บุกโรงงานผลิตหัวลากไฟฟ้า NEX!! ตั้งแต่ขึ้นโครงจนเสร็จ พร้อมใช้วิ่งงานจริง ท่าเรือแหลมฉบัง-ลาดกระบัง

         ตอนนี้ประเทศไทยได้ทำการผลิตรถหัวลากไฟฟ้าที่พร้อมส่งมอบ เพื่อเตรียมพลิกโฉมวงการขนส่งโดยเราจะมาดูขั้นตอนการผลิตหัวลากไฟฟ้าที่โรงงาน Absolute Assembly Co., Ltd.

         ขอแนะนำนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา หรือคุณหลิน ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) และ Absolute Assembly Co., Ltd ที่จะมาอธิบายขั้นตอนการผลิตรถหัวลากไฟฟ้า

          จากข่าวที่ว่าได้มีการทำรถหัวลากไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้วตามสัญญาที่รถเชิงพาณิชย์ทุกคันจะต้องผลิตที่ประเทศไทย และได้มีการส่งมอบบางส่วนไปเรียบร้อยแล้ว
          จากเดิมที่เคยดูโรงงานผลิตรถเมล์ไฟฟ้าหรือรถบัสสีน้ำเงินมีการผลิตในประเทศไทยเช่นเดียวกัน ที่โรงงานของ AAB ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา อีกทั้งทางบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) นอกจากจะทำรถบัส

ยังมีรถเชิงพาณิชย์อื่น ๆ อีกด้วย เพื่อเป็นการเซอร์ไพร์เกี่ยวกับสินค้าในทุกเดือน

การผลิตรถหัวลากไฟฟ้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

         1. โครงแชสซี ก่อนที่จะขึ้นมาเป็นแชสซีสมบูรณ์แบบ จะยังไม่มี Wiring (การวางระบบสายไฟ) และถังลมต่าง ๆ

2. การนำโครงแชสซีมาเริ่มติดตั้งอุปกรณ์ช่วงล่าง มีการวางระบบสายไฟและช่วงล่าง ประกอบด้วย

ถังพักลมหรือลมที่ใช้สำหรับระบบเบรก

         การประกอบโครงที่มีการยิงน็อตเสร็จเรียบร้อย มีแหนบ (leaf spring) คือ สปริงประเภทหนึ่ง และโช้คอัพ

ซึ่งจะเรียกระบบทั้งหมดว่า Suspension (ระบบกันสะเทือนหรือระบบช่วงล่าง)

          มีการเก็บสายไฟและลม ซึ่งสายไฟสีดำ คือ
แรงดันต่ำ ส่วนสายไฟสีส้มจะเป็นแรงดันสูง

มีระบบไฮดรอลิค

จุดสำคัญของรถหัวลากไฟฟ้าที่แตกต่างรถบัสไฟฟ้า

          เนื่องจากว่ารถหัวลากไฟฟ้า มีค่า GVW (Gross Vehicle Weight หมายถึง น้ำหนักรถเปล่ารวมน้ำหนักที่สามารถบรรทุกได้สูงสุด หรือตามที่บริษัทผู้ผลิตได้ออกแบบไว้ ) น้ำหนักอยู่ที่ 50.5 ตัน ดังนั้นมีจุดที่สำคัญ คือ
ต้องมีความแม่นยำในการประกอบ ยกตัวอย่าง น็อต ที่มีการกำหนดการตรวจสอบที่จะต้องได้ค่า 30 ปอนด์

ดังนั้นจะต้องขันให้ได้ค่าเท่ากับ 30 ปอนด์ เท่านั้น และน็อตที่มีขีดสีชมพูจะต้องตรวจเช็คทุกตัว

         3. การติดตั้งระบบส่งกำลัง จะอยู่ในลักษณะที่นอนหงาย เป็นเพราะอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งคือ ชุดเพลาส่งกำลังและระบบถังลม มีน้ำหนักมาก ดังนั้นการประกอบในลักษณะนี้จะให้ความสะดวกมากกว่า

