ทำไมรถไฟฟ้าจีนถูกทิ้งนับแสนคัน!? ฟองสบู่รถ EV? ปั๊มเอายอด? ไม่ได้ขายดีจริง? รถใหม่ก็มีเพราะอะไร?

         จากคลิปที่เป็น Viral เกี่ยวกับสุสานรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ประเทศจีนมีรถยนต์ไฟฟ้าจอดทิ้งไว้จำนวน
นับร่วมแสนคัน โดยที่รถยนต์ไฟฟ้าบางคันยังอยู่ในสภาพใหม่

          ทั้งที่ประเทศจีนมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมียอดจดทะเบียนมากกว่า 4 ล้านคัน
จึงเกิดคำถามถึงขนาดสื่อต่างชาติอย่าง Youtuber ได้เข้าไป เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้

          สุสานรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่เมืองหางโจ มณฑลเจ้อเจียง ที่เคยเป็นวัดจีนที่เสื่อมโทรม และตอนนี้กลายมาเป็นสุสานรถยนต์ไฟฟ้า

         โดยส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอย่างแบรนด์ Geely Kandi K10, Nata V และ BYD E3
ที่ถูกจอดทิ้งไว้หลายพันคัน

          และยังมีสุสานรถยนต์ไฟฟ้าถึง 6 เมือง 6 ทีด้วยกันในประเทศจีน นอกจากนี้มีการทิ้งแบตเตอรี่ที่หมดอายุ
การใช้งานกองไว้ที่สุสานรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน

          การเกิดสุสานรถยนต์ไฟฟ้า มีหลายคนสันนิษฐานหาคำตอบถึงเหตุผลที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ
เรื่องของผลลัพธ์จากธุรกิจ Car-Sharing ที่ล้มหายไป

          ซึ่งบริษัท Car-Sharing จะมีรถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อบริษัทได้ปิดตัวลง ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอีก จึงนำมาจอดทิ้งไว้ที่สุสานรถยนต์ไฟฟ้าแห่งนี้ เหตุการณ์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นธุรกิจวงจรอุบาทสำหรับธุรกิจบริการให้เช่า หรือ Car-Sharing ของรถยนต์ไฟฟ้า

         เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ในช่วงนั้นเรียกว่า ธุรกิจสไตล์ Ride-hailing ที่ประเทศจีน
คือ การบริการให้เช่ารถจักรยาน, สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า, รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า
ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพและในช่วงเปิดตัวได้เสียงตอบรับที่ดีอย่างมาก

         เพราะว่าเมื่อก่อนประเทศจีนนิยมใช้รถจักรยานเป็นยานพาหนะหลัก เพื่อขับเคลื่อนไปในพื้นที่อยู่ใกล้ ๆ
ดังนั้นทางผู้ให้บริการจะนำรถจักรยาน หรือสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ามาตั้งเอาไว้ ถ้ามีคนต้องการอยากใช้บริการเพียงแค่สแกน QR Code จะสามารถนำไปใช้งานได้และการคืนจักรยาน หรือสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องคืนที่จุดจอดเดิม สามารถจอดทิ้งไว้ที่ข้างทางแล้วทำการ Logout จากนั้นบุคคลอื่นสามารถนำมาใช้งานต่อได้เอง

         ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีมากและสร้างความสะดวก เนื่องจากว่าเป็นยุคเปลี่ยนผ่านจากการใช้ยานพาหนะแบบดั้งเดิมมาเป็นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า จึงได้รับความนิยมและมีการขยายเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเกิดบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมาก อย่าง บริษัทชื่อแบรนด์ Ofo และบริษัทชื่อ Mobike ที่มีการแข่งขันแย่งการเปิดบริษัทและขยายไปตามเมืองต่างๆ
มีจำนวนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นฟองสบู่ในธุรกิจประเภทนี้

