเซ็ตที่ชนกับสิ่งภายนอก อาทิ เสาไฟฟ้า จากเหตุการณ์เสียหลักที่รถหมุน
ชนเข้ากับเสาไฟฟ้า รวมทั้งการป้องกันการชนที่รถยนต์รุ่นใหม่ จะมีระบบป้องกันการชนหลายอย่าง

         สิ่งเหล่านี้จะเป็นกระบวนการและเป็นมาตรฐานในการทดสอบของ EURO NCAP ที่มีเงื่อนไขในการทดสอบจะมีความเข้มงวดอยู่ในระดับสูง ในการทดสอบของ EURO NCAP จะมีเกณฑ์ให้คะแนนความปลอดภัยของรถยนต์
แต่ละประเภท และคะแนนจะมีผลต่อ ถ้าหากรถยนต์คันใดก็ตามที่ได้คะแนนดาวอยู่ในระดับสูง จะสร้างความมั่นใจ
ให้กับผู้ใช้รถยนต์ โดยเฉพาะทางฝั่งยุโรป ซึ่งคะแนนจะเริ่มต้นจากระดับ 0 – 5 ดาว และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับค่ายรถรายใหม่ที่จะเข้ามาทำตลาดในประเทศต่าง ๆ อาทิ ประเทศในยุโรป เป็นต้น

         ส่วนโปรแกรมการประเมินรถยนต์ใหม่ หรือ NCAP ใช้ตั้งแต่ยุคของรถยนต์น้ำมัน เมื่อย้อนกลับไปที่ปี 1979
มีการใช้ครั้งแรกโดยหน่วยงานชื่อว่า NHTSA หรือ กรมการบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป้าหมายที่เลือกโปรแกรมนี้มาใช้ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อรถยนต์
โดยจะดูจากคะแนนของค่ายรถที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง

          ไม่อย่างนั้นผู้ผลิตรถยนต์จะมุ่งเน้นผลิตรถยนต์เพียงให้ได้ราคาที่ถูกเป็นหลักเพียงอย่างเดียว
ดังนั้นการให้คะแนนความปลอดภัย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและค่ายรถจะมีการแข่งขันมากขึ้น
รวมทั้งผลของการแข่งขันจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตรถยนต์ทำการผลิตรถยนต์ให้ต้นทุนมีราคาถูกและ
ความปลอดภัยอยู่ในระดับที่ไม่ขัดต่อข้อกฎหมายเท่านั้น

          แต่พอมีการให้คะแนนด้านความปลอดภัย ส่งผลให้รถยนต์ที่ได้คะแนนสูง ทำให้หลายคนย่อมมีการเลือกใช้
รถยนต์ดังกล่าวตามความรู้สึกที่ปลอดภัยและมีความเชื่อมั่นที่มากกว่า

         ดังนั้นเมื่อมีการให้คะแนนความปลอดภัยขึ้นมาและทางค่ายคู่แข่งที่ได้รับคะแนน ส่งผลให้ทางค่ายรถต่าง ๆ
จะเกิดการแข่งขันในเรื่องของฟังค์ชั่นความปลอดภัยที่จะใส่เข้าไปในรถยนต์

         ซึ่งการทดสอบที่ทางค่ายรถทำกันเอง เป็นการทดสอบการชนที่ใช้ความเร็วประมาณ 30 ไมล์ ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 46 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นของ NCAP จะมีมาตรฐานที่สูงมากกว่า โดยจะเพิ่มความเร็วจาก 30 เป็น 35 ไมล์ ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 52 กิโลเมตร ซึ่งจะเลยเส้นขึ้นมาตามข้อกฎหมาย

         นอกจากนี้โปรแกรม NCAP ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศที่ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศผลิตรถยนต์ภายในประเทศ อาทิ

         ประเทศออสเตรเลีย ที่การใช้โปรแกรมการประเมินรถยนต์ใหม่ โดยตั้งชื่อเป็นของตัวเองว่า ANCAP
ในปี 1992
         ประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ค่ายใหญ่ คือ TOYOTA และ HONDA มีมาตรฐานของตัวเองขึ้นมา คือ JNCAP (Japan New Car Assessment Program) ในปี  1995
         สุดท้าย คือ ทางฝั่งยุโรป คือ มาตรฐาน EURO NCAP ในปี 1997

         NCAP ได้รับความนิยมและเผยแพร่ไปทั่วโลก ทางผู้ผลิตรถยนต์มีความเชื่อมั่นและมีการใช้มามากกว่า 15 ปี
ถือได้ว่าเป็นจุดตรงกลาง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น ทำให้มีความนิยมในการใช้งาน โดยเฉพาะประเทศรายใหม่ที่ส่งรถยนต์เข้ามา คือ ประเทศจีน เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมา จะต้องทำการทดสอบกับโปรแกรม NCAP เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภครายใหม่ที่จะเกิดขึ้น

