ทุกอย่างมาบรรจบกันในยุคEV!! สมาร์ทโฮม+หุ่นยนต์+พลังงานสะอาด รวมอยู่ในนวัตกรรมอาคาร Nova BUILD 2023

         วันนี้เราอยู่ที่งาน Nova BUILD EXPO 2023

          เป็นงานที่รวบรวมนวัตกรรมอาคารและสิ่งปลูกสร้าง จากการมาของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้โครงการ
อาคารที่อยู่อาศัย หรืออาคารตึกต่าง ๆ หันมาตื่นตัวในเรื่องของพลังงานสะอาดมากขึ้น เรียกว่าเป็นยุคของ
Energy Transition ที่เปลี่ยนจากการใช้พลังงานน้ำมันมาเป็นพลังงานไฟฟ้า
          ซึ่งจะไม่ได้หมายถึงแค่เรื่องของการติดโซล่าเซลล์ แต่ยังมีเรื่องของระบบการจัดการพลังงานภายในอาคาร รวมทั้งเรื่องของวัสดุที่ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยเราจะพาไปดูบูธที่น่าสนใจภายในงานกัน

บูธ ECS : การก่อสร้างอาคารเร็วที่สุดในโลก

          ที่ก่อสร้างอาคารตึก 7 ชั้น ใช้เวลาเพียง 28 ชั่วโมง และเคยสร้างอาคารมากที่สุดอยู่ที่ 57 ชั้น โดยใช้เวลาเพียง 21 วัน เมื่อ 3 -4 ปีที่ผ่านมา ที่เมืองฉางซา ประเทศจีน

         การก่อสร้างอาคารที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่ามีการเตรียมวัสดุ องค์ประกอบของตัวตึก
โดยโครงสร้างจะเป็นสแตนเลส และมีโรงงานที่ทำเป็นบล็อกออกมา เพื่อนำมาประกอบเป็นตัวตึก

          การตกแต่งภายใน อาทิ ระบบแอร์ ระบบน้ำ ระบบฟอกอากาศบริสุทธิ์ สามารถทำอยู่ได้ในบล็อกเดียว

          ตัวอย่างโครงสร้างที่เป็นพื้น ผนัง และหน้าต่าง

โครงสร้างพื้น

โครงสร้างผนัง

          ส่วนของหน้าต่าง จะเน้นเรื่องของการประหยัดพลังงาน การสูญเสียความร้อนจากตัวกรอบอาคาร
จึงมีการออกแบบเป็นกระจกที่มีม่านไฟฟ้าและกระจกกั้น 4 ชั้น พร้อมทั้งมีฉนวน ซึ่งทุกอย่างจะประกอบมา
เป็นบล็อกในโรงงาน

         ดังนั้นการสร้างอาคารที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จะต้องคำนึงถึงเรื่องการประหยัดพลังงานด้วย

บูธ Obodroid และ Obotrons : หุ่นยนต์ (Robot)

          บูธมีการนำเสนอ 2 บริษัท คือ Obotrons ที่ทำแพลตฟอร์ซอฟต์แวร์ เพื่อควบคุมในระบบ Smart Home
Smart Office และSmart Building ส่วนบริษัท Obodroid เป็นบริษัทในเครือ ทำหุ่นยนต์หลากหลายแบบ

          หุ่นยนต์ที่ใช้กับ Smart Home คือ น้องไข่ต้ม ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถสั่งการเปิด/ปิดไฟ ในแต่ละโซนของบ้าน

          ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้สูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเรื่องของ
Smart Home หลายคนให้ความสำคัญ จึงมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาเป็นผู้ช่วยระหว่างผู้อยู่อาศัยกับ Smart Home

          นอกจากนี้ น้องไข่ต้ม สามารถใช้วัดความดัน ในกรณีที่ต้องการประสานส่งข้อมูลกับระบบโรงพยาบาล
เพื่อตรวจสอบสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้าน

            การวัดความดัน ตัวเครื่องวัดความดันจะเชื่อมต่อระบบผ่าน Bluetooth เมื่อลองความดันแล้วผลออกมาปกติ ทางน้องไข่ต้มจะตอบกลับมา นอกจากนี้หุ่นยนต์น้องไข่ต้มไม่สามารถเคลื่อนที่และตัวกล้องจะเคลื่อนแบบหันซ้าย/ขวา จึงเหมาะกับที่อยู่แบบคอนโดมีเนียม

