อยู่คอนโด อยากได้รถไฟฟ้าทำไง!? จะชาร์จไหน!? แค่ที่จอดยังไม่พอ รัฐต้องส่งเสริมจุดชาร์จแบบนี้!?

          วันนี้เรามาอยู่ที่คอนโดเมืองทองธานี จากข้อสงสัยถึงแนวทางการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยอาศัยอยู่ในคอนโด
ซึ่งไม่มีที่จอดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ ความกังวลเรื่องจำนวนของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในปั๊ม เพราะว่า
ในแต่ละปั๊มจะมีแค่สถานีละ 1 ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น อีกทั้ง 1 ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะมีหัวชาร์จ DC จำนวน
2 หัว และหัวชาร์จ AC จำนวน 1 หัว ซึ่งในความเป็นจริงจะมีทางเลือกมากกว่าที่เห็น โดยเราจะเสนอต่อไป ดังนี้

สถานีชาร์จนอกปั๊มกับ EleX by EGAT

          ซึ่งเป็นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC Fast Charge หรือเป็นการชาร์จแบบรวดเร็ว สถานีนี้มีทั้งหมด
2 เครื่อง 4 หัวจ่าย ซึ่งจะสามารถจอดรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนทั้งหมด 4 คัน โดยเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเครื่องที่ 1 กำลังไฟความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 60 kW ส่วนเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเครื่องที่ 2 กำลังไฟสูงสุด 125 kW

          จะเป็นการชาร์จไฟฟ้าเพื่อต่อระยะทาง โดยใช้เวลาชาร์จประมาณ 30 – 40 นาที ซึ่งสถานีนี้ตังอยู่ระหว่างโรงแรมโนโวเทลและจะมีทางเชื่อมมาที่ฮอลล์ชาเลนเจอร์ ซึ่งเป็นสำหรับจัดงาน

          การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่นี้ จะเหมาะสำหรับการแวะจอดชาร์จ คุยงานที่ใช้เวลาไม่นานประมาณ 30 -40 นาที
ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อมาค้างคืนที่โรงแรม

สถานีชาร์จแบบ AC

          หรือเป็นการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบธรรมดา ซึ่งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC Fast Charge จะเหมาะสำหรับสถานที่มีการจราจรแออัด ที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยใช้เวลาที่ 30 -40 นาที เพื่อเดินทางต่อ

         ส่วนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC ที่ตั้งอยู่ที่ห้าง JJMall จะมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขนาด 22 kW และ 7 kW เพราะรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะสามารถรับ AC Charge อยู่ที่ประมาณ 7 kW ยกตัวอย่าง รถยนต์ไฟฟ้าของ TESLA สามารถรับได้ที่ 11 kW

          ค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC มี 2 แบบ คือ
               1. คิดค่าจอดรายชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ 1 ชั่วโมง จะคิดที่ราคา 50 บาท
               2. คิดตามจำนวนหน่วยไฟที่ชาร์จ ซึ่งจะคิดค่าชาร์จที่ประมาณ 7.5บาท/หน่วย ณ ช่วงเวลา On Peak
( 9.00 – 22.00 น.) และคิดค่าชาร์จที่ประมาณ 4.5 บาท/หน่วย ณ ช่วงเวลา Off Peak (เวลา 22.00-09.00 น.)

          สำหรับสถานีชาร์จแบบ AC จะเหมาะกับสถานที่ที่ใช้เวลาทำธุระระหว่างรอชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย
1  ชั่วโมงขึ้นไป
คือ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สวนสาธารณะ และสถานที่ราชการ

           จากที่ผ่านมาเป็นที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นแบบ DC Fast Charge ตั้งอยู่นอกปั๊ม รวมทั้งสถานีชาร์จแบบ AC ในที่สาธารณะที่ตั้งอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่ราชการ โรงพยาบาล

           ยังมีอีกสถานที่สำคัญที่ทำให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า คือ ที่ทำงาน อย่างที่รู้กันว่า สัดส่วนการชาร์จ
รถยนต์ไฟฟ้า แบ่งเป็น ส่วนแรก 80% ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ส่วนที่สอง 5% ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สาธารณะ และส่วน 15% คือ ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าบริเวณที่ทำงาน

          โดยปกติคนจะอยู่ที่ทำงานใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง และเราจะมาดูในเรื่องของ EV Charging Floor ในพื้นที่อาคารเก่า ที่ได้นำมาทำเป็นที่จอดรถรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งในส่วนเรื่องการลงทุน บริหารจัดการ และเรื่องสวัสดิการของพนักงาน

