จากที่ผ่านมาร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) เป็นที่ยอดนิยมที่คนมาใช้บริการจำนวนมาก
ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการของร้านสะดวกซื้อ จากแบบเดิมที่เป็นการเช่าอาคารพาณิชย์
หรืออาคารที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
มาเป็นการเช่าในพื้นที่เปล่าเพื่อสร้างเป็น Stand alone ขึ้นมา พร้อมกับให้บริการที่จอดรถ
มีการร่วมมือกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อาจจะเป็นแผนรุกขยายตลาดเพื่ออาณาจักร CP เนื่องจากทาง CP
มีการทำรถยนต์ไฟฟ้าค่าย MG ซึ่งการให้บริการที่จอดรถที่มาพร้อมทั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการให้บริการที่สามารถตอบโจทย์กระแสรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังมา
เซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย โดยในปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั่วประเทศอยู่ที่ 13,800 สาขา และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทาง เซเว่น-อีเลฟเว่น หรือ CP ALL มีการบอกข้อมูลว่า วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง
และทางเซเว่น-อีเลฟเว่น เล็งเห็นว่าทำเลที่ดีสำหรับการตั้งร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น จะต้องติดถนนและจอดรถได้
เพราะจำนวนการใช้รถยนต์เพิ่มมากขึ้นและกระแสรถยนต์ไฟฟ้าที่มาแรง จึงควรมีการบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
เพื่อมารองรับ
โมเดลนี้มีการเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2564 โดยทาง เซเว่น-อีเลฟเว่น ได้ร่วมมือกับบริษัทพลังงานมหานคร หรือ
EA ANYWHERE ในการติดตั้งสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าบริเวณหน้าร้านเพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นและสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ช่วงล่าสุด โมเดลนี้มีการขยายผลที่ทาง CP ALL ร่วมมือกับเมืองพัทยาและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการเปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่แรงที่สุดในประเทศไทย คือ EV Super Charge ขนาด 360 kW ณ สถานี PEA VOLTA บริเวณร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น สาขาท่าเรือแหลมบาลีฮาย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และมีการตั้งเป้าหมายให้มีโมเดลนี้คลอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรองรับการมาของรถยนต์ไฟฟ้า
โมเดลร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีการใช้แล้วในต่างประเทศโดยเฉพาะทางฝั่งอเมริกาและแคนาดา โดยมีการลงทุนตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็น DC Fast charge ตั้งอยู่บริเวณหน้าร้าน
ในปัจจุบันทางฝั่งแคนาดาและอเมริกามีร้านค้าเซเว่น-อีเลฟเว่น จำนวนทั้งหมด 13,000 สาขา
พร้อมทั้งมีการเตรียมตั้งตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 500 ตู้ สำหรับผู้มาใช้บริการซื้อของภายใน
ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น และต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสามารถชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน 7CHARGE
และสะสมแต้มได้
ส่วนทางเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่ประเทศไทย จะเน้นขยายร้านขนาดใหญ่มีที่จอดรถและสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ทาง CPALL ตั้งใจที่จะขยายสาขาเพิ่มปีละ 700 สาขา และทาง CP ALL จะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 12,000 ล้านบาท
ปัจจุบันธุรกิจของเซเว่น-อีเลฟเว่น สำหรับร้านสะดวกซื้อมี 2 โมเดล ดังนี้
1. เป็นร้านสาขาที่ CP ALL เป็นผู้ลงทุนเอง มีจำนวนทั้งหมด 6,530 สาขา คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 49%
ของทั้งหมด
2. Store Business Partner มีจำนวนทั้งหมด 6,903 สาขา คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 51% ของทั้งหมด
ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าที่อยู่มานาน
เซเว่น-อีเลฟเว่น จะมุ่งเน้นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น โดยถ้าเทียบกับร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นที่ที่ต้องเช่าพื้นที่อาคารพาณิชย์ จะมีข้อเสียเรื่องของพื้นที่จำกัดตามโครงสร้างของอาคาร ประกอบกับไม่สามารถวางสินค้าที่
ต้องการได้ทั้งหมด
