8 ค่ายรถจีนดันไทยขึ้นแท่นฮับ EV อาเซียน!! ส่งออกรถไฟฟ้าพวงขวา แทนที่รถไฮบริดญี่ปุ่นยอดหด

         ประเทศไทยได้รับความสนใจจากค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากต่างประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนที่ได้เข้าลงทุนตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนเม็ดเงินร่วมหลักแสนล้านบาท เป็นข้อมูลที่ได้

มาจากของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าอันดับต้น ๆ ที่เข้ามาลงทุนที่ประเทศไทย

         1. CHANGAN (บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล) เป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน

          มีการเตรียมตั้งโรงงานที่ประเทศไทย ซึ่งลงทุนเป็นจำนวนเม็ดเงินเท่ากับ 9,800 ล้านบาทและถือว่าเป็น

การลงทุนครั้งใหญ่ในการตั้งโรงงานแห่งแรกนอกประเทศจีน ได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้จำนวน 100,000 คันต่อปี

         2. GAC MOTORS (GAC Aion ) เป็นค่ายรถที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศจีน

         เตรียมตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในประเทศไทย
โดยมูลค่าการลงทุนเป็นเท่ากับ 6,400 ล้านบาท

         ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงค่าย GWM  (Great Wall Motor), MG, BYD, NETA และ DONGFENG

          รวมทั้งบริษัท Foxconn ที่เป็นผู้นำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลกสัญชาติไต้หวัน
ได้ร่วมมือกับทาง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV
ในประเทศไทย

         นอกจากนี้ยังมี จีลี (Geely) ที่รอเตรียมตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เพราะทางค่ายรถต่างมองว่า
ประเทศไทยมีศักยภาพจากการที่เป็นฐานการผลิตรถยนต์น้ำมันโดยเฉพาะพวงมาลัยฝั่งขวามาก่อน

         ดังนั้นประเทศไทยจึงมีข้อได้เปรียบที่จะเปลี่ยนจากยุครถยนต์น้ำมันเข้าสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้าได้ โดยมี

ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนเป็นตัวนำ

          ท่ามกลางยุคเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์จากยุคของรถยนต์น้ำมันมาเป็นยุคของรถยนต์ไฟฟ้า มีหลายประเทศในโซนอาเซียนที่พยายามเข้ามาแข่งขันเพื่อมาเป็นผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า หรือ HUB EV ของโซนอาเซียน คือ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีแร่เยอะ ประเทศเวียดนาม และประเทศไทยที่เป็นฐานการผลิตรถยนต์น้ำมันมาก่อน

         ยิ่งมีข่าวดีที่ประเทศไทยติดอันดับเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและล่าสุดจากข้อมูลเมื่อปี 2565 นายอาเธอร์ ดี. ลิตเติล บริษัทที่ปรึกษาการจัดองค์กรระดับโลก

          ได้เผยแพร่ดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า หรือ Global Electric Mobility Readiness Index บอกว่าประเทศไทยติดอันดับประเทศเกิดใหม่ในการผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้นำหน้า

ประเทศเพื่อนบ้านเรียบร้อยแล้ว
          สำหรับประเทศอันดับ 1 ที่มีความพร้อมด้านรถยนต์ไฟฟ้า คือ สวีเดน รองลงมาคือ จีน ตามมาด้วย
ประเทศเยอรมณีและสิงคโปร์  ส่วนประเทศไทยขึ้นอยู่มาเป็นอันดับที่ 9 ซึ่งแซงประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ลำดับที่ 13  และประเทศเวียดนามที่อยู่อันดับที่ 14

         จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อปี 2565 เรื่องสถานีชาร์จ

รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 944 สถานี และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งเมื่อเทียบกับ 2 ปีก่อนหน้า จะเห็นได้ว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้น 100% ทุกปี

          ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางด้านชัยภูมิ มีดินแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถเดินทางด้วยรถยนต์

