ยกระดับสู่บ้าน+โรงงานอัจฉริยะด้วยAI เชื่อมทุกระบบ เก็บข้อมูล จัดการพลังงาน ประหยัดค่าไฟได้เป็นล้าน!!

         วันนี้เรามาอยู่ที่บ้านครินทร์เป็นต้นแบบบ้านประหยัดพลังงานแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการพลังงาน ระบบบริหารจัดการภายในบ้าน ซึ่งบ้านดังกล่าวสามารถเปิดให้คนเข้ามาลองสัมผัสหรือเข้าพัก โดยอยู่ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

         ทางนายประดิษฐ์พร พัชรอุบลเกษม หรือคุณทัม จากทีม Energy Sulution ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและดูแลระบบสมาร์ทต่าง ๆ ภายในบ้านครินทร์ จะมาเป็นผู้แนะนำ

         เนื่องจากว่าต้นแบบบ้านครินทร์ที่มีระบบสมาร์ทต่าง ๆ จะเป็นของทาง EGAT เพื่อต้องการให้บุคคลภายนอก

มาลองสัมผัสกับนวัตกรรมที่ทาง EGAT เป็นผู้พัฒนาด้วยตนเอง

ต้นแบบบ้านมีทั้งหมด 3 แบบ

         1. Islandable System จะเป็นบ้านที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในบ้าน โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากภายนอก หรือจาก Grid

          2. 0 – Net Energy System ซึ่งมีเป้าหมายให้บิลค่าไฟฟ้าเท่า 0 บาท โดยมีการผลิตไฟฟ้าในปริมาณที่มากเพียงพอต่อการใช้งาน และพลังงานไฟฟ้าที่เหลือสามารถขายไฟฟ้าออกนอก Grid ให้กับบ้านข้างเคียงได้
         3. Prosumager System เป็นการพัฒนาตัวบ้านที่สามารถเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และผู้บริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าได้เอง ซึ่งโมเดลนี้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันสามารถทำการเริ่มต้นได้

         ซึ่งวันนี้เรามาดูบ้านแบบ Prosumager System ที่บ้านครินทร์หลังที่ 5

 

การออกแบบบ้านโดยมีหลักการ 4 E ดังนี้

1. Eco Design คือ

          1.1 การออกแบบตำแหน่งบ้านให้หันเข้าทางทิศเหนือ ที่จะมีลมพัดตลอดทั้งวันที่บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ 

ส่งผลให้ตัวบ้านมีความเย็นสบาย

          1.2 ส่วนที่สอง เนื่องจากว่าพระอาทิตย์จะขึ้นเฉียงไปทางทิศใต้ แสดงว่าแสงแดดจะไม่เข้ามาทางหน้าบ้าน 

จะช่วยให้ตัวบ้านเย็นขึ้น ส่วนกำแพงบ้านจะอยู่ทางทิศตะวันออกและตะวันตก ที่ความร้อนจะไม่สามารถผ่านผนัง

เข้ามาในตัวบ้าน

2. Envelope

          เป็นกรอบอาคารที่เลือกใช้วัสดุเพื่อประหยัดพลังงาน อย่างเช่น บนฝ้าจะมีการบุฉนวน 3 นิ้ว เพื่อป้องกัน

ความร้อนไม่ให้ผ่านเข้ามา ส่วนผนังจะเป็นอิฐมวลเบา 2 ชั้น ที่มีช่องว่างระหว่างตรงกลาง ซึ่งการที่มีอากาศตรงกลางจะส่งผลให้ความร้อนไม่สามารถเข้าถึงในตัวบ้าน

3. Electrical Equipment

          หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจะเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์เบอร์ 5 ของ EGAT ที่สามารถรับประกัน
เรื่องของการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. Energy Management

           จะประกอบด้วย โซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบริเวณหลังคา และระบบกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ขนาด 10 kWh

 ซึ่งเป็นโมดูลสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น

          ส่วนสำคัญที่จะแสดงว่าเป็นบ้านอัจฉริยะจะอยู่ภายในบ้าน ที่เป็นระบบบริหารจัดการพลังงานที่ทาง EGAT 

