ค่ายญี่ปุ่นอย่าชะล่าใจ!! จีนเร่งพัฒนารถไฮโดรเจน FCEV ใช้ในรถขนส่งจริงแล้ว ไวมากๆ (พาไปดูศูนย์วิจัย)

         จากที่พลังงานสะอาดนั้นไม่ได้มีแค่เรื่องของรถยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทางประเทศจีนเองมีความสนใจพลังงานสะอาดอีกทางเลือกหนึ่ง คือ พลังงานไฮโดรเจน หรือ  Fuel Cell เพราะมองเห็นว่า รถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีความเหมาะสมเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น ดังนั้นเราจะมาที่ศูนย์ GWM R&D center ที่ปักกิ่ง 

ภายใน ศูนย์ GWM R&D center

          เมื่อเข้ามาด้านในจะเห็นได้ว่าทางค่ายรถจีนที่มุ่งเน้นเรื่องพลังงานสะอาดจะไม่ได้มองเฉพาะเรื่องของ
รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เท่านั้น แต่ยังพัฒนาเป็น R&D (Research and Development) ในเรื่องของพลังงานไฮโดรเจนอย่างจริงจัง ซึ่งกลุ่มที่เป็นเป้าหมายจะเป็นรถขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์

ห้องวิจัยอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจน

        จากที่ประเทศจีนมองว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีความเหมาะสมกับรถส่วนบุคคลมากกว่า แต่สำหรับในรถเชิงพาณิชย์กลุ่มรถบรรทุกหัวลากสำหรับขนของขนาดใหญ่ การใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เนื่องจากวิ่งได้ในระยะทางมากที่สุดอยู่ที่ 300 กิโลเมตร และใช้เวลาเติมพลังงานอย่างน้อย 40 นาทีขึ้นไป ดังนั้นพลังงานไฮโดรเจน
จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะมาทดแทนในส่วนนี้

         1. แผนที่แสดงจุดการสร้างสถานีเติมไฮโดรเจน

             พลังงานไฮโดรเจนจะเกิดขึ้นได้จะต้องคำนึกถึง 2 เรื่องด้วยกัน คือ

            1. ความปลอดภัยที่ต้องวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ขึ้นมา

            2. สถานีเติมพลังงาน

         ในส่วนของสถานีเติมพลังงานได้มีการวางแผน และบอกในแผนที่ที่แสดงทั้งตำแหน่งรถบรรทุกขนาดใหญ่และสถานีเติมพลังงาน โดยจะเน้นที่เส้นทางเดินทางรอบนอกที่รถขนส่งจะต้องวิ่งในระยะทางไกลอย่างน้อย 2 – 3 มณฑล ซึ่งเทคโนโลยี FCEV (Fuel Cell Electric Vehicle) จะสามารถเพิ่มระยะทางวิ่งได้สูงสุด 600 กิโลเมตร ต่อ
การเติม 1 ครั้ง ดันนั้นจำนวนสถานีไฮโดรเจนไม่จำเป็นต้องมีจำนวนมาก

 

         ในเรื่องของความปลอดภัยอุปกรณ์ที่ทาง GWM ได้ทำการพัฒนาและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด คือ เทคโนโลยี
Fuel cell stack

         2. เครื่องยนต์ Fuel cell stack ทำหน้าที่นำไฮโดรเจนเข้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า คือ เติมไฮโดรเจนไปจับกับอากาศเพื่อออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วนำไปเข้าที่แบตเตอรี่ เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไปจ่ายไฟฟ้าที่มอเตอร์เพื่อทำการขับเคลื่อน

         ตัวเครื่องด้านข้างมีความคล้ายคลึงกับเครื่องยนต์ดีเซล และคาดว่าจะนำไปใช้ในรถขนาดใหญ่หัวลากอย่าง รถบรรทุก 6 ล้อ 10 ล้อ

          ไฮโดรเจนจะแตกต่างจาก NGV คือ

มีแรงดันสูงกว่าถึง 3 เท่า ซึ่ง NGV จะมี

แรงดันอยู่ที่ 230 บาร์ แต่ ไฮโดรเจน มีแรงดันอยู่ที่ประมาณ 700 บาร์ และนอกจากจะต้องระวังในเรื่องของแรงดันแล้ว ยังมีเรื่องของการติดไฟง่าย ดังนั้นอุปกรณ์จะต้องมี
ความปลอดภัย

         เมื่อไฮโดรเจนเข้าไปผ่านตัวเครื่องด้านข้างจะเข้าสู่ส่วนกล่องสี่เหลี่ยม คือ  Fuel cell stack ตัวที่ทำปฏิกิริยากับอากาศจนผลิตมาเป็นพลังงานไฟฟ้า

           ส่วนด้านบนจะเรียกว่า Power Outlet ที่มีช่องสีส้มเป็น Power คือ เมื่อไฟฟ้าที่ออกมาจะนำเข้าสู่แบตเตอรี่เป็นพลังงานสำรอง เพื่อนำไปใช้งานขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า

         ตัวเครื่องมี 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จะขึ้นอยู่กับกำลังว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้กี่กิโลวัตต์

