วันนี้เรามาที่โชว์รูม Neta พระราม 2 – แสมดำ โดยมาดูว่า Neta V ที่เป็นรถไฟฟ้า City Car มีการเปลี่ยนสเปคของแบตเตอรี่จากของเดิม Lithium NMC มาเป็น LFP เพื่อให้สามารถขายได้ในราคาเท่าเดิมที่ 549,000 บาท
หลังจากที่มีการยื่นขอปรับราคาขึ้น แต่ทางสรรพสามิตไม่ให้มีการปรับ ดังนั้นวันนี้เราจะมาเจาะลึกในเรื่องนี้กัน
ผู้ที่มาให้ข้อมูลกับทางเรา คือ คุณเซลล์ต้น “Neta V”
จากที่รถ Neta V มีการเปลี่ยนสเปคแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งในช่วงของงาน Motor Expo จะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 50,000 บาท แต่ทางสรรพสามิตไม่ให้มีการปรับราคาขึ้น ซึ่งถ้าทาง Neta ต้องการขายรถ Neta V ในราคาคงเดิม จึงจำเป็นต้องปรับสเปคของรถลง
การที่เปลี่ยนแบตเตอรี่จาก Lithium NMC มาเป็น LFP สเปคโดยรวมจะมีความแตกต่างกัน คือ Lithium NMC (ตัวเก่า) ขนาดความจุของแบตเตอรี่อยู่ที่ 38.54 kW ซึ่งจะเป็นรถ Neta V ตั้งแต่ล็อตแรกจนถึงล็อตก่อน
เดือน พฤษภาคม 2566 ที่จำนวนประมาณ 1,000 คัน
ส่วนของ LFP(ตัวใหม่) ขนาดความจุของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 40.7 kW จะเพิ่มขึ้น 2.1 kW ซึ่งจะเป็นล็อตตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 โดยมีจำนวน 3,600 คัน ซึ่งทางเซลล์ต้นได้เตรียมรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่น
เพื่อดูความแตกต่างระหว่างกัน
ความแตกต่างของของรถ Neta V ที่ใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium NMC และ LFP
1. รถ Neta V ที่ใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium NMC
น้ำหนักของตัวรถ : 1,151 kg.
สเปคของแบตเตอรี่ Lithium NMC
ขนาดของแบตเตอรี่ : ความยาว 1,720 mm. และความกว้าง 1,107 mm. และความสูง 168 mm.
ความสามารถการผลิตไฟ : 350.4 V
แบตเตอรี่เป็นแบบ Cell to Module : 16 โมดูล มีข้อดีที่สามาถเปลี่ยนทีละโมดูลได้ในอนาคต
ส่วนจุดยึดของแบตเตอรี่จะเหมือนเดิม โดยมีการ์ดเหล็กป้องกันตัวแบตเตอรี่
ห้องเครื่อง : มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับหน้า ลงเพลา และชุดเกียร์
ซึ่งในส่วนของห้องเครื่องของรถยนต์ Neta V ทั้ง 2 รุ่นจะเหมือนกัน
2. รถ Neta V ที่ใช้แบตเตอรี่แบบ LFP
น้ำหนักของตัวรถ : 1,269 kg. น้ำหนักเพิ่มขึ้น 118 kg.
สเปคของแบตเตอรี่ LFP
ขนาดของแบตเตอรี่ : ความสูง 157 mm. ความกว้างและความยาวจะเพิ่มขึ้นกว่า Lithium NMC เล็กน้อย
แบตเตอรี่เป็นแบบ Cell to Module
ข้อดีของแบตเตอรี่แบบ LFP การใช้งานรอบไซเคิลอยู่ที่ 3,000 – 4,000 รอบ ส่วนแบตเตอรี่แบบ Lithium NMC รอบไซเคิลจะอยู่ที่ 2,500 – 3,000 รอบ ดังนั้นแบตเตอรี่แบบ LFP จะมีความทนทานมากกว่า
การ์ดเหล็กป้องกันตัวแบตเตอรี่รูปร่างจะเปลี่ยนไปแต่มีความหนาเท่าเดิม และมีฝาพลาสติกปิดห้องเครื่อง
ซึ่งการใช้แบตเตอรี่แบบ LFP ควรที่จะเป็นรถ City Car เหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าในท้องตลาด อาทิ
รถ ORA GOODCAT 400 ซึ่งมีราคาไม่สูงมาก
มีแต่รถของ Neta ที่ใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium NMC ตั้งแต่แรก ซึ่งปัจจุบันราคาต้นทุนของลิเธียมเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้แบตเตอรี่แบบ LFP จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า มีความทนทานที่มากกว่า และเหมาะสมกับ
สภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าว
เมื่อนำรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่น ลงมาเพื่อเปรียบเทียบความสูงของรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่น จากการที่เปลี่ยนเป็นแบตเตอรี่แบบ LFP ส่งผลให้น้ำหนักของตัวรถเพิ่มขึ้น 118 kg. ดังนั้นความสูงของช่วงล่างจะต้องเตี้ยลง
การวัดสูงของรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่น
1. รถ Neta V แบบ Lithium NMC ความสูงจากพื้นถึงซุ้มล้อเท่ากับ 68 cm. ถ้าจากขอบล้อแม็กมาที่ซุ้มล้อ
เท่ากับ 60.5 cm. ส่วนใต้ท้องรถสูงที่ 23.5 cm.