          ดังนั้นการขับรถยนต์ไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านสามารถทำได้ มีกรณีที่คนขับรถยนต์ไฟฟ้าเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นระยะ ๆ เช่น ชาร์จที่ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ยังมีท่านอื่นไม่ว่าจะเป็นคุณ อู๋ Spin 9 หรือ ยูทูปเบอร์ท่านอื่น ๆ ได้มีการลองขับมาเรียบร้อยแล้ว

         หากเปรียบเทียบกับประเทศอินโดนีเซียที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะการขับขี่อาจทำได้ยาก หรือประเทศเวียดนามที่ด้าน Infrastructure ของระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศไม่มีความพร้อมเท่ากับประเทศไทย ส่งผลให้ทางค่ายรถจีนเลือกเข้ามาลงทุนที่ประเทศไทย

          อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าหลายค่ายจากประเทศจีนต่างเลือกเข้ามาลงทุนที่ประเทศไทย เพราะว่าประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากที่สุดในโซนอาเซียน อาทิ นโยบาย 30@30 คือ การผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า 30% ภายในปี 2030   มีการสนับสนุนด้านเงินทุน
โดยคนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้เงินสนับสนุน 150,000 บาท   การสนับสนุนด้านภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิตร

ทำการลดภาษีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าแบบทั้งคันและชิ้นส่วนสำคัญที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 9 ชิ้นส่วน
ที่จะเริ่มผลิตจริงในปี 2567

การเปรียบเทียบผลได้และผลเสียจากการเข้าสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า

          จากที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์น้ำมันให้กับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีบุคลากรอยู่ในอุตสาหกรรม

ยานยนต์น้ำมันจำนวน 500,000 คน ที่สร้างรายได้เป็น GDP อันดับที่ 3 ของประเทศ

         ผลจากการเปลี่ยนยุคของรถยนต์น้ำมันเข้าสู่รถยนต์ไฟฟ้า จะมีชิ้นส่วนที่ใช้กับรถยนต์น้ำมันหายไป คือ

         1. เครื่องยนต์

         2. ระบบไอดี ผลิตเชื้อเพลิงถังน้ำมัน

         3. ระบบไอเสีย ระบบหม้อน้ำ

          เมื่อชิ้นส่วนเหล่านี้หายไปจากเดิมมีจำนวนอยู่ที่ 30,000 ชิ้น จะเหลือแค่ไม่เกิน 3,000 ชิ้น หมายความว่า
ทางผู้ผลิตชิ้นส่วน (Supply Chain) จากที่เคยผลิตชิ้นส่วนรถยนต์น้ำมันพอเปลี่ยนมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนชิ้นส่วนลดน้อยลง

การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แบ่งออกเป็น 3 Layer

         เทียร์ 1 ผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์โดยตรง อย่างเช่น ผู้ผลิตเครื่องยนต์ที่นำไปประกอบกับรถยนต์ได้เลย

โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทต่างชาติ อย่างค่ายรถญี่ปุ่นจะดึงเทียร์ 1 จากค่ายบริษัทต่างชาติที่ทำสัญญากันเข้ามา

         เทียร์ 2 ผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับเทียร์ 1 อย่างเช่น แหวนลูกสูบ จะผลิตให้กับเทียร์ 1 ที่ทำเครื่องยนต์เพื่อใช้ประกอบรถยนต์ และบริษัทของคนไทยเริ่มคละส่วนในเทียร์ 2 มากขึ้น

         ในส่วนเทียร์ต่อไป เป็นส่วนสำคัญที่สุ่มเสี่ยงจะหายไปจากการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า

         เทียร์ 3  ส่วนใหญ่จะเป็น SME เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กให้เทียร์ 2 จำพวก น็อต สกรู ชิ้นส่วนเล็ก ๆ
ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีทั้งหมด 816 แห่ง จากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน 2,500 แห่ง มีแรงงานอยู่ในเทียร์ 3 ประมาณ
300,000 กว่าคน ซึ่งหากกลุ่มเหล่านี้หายไปจะทำให้คนตกงานร่วม 300,000 กว่าคน ดังนั้นจึงเป็นส่วนที่ต้อง