          แต่สุดท้ายธุรกิจนี้ก็หมดความนิยมลง เพราะว่าคนเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้รถจักรยานหันมาใช้รถยนต์แทนที่เป็นการหายานพาหนะทางเลือก เมื่อรถจักรยานเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอีกต่อไป ส่งผลให้บริษัทที่ให้บริการมีรายได้ที่ขาดทุนมากขึ้นจนล้มเลิกไป และรถจักรยานเหล่านี้จึงกลายเป็นกองขยะที่รอการกำจัดในอนาคตข้างหน้า

           ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าที่เห็นว่าสุสานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับธุรกิจบริการให้เช่ารถจักรยาน สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า หรือจักรยานไฟฟ้า เมื่อก่อน 15 ปีก่อน ซึ่งในช่วงเริ่มต้นก่อนที่รถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับ
ความนิยมที่ทางค่ายรถจะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อให้ในราคาที่ถูก ดังนั้นวันแรกที่ทาง
แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนออกมาและยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ จึงจำเป็นจะต้องขายให้กับ
บริษัทขนาดใหญ่ คือ บริษัทธุรกิจ Car-Sharing เพื่อให้คนได้ลองขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าก่อน

เหตุผลทำให้เกิดสุสานรถยนต์ไฟฟ้า

1. ธุรกิจ Car-Sharing

          ธุรกิจ Car-Sharing ส่วนใหญ่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าทีละจำนวนมาก ๆ และนำมาปล่อยให้เช่า ในวันที่คนยังไม่กล้าซื้อรถยนต์ไฟฟ้าและราคารถยนต์ไฟฟ้ายังแพงอยู่

         ดังนั้นธุรกิจนี้จึงได้รับความนิยม เพื่อให้คนมาลองสัมผัสใช้รถยนต์ไฟฟ้า ณ เวลานั้น ในช่วงที่ได้รับความนิยม
มีหลายคนที่ไปขอระดมทุน ขอ Funding และขยายไปตามเมืองต่าง ๆ
         แต่เมื่อเจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้คนไม่ออกจากที่อยู่อาศัยและ
ไม่มีการเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ไม่ค่อยมีรายได้ รวมทั้งผลประกอบการของธุรกิจ Car-Sharing ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง จนสุดท้ายกรายได้ของธุรกิจนี้จึงติดลบและล้มละลายหายไปในที่สุด
เป็นเหตุที่นำรถยนต์ไฟฟ้ามาจอดทิ้งไว้ที่สุสานรถยนต์ไฟฟ้า

2. เรื่องของการ Tricky หรือการกลโกง

          โดยในช่วง 10 ปีที่แล้ว ทางรัฐบาลพยายามผลักดันเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้าให้เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยมีการตั้งเป้าจะให้เป็นสินค้าส่งออก แต่ด้วยราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่แพงกว่าราคารถน้ำมัน จึงมีการออก
เงินอุดหนุนขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นนะอยู่ที่ 60,000 หยวน หรือตีเป็นเงินไทยอยู่ที่ประมาณ 3 แสนบาท

          ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างราคาของรถไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมันอยู่ใกล้เคียงกัน คนจึงหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า
มากขึ้น และส่วนเงินอุดหนุนมีการให้กับทุกบริษัท หรือให้ทุกคน สำหรับคนทั่วไปที่อยากซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสามารถซื้อได้ด้วยตนเอง หรือบริษัท Car-Sharing ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับเงินอุดหนุนเช่นเดียวกัน จนถึงขนาดเป็นกลโกงที่ทางบริษัทค่ายรถทำการเปิดบริษัทลูก หรือบริษัทย่อย เพื่อกลับมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าให้ตัวเองเป็นการระบายสต๊อกออกไป และนำเงินอุดหนุนกลับมาเข้าที่บริษัท ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือในบริษัทลงทุน จนกลายเป็นฟองสบู่
รถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้น

 

3. การได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ

          พอมีเงินอุดหนุนจากภาครัฐ คนส่วนใหญ่จึงเกิดความเชื่อมั่นในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งคนสามารถซื้อ
รถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่เข้าถึงได้ และมีแนวโน้มที่ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ ทำให้ธุรกิจ Car-Sharing 