การที่ทาง เซเว่น-อีเลฟเว่น มาทำแบบ Stand alone จะสามารถวางสินค้าได้ตามที่ต้องการโดยเรียงจากลำดับของยอดขายที่สูงก่อน และค่าใช้จ่ายในการเช่า ส่วนเรื่องค่าเช่าในลักษณะของอาคารจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
การเช่าที่เปล่า ที่จะมีเรื่องของภาษีที่ดินที่ต้องจ่ายจากที่ดินเปล่าที่ไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้นการมาปล่อยเช่าให้กับ
ร้านสะดวกซื้อจะคุ้มค่ามากกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ปริมณฑลและต่างจังหวัด
ซึ่งโมเดลนี้มีการทำแบบจริงจังเริ่มตั้งแต่ปี 2556 ที่มองว่าในอนาคตจะมีจำนวนปริมาณรถยนต์มากขึ้น
ดังนั้นร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ควรที่จะมีขนาดใหญ่และที่จอดรถเพื่อความสะดวก
มีการเริ่มต้นแบบที่สถาบันปัญญาภิวัฒน์ที่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ลงทุนเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท
ซึ่งเมื่อได้ลองทำออกมาแล้วและสามารถตอบโจทย์ได้จริง จึงมีการขยายสาขาอีก 700 สาขาที่ได้กล่าวไว้
ส่วนคำถามที่ว่าการที่ทางเซเว่น-อีเลฟเว่น ได้ทำเรื่องของที่จอดรถและสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นการเอื้อให้กับบริษัทในเครือหรือไม่
ทาง CP ALL ได้ถือรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 2 แบรนด์ คือ
ค่าย MG ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลที่ใช้ตามบ้านเรือน ซึ่งมีการจดทะเบียนขึ้นมาในปี 2556
ที่ทาง CP ได้จับมือร่วมกับ SAIC Motor Corporation โดยทาง CP ได้ถือหุ้นของ MG อยู่ที่ 49% และ
SAIC อยู่ที่ 51%
มีการจดบริษัทขึ้นมา 2 บริษัท คือ
1. SAIC MOTOR – CP ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
2. บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดูแลการขาย การตลาด และการบริการหลังการขายภายใต้ของแบรนด์ MG
จะเห็นได้ว่าทางค่ายของ MG เป็นค่ายแรก ๆ ที่มีการผลักดันในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้าจากรถ MG ZS EV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สร้างกระแสทำให้รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นที่นิยม ตามมาด้วยรถ MG EP ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มี
ราคาไม่สูงมาก ต่อมาจะเป็นรถ MG ES และรถ MG MAXUS 9 เป็นรถตู้ไฟฟ้า 7 ที่นั่ง ที่ได้รับกระแสตอบรับอย่างดี
ในปี 2562 ทาง CP Group มีการเซ็นสัญญาร่วมทุนกับโฟตอน มอเตอร์ กรุ๊ป (Foton Motor Group)
จดจัดตั้งบริษัทด้านการผลิตและจำหน่ายเทคโนโลยียานยนต์ ซึ่ง Foton เป็นรถยนต์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์มีรถบรรทุกเริ่มที่ขนาดเล็ก 4 ล้อ ตามมาด้วยขนาด 6 ล้อ และ 10 ล้อ
ในช่วงหลังมีการผลักดันใช้รถยนต์บรรทุกไฟฟ้าขนาด 4 ล้อของ Foton ในเครือโลจิสติกส์ของทาง CP คือ
แม็คโครและขนส่งอาหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งมีการจำหน่ายให้กับบริษัทอื่น ๆ
การที่เซเว่น-อีเลฟเว่น รุกโมเดลของที่จอดรถและสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการวางหมากให้แต่ละธุรกิจ
เอื้อเป็น Ecosystem ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อที่มีที่จอดรถและที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และที่ CP มีรถอยู่ในมือไม่ว่าจะเป็น MG หรือ Foton ที่มีการผลักดันเรื่องของพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
และในธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้ผลักดันเรื่องของ Delivery ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าและมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ซึ่งจะสามารถชาร์จที่ร้านสะดวกซื้อสาขาของตัวเองได้ จะเห็นได้ว่ามีการเกื้อหนุนกัน
การที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น มีจำนวน 13,800 สาขา ที่จะผลักดันโมเดลที่จอดรถมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและจะเพิ่มอีก 700 สาขารวมทั้งเป็นการทำแบบ Ecosystem จึงมีผลกระทบให้กับประเทศได้
ส่วนที่จะเป็นการกินรวบหรือไม่ ต้องดูว่ามีการแข่งขันรายใหญ่หรือรายย่อยอื่น ๆ ที่สามารถแข่งขันได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งต้องรอติดตามกันต่อไป
คุณสามารถดูข่าวเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กดLIKE กด SHARE
กด SUBSCRIBE และกดกระดิ่งที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