EV Charging Floor

          ทางคุณภัทรสุดา รัตนจัง (กิ๊ฟ) ซึ่งเป็นทีมงานของ EGAT EV Business Solutions จะมาเป็นผู้แนะนำ

แนวความคิดของ EV Charging Floor

           EV Charging Floor เป็นชั้นสำหรับลานจอดที่จะรวบรวมรถยนต์ไฟฟ้าของพนักงานหรือบุคลากรของ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของประเทศไทย (EGAT) ให้สามารถนำรถยนต์ไฟฟ้ามาชาร์จไฟฟ้าที่ชั้นดังกล่าว ในช่วงระหว่างกำลังทำงาน โดยจะมีทั้งหมด 66 หัวชาร์จ และช่องจอดรถจำนวน 110 ช่อง ซึ่งเพียงพอสำหรับช่วงเริ่มต้นยุคของ
รถยนต์ไฟฟ้า และจำนวน 110 ช่องจอดนั้น ได้เพื่อไว้สำหรับการสับเปลี่ยนหมุนเวียนนำรถยนต์ไฟฟ้ามาชาร์จไฟฟ้าในอนาคต

แท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าบน EV Charging Floor

          จะเห็นได้ว่ามีความที่แตกต่างจากเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบทั่วไป ที่ปกติเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ด้านหน้าช่องที่จอดรถ แต่สำหรับ EV Charging Floor จะเป็นแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ 1 แท่นชาร์จที่มี 4 หัวชาร์จ และรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 4 คัน

ลักษณะของแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

          แท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ตรงกลางระหว่างช่องจอดรถ 4 คัน ลักษณะสายชาร์จจะคล้ายกับใยแมงมุมมีความยาวสามารถยื่นหัวชาร์จไปชาร์จไฟฟ้าที่รถยนต์ไฟฟ้าได้

สเปคของแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

          แท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 1 เครื่อง สเปคของหัวชาร์จจะเป็นแบบ AC Type 2 โดย 1 หัว มีกำลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 7.4 kW

          เหตุผลที่หัวชาร์จมีกำลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 7.4 kW เป็นเพราะว่า EV Charging Floor ที่ตั้งอยู่ในอาคาร
สำนักงาน มีจุดประสงค์ให้พนักงานสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าระหว่างเวลาทำงาน เมื่อถึงเวลาเลิกงาน
พนักงานจะนำรถยนต์ไฟฟ้าไปชาร์จไฟฟ้าต่อที่บ้าน โดยมีการตีช่วงเวลาที่พนักงานทำงานไว้ที่ 6 – 8 ชั่วโมง
เมื่อลองคำนวณนำ จำนวนชั่วโมงทำงาน 6 ชั่วโมงคูณการชาร์จไฟที่ 7.4 kW สามารถทำการชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 42 kWh โดยแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน ส่วนใหญ่ จะมีความจุพลังงานไฟฟ้าประมาณ 50 kWh

ค่าชาร์จไฟฟ้าของแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

          เนื่องจากว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ต้องการสนับสนุนให้พนักงานเป็นกลุ่มแรก ๆ
ในการเปลี่ยนผ่านจากการใช้รถยนต์น้ำมันมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อช่วยขับเคลื่อนสังคมยานยนต์ไฟฟ้าใน
ประเทศไทย ดังนั้นในส่วนของค่าบริการการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเป็นราคาสวัสดิการ

การใช้งานแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

          พนักงานจะใช้ผ่านแอปพลิเคชัน EleXA โดยที่หัวชาร์จจะมี QR Code ในแต่ละหัว และเมื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อย จะมีการแจ้งเตือนที่แอปพลิเคชันที่มีการตั้งค่าว่าเมื่อชาร์จไฟฟ้าถึง 80% จะแจ้งเตือน เพื่อเป็น
การถนอมแบตเตอรี่ ซึ่งถ้าชาร์จพลังงานไฟฟ้าเกิน 80% จะทำให้ประสิทธิภาพของตัวแบตเตอรี่จะค่อย ๆ เสื่อมลง แต่ถ้าต้องการชาร์จไฟฟ้าเต็มที่ 100% สามารถปรับการแจ้งเตือนได้

          ในกรณีที่รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟฟ้าจนเต็ม แต่ไม่มีการเลื่อนรถออกจากช่อง ตัวแอปพลิเคชัน EleXA
ที่พ่วงกับ Customer service ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถ้าพนักงานต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่แท่นชาร์จ
และเห็นว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าจอดอยู่และชาร์จไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถแจ้งได้ที่ Customer service
เพื่อช่วยประสานงานต่อ

           ส่วนไฟบนแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะมีการพัฒนาเวลาที่รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะมีการแสดงสถานะการชาร์จผ่านสีไฟ