         ปัจจุบัน EURO NCAP ถูกยกระดับให้เป็นมาตรฐาน เนื่องจากเป็นที่ยอมรับมากที่สุด
โดยมีการประกาศใช้ EURO NCAP เป็น Global NCAP ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นไป ส่วนทางฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีมาตรฐาน ASEAN NCAP แต่ EURO NCAP จะมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด จากความเข้มงวดในเรื่องของความปลอดภัย

การทดสอบมาตราฐานของ EURO NCAP มีดังนี้

         ซึ่งเป็นการทดสอบที่อ้างอิงจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นบนท้องถนนตามรูปแบบของการเกิดอุบัติเหตุ

1. Frontal Impact Test (การทดสอบการชนด้านหน้า)

          คือ เป็นการชนส่วนด้านหน้า โดยจะนำรถยนต์ชนเข้ากับสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่ เพื่อตรวจสอบสภาพของรถยนต์ ซึ่งรถยนต์น้ำมันจะมีส่วนที่สำคัญที่อยู่ในบริเวณด้านหน้า คือ เครื่องยนต์ ระบบปรับอากาศ และระบบไฟ
เมื่อเกิดการชนจะถูกอัดเข้ามาที่ห้องโดยสาร ถ้าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจะประกอบด้วยระบบปรับอากาศและ
มอเตอร์ไฟฟ้า
ที่อยู่ข้างหน้า ดังนั้นการชนด้านหน้าจึงต้องให้ความสำคัญ จากผลกระทบที่ดันถึงห้องโดยสารและอาการบาดเจ็บของคนขับที่อยู่หลังพวงมาลัยรถ

2. Side Impact Test (การทดสอบการชนด้านข้าง)

         การชนด้านข้างของรถยนต์อัดเข้ากับสิ่งกีดขวาง เพื่อดูความเสียหายที่เกิดขึ้นในห้องโดยสาร เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

3. Pole Side Impact Test (การทดสอบการชนแบบออฟเซ็ท)

         เป็นการจำลองการชนเข้ากับสิ่งกีดขว้าง อาทิ เสาไฟฟ้า และต้นไม้ ที่อยู่บริเวณข้างท้องถนน ที่มีโอกาส
อาจจะเกิดขึ้น เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและอาการบาดเจ็บตามร่างกาย อาทิ ส่วนศีรษะ ลำตัวของผู้ขับขี่และ
ผู้โดยสาร หากตัวรถยนต์เกิดเสียหลักชนเข้ากับเสาไฟฟ้า หรือต้นไม้

4. Crash Avoidance Test (การทดสอบการป้องกันการชน)

         เป็นการทดสอบการชนที่ใช้เทคโนโลยีตรวจจับสิ่งกีดขว้าง ไม่ว่าจะเป็น โซน่าร์ อัลตร้าโซนิค หรือกล้อง
เพื่อตรวจสอบความสามารถของรถยนต์ในเรื่องการชะลอความเร็ว หรือการหยุดรถเวลาเกิดจุดสุ่มเสี่ยง
ที่จะเกิดการชน ไม่ว่าจะเป็นระบบ AEB ( Autonomous Emergency Braking ) คือ ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ
เพื่อช่วยเบรกในกรณีที่รถยนต์คันหน้าเกิดการเบรกแบบกะทันหัน โดยรถยนต์รุ่นใหม่มีการเพิ่มใส่ระบบช่วยเหลือความปลอดภัยเข้ามา

5. Braking Test (การทดสอบระบบเบรก)

          การทดสอบระบบเบรกที่ะต้องหยุดรถยนต์ในระยะทางที่กำหนด ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินและเหยียบเบรกรถ
เพื่อดูความสามารถการควบคุมของรถยนต์ ในปัจจุบันเรื่องของการเบรกจะมีเรื่องของระบบ ABS ( Anti-Lock Brake System ) คือ ระบบป้องกันเบรกล็อค  และระบบ AEB เพื่อช่วยการทรงตัวของรถยนต์จากอุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยผู้ขับขี่จะต้องสามารถควบคุมทิศทางในขณะที่เหยียบเบรกกะทันหัน

6. Whiplash Test (การทดสอบระบบป้องกันการชนจากด้านหลัง)

         เป็นการทดสอบความสามารถการป้องกันการเกิดอาการบาดเจ็บ เมื่อเกิดการชนด้านหลัง ซึ่งการชนจาก
ทางด้านหลัง อาจจะสร้างการบาดเจ็บที่ส่วนของลำคอเ จึงต้องตรวจสอบอาการบาดเจ็บดังกล่าวทั้งของผู้ขับที่อยู่
ด้านหลังพวงมาลัย หรือผู้โดยสาร

