ชำแหละแบตเตอรี่รถEV รุ่นยอดฮิต!! ใช้แบต Cell to Pack กับ Cell to Module ต่างกันยังไง? แบบไหนซ่อมได้?

         จากกระแสรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ที่นิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะปี 2023 เพราะมีค่ายรถจากต่างประเทศ คือ เกาหลี ญี่ปุ่น ยุโรป จีน ได้เข้ามาลงทุนทำฐานการผลิตที่ประเทศไทย 

         หลายคนต่างให้ความสนใจรถยนต์ไฟฟ้า แต่มีเรื่องที่ต้องกังวลจากกรณีของรถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดอุบัติเหตุ 

จนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งมีราคาสูงเทียบเท่ากับราคาครึ่งหนึ่งของรถยนต์ไฟฟ้า และถ้าเคลมแบตเตอรี่ไม่ได้
ต้องตีเป็นซาก ยกตัวอย่างเคส รถ ORA Good Cat ที่เจอราคาแบตเตอรี่ประมาณ 5 -6 แสนบาท และ

คส รถ BYD ATTO 3 ที่เป็นรุ่นยอดนิยม เจอราคาแบตเตอรี่ร่วม 6.5 แสนบาท ส่งผลให้หลายคนยังคงเกิด
ความลังเลใจที่จะมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า

         จากตัวอย่างที่ยกมา รถทั้ง 2 มีเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน คือ รถ ORA Good Cat สามารถเปลี่ยนเป็นโมดูลได้ ส่วนรถ BYD ATTO 3 ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ยกแพ็ค เนื่องจากใช้เทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกัน

โครงสร้างการผลิตและความแตกต่างของเทคโนโลยีแบตเตอรี่

         เริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุด คือ Battery Cell ที่มีลักษณะคล้ายกับถ่าน 2a 3a ทั่วไป ซึ่งจะมีรูปร่างที่แตกต่างตามการออกแบบของผู้ผลิต

         เมื่อมีการรวมกลุ่มของหลาย ๆ เซลล์ขึ้นมาจะเรียกว่า โมดูล แล้วเมื่อรวมโมดูลหลายตัว จะเรียกว่า
Battery Pack

         เวลาที่เปิดใต้ท้องรถจะสามารถเห็นแบตเตอรี่ที่มีหลายโมดูลวางอยู่ด้วยกัน

          การผลิตแบตเตอรี่ที่มีโมดูลดังกล่าวจะเป็นการผลิตแบบ Cell to Module

         ข้อดี เมื่อผลิตเป็นโมดูล ถ้ามีความต้องการก็สามารถยกโมดูลนำไปใส่ใช้ได้

         ข้อเสีย ต้นทุนการผลิตทั้งในเรื่องของเวลาและวัสดุมีความซับซ้อนมากกว่า

         ยกตัวอย่าง CATL ที่ผลิตแบตเตอรี่แบบโมดูลและส่งออกจำหน่าย  จากนั้นผู้ผลิตรถยนต์จะยกทั้งโมดูลไปใส่ในแบตเตอรี่แพ็ค เพื่อนำมาประกอบเป็นตัวรถยนต์ไฟฟ้า

          แต่ในภายหลังเนื่องจากทางค่ายรถมีความต้องการลดต้นทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะขั้นตอนของแบตเตอรี่แพ็ค ดูได้จากแนวโน้มของค่ายรถจะมาใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่เรียกว่า Cell to Pack คือ
การนำเซลล์มาทำเป็น Pack ที่ไม่ต้องมีขั้นตอนการทำเป็นโมดูล ยกตัวอย่าง รถ MG 4 หรือ รถ BYD ATTO 3
ที่เป็นเบลดแบตเตอรี่ที่นำเซลล์แบตเตอรี่เป็นใบมีดมาเรียงอยู่ในแพ็ค

          ข้อดี ในเรื่องของการประหยัดเวลา สามารถส่งแบตเตอรี่แบบเป็นแพ็คโดยไม่ต้องผลิตเป็นโมดูลที่มีกระบวนการที่ซับซ้อน ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง สามารถผลิตโดยใช้เวลาได้เร็วขึ้น ผลิตได้จำนวนมาก 

ส่งผลให้ต้นทุนต่อคันยิ่งถูกลง

          ในอนาคตค่ายรถมีแนวโน้มแบ่งการผลิตแบตเตอรี่ คือ Cell to Module เพื่อการ Maintenance ในอนาคต
ที่สามารถเปลี่ยนโมดูลได้

          แต่ในบางค่ายรถที่ต้องการผลิตในจำนวนมากจะเลือกเทคโนโลยีแบบ Cell to Pack โดยมีการยกระดับเป็น Cell to Chassis คือ การนำแบตเตอรี่มารวมกับ Chassis รถ ทำให้ผลิตได้ง่ายมากขึ้นและใช้เวลาได้เร็วขึ้น
เพื่อเป็นการลดต้นทุน

         ข้อเสีย ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ยกแพ็คเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแบบเซลล์ได้

เปรียบเทียบต้นทุนของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทั้ง 2 แบบของแต่ละค่ายรถ

ค่าย MG (Morris Garages)

          เป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าแรกที่ริเริ่มตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากับรถรุ่น MG ZS EV

