ค่ายรถญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วงวิกฤตโดยเฉพาะกลุ่มรถ CITY CAR หรือ รถที่ใช้ในเมือง BSUV (SUV Crossover )
และ Cross Over ที่กำลังโดนรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนเข้ามาแข่งขันชิงส่วนแบ่งในตลาดของค่ายรถญี่ปุ่นอย่างชัดเจน โดยใช้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาที่ทำได้ใกล้เคียง การซ่อมบำรุงที่ทำได้ง่ายและไม่ซับซ้อน รวมทั้งทางค่ายจีนมี
การเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยฝั่งขวาที่ประเทศไทย และปัญหาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่มีแนวโน้มแพงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ทางค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นประสบปัญหาเรื่องคุณภาพรถยนต์ อาทิ รถ TOYOTA YARIS ATIV มีการโกงค่าความปลอดภัยถ้าเกิดการชนที่ด้านข้างรถ รถ Nissan KICKS ระบบแอร์มีปัญหาการทำความเย็น รถ MAZDA 2 มีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ระบบเกียร์ที่ทำการเร่งเครื่องไม่ดี
ทำให้ยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าโดยกลุ่มเฉพาะ SUV Crossover ซึ่งก็คือ BYD ATTO 3 มียอดขายแซงหน้า
รถ TOYOTA COROLLA CROSS ที่เป็นรถรุ่นเรือธงของ TOYOTA เรียบร้อยแล้ว เป็นการส่งสัญญาณวิกฤตของ
ค่ายรถญี่ปุ่นที่กำลังใกล้เข้ามา
ทางทีมสื่อของประเทศญี่ปุ่นได้ทำสกู๊ปข่าวที่ประเทศไทย มีการพาดหัวข่าวที่น่าสนใจเรื่องตลาดรถยนต์ในประเทศไทยที่กำลังถูกกลืนด้วยค่ายรถไฟฟ้าจากจีน โดยใช้รูปรถช่วงที่จอดติดไฟแดงในกรุงเทพฯ
จะเห็นรถยนต์ที่หน้าตาไม่คุ้นเคยซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า อาทิ รถ BYD ATTO 3 , รถ ORA GOOD CAT ,
รถ NETA V , รถ MG ZS EV และรถ MG EP บนท้องถนนในช่วงติดไฟแดงที่ปะปนกับรถยนต์ทั่วไป
ยิ่งสะท้อนให้เห็นภาพของการถูกชิงส่วนแบ่งตลาดรถมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2565 ยอดจดทะเบียนของรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% มีจำนวนหมื่นกว่าคัน เพราะได้รับการสนับสนุนจากการประกาศนโยบายส่งเสริมทางด้าน EV และเงินสนับสนุนจากภาครัฐ ส่วนในปี 2566 ที่ยังอยู่ในช่วงระหว่างครึ่งปีแรก ยอดจดทะเบียนของรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% มีจำนวนทั้งหมด 2 หมื่นกว่าคัน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงมาก
ยอดขายรถยนต์ในไตรมาส 1 ปี 2566
กลุ่มรถ BSUV เรียงลำดับดังนี้
อันดับที่ 1 รถ Honda HR-V มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 7,446 คัน
อันดับที่ 2 รถ BYD ATTO 3 มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 5,522 คัน
อันดับที่ 3 รถ COROLLA CROSS มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 5,288 คัน
อันดับที่ 4 รถ Nissan Kicks มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 1,875 คัน
อันดับที่ 5 รถ MAZDA CX30 มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 968 คัน
จากการจัดลำดับยอดขายรถ BSUV เห็นได้ว่าอันดับที่ 2 จะเป็น รถ BYD ATTO 3 ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มี
ยอดขายแซงรถ COROLLA CROSS ของค่ายรถเบอร์อันดับ 1 อย่าง TOYOTA โดยหากเทียบราคาของรถ COROLLA CROSS ที่เป็นรถยนต์ไฮบริดที่มีราคาประมาณล้านกว่า ๆ เป็นตัวเลขที่คนสามารถหันมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% อย่าง รถ BYD ATTO 3 ได้เช่นกัน
กลุ่มรถ CITY CAR/ B Segment
อันดับที่ 1 รถ Honda CITY มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 6,919 คัน