          และเมื่อประกอบชุดเพลาเรียบร้อยแล้ว จะทำการกลับแชสซี เพื่อมาประกอบระบบไฟฟ้าต่อไป

           การผลิตรถหัวลากไฟฟ้าจะเลือกใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทยก่อนมากกว่า 40% เพราะมีฐานการผลิตที่เกือบสมบูรณ์แบบ

        4. ใส่ยางรถและติดตั้งระบบไฟฟ้า

        ยางรถหัวลากไฟฟ้าจะเป็นของมิชลิน

 

          ส่วนระบบไฟฟ้า ประกอบด้วย คอนโทรลต่าง ๆ CPU

         ส่วนมอเตอร์จะอยู่ในตำแหน่งด้านบน

         มอเตอร์จะใช้ของบอร์กวอร์เนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา

        กำลังของมอเตอร์อยู่ที่ : 250 kW เท่ากับ 340 แรงม้า แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 1,400 Nm

        ซึ่งมอเตอร์ไฟฟ้าจะส่งกำลังผ่านเพลามาลงที่ล้อทั้ง 2 ข้าง

        และข้อดีที่มอเตอร์อยู่ในตำแหน่งด้านบน จะไม่ประสบปัญหาจากน้ำท่วม

          จำนวนที่บรรถทุกได้ จากค่าน้ำหนักของรถเปล่าอยู่ที่ 9.7 ตัน ตามกฎหมายขนส่ง ซึ่งค่า GVW มีค่าน้ำหนักอยู่ที่ 50.5 ตัน  เมื่อนำค่าน้ำหนัก 50.5 ตัน มาหักลบกับ 9.7 ตัน เท่ากับว่าจะสามารถบรรทุกได้สูงสดอยู่ที่ 40.8 ตัน
รวมทั้งรถหัวลากไฟฟ้านี้เป็นรุ่นใหม่ ที่มีการลดน้ำหนักจนเบามากที่สุดในท้องตลาด        

          5. ติดตั้งหัวรถเก๋ง ที่ประกอบชุดแอร์แล้ว ซึ่งตัวหัวรถเก๋งจะปั๊มขึ้นรูปมาจากต่างประเทศ แล้วนำมาชุบสีที่
โรงงานในประเทศไทย

         6. ติดตั้งแบตเตอรี่

         แบตเตอรี่ที่นำมาใช้เป็นลิเธียมฟอสเฟตมี 2 ขนาด ดังนี้

              1. แบตเตอรี่ความจุ 282 kWh บรรทุกน้ำหนักเต็มที่ สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 200 กม.

              2. แบตเตอรี่ความจุ 424 kWh บรรทุกน้ำหนักเต็มที่ สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 350 กม.

         มีการรับประกันการใช้งาน 3,500 Cycle ในการชาร์จ

         และเมื่อลูกค้ามีการนำไปใช้งาน ทาง NEX มีการติดตั้งระบบ Monitoring System ที่คอยตรวจสอบการทำงานของรถ อย่างเช่น การใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ความผิดปกติของแบตเตอรี่ เป็นต้น โดยมีการแจ้งเตือนแบบ
Real Time ผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่ลูกค้าโหลดไว้ และทาง คุณหลิน ยืนยันว่าเป็นการรับประกันแบตเตอรี่ที่ยาวนานมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากทาง EA เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่จึงสามาถนำแบตเตอรี่มาใช้และเคลมที่ประเทศไทยได้

         เมื่อนำมาประกอบเป็นรถหัวลากไฟฟ้าที่สมบูรณ์แล้ว จะมาดูเรื่องตัวระบบการชาร์จ

         จะใช้หัวชาร์จแบบ CCS Type 2 สองหัว สามารถชาร์จได้พร้อมกัน ใช้เวลาในการชาร์จ 10 -90 % อยู่ที่ 1 ชม.