ติดตามเรื่องการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อยุครถยนต์ไฟฟ้า

          ดังนั้นเรื่องของการปรับตัวจะให้ความสำคัญด้านทักษะ จากเมื่อก่อนจะให้ความสำคัญกับวิศวกรเครื่องกลจากยุคของรถยนต์น้ำมันที่เฟื่องฟู แต่พอเปลี่ยนมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องหันมาให้ความสำคัญเรื่องของความรู้
ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าซอฟต์แวร์ และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ล้วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุครถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

          หากเปรียบเทียบบุคลากรทางเครื่องกลกับด้านไฟฟ้าจะมีจำนวนค่อนข้างน้อย ซึ่งนอกจากจะกระทบที่

ประเทศไทยแล้ว ทางต่างประเทศต่างมีปัญหาเรื่องบุคลากรเช่นกัน อย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน

เพราะจากเดิมที่ได้ให้ความสำคัญด้านเครื่องกลอย่างมากในสมัยก่อน แต่พอรถยนต์ไฟฟ้ามีการเติบโตมากขึ้นก็ประสบปัญหาการผลิตบุคลากรที่มีทักษะเพิ่มขึ้นไม่ทัน

         ส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะประกอบด้วยมีงานอะไรบ้าง และจะกระทบต่อความกังวลการตกงานของคนอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์หรือโรงงานผลิตรถยนต์อย่างไร

         ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะใช้หุ่นยนต์ในการประกอบ แต่ก็ต้องใช้คนที่มีทักษะสูงหรือทักษะเฉพาะในการควบคุมดูแล ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้เครื่องจักรผลิตแบตเตอรี่และประกอบเซลล์ขึ้นมา จะต้องมีคนคอยวางโปรแกรมตรวจสอบคุณภาพในการประกอบเซลล์แบตเตอรี่

          ส่วนมอเตอร์ที่ใช้เครื่องจักรผลิต ต้องมีคนตรวจสอบเช็คคุณภาพในเรื่องความปลอดภัยและความแม่นยำของเครื่องจักร แม้กระทั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องมีคนคอยตรวจสอบดูแลถึงความปกติในการทำงาน รวมทั้งการซ่อมบำรุง

         จะเห็นได้ว่าบุคลากรที่จะอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจะเหลือแค่บุคลากรที่มีทักษะสูงเท่านั้น ด้านทักษะ

การปรับโปรแกรม เครื่องจักร ซอฟต์แวร์ และมีความรู้เฉพาะทาง เช่น คนที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการมากที่สุด

          สรุป ประเทศไทยจ่อขึ้นแท่นเป็น HUB EV ที่มีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาลงทุนเป็นเงินหลักแสนล้านบาท เมื่อชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสีย หากมองด้านผลเสียทางประเทศไทยจะเป็นแค่ผู้ใช้งานรับจ้างผลิตเท่านั้น

         ส่วนผลได้ จะเป็นผู้นำพาไปสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้านับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดี ส่วนด้านของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มีเกิดทั้งด้านวิกฤตและโอกาส คือ ด้านวิกฤตของผู้ผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์น้ำมันที่ไม่พร้อมปรับตัว และด้านโอกาสสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหม่ที่มีการปรับตัวและเรียนรู้ ดังนั้นช่วงที่รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่งจะเริ่มและจะเติบโตอย่างมากนับจากนี้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมต้องมีทั้งวิกฤตและโอกาสตามแต่ละคนที่จะเลือกมอง

         คุณสามารถรับชมข่าวนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝากกดLIKE กด SHARE

กด SUBSCRIBE และกดกระดิ่งเพื่อเป็นกำลังใจให้กับพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.