เป็นผู้พัฒนาด้วยตนเอง

         เมื่อเราสั่งการด้วยเสียงคำพูด “ Hey Google เปิดแอร์” ตัวแอร์จะเปิดใช้งานทันที

          ซึ่งตัวระบบจะอยู่ที่ ENZY Platform เป็นระบบจะมีการประมวลผลอยู่บนคลาวด์ ที่มีการเก็บข้อมูลและควบคุมระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้านทั้งหมด

ระบบ ENZY Platform จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับตัวอุปกรณ์ IoT ภายในบ้านหลายตัวด้วยกัน

          ตัวแรก IR Sencer ที่คอยตรวจสอบวัดอุณหภูมิ ความชื้นภายในห้องและเป็นตัวควบคุมเครื่องปรับอากาศ

          ตัวที่สอง Motion Sensor ที่ตรวจจับความเคลื่อนไหว ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวตามเวลาที่ตั้งค่า 

ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ที่ได้ทำการเซ็ตไว้จะทำการปิดการใช้พลังงาน

          ตัวที่สาม Google Nest เป็นตัวเชื่อมโยงเสียง โดยสามารถสั่งเสียงผ่าน Google Nest เพื่อควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน

          แสดงว่าระบบของ Google สามารถปลั๊กอินกับระบบได้ เนื่องจาก ระบบ ENZY Platform ทาง EGAT มี

ความตั้งใจใช้เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IoT อื่น ๆ รวมทั้งโซล่าเซลล์และแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นการรวมระบบหลาย ๆ โมดูล

เข้ามาควบคุมและจัดการทุกอย่างในที่เดียว

           นอกจากนี้ตัวระบบ ENZY Platform สามารถติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าแยกแต่ละระบบได้ ทำให้ทราบถึง
ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าของในแต่ละระบบ เป็นส่วนหนึ่งที่นำข้อมูลไปประมวลผลผ่าน AI เพื่อช่วยประหยัดพลังงานภายในบ้าน

         ส่วนของห้องนอน

            ที่ห้องนอนสามารถสั่งงานผ่านระบบเสียงได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นในแต่ละห้องสามารถรับคำสั่งและ

เข้าระบบกลางเหมือนกัน

          ตัวปลั๊ก ที่สามารถตรวจสอบปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและควบคุมผ่านระบบได้ โดยจะติดต่อผ่าน
เครือข่ายไร้สายส่งมาที่ระบบ โดยที่ระบบสามารถควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทั้งหมด

           ที่ระบบจะเห็นได้ว่าสามารถเลือกเปิดหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านในภาพรวม หรือ เลือกควบคุมแยก

แต่ละห้องในบ้านได้ เรียกได้ว่าเป็น Dashboard ส่วนกลางของบ้านที่สามารถแยกการควบคุม

         ผู้ที่เข้ามาพักจะได้ประสบการณ์ความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและเรื่องของประหยัดพลังงานที่สามารถดูได้จากรายงานที่แสดงหลังจากที่เขา Check Out

          อันดับแรกจะมีค่าการแสดงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ โดยบอกถึงการเข้ามาและการออกของพลังงานไฟฟ้า ปริมาณการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เข้าสู่ตัวบ้าน รวมทั้งมีการเปรียบเทียบบอก

ความแตกต่างระหว่างการมีระบบ ENZY Platform กับกรณีที่ไม่มีระบบ

          จะเห็นว่าค่าไฟฟ้าปกติอยู่ที่ 277.87 บาท แต่ถ้ามีระบบจะเหลืออยู่ที่ 133.05 บาท ซึ่งจะประหยัดลงมา 52.12%

การประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากระบบ ENZY Platform ประกอบด้วย 2 ส่วน

         ส่วนที่ 1 การบริหารการผลิตและกักเก็บพลังงานไฟฟ้า โดยจะมีการประมวลผลในการเลือกเวลาการชาร์จของแบตเตอรี่ หรือ ช่วงเวลาที่ควรปล่อยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ เพื่อให้เกิดการลดพลังงานไฟฟ้ามากที่สุด
         ส่วนที่ 2 การบริหารอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน จะมีเรื่องการปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมในช่วงเวลาต่าง ๆ กรณีที่มีความชื้นสูง ความร้อนต่ำ จะมีการปรับอุณหภูมิขึ้นหรือลงตามช่วงเวลา เพื่อให้ผู้เข้าพัก
รู้สึกสบาย พร้อมกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

ส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้และงบประมาณการลงทุนในการทำ Smart Home