            หุ่นยนต์ตัวนี้ถูกออกแบบเพื่อใช้ภายในบ้านที่มีพื้นที่การเดิน โดยจะเคลื่อนที่ด้วยล้อ รวมทั้งมี Feature เพิ่มเติม คือ กล้องสามารถยกระดับขึ้น/ลงได้

           รวมทั้งยังมีหุ่นยนต์ที่กำลังเดินเสิร์ฟเครื่องดื่มในงาน

          ส่วนที่เป็นไฮไลท์ คือ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ชื่อ จินเจอร์ ที่กำลังขยับร่างกายออกท่าทางและโต้ตอบกลับ

            ทางเจ้าหน้าที่บูธบอกว่าหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถร้องเพลง จับมือทักทาย หยิบจับสิ่งของ และเคลื่อนที่ได้
โดยใช้การสั่งการด้วยเสียง และได้ลองสั่งให้จับมือทักทาย จะรู้สึกได้ว่ามีการบีบมือเหมือนกับการจับมือของคน

            หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ยังไม่มีการจำหน่าย คิดว่าจะนำมาใช้เป็นหุ่นยนต์ต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ และการให้ข้อมูล โดยมีการพูดคุยแนะนำและสัมผัสกับคน อีกทั้งการออกแบบหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์จะให้ความรู้สึกเป็นมิตร
ทำให้คนอยากเข้าหา

บูธ Airdivine : ต้นไม้แห่งอนาคต

           คอนเซ็ปต์ของต้นไม้แห่งอนาคต จะกินคาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่น สารมลพิษต่าง ๆ ในอากาศ และจะคายออกซิเจนกลับออกมา โดยจะทำงานคล้ายกับการปลูกต้นไม้ 8 ต้น ที่เป็นต้นฟอกอากาศ อาทิ ต้นลิ้นมังกร เป็นต้น
          ด้านในจะใช้สาหร่ายที่ผ่านการทรีตและเทรนให้มีความแข็งแกร่งมากกว่าปกติ จะตั้งภายในห้องและทำงาน
ร่วมกับแอปพลิเคชัน นอกจากนี้สามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในห้อง ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ได้ ประกอบกับปริมาณออกซิเจนโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 21 % จึงมีการกำหนดการคายออกซิเจนให้อยู่ตามสัดส่วนดังกล่าว

บูธ ASEFA : ระบบ Smart Home

         ภายในบูธมีการจำลองระบบ Smart Home ซึ่งเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว แต่เมื่อคนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาและ
หันมาติดโซล่าเซลล์ จึงมีการมองหาระบบที่สามารถจัดการพลังงานมากขึ้น ที่สามารถสื่อสารผ่าน Google Home
ระบบ Smart ความปลอดภัยภายในบ้าน โดยทุกอย่างสามารถรวมกันได้ทั้งหมด เพราะเป็น API plug-ins
ดังนั้นเมื่อมีระบบ Charger และระบบโซล่าเซลล์ มาเชื่อมต่อกันจึงมีความน่าสนใจ

          ตั้งแต่จุดหน้าบ้านที่จะมีกล้องที่สแกน QR Code และทุกจุดในระบบจะมี QR Codeทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Smart Switch  HomePad(ระบบควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้านแบบทัชสกรีน) การเปิดเสียง เปิดไฟ

          สำหรับคนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยจากความร้อน ไฟไหม้ ควรติดตั้ง
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) หรืออุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) โดยให้ลิงก์กับ
ระบบ Smart Home ซึ่งในแผนผังจะมี Smore Senser ที่ตรวจจับควัน ดังนั้นระบบ Smart Home จะต้องเชื่อมโยงกับแอปชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

        นอกจากนี้มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ การ Revolution ของประตูดิจิตอล ที่ไล่ตั้งแต่การสแกนนิ้ว มีคีย์แพด