อันดับที่ 2 รถ Nissan Almera มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 4,756 คัน
อันดับที่ 3 รถ COROLLA CROSS มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 4,384 คัน
อันดับที่ 4 รถ Mazda2 Sedan มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 2,584 คัน
อันดับที่ 5 รถ NETA V มียอดขายจำนวนสะสมเท่ากับ 2,502 คัน
ในตอนนี้ยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าจากค่ายจีนสามารถติด 1 ใน 5 อันดับ และสามารถทำยอดขายได้มากกว่ารถยนต์ที่เป็นเจ้าตลาด ยิ่งสะท้อนให้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าที่รวดเร็วอย่างมาก
การประสบปัญหาของรถในค่ายญี่ปุ่น
1. รถ TOYOTA YARIS ATIV เป็นรถซีดาน ไซด์เล็ก ที่ร่วมกันพัฒนากับไดฮัทสุ มีปัญหาโกงค่าทดสอบ
ความปลอดภัยบริเวณ Door Trim (เป็นชิ้นส่วนตกแต่งภายในที่ติดตั้งด้านข้างของประตูรถ) โดยมีการกรีด
ใบคัตเตอร์ลงไป เพื่อให้เวลาที่เกิดการชนด้านข้าง ส่วนของประตูจะไม่ชนเข้ากับคนที่นั่งอยู่ด้านใน
ทำให้ความน่าเชื่อถือให้ลดต่ำลง จนต้องหยุดการขาย
2. รถ MAZDA 2 เป็นรถเรือธง ที่ทาง Handa จะมุ่งเน้นรถยนต์ที่เป็นกลุ่ม CITY CAR ที่เป็น SUV ขนาดกลาง (C-Segment) ที่ใช้ในเมืองเป็นหลัก เกิดปัญหาที่ระบบเกียร์ ระบบขับเคลื่อนมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะ
รถ MAZDA 2 ที่เป็นดีเซล จนต้องมีการแก้ไข จึงยิ่งสั่นคลอนต่อความเชื่อมั่นของรถยนต์ค่ายญี่ปุ่น
3. รถ Nissan Kicks 2022 เมื่อใช้รถไป 1 ปี เจอปัญหาแอร์ไม่เย็น เป็นที่น่าเสียดายเพราะ Nissan Kicks เป็นเทคโนโลยี E – Power ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100% โดยใช้เครื่องยนต์น้ำมันเป็นตัวผลิตกระแสไฟฟ้า
และนอกจากจะประสบปัญหาแอร์ไม่เย็น ยังมีปัญหารองลงมา คือ Inverterชำรุดไม่สามารถขับเคลื่อนได้
ยางล้อรถที่แตกง่ายและรั่วเร็ว แบตเตอรี่ 12 โวลต์อ่อนและขั้วหลวม และการแก้ไขยังไม่ประสบความสำเร็จ
ส่งผลต่อภาพจำของรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายญี่ปุ่นให้แย่ลง
จึงเป็นโอกาสให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาตีตลาดได้มากขึ้น โดยที่ยังไม่รวมค่าย GAC MOTOR และ
ค่าย CHANGAN ซึ่งถ้าเข้ามาจะยิ่งกระทบต่อรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่ม CITY CAR และ BSUV
จะสามารถเข้าแทนที่ได้อย่างง่ายดาย
สรุป วิกฤตค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่ถูกตีตลาดด้วยค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ซึ่งทางค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นที่ปรับตัวช้าและยังคงผลักดันการใช้เทคโนโลยีพลังงานไฮบริดในกลุ่มรถ CITY CAR และ BSUV และในบางค่ายรถกลุ่ม CITY CAR ยังไม่มีเทคโนโลยีพลังงานไฮบริด แต่มาเน้นการลดขนาดเครื่องยนต์ให้เล็กลง และใช้เทอร์โบปั่นแรงม้าขึ้นมาแทน แต่กลับกันทางค่ายรถจีนที่เน้นผลักดันเรื่องของพลังงานใหม่โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% ที่ใช้ในกลุ่มรถ CITY CAR และ BSUV เหมือนกัน ที่มีข้อได้เปรียบในอนาคตมีแนวโน้มด้านราคาที่จะลดลงและ
การพัฒนาเทคโนโลยีจะสูงขึ้น
ดังนั้นหากค่ายรถญี่ปุ่นยังชะล่าใจจากฐานจำนวนลูกค้าที่ยังคงมีอยู่ แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคกลุ่มใหม่จะเลือกมองที่ความคุ้มค่า เทคโนโลยี และการใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่า อาจทำให้หมดยุคของค่ายรถญี่ปุ่นก็เป็นได้
คุณสามารถดูข่าวนี้ได้จากคลิปด้านล่าง และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝากกดLIKE กด SHARE กดติดตาม
กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