         3. Fuel cell stack จากตัวเครื่องยนต์ที่แสดง เมื่อผ่าออกมาจะเห็นว่ามีการเรียงซ้อนกันและเปรียบได้ดั่งแบตเตอรี่แต่ละก้อน

           และเมื่อไฮโดรเจนไหลผ่าน Fuel cell stack ที่เรียงกันนี้ จะเกิดเป็นไฟฟ้าออกมาที่ส่วนที่มีสายไฟต่อ
ในภาพรวมจะผลิตไฟฟ้าสะสมออกมาเป็นไฮโวลต์มาที่จุดสีส้มเพื่อนำไปใช้งาน

          ในเรื่องของอายุการใช้งาน เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาเคมีเมื่อใช้ไปเป็นเวลานาน ก็จะเสื่อมสภาพลงตามไปด้วย และเวลาเปลี่ยนจะต้องทำการเปลี่ยนแบบยกกล่อง

         4. แผ่น Fuel cell จะเป็นเมมเบรนที่ไฮโดรเจนเข้าไปจับกับออกซิเจนจนเกิดอากาศ เป็นการทำปฏิกิริยาให้ไฮโดรเจนกับออกซิเจนมารวมกันได้น้ำและเกิดพลังงานไฟฟ้าออกมา ดังนั้น Fuel cell จึงมีผลในเรื่องของ
อายุการใช้งาน ซึ่งทาง GWM ได้ทำการวิจัยและผลิตออกมาให้มีคุณภาพและความทนทาน

          5. วาล์ว  ที่รองรับไฮโดรเจนที่มีแรงดันอยู่ที่ 70 เมกะปาสกาล หรือ 700 บาร์ ซึ่งต้องระวังในเรื่องของ
ความปลอดภัย เพราะถ้าเกิดการรั่วและไฮโดรเจนเมื่อโดนอากาศจำนวนมากจะเกิดไฟลุกไหม้ได้

         6. ถังเก็บกักพลังงานที่มีทั้งขนาดยาวและขนาดสั้น

          สำหรับรถเชิงพาณิชย์ที่เป็นรถหัวลาก ช่วงด้านหลังจะมีที่ว่างที่สามารถวางถังได้จำนวนมาก ส่วนเครื่องยนต์ Fuel cell stack จะอยู่ด้านหน้าที่ห้องเครื่อง

          ดังนั้นจึงเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์กับรถเชิงพาณิชย์อย่างมากและด้วยใช้เวลาเติมไฮโดรเจนไม่เกิน 10 นาที รวมทั้งสามารถวิ่งได้ในระยะทางมากกว่า 600 กิโลเมตร และล่าสุดอาจจะวิ่งได้เกือบ 1,000 กิโลเมตรแล้ว

Laboratory ในการพัฒนา Material คือ วัตถุดิบนำมาใช้ทำตัวเมมเบรน
หรือตัวเครื่องยนต์ Fuel cell

ห้องทดสอบถังบรรจุไฮโดรเจน

           ตัวถังมีการคิดค้นวัสดุที่ใช้จะต้องมีน้ำหนักเบา ซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานที่เป็นพลังงานสะอาด
ดังน้นวัสดุที่ใช้จึงเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงสูงและน้ำหนักเบา เมื่อทำถังเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะนำมาทดสอบอัดแรงดัน เพื่อดูว่ามีการเกิดการรั่ว การระเบิด แตกร้าว เป็นเพราะไฮโดรเจน มีแรงดันอยู่ที่ประมาณ 700 บาร์

ห้องทดสอบการผลิตกระแสไฟฟ้า

          เพื่อดูประสิทธิภาพของผลิตปริมาณกระแสไฟฟ้าจากปฏิกิริยาเคมี ที่นำไฮโดรเจนมารวมกับอากาศผ่าน
Fuel cell stack

          เครื่องทดสอบ Fuel Cell ดูปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้เมื่อไฮโดรเจนเข้าไป จะมีการทดสอบในหลายรูปแบบ

เพื่อดูผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และจะมีเครื่องวัดจำนวนไฟฟ้าที่ออกมา

          ส่วนนี้จะเป็นการทดสอบ Fuel cell stack ที่มีขนาดเล็กเพื่อดูปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตออกมา และมีการแสดง
ค่ากราฟ

รถที่ใช้ Fuel cell stack

         1. รถบัสพลังงานไฮโดรเจน ที่มีการทดสอบและลองใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลเมื่อใช้งานจริง

         2. รถส่วนบุคคล จะเห็นจุดเติมพลังงานไฮโดรเจนอย่่่างชัดเจน

           และนี้จุดที่แสดงให้เห็นว่าทางประเทศจีนมุ่งเน้นเทคโนโลยีพลังงานใหม่ ๆ ในหลาย ๆค่ายรถได้มีการพัฒนา
ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่เป็นรถยนต์ทั่วไป และรถ FCEV (Fuel Cell Electric Vehicle) สำหรับรถเชิงพาณิชย์ที่เป็นพลังงานสะอาดด้วย

             คุณสามารถดูเรื่องราวเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นจากคลิปด้านล่างนี้ และถ้าหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝากกดไลค์ กดติดตาม กดแชร์ กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.