ใหญ่ที่สุดในโลก!! ฟาร์มโซล่าลอยน้ำ+เขื่อน (ใหญ่กว่าสนามบอล 70 เท่า!) ดันไทยสู่ยุคพลังงานสะอาด

         วันนี้เรามาอยู่ที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อมาดูโรงไฟฟ้าที่เป็นแบบผสมผสาน ซึ่งมีการใช้พลังงานน้ำร่วมกับพลังงานโซล่าเซลล์ลอยน้ำ

          ซึ่งเราจะไปพูดคุยกับทางผู้เชี่ยวชาญ คือ คุณอาทิตย์ พรคุณา ดำรงตำแหน่งหัวกองโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร
ได้รับมอบหมายให้ดูแลโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

          เดิมที่ทางโรงไฟฟ้าจะใช้พลังน้ำที่เขื่อนสิรินธร โดยบริเวณที่เราอยู่จะเรียกว่าสันเขื่อนที่ทำหน้าที่กักน้ำ

         ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากน้ำ จะต้องปล่อยน้ำลงจากจุดนี้มาผ่านท่อ เพื่อการผลิตไฟฟ้าผ่านลานไกไฟฟ้าเข้าสู่ระบบส่ง ซึ่งจะเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่สร้างมา 52 ปีแล้ว และได้มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้เป็นระบบดิจิทัลที่ทันสมัยและขับด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ

          พลังงานที่จะนำมาผสมผสาน คือ พลังงานแสงอาทิตย์ที่ลอยอยู่กลางอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากมีพื้นที่ผิวน้ำที่สามารถทำโซล่าเซลล์ลอยน้ำได้ และมีระบบควบคุมที่เรียกว่าระบบ Energy Management System (EMS)
ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบให้เป็นระบบไฮบริด

การบริหารจัดการการใช้พลังงานของโรงไฟฟ้าไฮบริด มีดังนี้

         1. ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงที่มีแสงแดด ผ่านโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ
         2. ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับพลังงานน้ำจ่ายไฟฟ้าขึ้นมาทดแทนในช่วงที่แสงแดดอ่อน
         3. ใช้พลังงานน้ำจากเขื่อน เมื่อไม่มีแสงแดด คือ ในช่วงตอนเย็นหรือหัวค่ำ
         โดยจะเป็นระบบของ Energy Management System (EMS) ทั้ง 3 ระบบ ซึ่งติดตั้งที่ห้อง Control Room

โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำ

         โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำจะมีทั้งหมด 7 เกาะ เมื่อรวมกันมีค่าเท่ากับ 70 สนามฟุตบอล หรือ
144,420 แผง

            มีการเดินสายมาที่ส่วนหม้อแปลงไฟฟ้า คือ การแปลงพลังงานไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ จากไฟฟ้ากระแสตรง DC มาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC

          ซึ่งทางคุณบุรินทร์ บุญวิจิตร เจ้าหน้าที่แผนกบำรุงรักษาไฟฟ้า เขื่อนสิรินธร จะมาเป็นผู้แนะนำ

         ส่วนที่เป็นโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำขนาดใหญ่มีระบบความปลอดภัย โดยตัวแผงโซล่าเซลล์ จะมีกราวด์ที่ต่อถึงกันทุกแผง และมีการต่อกราวด์ที่ส่วนจุดรวมสายส่งไฟฟ้า

         เรื่องของการป้องกัน จะมีฟิวส์ป้องกัน ถ้าหากมีไฟฟ้าลงมาที่กราวด์ และ Inverter จะทำการตัดไฟฟ้าก่อน

         ซึ่งกราวด์จะต่อออกมาจากแผงโซล่าเซลล์ และจะมาต่อกับกราวด์กริดรอบบริเวณเกาะ โดยส่วนหนึ่งจะลงไปในน้ำตามสลิงที่มีลูกปูนที่จะฝังแท่งกราวด์ลงในดิน

         ส่วนของสายจะเป็นชนิดกันน้ำ ที่จะใส่ในท่ออ่อนเหล็กอยู่บนทุ่นลอยน้ำ โดยสายทุกเส้นจะมีการใส่โฟม
เพื่อป้องกันการน้ำเข้า