          จนถึงบานประตูดิจิตอลที่ไฮเทคที่สุด สำหรับการเปิดประตูสามารถทำได้หลายวิธี คือ สแกนลายนิ้วมือที่บริเวณด้านหลังที่จับ กดคีย์แพด ใช้กุญแจ หรือบัตร ส่วนกล้องจะถ่ายภาพหากมีการเคลื่อนไหวที่หน้าห้อง ซึ่งจะขึ้นภาพที่หน้าจอภายในห้องและลิงก์กับมือถือ

บูธ GRAPHENE : รถจักรยานไฮโดรเจน

         เป็นรถจักรยานที่เปลี่ยนไฮโดรเจนมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยจะมีมอเตอร์ไฟฟ้า
         ส่วนถังไฮโดรเจนด้านใน ที่อัดไฮโดรเจนเข้าไปแรงดันจะเป็น Low Pressure จึงไม่มีอันตราย

            การเติมไฮโดรเจน ทาง GRAPHENE จะมีการขายสถานีเติมพร้อมกับรถจักรยาน จึงสามารถเติมที่บ้านได้ โดยจะเติมน้ำเข้าไปในเครื่องให้แปลงเป็นไฮโดรเจนออกมา

          รถจักรยานไฮโดรเจนจะใช้ 1 ถัง สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 100 กิโลเมตร โดยความเร็วขึ้นอยู่กับการปั่น
ส่วนราคาเฉพาะรถจักรยานจะอยู่ที่ 49,000 บาท (ไม่รวมเครื่องสถานีเติม)
         และจะขายเป็นเซตคู่กัน คือ รถจักรยานไฮโดรเจนและเครื่องสถานีเติม ซึ่งราคาของเครื่องสถานีเติมจะ
ขึ้นอยู่กับขนาดที่ต้องการ โดยจะมีจำนวน 2 ขนาด รวมทั้งมีการแสดงชิ้นส่วนแผ่นไบโพลาร์ที่ใช้สำหรับการแยกน้ำ
ออกมาเป็นไฮโดรเจน

          ส่วน Graphene Globe เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน เป็นส่วนต่อยอด โดยจะนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากไฮโดรเจนมาเก็บในแบตเตอรี่กราฟีน และเมื่อทำการชาร์จแบตเตอรี่เสร็จเรียบร้อยจะนำมาใส่ที่รถมอเตอร์ไซค์

บูธ NUOVO: อุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่

          มีความจุอยู่ที่ 184 กิโลวัตต์ ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าที่พลังงานเหลือ 0% จะสามารถชาร์จได้จำนวน 2 คัน
ใช้กำลังชาร์จสูงสุดอยู่ที่ 60 กิโลวัตต์ ซึ่งหากเทียบกับ ORA Good Cat ที่มีความจุของแบตเตอรี่อยู่ที่ 60 kWh
จะเท่ากับรถจำนวน 3 คัน

          ส่วนหัวชาร์จจะเป็นแบบ DC Fast Charge และใช้การแตะบัตร RFID ส่วนการเคลื่อนที่จะใช้การลากจูง

         จะเหมาะสำหรับตามจุดทางด่วนที่หาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ยาก

บูธ Bridgestone : รถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์

           เป็นรถที่ใช้สำหรับการแข่งขันในรายการ Bridgestorne World Solar Challenge ที่ประเทศออสเตรเลีย
ซึ่งเป็นการแข่งรถที่ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว

          แผงโซล่าเซลล์บนรถแข่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 1,000 วัตต์ และจะนำพลังงานไฟฟ้าเข้ามาที่มอเตอร์ให้ได้มากที่สุด จากกฎการแข่งขัน หากมีการใช้พลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ได้จำนวนมาก ทางทีมงานจะได้คะแนนมากที่สุด ดังนั้นแบตเตอรี่จึงเป็นส่วนสนับสนุนเฉพาะในช่วงที่ไม่มีแดด หรือเมฆบดบัง

         ลักษณะการแข่งขัน จะแข่งวิ่งระยะทาง 3,022 กม. ในเวลา 5 วัน หรือ 1 วัน เฉลี่ยประมาณ 600 กม.
ซึ่งจะวิ่งตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ตามกฎการแข่งขันเมื่อถึงเวลา 5 โมงเย็นจะต้องพักที่จุดนั้น