การลงทุนและสร้าง EV Charging Floor

           เริ่มแรกเนื่องจากว่า EV Charging Floor ตั้งอยู่ที่อาคารเก่า ในขั้นตอนเบื้องต้นจะต้องมีการเตรียมพื้นที่
ทั้งหมด การวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ การออกแบบบริเวณการวางของหัวชาร์จและแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
การคำนวณจำนวนช่องจอดรถ จำนวนของหัวชาร์จที่ต้องใช้ จำนวนการลงของแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 

และกำลังไฟที่จะต้องใช้เพื่อให้เพียงพอ

           ต่อมาจะเริ่มในหลายเรื่อง คือ เรื่องของการเดินไฟ การออกแบบแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การออกแบบ
ตัวเครื่อง การจัดวางระเบียบภายในรูปแบบการสัญจรรถ

ความยากของการทำ EV Charging Floor

          เนื่องจากว่าการทำ EV Charging Floor ที่ชั้นจอดรถของอาคารเก่า แต่ด้วยเรื่องของระบบไฟฟ้าจะรับรองไฟให้แสงสว่าง เมื่อจะนำแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 66 หัวชาร์จมาลง ตัวระบบไฟฟ้าเดิมจะมีกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอ เมื่อลองคำนวณค่ากำลังไฟฟ้าของหัวชาร์จ 7.4 kW คูณด้วยจำนวน 66 หัว ได้ค่ากำลังไฟฟ้าเท่ากับ 488 kW
ซึ่งจะต้องเดินระบบไฟฟ้าใหม่เพื่อขอกำลังไฟฟ้าเพิ่ม

ห้องตู้ควบคุมไฟสำหรับ Support EV Charging Floor

          ตู้ควบคุมไฟจะควบคุมหัวชาร์จทั้งหมด 66 หัวชาร์จ โดยมี Cut – Out แยกในแต่ละหัว โดยมาตรฐานทั่วไป
การติดตั้ง Home Charger จะต้องมีตัว Main Cut – Out และตัว RCD TYPE B เพื่อกันไฟดูด ไฟรั่ว

           การตั้งตู้ควบคุมไฟจะตั้งลงมาอยู่อีกชั้น เพื่อให้พื้นที่ EV Charging Floor มีที่จอดรถมากที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของพื้นที่ของคนที่จะทำ EV Charging Floor ด้วย โดยอาจจะสามารถวางตู้ควบคุมไฟที่ด้านบนหรือ
พื้นที่ใกล้เคียง
          ดังนั้นการทำ EV Charging Floor เรื่องของระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่ากำลังไฟฟ้าปกติที่จ่ายให้กับอาคารจอดรถส่วนใหญ่จะเป็นไฟเพื่อให้แสงสว่างเท่านั้น เมื่อต้องการทำเป็นที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องลงทุน
ระบบไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด โดยไล่เรียงลงมาคือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มาที่ตู้ควบคุมไฟ และการลงหม้อแปลงไฟ
เพื่อเพิ่มกำลังไฟฟ้า

จำนวนเงินลงทุนสร้างของจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าบนอาคารสำนักงาน

          ถ้าติดต่อมาที่ทีมงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(EGAT) สามารถเริ่มต้นติดตั้งหัวชาร์จ หรือ เครื่องชาร์จแบบ AC 22 kW พร้อมกับการวางระบบไฟฟ้าและเรื่องของลานจอดต่าง ๆ โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นที่ประมาณ 80,000 บาท รวมทั้งเมื่อมีการติดต่อมาทางทีมงานจะไปสำรวจพื้นที่ก่อนพร้อมทั้งประเมินราคาหน้างาน

กรณีที่มีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้วแต่ไม่มีระบบจัดการจะทำอย่างไร

         ทาง EGAT EV Business Solutions มี Total Solution สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นของตัวเองหรืออยากให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สามารถติดต่อใช้บริการแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า BackEN EV

           ดังนั้น คนที่ต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีทางออกเพิ่มขึ้นสำหรับจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า คือ ที่ทำงาน ที่จะต้อง
ปรับตัวทำที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนพนักงานที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพราะเป็นสถานที่คนใช้เวลานานเป็น
อันดับที่ 2 รองจากบ้านที่อยู่ไม่ต่ำกว่า 6 – 8 ชั่วโมง และจะได้ผลพลอยได้จากค่าบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

โดยอาจจะเก็บค่าชาร์จในราคาสวัสดิการหรือเรทพิเศษ จะช่วยให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

         คุณสามารถดูเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กดLIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE และกดกระดิ่งที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.