หลักการทำงาน

         แผงโซล่าเซลล์จะแยกเป็นสตริง หรือการต่อแบบอนุกรม ซึ่งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 29 แผง จะเท่ากับ 1 สตริง และ 24 สตริงจะเท่ากับ 1 ตู้คอมบายเนอร์ เมื่อแผงโซล่าเซลล์ทำการผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมาและจะมารวมอยู่ที่
ตู้คอมบายเนอร์

         ต่อมาพลังงานไฟฟ้าจะวิ่งมาที่ Inverter เพื่อแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) มาเป็นกระแสสลับ (AC)
จากประมาณ 1,300 โวลต์ DC มาแปลงเป็น 600 โวลต์ AC

         และจะมาเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นที่หม้อแปลงจาก 600 โวลต์ AC มาเป็น 22 kV

          มาที่ Ring Main Unit (RMU) ซึ่งเปรียบเสมือนสวิทช์ตัดตอน จะส่งพลังงานไฟฟ้าที่มีการต่อสายที่
Power Cable Link Boxes และไปที่อาคารสวิตช์เกียร์ หลังจากนั้นจะขึ้นที่เสาส่งและลงไปที่อาคารสวิตช์ยาร์ด
ที่โรงไฟฟ้า

          เพื่อผสมผสานกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน จึงเป็นที่มาของโรงไฟฟ้าโซล่าลอยน้ำแบบไฮบริด
ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

การดูแลรักษา

       ทีมบำรุงรักษาจะออกมาบำรุงรักษาทุกวัน โดยการเดินตรวจแผงโซล่าเซลล์ รวมทั้งมีการตรวจสายไฟทุกสาย คือ สายกราวด์ สายสตริง สาย DC และ AC

        เมื่อเกิดความเสียหายที่แผงโซล่าเซลล์ ส่งผลให้สตริงหายไป ซึ่งจะสามารถตรวจจับได้ที่ห้อง Control Room หรือดูผ่านแอปพลิเคชันที่มือถือ รวมทั้งจะมีการใช้โดรน เพื่อบินตรวจสอบความร้อน

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

          โรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ลอยน้ำไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะการจัดวางแผงโซล่าเซลล์บนทุ่นลอยน้ำ
จะเว้นช่องให้แสงสามารถส่องผ่านลงไปในน้ำ

         ประกอบกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและบริษัทเอกชน จะมีการเก็บตัวอย่างน้ำนำไปตรวจสอบ
การเก็บตัวอย่างน้ำเริ่มทำตั้งแต่ช่องก่อนสร้าง ช่วงระหว่างสร้าง ช่วงที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และปัจจุบันยังคงมีการเก็บตัวอย่างไปตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลทดสอบยังคงไม่มีผลกระทบและค่าของน้ำยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

         นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีการเก็บตัวอย่างพันธุ์ปลา และพบว่ามีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากมีเขตแนวทุ่นกั้นพื้นที่ไว้

ห้อง Control Room

          พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำ จะรวมมาที่ห้องเกียร์ที่จะส่งพลังงานไฟฟ้ามาที่ห้องควบคุม Energy Management System (EMS) ตั้งอยู่ในโซนโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ที่บริหารจัดการ
การใช้พลังงานแบบผสมผสานไฮบริดระหว่างพลังน้ำและพลังจากโซล่าเซลล์

          ซึ่งทางคุณไพรัตน์ ดีทะเล เจ้าหน้าที่แผนกบำรุงรักษาไฟฟ้า เขื่อนสิรินธร ซึ่งเป็นผู้ดูแลโรงไฟฟ้าพลังน้ำและระบบ Energy Management System (EMS)

          โดยปกติโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ผลิตจากเขื่อนสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 36 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเครื่องละ
12 เมกะวัตต์  ตู้สีเหลือง คือ ตู้ที่ใช้ควบคุมโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้งหมด ซึ่งจะจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้ทางพื้นที่ภาคอีสาน

          ต่อมาส่วนของระบบ Energy Management System (EMS) ที่ใช้ในการควบคุมการบริหารจัดการพลังงาน
ทั้ง 2 ระบบ