          1. ระบบ Solar Rooftop และระบบแบตเตอรี่ จะลงทุนที่งบประมาณ 300,000 – 400,000 บาท
          2. อุปกรณ์ IoT จะลงทุนที่งบประมาณหลักหมื่นบาท
          3. ส่วนระบบ ENZY Platform ยังไม่เปิดให้บริการกับภาคครัวเรือน หรือประชาชนทั่วไป

          สำหรับระบบ ENZY Platform ทาง EGAT จะมุ่งเน้นให้บริการสำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม อย่างเช่น 

โรงงาน มหาวิทยาลัย หรืออาคารโรงแรม เป็นต้น โดยเราไปดูเคสที่ทาง EGAT ได้ทำไว้เรียบร้อยแล้ว

          คือ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีการใช้ระบบ ENZY Platform และสามารถลดค่าไฟฟ้าได้จำนวนหลักล้านบาท

          ทางคุณปาร์ย อรรถพิสาล ซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) จะมาเป็นผู้แนะนำเรื่องของบริษัทให้กับทางเรา

            บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตยางพาราขั้นต้น เพื่อส่งออกให้กับบริษัทที่ผลิตล้อยาง
รถยนต์ ล้อยางรถแทรกเตอร์

การเตรียมยางพาราและการผลิตยางพาราขั้นต้น

          1. คลังเก็บวัตถุดิบ เมื่อรับวัตถุดิบยางก้อนถ้วย จะทำการสับย่อยขั้นต้นที่มีการล้างคราบสกปรก เพื่อให้ได้

ยางสด และเก็บไว้ที่จุดนี้ก่อน

           2. นำมาเข้าล็อกรอเก็บ ซึ่งจะใช้เวลารอไม่เท่ากันตามอายุยางที่เข้ามา ถ้าเป็นยางที่ีใหม่มาก ๆ จะใช้เวลารอ 

7 – 14 วัน เพื่อให้มีความแห้งพอดี ทำให้การสับย่อยในขั้นตอนต่อไปง่ายขึ้นและใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง

           3. ก่อนที่จะเข้ากระบวนการผลิต จะต้องนำยางมาสับย่อยให้มีขนาดเล็กลงอีกรอบหนึ่ง และล้างทำความสะอาดในแต่ละชิ้นโดยมีบ่อล้าง

         4. หลังจากนั้นจะมีการสับย่อย ล้าง และรีดให้เป็นเนื้อเดียวกันประมาณ 3 รอบ

          ในไลน์การผลิตจะเห็นได้ว่ามีการโหลดใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก โดยเฉพาะมอเตอร์ที่มีจำนวนประมาณ
10 ตัว ในขั้นตอนตั้งแต่กระบวนการสับ ล้างและรีด

           นอกจากนี้ยังมีการโหลดใช้พลังงานไฟฟ้าที่บ่อบำบัดน้ำเสีย จากกระบวนการล้างก้อนยาง

           โรงงานใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณ 3 MW ต่อชั่วโมงทุกขณะ ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทมีการใช้พลังงาน
ทางเลือก คือ การติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ขนาด 2 MW และที่โรงงานเดิมจะมีพลังงานแก๊สชีวภาพ ซึ่งในอนาคตอาจจะ

นำมาช่วยในการผลิต แต่ในตอนนี้ยังใช้ที่โรงงานเฟสที่เดิม

         สรุป มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก รองลงมา คือ โซล่าเซลล์ และพลังงานแก๊สชีวภาพ

         ที่โรงงานจะมีการใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก และมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าหลายรูปแบบของตนเอง จึงต้องมองหาระบบมาช่วยในการบริหารจัดการ

โจทย์ที่จะใช้ระบบ ENZY Platform

          1. โรงงานที่ประสบปัญหาค่าไฟฟ้าสูง จากที่ดูขั้นตอนการผลิตจะเห็นได้ว่ามอเตอร์ขนาดใหญ่และมีการใช้ไฟฟ้าที่โรงงานกว้างมาก หรือหมายถึงโรงงานขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง
          2. มีการผลิตไฟฟ้าด้วยตัวเอง อย่างเช่น Solar Rooftop และ Biogas การที่ต้องใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก โดยที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าตามแหล่งต่าง ๆ ทำให้ระบบบริหารจัดการพลังงานเดิมไม่ดีเท่าที่ควร