MG EP

         เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ : Cell to Module

         จำนวนและราคาโมดูล : จำนวน 6 โมดูล โมดูลละ 75,000 บาท

         ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 450,000 บาท

         ความจุของแบตเตอรี่ : 6 โมดูล เท่ากับ 50.3 kWh

         ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 8,946 บาท ต่อ kWh

         ราคารถ: 988,000 บาท

         สัดส่วนราคาแบตเตอรี่ต่อราคารถ : 46% ของราคารถ

MG ZS EV

          เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ : Cell to Module

          ประเภทของแบตเตอรี่ : Lithium iron phosphate

          ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 450,000 บาท

          ความจุของแบตเตอรี่ : 6 โมดูล เท่ากับ 50.3 kWh

          ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 8,946 บาท ต่อ kWh

          ราคารถ : 1,189,000 บาท

          สัดส่วนราคาแบตเตอรี่ต่อราคารถ : 38% ของราคารถ

MG 4

         เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ : Cell to Pack

         ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 525,000 บาท

         ความจุของแบตเตอรี่ : 51 kWh

         ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 10,294 บาท ต่อ kWh

         ราคารถ : 1,189,000 บาท

         สัดส่วนราคาแบตเตอรี่ต่อราคารถ : 44% ของราคารถ

GWM (Great Wall Motors)

         คือ รถ ORA Good Cat ที่มีทั้งหมด 3 รุ่น แต่ถ้าแบ่งตามประเภทเทคโนโลยีของแบตเตอรี่จะมี 2 ประเภท

ORA Good Cat 500

         เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ : Cell to Module มีจำนวน 8 โมดูล

         ประเภทของแบตเตอรี่ : Lithium NMC Battery

         ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 580,000 บาท

         ความจุของแบตเตอรี่ : 63 kWh

         ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 9,191 บาท ต่อ kWh

         ราคารถ : 1,199,000 บาท

         สัดส่วนราคาแบตเตอรี่ต่อราคารถ : 48% ของราคารถ

ORA Good Cat 400

         เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ : Cell to Module มีจำนวน 8 โมดูล

         ประเภทของแบตเตอรี่ : : Lithium iron phosphate

         ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 445,000 บาท

         ความจุของแบตเตอรี่ : 47.8 kWh

         ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 9,309 บาท ต่อ kWh

         สัดส่วนราคาแบตเตอรี่ต่อราคารถ : 45% ของราคารถ

BYD

BYD ATTO 3

         มี 2 รุ่น คือ Standard กับ Extended Range

        โดยทั้ง 2 รุ่น ใช้แบตเตอรี่แบบเดียวกัน คือ Blade Battery

        เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ทั้ง 2 รุ่น : Cell to Pack

         ประเภทของแบตเตอรี่ทั้ง 2 รุ่น  : Lithium iron phosphate

         รุ่น Standard

         ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 528,730 บาท

         ความจุของแบตเตอรี่ : 49.9 kWh สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 400 KM ต่อ 1 การชาร์จ

         ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 10,595 บาท ต่อ kWh

         รุ่น Extended Range

         ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 656,000 บาท

         ความจุของแบตเตอรี่ : 60.4 kWh สามารถวิ่งได้ในระยะทาง 480 KM ต่อ 1 การชาร์จ

         ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 10,861 บาท ต่อ kWh

         สัดส่วนราคาแบตเตอรี่ต่อราคารถ : 45% ของราคารถ

NETA

NETA V

         เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ : Cell to Module มีจำนวน 16 โมดูล

         ประเภทของแบตเตอรี่ : : Lithium NMC Battery

         ราคาแบตเตอรี่แพ็ค : 420,000 บาท

         ความจุของแบตเตอรี่ : 38.54 kWh

         ต้นทุนต่อความจุไฟฟ้า 1 kWh : 10,897 บาท ต่อ kWh

         ราคารถ : 760,000 บาท

         สัดส่วนราคาแบตเตอรี่ต่อราคารถ : 55% ของราคารถ

         การเปรียบเทียบระหว่างแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ายอดฮิต 4 ค่าย ทั้งในเรื่องของต้นทุนเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ใช้เป็นหลัก คือ Cell to Module และ Cell to Pack ถึงแม้ว่าเทคโนโลยี Cell to Module 

จะมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนมากกว่า Cell to Pack แต่กลับมีต้นทุนที่ต่ำกว่าโดยอยู่ที่ประมาณปลาย 8 พัน 

ถึง 9 พันบาทต้น ๆ ต่อ kWh แต่ต้นทุนของ Cell to Pack จะอยู่ที่หลักหมื่นกว่าบาท ต่อ kWh
         ซึ่ง Cell to Pack เหมาะสำหรับความต้องการที่จะใช้เวลาอย่างรวดเร็วเพื่อการลดต้นทุน ถือว่าเป็นเรื่องดีในเรื่องของสมรรถนะ แต่ในส่วนของ maintenances หลังการขายที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นโมดูลได้ ไม่เหมือนกับ
Cell to Module ที่จะเปลี่ยนได้ง่ายกว่า
         คาดว่าในอนาคตเรื่องแบตเตอรี่ทางผู้ผลิตจะมีการออกแบบที่คำนึงถึงบริการหลังการขายที่สามารถซ่อมบำรุงและหาอะไหล่ทดแทนได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตมากขึ้นในระยะยาว

         หากคุณต้องการดูคลิปนี้ฉบับเต็ม สามารถดูได้จากคลิปด้านล่างนี้ได้เลย และถ้าหากคุณชอบคลิปความรู้นี้
ขอฝากกดไลค์ กดติดตาม กดแชร์ กด SUBSCRIBE ที่ช่องของพวกเราด้วยนะครับ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.