ปัญหารถEVอะไหล่รอนาน ทำความเชื่อมั่นหาย!! หลังการขายค่ายรถไม่พร้อม ชนทีรอหลายเดือน เมื่อไหร่จะจบ!?

         ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเกิดการสะดุดจากปัญหาความเชื่อมั่นของแบรนด์ โดยเฉพาะเรื่องการบริการหลังการขาย ซึ่งแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในท้องตลาดของประเทศไทยจะเป็นแบรนด์น้องใหม่ อาทิ MG NETA BYD หรือ ORA ยังสร้างฐานความเชื่อมั่นไม่เพียงพอ เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ของญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยมาถึงอย่างยาวนาน 60 ปี

         หากย้อนกลับไปช่วงเดือน เม.ย. 2565 ทางประเทศไทยได้มีการประกาศเรื่องของนโยบายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือมาตรการ EV ส่งผลให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าถูกลง 200,000 กว่าบาทต่อคัน ซึ่งปกติราคาของรถยนต์ไฟฟ้าจะสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันประมาณ 25% แต่จากมาตรการส่งเสริมด้าน EV ส่งผลให้ราคาของ

รถยนต์ไฟฟ้าใกล้เคียงกับราคาของรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เป็นการดึงดูดจูงใจให้หลายคนเริ่มหันมาสนใจใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ประกอบกับมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดค่าเชื้อเพลิง ซึ่งค่าใช้จ่ายของการชาร์จไฟฟ้าถูกกว่า
ราคาการเติมน้ำมัน ทำให้ยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2565 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2566 ที่ผ่านมา

ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่คนนิยมใช้มากที่สุดมี ดังนี้

         รถ BYD ATTO 3 มียอดจองหรือยอดขายทั้งหมด 15,251 คัน

         ค่าย MG มียอดจองทั้งหมด 9,421 คัน

         ค่าย GWM รถ ORA Good Cat มียอดจองทั้งหมด 12,606 คัน

         จากยอดตัวเลขของการจองรถยนต์ไฟฟ้าแสดงให้เห็นถึงการเติบโต แต่ปัญหาที่เกิดจากการเติบโตที่มาก
จนเกินไป จึงส่งผลกระทบต่อการบริการหลังการขายที่เติบโตไม่ทันกัน อย่างเช่น เรื่องของอะไหล่ 

เรื่องของบุคลากรที่ต้องฝึกอบรมเรื่องของการดูแลระบบไฟฟ้า

          ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าที่มาทำตลาดที่ประเทศไทยจะเป็นการนำเข้าแบบทั้งคัน ( CBU : Completely Built Up ) ดังนั้นความพร้อมในเรื่องของอะไหล่จะยังไม่เพียงพอ ส่วนบุคลากรที่ไม่สามารถได้รับการฝึกอบรมให้ทันต่อ
การซ่อมแซมหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงสร้างความสั่นคลอนด้านความเชื่อมั่นต่อแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าน้องใหม่ที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย

ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

1.คุณภาพของรถยนต์ไฟฟ้า อาทิ

         รถ BYD ATTO 3 ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่คนนิยมใช้มากที่สุด พบปัญหาเรื่องจานเบรคร้าวที่ทางค่ายรถจะต้องทำการไล่เปลี่ยน หรือบางคันเจอแปรงทาสีกันสนิมคาที่ใต้ท้องรถ จากการเร่งผลิตให้ทันต่อคำสั่งซื้อที่มีจำนวนมาก

         ค่าย MG ประสบปัญหาคอมเพรสเซอร์แอร์เกิดการดับและระบบสั่งชัตดาวน์ให้รถดับ

         รถ ORA Good Cat ประสบปัญหาเวลาขับรถไปสักช่วงระยะหนึ่งเกิดการดับ

         รถ NETA V ประสบปัญหาไม่สามารถทำการชาร์จไฟฟ้าได้

        จากปัญหาเหล่านี้ สร้างความกังวลต่อความเชื่อมั่นสำหรับคนที่เริ่มหันเหจะมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งควรต้องมีการตรวจเช็คคุณภาพให้ดีมากขึ้นมากกว่าเดิม

2. ปัญหาอะไหล่ใช้เวลารอนาน

           จากปริมาณจำนวนคนที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้น จะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวหรือชนบนท้องถนน ซึ่งในบางครั้งความเสียหายจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย แต่การต้องรออะไหล่นานถึง 3 -6 เดือน ทำให้หลายคนเกิดความไม่พอใจที่รถไม่สามารถนำมาใช้งานได้เป็นเวลานาน

          การนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าแบบทั้งคัน( CBU : Completely Built Up) ทำให้มีการสั่งอะไหล่และรอการนำเข้ามา จากประเทศจีน ซึ่งประเทศไทยยังไม่เป็นผู้ผลิตอะไหล่รถยนต์ไฟฟ้า ไม่เหมือนกับค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นที่ส่วนใหญ่ผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ดังนั้นเรื่องของการจัดหาอะไหล่จึงมีความพร้อมมากกว่า เพราะ Supply Chain ของ