ซึ่งปัจจุบันมีการทำเครื่องชาร์จพลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่ขนาด 360 kW

         ทางคุณหลิน บอกว่าเนื่องจากทาง NEX มีการผลิตที่ครอบคลุมทั้งรถหัวลากไฟฟ้า แบตเตอรี่ และเครื่องชาร์จพลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน

รถหัวลากไฟฟ้าที่เสร็จสมบูรณ์

         นี้คือรถหัวลากไฟฟ้าที่เตรียมส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งมีการส่งมอบเรียบร้อยแล้วเป็นจำนวน 40 กว่าคัน

การผลิตรถหัวลากไฟฟ้าสามารถผลิตได้ที่ 10 คัน ต่อวัน คิดเป็น 1 เดือน เท่ากับ 300 คัน

         รถหัวลากไฟฟ้าจะเหมาะสมกับลูกค้าที่มีการขนส่งวิ่งในระยะทางเฉลี่ย 300 กม. และจากการชาร์จ 10 -90 % อยู่ที่ 1 ชม. จะเป็นการชาร์จแบบจำนวนเต็ม แต่ในการใช้งานจริงการเติมชาร์จพลังงานไฟฟ้าจะเป็นไปตามที่ต้องการ ดังนั้นจะมีจุดการชาร์จที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

เรื่องราคาของรถหัวลากไฟฟ้าและความคุ้มค่า

         ทางคุณหลิน ยืนยันว่ามีความคุ้มค่าอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างที่ได้ส่งมอบรถหัวลากไฟฟ้าให้กับ บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD ทางผู้บริหารบอกว่าสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 68%  ทั้งที่ราคารถสูงขึ้น 40%

        ดังนั้นสรุปว่าถ้ายิ่งใช้เยอะจะยิ่งคุ้มทุนไวมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ต้องส่งออกสินค้าไปตลาดอเมริกาและยุโรป ซึ่งทาง EU มีกฎที่ถ้าไม่มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกเรียกเก็บภาษี  ทำให้ทางบริษัทมีการกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน ถึงระลอกการเปลี่ยนของจำนวนรถที่มีอยู่ให้ใช้พลังงานสะอาด

        ส่วนราคารถหัวลากไฟฟ้าจะอยู่ที่ 5 ล้านต้น ๆ

การทดสอบรถหัวลากไฟฟ้า

         ภายในห้องโดยสารรถหัวลากไฟฟ้า  มีการออกแบบให้การขับขี่ง่ายมาก เป็นเกียร์ออโต้ ชุดหม้อลมเบรก แอร์ ระบบการส่งกำลังขับเคลื่อน และเมื่อเปิดสวิตช์จะเสียงเตือนเวลาที่จะขับ และก่อนที่จะขับทางผู้ขับจะต้องรูดบัตร และจะมีซิมในการติดตามการใช้งานของรถหัวลากไฟฟ้า ส่วนหน้าจอจะแสดงค่าสถานะของแบตเตอรี่

เกียร์ออโต้

ชุดหม้อลมเบรก

แอร์และระบบการส่งกำลังขับเคลื่อน 

หน้าจอแสดงค่าสถานะของแบตเตอรี่

1. การทดสอบการชาร์จ

         ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ทั้งสองหัวชาร์จจากเครื่องชาร์จนั้นสามารถใช้งานได้

2. Shower Test

          รถหัวลากไฟฟ้าใช้เวลาในการทดสอบ 5 นาที เพื่อดูการรั่วซึม ส่วนการทดสอบลุยน้ำ จะเป็นการสุ่มทดสอบ
ด้วยตำแหน่งของมอเตอร์ตั้งอยู่สูงกว่าดุมล้อ 50 ซม.

การทดสอบใช้งานจริงของรถหัวลากไฟฟ้า

         โดยเราอยู่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด กับบริษัท ซีว่า ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

         วันนี้เราจะมาอยู่กับ คุณสุตนัย เหมศรีชาติ หรือคุณโน๊ต ดำรงตำแหน่ง Direction Ground & Rail Transport ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องขนส่งและโปรเจกต์รถหัวลากไฟฟ้า

          รถหัวลากไฟฟ้าที่นำมาลองใช้งานจริง เป็นแบตเตอรี่ขนาดความจุ 423 kWh ซึ่งสามารถวิ่งได้ในระยะทาง
250 – 300 km และได้มีการหางานที่มีความเหมาะสม คือ การใช้งานกับตู้ Export/Import ให้ลากตู้วิ่งไปมาระหว่าง