         ระบบขับเคลื่อน เป็นฮับมอเตอร์ล้อซ้ายและล้อขวา ขนาดข้างละ 3 กิโลวัตต์ ส่วนความเร็วสูงสุดหากมี
การใช้แบตเตอรี่ร่วมด้วยจะอยู่ที่ 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้าใช้แผงโซล่าเซลล์เพียงอย่างเดียวจะมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อให้สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 600 กม.ต่อวัน เป็นระยะเวลา 5 วันอย่างต่อเนื่อง
โดยเริ่มต้นเส้นทางจากเมืองดาร์วิน (Darwin) ทางตอนบนของประเทศออสเตรเลีย ไปยังเมืองแอดิเลด (Adelaide) ที่อยู่ล่างสุดของประเทศ ถือว่าเป็นรายการแข่งขันที่มีความโหด

บูธ BOLT.EARTH : แท่นชาร์จรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

          เป็นแท่นชาร์จที่สามารถตอบโจทย์ต่อผู้ที่มีรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นที่ไม่สามารถถอดแบตชาร์จ
ทาง BOLT.EARTH มีความคิดค้นแท่นชาร์จที่สามารถทำการชาร์จได้ง่ายแบบในกรุงเทพฯ โดยใช้แอปพลิเคชัน

          ขั้นตอนการชาร์จ ตอนแรกให้แอปพลิเคชันหาจุดแท่นชาร์จ เมื่อเจอจุดที่ต้องการ ใช้มือถือสแกนที่ QR Code ด้านหน้าของแท่นชาร์จ หลังจากนั้นแอปพลิเคชันจะให้ระบุความต้องการใช้เวลาในการชาร์จ ชนิดของมอเตอร์ไซค์ รวมทั้งเลือกกำหนดระยะเวลา โดยจะนำ Adapter ของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามาเสียบชาร์จ

         มอเตอร์ไซค์แบบสลับแบตเตอรี่จะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ให้เช่า แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์ตามบ้านที่ผู้ซื้อใช้งานเอง
จะใช้ที่ชาร์จแบบนี้ นอกจากนี้แท่นชาร์จมีความเหมาะสมใช้กับโรงแรมและคอนโดมิเนียม โดยจะคิดราคาการชาร์จตามแอปพลิเคชัน

         แท่นชาร์จจะช่วยเพิ่มจุดชาร์จรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากกว่า และเป็นการสร้างความมั่นใจให้คนหันมาใช้รถมอเตอร์ไซค์มากขึ้น หากมองที่ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม หรือคอนโดมิเนียม ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านค้าที่ต้องใช้เวลาอยู่สักระยะ อย่างร้านซักผ้า สามารถเสียบชาร์จ
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในช่วงระหว่างรอ
         ราคาของแท่นชาร์จรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 3,000 – 5,000 บาท

บูธ I-Guard : เครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้า

         สาเหตุของการเกิดสนิมตัวเนื้อเหล็กสูญเสียประจุไฟฟ้าให้สภาพแวดล้อม

          โดยเราใช้เครื่องตัวนี้เติมประจุลบเข้าไปในเนื้อเหล็ก และมีขั้วบวกที่นำพาประจุลบมาอยู่ที่พื้นผิวภายนอก
ของเหล็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเหล็กออกซิเดย์ชั่นกับอากาศ

เติมประจุลบ

ขั้วบวก

         มีการจำลองนำเหล็กที่มีสนิมอยู่เดิม นำมาแช่ในน้ำเกลือ เพื่อเร่งปฏิกิริยาให้เกิดสนิมไวมากขึ้น โดยฝั่งด้านซ้ายจะไม่ติดตั้งระบบ ส่วนฝั่งขวาจะติดตั้งระบบที่นอกจากจะหยุดการเกิดสนิมใหม่แล้ว จะมีการผลักดันสนิมเก่าออกก่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่าสนิมเริ่มเกาะมาอยู่ที่ผิวและหยุดการเกิดสนิมแล้ว ส่วนฝั่งซ้ายยังคงเกิดสนิมและสามารถทะลุได้
ส่วนเหล็กที่ติดตั้งระบบเมื่อเช็ดผิวออก จะเป็นเนื้อเหล็กปกติ