2. รถ Neta V แบบ LFP ความสูงจากพื้นถึงซุ้มล้อเท่ากับ 68 cm. ถ้าจากขอบล้อแม็กมาที่ซุ้มล้อเท่ากับ
61 cm. จะเตี้ยลงมา 0.5 cm. ส่วนใต้ท้องสูงที่ 20 cm.
ดังนั้นถ้าคนที่ซื้อรถ Neta V แบบ LFP อาจจะต้องปรับเพิ่ม โดยที่ค่า K ของ สปริง อาจจะใช้แบบเดิม
จากเรื่องของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา
ภายในรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่น
1. รถ Neta V แบบ Lithium NMC จะกดที่การตั้งค่ารถ เลือกข้อมูลสลับการขับขี่ที่ลูกค้าสามารถเลือก
การแสดงค่าได้ ซึ่งจะแสดงค่าการใช้พลังงานเป็น kWh/100 km รอบมอเตอร์ ตอนนี้เปิดแอร์ที่ใช้ไฟฟ้า 2.7 แอมป์ ต่อมาจะเป็นค่าแบตเตอรี่จ่ายไฟที่แรงดัน 389 V
2. รถ Neta V แบบ LFP ค่าแบตเตอรี่จ่ายไฟที่แรงดัน 372 V
ซึ่งคุณสมบัติของเซลล์แบตเตอรี่ที่เป็นลิเธียมถ้าเป็นแบบ NMC แรงดันชาร์จเริ่มที่ประมาณ 3.7 V
เวลาชาร์จเต็มจะอยู่ที่ 4.2 V แต่ถ้าเป็นลิเธียมแบบ LFP แรงดันชาร์จจะอยู่ที่ 3.2 V ชาร์จเต็มไม่เกิน 3.6 V
แต่แบตเตอรี่แบบ LFP มีความทนทาน เหมาะสำหรับอากาศร้อน การเป็น Liquid Cooling (การระบาย
ความร้อนด้วยของเหลว) สามารถช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างมาก
การทดสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าและการชาร์จไฟฟ้าของ Neta V ทั้ง 2 รุ่น
เป็นการทดสอบโดยขับรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่นเพื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงาน จะขับโดยใช้ความเร็วเฉลี่ย
90 km/1 ชม. และแวะปั้มชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่ปั๊มบางจากนาโคก
ซึ่งมีระยะทางอยู่ที่ 37.2 กิโลเมตร รถ Neta V แบบ Lithium NMC พลังงานของแบตเตอรี่อยู่ที่ 85%
มีการตั้งการโหมดให้เหมือนกันทั้ง 2 คัน คือ e – Pedal (โหมดการขับขี่ที่ใช้การเหยียบแป็นเพื่อเร่งความเร็วและเบรกในคันเร่งเดียวกัน) และตั้งค่าแอร์อุณหภูมิอยู่ที่ 22 องศาเซลเซียสและพัดลมเบอร์ 5 ซึ่งทางคุณเวลจะขับรถ Neta V แบบ Lithium NMC ส่วนเซลล์ต้นขับรถ Neta V แบบ LFP
จากนั้นเริ่มออกเดินทาง
เมื่อมาถึงจุดหมายที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ระยะทางในการวิ่งทั้งหมดเท่ากับ 81.5 km
รถ Neta V แบบ Lithium NMC จากค่าแบตเตอรี่ที่ 85% เหลืออยู่ที่ 63%
รถ Neta V แบบ LFP จากค่าแบตเตอรี่ที่ 95% เหลืออยู่ที่ 73%
ระยะการชาร์จไฟฟ้าของรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่นจะเท่ากันอยู่ที่ 384 km/1 การชาร์จ
การคำนวนค่า Consumption
รถ Neta V แบบ Lithium NMC จากแบตเตอรี่ 85% เหลือลงมาที่ 63% และรถ Neta V แบบ LFP จากแบตเตอรี่ 95% เหลือลงมาที่ 73% จะมีส่วนต่างที่ใช้ไปเท่ากันที่ 22%
เริ่มคำนวณจาก รถ Neta V แบบ Lithium NMC จากขนาดความจุของแบตเตอรี่อยู่ที่ 38.54 kW
คูณกับค่าพลังงานที่ใช้ไป 0.22 แล้วหารด้วยค่าจำนวนระยะทาง 81.5 km จะได้ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 0.104 kwh/กิโลเมตร
ส่วนรถ Neta V แบบ LFP จากขนาดความจุของแบตเตอรี่อยู่ที่ 40.7 kW คูณกับค่าพลังงานที่ใช้ไป 0.22