การให้คะแนนของ EURO NCAP มีทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้

1. Adult Occupact (การคุ้มครองผู้โดยสารผู้ใหญ่) จะแยกเป็นส่วนของคนขับและผู้โดยสาร ที่อยู่ภายในรถ

         จะมองที่ความคุ้มครองผู้โดยสารผู้ใหญ่ เมื่อเกิดการเฉี่ยวชนตามวิธีการทดสอบที่กล่าวถึง จะมีการตรวจสอบสภาพของคนขับและผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากแรงกระแทก และความช่วยเหลือในกรณีที่รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ

2. Child Occupant (การคุ้มครองผู้โดยสารที่เป็นเด็ก)

          กฎหมายในประเทศไทยที่เริ่มมีความจริงจังมากขึ้น โดยมีการบังคับใช้ Car seat (เบาะนั่งในรถยนต์สำหรับเด็ก) ภายในรถยนต์ เนื่องจากการออกแบบเข็มขัดนิรภัยจะเหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ แต่จะไม่การครอบคลุมถึงผู้โดยสาร
ที่เป็นเด็กที่ต้องให้ความสำคัญ  จากรถครอบครัวที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยกับเด็กเล็ก ดังนั้นจะต้องมองถึง
ความคุ้มครองของผู้โดยสารที่เป็นเด็กเล็ก ตามการจำลองอุบัติเหตุที่มีการทดสอบจากกล่าวถึง จะใช้หุ่นจำลองเด็กให้นั่งอยู่บนเบาะ เพื่อดูผลกระทบและอาการบาดเจ็บ อาทิ ศีรษะกระแทกกับเบาะด้านหน้า การหลุดจากเบาะ และ
การได้รับความช่วยเหลือ

3. Vulnerable Road Users (การป้องกันคนเดินทางเท้า)

         นอกจากเรื่องความปลอดภัยของคนที่อยู่ภายในรถยนต์ จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของคนที่อยู่ด้านนอก
ซึ่งเป็นคนที่อยู่บนทางเท้าหรืออยู่ด้านนอกตัวรถทั้งหมด การป้องกันคนเดินทางเท้า จะต้องมีการทดสอบการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อตรวจสอบการเกิดอาการบาดเจ็บของร่างกาย อาทิ การกระแทกที่ศีรษะ ความปลอดภัยของส่วนของด้านล่างและด้านบนของตัวรถ รวมทั้งมีการเบรกฉุกเฉินก่อนจะถึงคนที่อยู่บริเวณทางเท้า ผู้ขี่รถจักรยาน และ
คนที่ใช้รถยนต์บนท้องถนน

4. Saft Assist (เทคโนโลยีช่วยเหลือด้านความปลอดภัย)

          จากยุคที่ใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ จะมีเทคโนโลยีระบบการช่วยเหลือต่าง ๆ อาทิ การเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ การชะลอความเร็ว การตรวจสอบช่องทางเดินรถและการเสียหลักออกจากช่องเดินรถ และการตรวจสอบ
ผู้โดยสารก่อนเกิดการชน ซึ่งระบบเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเหลือให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นและจะนำมาใช้ประกอบในการวิเคราะห์ให้คะแนน โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญอย่างมาก

         สำหรับคะแนนของ EURO NCAP จะเริ่มต้นตั้งแต่ 0 – 5 ดาว การให้แต่ละดาว จะใช้การให้คะแนน จากการนำรถยนต์ไปทดสอบเพื่อผลลัพธ์ของคะแนนที่ออกมาในแต่ละหมวด

         ยกตัวอย่างคะแนน การให้คะแนนของผู้โดยสารที่อยู่ภายในรถยนต์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่เรียงไล่จาก 5 – 1 ดาว
จะมีการเรียงคะแนนที่จะต้องมากกว่า 80% ขึ้นไป, 70% ขึ้นไป, 60% ขึ้นไป, 50% ขึ้นไป และ 40% ขึ้นไป ตามลำดับ ถ้าคะแนนมีค่าที่ต่ำกว่าจากที่กำหนดจะไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัย

         ส่วนหัวข้อเทคโนโลยีช่วยเหลือความปลอดภัยและการป้องกันความปลอดภัยของคนเดินทางเท้า
ทั้ง 2 หมวดคะแนนจะลดต่ำกว่าคนที่อยู่ภายในรถยนต์อยู่ที่ 10% ซึ่งคะแนนจะเริ่มจาก 5 – 1 ดาว มีการเรียงคะแนนโดยเริ่มต้นที่จะต้องมากกว่า 70% ขึ้นไป, 60% ขึ้นไป , 50% ขึ้นไป, 40% ขึ้นไป และ 30% ขึ้นไป ตามลำดับ