         เครื่องนี้จะใช้กับเหล็กที่โครงสร้างอยู่ในอากาศ เป็นโครงเหล็กที่ทาสี แต่ถ้าเป็นเหล็กเสริมในอาคารจะต้อง
เดินสายเข้าไปแล้วทำแบบเดียวกัน

บูธ CASA TECH : ระบบ Radiant Cooling System

         ระบบกระจายความเย็นที่พื้น จะมีท่อมัลติโฟลว์ที่รับน้ำมาจากชิลเลอร์กระจายลงท่อ ทำให้พื้นเกิดความเย็น
ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยมีความสบายมากขึ้น โดยท่อสีเขียวจะเป็นตัวที่หล่อลำเลียงน้ำ และจะกระจายความเย็นมาที่อะลูมิเนียม เพื่อช่วยให้พื้นเกิดความเย็นขึ้นมา โดยจะอยู่ใต้กระเบื้องยาง

          ส่วนของท่อสีขาว จะเป็นระบบกระจายความเย็นอีกระบบหนึ่งใช้สำหรับที่ก่อสร้างใหม่ จะมีการวางท่อเว้นสลับประมาณ 10 ซม. ส่วนท่อจะมีขนาดใหญ่และจะกระจายความเย็นในพื้นที่ได้มากกว่า จากความหนาของปูนที่เททับ
ซี่งจะเป็นปูนขัดมันหรือพื้นกระเบื้อง

          และควรมุ่งเน้นใช้ภายในอาคารมากกว่า ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอาการคอนเด้นขึ้นมา ดังนั้นเวลาที่ใช้จะช่วยให้
แอร์ไม่ต้องทำงานหนักและห้องจะเย็นมากขึ้น เนื่องจากว่าใช้ระบบระบายความร้อนด้วยชิลเลอร์ที่ทำงานอยู่แล้ว
จึงนำมาใช้ในการระบายความร้อนที่พื้นด้วย เพราะฉะนั้นจะไม่เสียพลังงานโดยสิ้นเชิง

บูธ L&E : ระบบ Smart Lighting

         โคมที่จัดแสดงสามารถปรับหรี่ความสว่างและปรับสีผ่านแอปพลิเคชัน ที่คอนโทรลแบบไร้สาย

          แอปพลิเคชันสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งบ้าน หรืออาคาร โดยส่วนตรงโคมจะต้องเป็น Smart Feature
คือทั้งตัวโคมและหลอดไฟจะมี LED อยู่ภายใน โดยจะเป็นฮาร์ดแวร์ 1 ฮาร์ดแวร์ ซึ่งจำนวน Device ทั้งหมด
จะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันที่ใช้ในการควบคุม และสามารถแบ่งเป็นโมดูลได้

         จำลองห้องออฟฟิศ ซึ่งโคมห้องออฟฟิศส่วนใหญ่จะเป็นโคมไฟดาวน์ไลท์ (Downlight) ที่สามารถปรับความสว่างและเปลี่ยนสีได้เช่นกัน

         ซึ่งทาง L&E มีแผนกที่ทำเกี่ยวกับ Facade Lighting หรือโคมไฟภายนอก นอกจากจะให้ความสว่าง ยังให้เรื่องของความสวยงาน โดยควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน

         นอกจากนี้ยังมี Stage Lighting คือ ไฟสำหรับเวทีใช้สำหรับงานแสดงที่ควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน

          และทั้งหมดคือไฮไลท์จากงาน Nova BUILD EXPO 2023 ที่รวมนวัตกรรมสิ่งปลูกสร้างและอาคาร
จะเห็นว่าได้ว่าเทคโนโลยีเรื่องของสิ่งปลูกสร้างกำลังมุ่งหน้าไปในทางเดียวกัน คือ คำว่า Smart ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องของการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่องของการใช้พลังงานที่จะต้องประหยัดและใช้ให้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และที่สำคัญจะต้องมีการลิงก์เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่เป็นอยู่บนอินเทอร์เน็ตและบน Cloud ทั้งหลาย
ดังนั้นคำว่า EV เมื่อมาแล้วจะเชื่อมต่อทุกอย่างเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน

         ซึ่งคุณสามารถดูเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กดLIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.