ผู้ผลิตชิ้นส่วนอยู่ภายในประเทศอยู่แล้ว

          ทางคุณเวล ได้มีการพูดคุยกับตัวแทนจำหน่ายของค่ายรถยนต์ไฟฟ้า ได้ข้อมูลมาว่าทางค่ายรถเริ่มมีการสต็อกอะไหล่โดยมีการแบ่งออกเป็นส่วน ๆ คือ

          ส่วนแรก ส่วนที่มีความเสี่ยงจะเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวหรือชน คือ กันชนหน้า กันชนหลัง กระจกข้าง กระจกหน้า ไฟหน้า และไฟท้าย

          ทางโครงสร้างของแต่ละค่ายรถจะมอบหมายให้ตัวแทนจำหน่ายทำการสต็อกอะไหล่ ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถ
จัดหาได้ง่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

          ส่วนที่สอง จะขึ้นอยู่กับแต่ละค่ายในส่วนที่มีฟังก์ชั่นต่าง ๆ จำพวกชิ้นส่วนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์
ตัวกล้อง ซึ่งในบางครั้งแม้ว่าเวลาเฉี่ยวชนจะเกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นจุดที่มีเซ็นเซอร์เรดาร์อยู่

ชิ้นส่วนในส่วนนี้ไม่ได้ผลิตภายในประเทศจะต้องมีการนำเข้าเข้ามาแบบทั้งชุด โดยไม่สามารถระบุสั่งชิ้นส่วนที่

ต้องการได้ ส่งผลให้ใช้เวลารอนาน

         ดังนั้นทางค่ายรถจึงพยายามตัดสต็อกออกมาในปริมาณจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ

3. ปัญหาบุคลากรที่ไม่เพียงพอ

          จะเป็นบุคลากรที่มีความสามารถในการซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่เป็นพลังงานใหม่ ตัวรถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้

มีเพียงแค่เรื่องของการใช้ไฟฟ้า แต่ยังมีในเรื่องระบบเซ็นเซอร์ เรื่องซอฟต์แวร์ ที่จะต้องมีการฝึกอบรมสอนให้กับบุคลากรขึ้นมา

          มีหลายค่ายที่เริ่มทำเทคนิคอลเซ็นเตอร์ อย่างค่าย MG Volvo BYD NETA และ GWM ซึ่งล่าสุดทาง GWM มีการทาบทามกับผู้บริหารระดับสูงของ Toyota เพื่อเข้าร่วมในทีมในการสร้างความเชื่อมั่นรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดของประเทศไทยจะต้องใช้คนที่มีความสามารถ ซึ่งจะเป็นคนที่เคยทำในค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นมาก่อน เพราะค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จอย่างมาก และปัญหาเหล่านี้ในระยะยาวจะสามารถแก้ไขก็ต่อเมื่อจะต้องมีการผลิตภายในประเทศไทย

          หลายค่ายรถที่เข้าร่วมมาตรการส่งเสริมด้าน EV ที่จะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ภายในปี 2567
โดยเฉพาะ 4 ค่ายใหญ่หลัก คือ

         1. BYD มีแผนที่ตั้งโรงงานเนื้อที่ 600 ไร่ ที่นิคมอุตสาหกรรม WHA ลงทุนเป็นเม็ดเงินเท่ากับ 17,891 ล้านบาท

         2. GWM มีการลงทุนเป็นเม็ดเงินเท่ากับ 22,600 ล้านบาท ในการขยายไลน์การผลิตและส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าในโรงงานที่ซื้อต่อจาก GM

         3. MG มีการลงทุนเป็นเม็ดเงินเท่ากับ 10,000 ล้านบาท สำหรับการสร้างไลน์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และ รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Plug-in Hybrid (PHEV) รวมทั้งมีการลงทุนเพิ่มอีก 500 ล้านบาท เพื่อการตั้งโรงงานทำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ

         4. NETA มีการลงทุนเป็นเม็ดเงินเท่ากับ 3,000 ล้านบาท โดยร่วมมือกับทางบางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี 

ในการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า NETA V ในประเทศไทย

         ดังนั้นปัญหาเรื่องอะไหล่ที่ใช้เวลารอนานหรือบริการหลังการขายจะค่อย ๆ คลี่คลายลงแต่จะต้องใช้เวลาสักพัก

 

         นี้คือเรื่องราวปัญหารถEV ที่ต้องรออะไหล่นาน ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งคุณสามารถดูข่าวได้จากคลิปด้านล่างนี้ และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กดLIKE กด SHARE กด SUBSCRIBE และกดกระดิ่งเป็นกำลังใจให้กับพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.