          หลักการ คือ นำเรื่องของการใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก มารวมกับระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งต่าง ๆ เอามาซิงโครไนซ์โดยที่มีระบบ ENZY Platform อยู่ตรงกลาง

การใช้ระบบ ENZY Platform ในการบริหารจัดการพลังงาน

          1. ห้องตู้ไฟรวมของโรงงาน อย่างแรกจะต้องดึงข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและการผลิตพลังงานไฟฟ้า
จากโซล่าเซลล์เข้ามาที่ระบบ ENZY Platform เพื่อมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เป็น

การแปลงเก็บข้อมูลจากเพาเวอร์มิเตอร์ส่งเข้าที่ระบบ ENZY Platform ซึ่งในแต่ละตู้จะมีตู้ควบคุมทโซล่าเซลล์และ

ตู้ควบคุมไฟฟ้าในโรงงานทั้งหมด

          2. ส่วน Invertor ของการผลิตโซล่าที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เช่นเดียวกับห้องควบคุมไฟของไลน์การผลิต จะส่งสัญญาณมาที่ตัว Gateway ซึ่งทำหน้าที่กระจายสัญญาณนำข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ขึ้น Cloud ของ

ระบบ ENZY Platform

           หมายความว่าถ้าต้องการเริ่มต้นใช้ระบบ ENZY Platform เพื่อมาบริหารจัดการ จะต้องลงทุนอุปกรณ์ IoT และ Gateway โดยจำนวนการติด Gateway ที่โรงงานนี้มีทั้งหมด 2 ตัว ที่มีการกระจายสัญญาณครอบคลุม 

5 กิโลเมตรต่อ 1 ตัว การติดตั้ง Gateway ทำได้ง่าย เพราะมีขนาดเล็กที่สามารถปลั๊กอินกับระบบตู้ไฟเดิมของ

โรงงานได้

            3. ก่อนที่จะไปดูส่วนของการบริหารจัดการ เราจะมาที่โรงไฟฟ้า Biogas ซึ่งที่นี้จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT 

ที่ตรวจความสามารถการผลิตพลังงานไฟฟ้าและเปอร์เซ็นต์ปริมาณของแก๊สที่กักเก็บอยู่ 

           ประกอบกับสามารถคอนโทรลการสตาร์ทเพื่อทำการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแก๊สได้ สำหรับกรณีที่

ปริมาณพลังงานไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ

          ส่วนนี้ คือ ตู้ควบคุมเดิม ที่ผู้ควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้อยู่ แต่เมื่อมีระบบ ENZY Platform จะสามารถ
ควบคุมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้

           4. เมื่อเห็นขั้นตอนการผลิตที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ของระบบ ENZY Platform เรียบร้อยแล้ว จะเชื่อมต่อเข้ามาที่ Cloud และระบบ ENZY Platform ที่จะดึงข้อมูลมาแสดงผลผ่านหน้าจอแพลตฟอร์ม

          แถวช่วงบนจะเป็นข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าของโรงงาน โดยแยกดูแต่ละสถานที่ตั้งแต่โรงงานที่ 1 จนถึง
บ่อบำบัดน้ำเสีย ส่วนแถวช่วงล่างจะเป็นข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์และ Biogas

          ต่อมาข้อมูลทั้งหมดจะถูกดึงออกมาแสดงเป็นกราฟ ซึ่งผู้ใช้จะเห็นการแสดงผลการใช้พลังงานไฟฟ้าของ

โรงงาน โดยสามารถตั้งค่าเป้าหมายการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยจะกำหนดที่ประมาณ 2.5 MW

          เมื่อมีการใช้พลังงานไฟฟ้าถึงที่กำหนด จะมีการแจ้งเตือนผ่านไลน์ให้ผู้ใช้หรือผู้บริหารที่เกี่ยวข้องรับทราบ

          ทางผู้ใช้หรือผู้บริหารสามารถตัดสินใจสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Biogas ขึ้นมาเพื่อมาเติมระบบ 

ซึ่งโดยปกติโซล่าเซลล์จะมีการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้อยู่แล้ว เพื่อลดการดึงพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก

         เมื่อมาที่หน้าจอเจนคอนโทรลจะแสดงค่าปริมาณของแก๊สที่เหลืออยู่ ว่าสามารถเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ได้หรือไม่ เมื่อตัดสินใจได้เรียบร้อยแล้ว จะตั้งค่ากิโลวัตต์ที่เครื่องให้จ่ายพลังงานไฟฟ้า หลังจากนั้นจะกดสั่ง