ท่าเรือแหลมฉบัง กับ ไอซีดี ลาดกระบัง ซึ่งรอบหนึ่งวิ่งได้ระยะทาง 220 กิโลเมตร/รอบ แล้วนำกลับมาชาร์จ
รวมทั้งเป็นงานที่สามารถทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

การทดลองนั่งรถหัวลากไฟฟ้าวิ่งไปที่ศรีราชา

         เป็นการทดสอบการวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการบรรทุกของ และแบตเตอรี่เหลืออยู่ที่ 44 %

         เมื่อลองสอบถามกับทางผู้ขับรถที่เพิ่งได้ลองใช้รถไฟฟ้าครั้งแรก เขามีความรู้สึกชื่นชอบเพราะรถมีความแรง

รวมทั้งพึ่งได้ลองขับบรรทุกแบบ Full Load ขึ้นเขา ซึ่งน้ำหนักบรรทุกเท่ากับ 16 ตัน จากน้ำหนักที่บรรทุกได้สูงสุดเกือบ 30 ตัน รถสามารถขับขี่ได้อย่างสบาย นอกจากนี้รถคันนี้เวลาขึ้นเนิน สามารถวิ่งได้ที่ความเร็ว 70 กม./ชม.

ตู้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าขนาด 360 kW

สรุปการกินพลังงาน

          จากเดิม แบตเตอรี่เหลืออยู่ที่ 44% และเมื่อวิ่งมาถึงศรีราชาได้ใช้แบตเตอรี่ไป 6% เหลืออยู่ที่ 38%

จากนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดมาที่ท่าเรือแหลมฉบัง และจากขนาดแบตเตอรี่ 423 kWh มีการวิ่งมาใน
ระยะทางทั้งหมด 31.1 กม. ใช้พลังงานเท่ากับ 0.81 kWh/km ถ้าคิดตามอัตราค่าไฟบ้าน 4.76 ต่อหน่วย

เป็นเงินเท่ากับ 3.88 บาท/กม. จะประหยัดมากกว่าเมื่อเทียบกับใช้รถน้ำมันถ้าเป็นรถเปล่า คิดเป็นเงินตก
9 -10 บาท/กม. ซึ่งการประหยัดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเป็น Return on Investment จากราคาค่ารถหัวลากไฟฟ้าที่

สูงกว่าแต่การใช้งานจะประหยัดได้มากกว่า

         และถ้าวิ่งรถแบบ Full Load ใช้พลังงาน 1.4 kWh/km(ขณะบรรทุก) คิดเป็นเงินเท่ากับ 6.66 บาท/กม.

ซึ่งก็ยังประหยัดกว่าการใช้รถน้ำมันที่บรรทุกแบบ Full Load คิดเป็นเงินตก 12 – 13 บาท/กม. แสดงให้เห็นถึง
ความคุ้มค่า โดย Running  Cost หรือต้นทุนการวิ่งขนส่ง จะถูกกว่า ดังนั้นยิ่งใช้งานรถหัวลากไฟฟ้าวิ่งมากขึ้นจะ 
ยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น
         นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์อื่น ในเรื่องของฝุ่น PM 2.5 Carbon Credit ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าบริษัทใดให้ความสนใจในเรื่องนี้ก่อนจะช่วยดึงดูดนักลงทุนเข้ามา เพราะมีเรื่องของ นโยบาย ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และ

การกำกับดูแล) เข้ามาเกี่ยวข้อง

         คุณสามารถติดต่อ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) ได้ตามนี้

         และทางเราต้องขอขอบคุณทางบริษัท ซีว่า ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ Sriracha EV NGV สำหรับเรื่องการทดสอบการใช้งานรถหัวลากไฟฟ้าด้วยนะครับ

         และถ้าหากคุณสนใจเรื่องรถหัวลากไฟฟ้าแบบฉบับเต็มสามารถดูได้จากคลิปด้านล่างนี้ และถ้าหากคุณชอบ
คลิปนี้ขอฝากกดไลค์ กดติดตาม กดแชร์ กดSubscribe ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.