มีขนาดเล็กลงและหายไปในที่สุด

4. การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า

          รถยนต์ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าตกรุ่นอย่างรวดเร็ว
จะเห็นได้จากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเรื่องของแบตเตอรี่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า
แบตเตอรี่เมื่อ 4 ปีที่แล้วกับแบตเตอรี่ในปัจจุบันมีเรื่องของความจุพลังงานที่ไม่เท่ากันและระยะทางวิ่งที่แตกต่างกัน

          ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบระหว่างรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว กับรถยนต์ไฟฟ้า ณ เวลานี้ คนย่อมมีความต้องการอยากได้ของใหม่เหมือนกับมือถือ ประกอบกับรถยนต์ไฟฟ้าของใหม่มีสมรรถนะและความสามารถทางด้านฟังก์ชัน
ที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม

          ดังนั้นการนำรถยนต์ไฟฟ้าที่จอดทิ้งไว้ในสุสานมาเลย์ออฟขายจะทำได้ยาก เพราะคนมีไม่มีความต้องการ
อยากใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เก่าและเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทันต่อยุคในปัจจุบัน

          สรุป สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดสุสานรถยนต์ไฟฟ้าที่รถยนต์ไฟฟ้าถูกจอดทิ้งไว้จำนวนร่วมนับแสนคัน มีดังนี้
                  อย่างแรก คือ เรื่องของธุรกิจ Car-Sharing ให้เช่ารถยนต์ไฟฟ้าที่ในช่วงแรกได้รับเสียงตอบรับ
เป็นอย่างดีและขยายไปตามเมืองต่าง ๆ แต่สุดท้ายจากผลประกอบการที่ติดลบไม่ได้ตามที่ควาดหวัง รวมทั้งได้รับ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จนในท้ายที่สุดบริษัทจึงล้มละลาย หรือบางบริษัทเปิดมา
เพื่อ Tricky หรือการกลโกง เพื่อต้องการเงินอุดหนุนของรัฐ โดยที่ไม่มีการทำธุรกิจแบบจริงจัง จนเกิดฟองสบู่
รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ต้องนำรถยนต์ไฟฟ้ามาจอดทิ้งไว้ในสุสาน และรอวันฟ้องร้องว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่จอดไว้เป็นทรัพย์สินของใครถือเท่าไหร่ และต้องรอขายทอดตลาดอีกที
                  อย่างที่ 2 เรื่องของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้มีการผลิตออกมานานแล้ว ถ้าหากว่าวันนี้มีการขายทอดตลาดจริง ใครจะเป็นผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้ เพราะปัจจุบันมีรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายยี่ห้อและเกิดรถรุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชันใหม่ ๆ แถมราคาใกล้เคียงกัน โดยที่เป็นเทคโนโลยีของใหม่ แล้วใครอยากจะซื้อเทคโนโลยี
ของเก่า การเลือกซื้อของใหม่ย่อมดีกว่า โดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องของความเสียหาย
                 อย่างที่ 3 เรื่องของการกำจัดแบตเตอรี่ ที่ใครจะเป็นผู้กำจัด ซึ่งการกำจัดแบตเตอรี่จะมีค่าใช้จ่ายที่
ทางรัฐบาลไม่อยากออกเงิน เพราะว่าได้ทำการออกเงินอุดหนุนไปเรียบร้อยแล้ว จึงยังไม่มีบริษัทที่จะมารับผิดชอบ หรือเป็นบริษัทรับรีไซเคิล อย่างที่รู้กันเมื่อมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น จะเกิดเป็นขยะมลพิษมหาศาล
โดยเฉพาะเรื่องของแบตเตอรี่

          จึงยังไม่มีการสรุปข้อกำหนด หรือข้อชัดเจนในเรื่องของผู้รับผิดชอบและทิศทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องของสุสานรถยนต์ไฟฟ้า จึงเกิดสภาวะสูญญากาศจากที่เราเห็นว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าถูกจอดทิ้งไว้ร่วมนับแสนคัน

          คุณสามารถดูข่าวเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กดLIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.