รถยนต์ไฟฟ้าที่มีการจำหน่ายภายในประเทศและผ่านเกณฑ์ EURO NCAP

1. TESLA MODEL Y

         TESLA MODEL Y ได้รับคะแนนสูงถึง 5 ดาว แบ่งเป็น
             1. การคุ้มครองผู้โดยสารผู้ใหญ่  มีคะแนนอยู่ที่ 97%
             2. การคุ้มครองผู้โดยสารที่เป็นเด็ก  มีคะแนนอยู่ที่ 87%
             3. การป้องกันคนเดินทางเท้า  มีคะแนนอยู่ที่ 82%
             4. เทคโนโลยีช่วยเหลือด้านความปลอดภัย  มีคะแนนอยู่ที่ 98%

 

2. BYD ATTO 3

         BYD ATTO 3 ได้รับคะแนนสูงถึง 5 ดาว แบ่งเป็น
             1. การคุ้มครองผู้โดยสารผู้ใหญ่  มีคะแนนอยู่ที่ 91%
             2. การคุ้มครองผู้โดยสารที่เป็นเด็ก  มีคะแนนอยู่ที่ 89%
             3. การป้องกันคนเดินทางเท้า  มีคะแนนอยู่ที่ 69%
             4. เทคโนโลยีช่วยเหลือด้านความปลอดภัย  มีคะแนนอยู่ที่ 74%

3. MG 4 Electric

         MG 4 Electric ได้รับคะแนนสูงถึง 5 ดาว แบ่งเป็น
             1. การคุ้มครองผู้โดยสารผู้ใหญ่  มีคะแนนอยู่ที่ 83%
             2. การคุ้มครองผู้โดยสารที่เป็นเด็ก  มีคะแนนอยู่ที่ 80%
             3. การป้องกันคนเดินทางเท้า  มีคะแนนอยู่ที่ 75%
            4. เทคโนโลยีช่วยเหลือด้านความปลอดภัย  มีคะแนนอยู่ที่ 78%

4. Toyota BZ4X

          Toyota BZ4X ได้รับคะแนนสูงถึง 5 ดาว แบ่งเป็น
             1. การคุ้มครองผู้โดยสารผู้ใหญ่  มีคะแนนอยู่ที่ 88%
            2. การคุ้มครองผู้โดยสารที่เป็นเด็ก  มีคะแนนอยู่ที่ 87%
            3. การป้องกันคนเดินทางเท้า  มีคะแนนอยู่ที่ 79%
            4. เทคโนโลยีช่วยเหลือด้านความปลอดภัย  มีคะแนนอยู่ที่ 91%

          สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นจะถูกรับรองในบางประเทศเท่านั้น ยกตัวอย่าง 

          ประเทศออสเตรเลียที่เป็นรถพวงมาลัยขวา รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้คะแนน 5 ดาว มี MG ZS EV ตามมาตรฐานของ  ANCAP ของประเทศออสเตรเลีย ส่วน Ora Good Cat และ TANK 300 ของ GWM ได้รับคะแนน 5 ดาว
ส่วน BYD SEAL ของประเทศจีน จะได้คะแนน 5 ดาว ตามมาตรฐานของ C-NCAP

         สรุป สำหรับมาตรฐาน EURO NCAP คือ มาตรฐานการประเมินความปลอดภัยของรถยนต์ใหม่ที่มีองค์กรกลางและเป็นมาตรฐาน Global เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลายคนต่างให้ความเชื่อถือ โดยเฉพาะค่ายรถรายใหม่จากประเทศจีน
ที่ปัจจุบันหลายคนมีความกังวลและไม่มั่นใจ ซึ่งวันนี้จะเห็นว่าค่ายรถไฟฟ้าจากจีนที่ส่งออกไปยุโรปจำนวนมาก
ที่นำรถยนต์ไฟฟ้าไปทำการทดสอบตามมาตรฐาน EURO NCAP และมีการจ่ายเงินเพิ่ม จะเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจให้กับผู้บริโภคชาวยุโรป ส่งผลให้คนมีความกล้าใช้รถยนต์ไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งคะแนนจะเป็นหน่วยงานกลางที่มีความน่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งที่ต้องการให้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมั่นใจจากการผ่านมาตรฐาน EURO NCAP มาเรียบร้อยแล้ว

       และนี้คือเรื่องราวของ EURO NCAP ที่เป็นมาตรฐานการประเมินความปลอดภัยของรถยนต์ใหม่ที่เป็นยอมรับมากที่สุด ที่คุณสามารถดูได้จากคลิปด้านล่าง ถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE
ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.