สตาร์ทผ่านออนไลน์ ซึ่งเป็นข้อดีของผู้ใช้ที่ไม่ได้อยู่หน้างาน หรือผู้บริหารต้องการเห็นจะสามารถมอนิเตอร์และคอนโทรลผ่านระบบ ENZY Platform ได้

          ส่วน Function Report เป็นสิ่งที่ลูกค้าชื่นชอบอย่างมาก โดยจะมีรายงานการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งรายเดือน หรือรายปี เมื่อถึงช่วงประจำปีต้องการรายงานผลของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด การ Breakdown ย่อยตำแหน่งของการใช้พลังงานไฟฟ้าในส่วนต่าง ๆ และความสามารถผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้าในแต่ละส่วน ที่หน้าจอมี

การแจกแจงข้อมูลแบบละเอียด เพื่อนำมาใช้งานต่อได้

          จากคำว่า Smart Factory ที่ต้องการการควบคุมจะมีเรื่องของ Input จากตัวเซ็นเซอร์ที่อุปกรณ์ IoT 

ระบบประมวลผลจากระบบ ENZY Platform และการควบคุมที่สามารถสั่งการได้ผ่านอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มเติมในการสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Biogas ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถปลั๊กอินได้ เพื่อการเข้าสู่การเป็น 

Smart Factory อย่างเต็มตัว

          ในอนาคตจะสามารถทำแบบออโตเมติกแบบ 100% ได้หรือไม่ จากการที่มี AI ที่เรียนรู้ ทางคุณทัมบอกว่าสามารถทำได้ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในเฟสในการรวบรวมข้อมูลมาประมวลผลและมีผลในเบื้องต้นแล้ว
รวมทั้งมีการนำเสนอให้กับผู้ใช้เรียบร้อยแล้ว แสดงให้เห็นว่าจะค่อย ๆ ปรับให้เป็นการควบคุมแบบ 100%

          จุดประสงค์ของทาง EGAT มีความต้องการให้เกิดออโตเมติกคอนโทรล ในการนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพ 

และลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

งบประมาณการลงทุนระบบ ENZY Platform และการลดค่าไฟฟ้า

          ทาง บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ใช้งบการลงทุนระบบ ENZY Platform อยู่ที่ประมาณล้านต้น ๆ หลังจากที่มีการใช้งานที่สามารถช่วยมอนิเตอร์ เพื่อลด Peak Discharge Demand สามารถลดค่าไฟฟ้าได้

หลักแสนกว่าบาทต่อเดือน เมื่อคิดรวมทั้งปีเท่ากับปีละ 1.2 ล้านบาท ซึ่งจะเกือบคืนทุน

         และจากที่ทางโรงงานมีการใช้พลังงานไฟฟ้าหลายรูปแบบ ตัวระบบ ENZY Platform มาช่วยบริหารจัดการพลังงานจากแหล่งต่าง ๆ ทำให้โรงงานสามารถเลือกแหล่งพลังงานและช่วงเวลาที่ต้องการใช้ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าได้สูงสุด

         ถือว่าเป็นการยกระดับแพลตฟอร์มพลังงานดิจิตอลอย่างเต็มตัวเหมือนกับ Smart Factory เล็กน้อย 

โดยยังไม่รวมถึงเรื่องของการลดคาร์บอนที่จะมาในอนาคตอย่างแน่นอน ทางบริษัทมีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว

          ระบบ ENZY Platform จะเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าโรงงานและธุรกิจ ที่ต้องการประหยัดค่าไฟฟ้า รวมทั้งต้องการเปลี่ยนจากระบบดั้งเดิมมาเป็น Smart Factory หรือ Smart Building

          โดยทาง ENZY พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้แก้ไขปัญหาเรื่องต้นทุนค่าไฟฟ้าแพง สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อมาได้ที่ด้านล่าง

 

          และนี้คือเรื่องราวของการยกระดับบ้านและโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นแบบอัจฉริยะ จากระบบ ENZY Platform ที่ทาง EGAT เป็นผู้พัฒนา ซึ่งคุณสามารถดูเรื่องราวนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้

ขอฝาก กดLIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.