เปิดตัวแพลตฟอร์มกลางสลับแบตครั้งแรกของคนไทย!! ซื้อรถถูกลง+เช่าแบต ใช้ได้ด้วยกันทุกค่าย

         สาเหตุที่สถานีสลับแบตเตอรี่ไม่เป็นที่แพร่หลาย ทั้ง ๆ ที่มีคนใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในท้องตลาดปัจจุบัน แต่ละแบรนตัวแบตเตอรี่มีความแตกต่างทั้งในเรื่องของรูปแบบและมาตรฐาน

         ส่งผลให้หลายคนมีความต้องการให้มีการทำแบตเตอรี่ที่สามารถสลับแบตเตอรี่และใช้ร่วมกันได้ทุกยี่ห้อ
เมื่อดูจากตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในปี 2565 มียอดจดทะเบียนร่วมประมาณ 9,700 คัน ซึ่งถ้าสามารถผลักดัน
ให้เกิดความร่วมมือขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ราคาของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าถูกลง เพราะเปลี่ยนจากการค่าซื้อแบตเตอรี่ มาเป็นการใช้บริการเช่าแบตเตอรี่แทน ซึ่งต้นทุนค่าใช้จ่ายจะถูกลงครึ่งหนึ่ง

         ดังนั้นทาง สวทช.(สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) จับมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชน 

9 องค์กร และมีการจัดงานพิธีเปิดโครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มแพคแบตเตอรี่และสถานีสลับแบตเตอรี่

          โครงการนี้เป็นการร่วมมือของหลายภาคส่วน คือ ด้านพลังงาน จะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ส่วนผู้ผลิตแบตเตอรี่และแพ็คแบตเตอรี่จะเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนบริษัท เบต้า เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น
เป็นผู้ทำตัวแบตเตอรี่สำหรับการสลับแบตเตอรี่ รวมทั้งยังมี บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  

และบริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด 

          ส่วนในภาคของผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คือ GPX และ I-Motor

         จากการร่วมมือดังกล่าว ส่งผลให้เกิดโครงการต้นแบบ ประกอบกับทางแพลตฟอร์ม Winnonie ได้เข้าร่วมในโครงการนี้ ทำให้มีการเกิดการใช้งานจริง

สถานีสลับแบตเตอรี่และรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

          สถานีสลับแบตเตอรี่ต้นแบบจะมาพร้อมกับแพลตฟอร์มที่ได้มีการกำหนดร่วมกันถึงตัวรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
จะต้องใช้แบตเตอรี่ตามรูปแบบและขนาดที่ตั้งไว้

          รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นแบรนของคนไทย ซึ่งในการทำสถานีสลับแบตเตอรี่นอกจากเรื่องของ
การสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่แล้ว ยังมีเรื่องของซอฟต์แวร์คอนโทรลเลอร์ที่ใช้สื่อสารกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ถ้าเป็นรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่นำเข้าจากประเทศจีนจะทำได้ยาก

           กลุ่มที่น่าสนใจที่ได้ผลรับประโยชน์จากโครงการนี้ คือ กลุ่มรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าดัดแปลงจากรถมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำมันมาแปลงเป็นใช้ไฟฟ้าแทน

          กลุ่มนี้ถ้ามาใช้แบตเตอรี่แบบสลับ ส่งผลให้ต้นทุนในการดัดแปลงอาจถูกลงครึ่งนึง เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องของแบตเตอรี่  รวมทั้งตลาดกลุ่มนี้มีเป็นจำนวนมากและทำการจดทะเบียนขนส่งง่าย สาเหตุที่จดทะเบียนไม่ผ่าน
มาจากเรื่องของแบตเตอรี่แพ็ค

ตู้สลับแบตเตอรี่

          ที่ตั้งของสถานีสับเปลี่ยนต้นแบบมีทั้งหมด 3 สถานี

          1. สวทช.

          2. ปั๊มน้ำมันบางจาก เอกมัย-รามอินทรา คู่ขนาน 4 กรุงเทพมหานคร

          3. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี

          ลักษณะจะเป็นแบตเตอรี่บล็อก ที่ได้คำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า  

ถ้าเป็นรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นเล็ก จะเป็นแบตเตอรี่ลิเธียม 72V 16 Ah มีขนาดน้ำหนักไม่เกิน 10 กก.

การสลับแบตเตอรี่

         1. ถอดแบตเตอรี่ของเดิม

          2. ตัวแบตเตอรี่จะมีจุดที่บอกสถานะ โดยใช้ Smart Bms และด้านล่างตัวเชื่อมต่อ เวลาใส่ไปที่ช่องของ

ตู้สลับแบตเตอรี่ตัวน้ำหนักจะช่วยให้ตัวเชื่อมต่อเข้าล็อคได้พอดี

         3. นำแบตเตอรี่เดิมใส่ในช่อง จากนั้นตู้สลับแบตเตอรี่จะดันแบตเตอรี่ตัวใหม่ออกมาแทน

          4. จากนั้นนำแบตเตอรี่ตัวใหม่ที่ออกมานำมาใส่ในช่อง ซึ่งความสำคัญของการใช้แพลตฟอร์มร่วมกัน
ต้องมีการออกแบบกำหนดลักษณะความกว้าง ความยาว ความสูงของตัวยูบล็อกเพื่อให้เป็นมาตรฐาน
จะเป็นผลดีต่อรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เป็นแบรนของคนไทย ทำให้ขายรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้เพิ่มสูงขึ้น 

เพียงแค่ซื้อเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และใช้บริการเช่าแบตเตอรี่แบบแพ็กเกจรายเดือนแทน

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

         1. I-motor

         2. GPX Drone ที่มาเปิดตัวในงานนี้ ซึ่งยังไม่ได้เป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบ 100% กำลังอยู่ในขั้นตอนกำลังสร้าง ส่วนของสเปคเป็นมอเตอร์ Mid-Drive 4 kW การขับเคลื่อนจะใช้โซ่แบบ X-Ring ทำให้เสียงเบาลง
มีหน้าจอแสดงผลสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าต้นแบบ
            สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า GPX Drone ตัวต้นแบบ เวลาขับขี่จะยังคงให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับตอนที่ใช้น้ำมันที่สามารถใช้คันเร่งพร้อมกับเบรกได้

           หลังจากนั้นคุณเวลได้ทำการทดสอบลองขี่รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าต้นแบบทั้ง 2 รุ่น ได้มองว่าควรที่จะขยาย
ให้มีสถานีสลับแบตเตอรี่เพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต

           โครงการสถานีสลับแบตเตอรี่ ทาง ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าทีมวิจัยทีมเทคโนโลยีระบบ
กักเก็บพลังงาน เป็นหัวหน้าของโครงการนี้

           ทาง ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล เล่าว่ามีการคิดจัดทำโครงการนี้เมื่อประมาณ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา และใช้เวลา
ประมาณปีกว่า ๆ จึงประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นเหลือเพียงแค่นำไปขยายผลและพัฒนาต่อยอดต่อไป  
เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย 

          เพื่อน ๆ สามารถดูเรื่องนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE กด SHARE

กด SUBSCRIBE และกดกระดิ่ง ที่ช่อง YOUTUBE ของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.