         ที่หน้าจอจะแสดงส่วนพลังน้ำ พลังโซล่าเซลล์ และส่วนไฮบริด ซึ่งจะมีการใช้พลังน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เวลา
17:00 น เพื่อเสริม Peak

         เป็นการจัดการพลังงานแบบผสมผสานจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบดั้งเดิมและพลังโซล่าเซลล์
โดยใช้ระบบ EMS และถ้าหากต่อไปมีแบตเตอรี่เสริมขึ้นมา จะสามารถนำมาพ่วงเพิ่มขึ้นได้

          เนื่องจากว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำคาดการณ์ได้ยาก จากเรื่องของแสงแดดที่มีความไม่แน่นอน ทางโรงไฟฟ้าจึงมีระบบที่สามารถพยากรณ์ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตออกมาได้ล่วงหน้า โดยแบ่งเป็น
ช่วงเวลา 15 นาที, ช่วง 30 นาที, 1 ชั่วโมง หรือภายใน 1 วัน เพื่อนำมาวางแผนการผลิตพลังงานไฟฟ้า

          สุดท้ายทางศูนย์ควบคุมระบบจะเป็นผู้ควบคุมในการเดินเครื่องการบริหารจัดการพลังงานเหล่านี้ 

เมื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งจากพลังน้ำและพลังโซล่าเซลล์จะถูกส่งมาที่หม้อแปลง เพื่อยกระดับแรงดันขึ้น
ก่อนที่จะเข้าในระบบต่อไป

ข้อดีของโรงไฟฟ้าแบบไฮบริด

         กฟผ. มองว่าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธรที่ใช้งานเป็นระยะเวลา 52 ปี ได้ปรับปรุงให้เป็นระบบดิจิทัลที่ช่วยให้การใช้งานได้ประโยชน์สูงสุด และเล็งเห็นว่ามีบริเวณพื้นที่ผิวน้ำยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์  เพราะฉะนั้นการเลือกใช้โรงไฟฟ้า
โซล่าเซลล์ที่เป็นพลังงานสะอาดมาทดแทนพลังงานฟอสซิล จะช่วยในเรื่องของการลดโลกร้อน หรือไปตอบโจทย์

เรื่อง Carbon Neutrality

         ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและชุมชน เนื่องจากมีจำนวนประชาชน นักเรียน นักศึกษาที่มาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า
โซล่าเซลล์ลอยน้ำมากกว่าประมาณ 600,000 คน ได้กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน โดยมีการตั้งร้านค้าและทำแพท่องเที่ยวที่มีจำนวนประมาณเกือบ 100 ลำอยู่ที่ด้านเหนือ มีผู้มาใช้บริการเกือบทุกวัน โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ประกอบกับมีร้านค้าวิสาหกิจชุมชนที่ กฟผ. ส่งเสริมในเรื่องของอาชีพ

         เรื่องของการขยายผล ทาง กฟผ. จะมีการทำต่อยอดตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 

โดย กฟผ.ได้รับความเห็นชอบในการพัฒนาโครงการจำนวน 16 โครงการ เป็นกำลังการผลิต 2,725 เมกะวัตต์

         อันดับหนึ่ง คือ เขื่อนสิรินธร ที่เป็นโครงการนำร่อง รองลงมา คือ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น  เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี ถัดลงมาจะเป็นเขื่อนภูมิพล จ.ตาก  เขื่อนสิริกิต์ จ.อุตรดิตถ์  ทางภาคใต้จะเป็นเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี กระจายอยู่ทั่วประเทศ

         ประเทศไทยมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนอยู่แล้ว จึงนำมายกระดับการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยการใช้พลังงานแบบผสมผสาน ที่เห็นได้จากโครงการนำร่องอย่างโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนสิรินธร จึงมีการพัฒนาระบบไฮบริดต่อยอดกับโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม
         โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ที่กำลังติดตั้ง ได้มีส่วนเสริมเพิ่มเข้ามา คือ แบตเตอรี่ เรียกว่า ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ BESS (Battery Energy Storage System)

         คุณสามารถดูเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กดLIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.