แล้วหารด้วยค่าจำนวนระยะทาง 81.5 km จะได้ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 0.109 kwh/กิโลเมตร
จะมีค่าที่ต่างกันเพียง 0.005 kwh/กิโลเมตร เมื่อคิดเป็นค่าไฟจะต่างกันที่ใช้ไฟฟ้ามากกว่ากิโลเมตรละ
2 สตางค์ ถ้าเป็นค่าไฟจากตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ 7.50 บาท ค่าไฟจะอยู่ที่ 3 -4 สตางค์/กิโลเมตร
จะเห็นได้ว่ารถ Neta V แบบ LFP จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าเล็กน้อย
การชาร์จไฟฟ้าของรถ Neta V ทั้ง 2 รุ่น
1. รถ Neta V แบบ Lithium NMC
เนื่องจากว่าเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Low Priority ซึ่งถ้าบริเวณรอบ ๆ มีความต้องการใช้ไฟฟ้า
สูงขึ้น พลังงานไฟฟ้าของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกหรี่ลง ในตอนนี้แบตเตอรี่ชาร์จด้วยกำลัง 37.151 kW
และรถ Neta V รับ DC ได้สูงสุด 50 kW เมื่อชาร์จไฟฟ้าเต็มที่ 80% ใช้เวลา 10 นาที 48 วินาที
2. รถ Neta V แบบ LFP
เมื่อเริ่มทำการชาร์จพลังงานไฟฟ้า เกิดปัญหาไม่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ เนื่องจากว่ารถ Neta V แบบ LFP ล็อตใหม่ จะต้องรอผู้ให้บริการอัปเดตซอฟต์แวร์สำหรับผู้ให้บริการบางค่าย
ทั้งนี้ รถ Neta V ทั้ง 2 รุ่น ต่างรับกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดเท่ากันที่ DC 50 kW
สรุป หลังจากที่ทำการทดสอบและเปรียบเทียบการที่รถ Neta V มีการเปลี่ยนสเปคแบตเตอรี่เพื่อลดต้นทุน
เพื่อให้สามารถขายในราคาเดิมที่ 549,000 บาท โดยเปลี่ยนแบตเตอรี่จาก Lithium NMC มาเป็น LFP
จะมีความแตกต่าง ดังนี้
1. ความจุของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้น 2 kWh
2. น้ำหนักเพิ่มขึ้น 118 KG
3. ขนาดของแบตเตอรี่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
4. การชาร์จไฟฟ้าได้เท่าเดิม
5. การใช้พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่แบบ LFP จะมากกว่าเพียงแค่ 2 สตางค์/กิโลเมตร
6. จากน้ำหนักของตัวรถ Neta V แบบ LFP ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสูงของรถเตี้ยลง
ส่วนปัญหาของรถ Neta V แบบ LFP ที่ไม่สามารถทำการชาร์จไฟฟ้าได้ เป็นปัญหาที่อยู่ในระยะสั้น เพียงแค่รอ
ผู้ให้บริการอัปเดตซอฟต์แวร์โดยใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถนำมาใช้งานได้ตามปกติ
การรับประกันในส่วนของแบตเตอรี่และมอเตอร์ขับเคลื่อน
มีการรับประกันนานถึง 8 ปี หรือ 180,000 กิโลเมตร (แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน)
ส่วนบริการหลังการขาย
มีการเช็คระยะทุก 10,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี (แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน)
ส่วนคนที่สนใจต้องการที่จะมาทดสอบและดูรถ Neta V ของจริง หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมมาได้ที่โชวร์รูม Netaพระราม 2 แสมดำ
คุณสามารถดูเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กดLIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE และกดกระดิ่งที่ช่อง YOUTUBE ของพวกเราด้วยนะครับ