ตามความเข้าใจและความสนใจของผู้คนเกี่ยวกับการติดโซล่าเซลล์ที่ยังมีความคิดว่ามีต้นทุนราคาที่สูงและจะต้องใช้เวลาเวลา 4 ปี ในการคืนทุน จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 10 ปี ดังนั้นในวันนี้เราจะมาหาคำตอบ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของโซล่าเซลล์มากยิ่งขึ้น
เรามาที่แหล่งผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด ณ จังหวัดชลบุรี
โดยเราจะมีผู้เชี่ยวชาญที่จะมาแนะนำเกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์ทั้งในเรื่องของรูปแบบ การผลิต และการทดสอบของแผงโซล่าเซลล์ คือ คุณกฤษณ์ พรพิไลลักษณ์ (GM Solar PPM CO.,Ltd)
คุณสมบัติของแผงโซล่าเซลล์ที่ดี ประกอบด้วย
1. ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ เวลาที่ซื้อแผงโซล่าเซลล์โดยมีจุดประสงค์เพื่อการผลิตไฟฟ้า จะต้องผลิตไฟฟ้าได้จำนวนมากที่เหมาะสมหรือเพียงพอต่อการใช้ของผู้ใช้ จากปกติแผงโซล่าเซลล์จะต้องถึงขนาดจำนวนวัตต์และวาร์
2. คุณภาพและราคา ที่จะต้องมีความเหมาะสมระหว่างกัน อย่างเช่น ถ้าเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่ทั้งราคาและคุณภาพที่ต่ำ เมื่อมีการใช้ในระยะยาว อาจมีผลทำให้ผลิตไฟฟ้าได้จำนวนน้อยกว่าที่ต้องการ
3. มาตรฐานของตัวแผงโซล่าเซลล์ จะเป็นไปตามมารฐานจากหน่วยงานด้านล่าง ซึ่งมาตรฐานทั้งหมดจะอยู่ในแผงโซล่าเซลล์ของทาง PPM
เทคโนโลยีของแผงโซล่าเซลล์
เริ่มต้นผลึกที่ใช้ทำโซล่าเซลล์ เมื่อ 8 ปีที่ก่อนมีการใช้แผงโพลีซิลิคอน ซึ่งยังมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำ
ต่อมาอีก 5 ปี จะเป็นโมโนคริสตันไลน์
แต่เทคโนโลยีที่เกือบจะล่าสุด คือ Mono PERC ที่เพิ่มขึ้นมา
ขออธิบายว่าเวลาที่ซิลิกอนมีการกระทบกับแสง ในเวลาผลิตไฟฟ้าจะมีแสงบางส่วนที่ทะลุไปทางด้านหลัง
(รูปด้านซ้าย)
ส่วนชั้น PERC (ด้านขวา) จะมีกระจกเงาเพิ่มขึ้นที่ด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้สะท้อนแสงขึ้นมาเพื่อ
ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น และสามารถคืนทุนโดยใช้เวลาไม่นาน
แผง Tier 1 สำหรับผู้ผลิตที่ต้องการผลิตเป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้เป็นตัวการันตีในเรื่องของคุณภาพของสินค้า ซึ่งคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์จะถูกการันตีภายใต้หน่วยงานที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น
การเปรียบเทียบแผงโซล่าเซลล์ในแต่ละแบบ
นอกจากที่เราจะบอกประเภทของแต่แบบของแผงโซล่าเซลล์แล้ว จะมีการทดสอบขั้นพื้นฐานที่ใช้ในส่วนของ
หน้างาน จะเป็นการทดสอบการวัดกระแสที่ไหลผ่านตัวแผงโซล่าเซลล์ โดยทำการช็อตขั้วบวกขั้วลบเข้าหากัน
เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ซึ่งจะมีเครื่องคลิปแอมป์ที่ตั้งค่าเริ่มต้นเลือกเป็นแอมป์ก่อน ต่อมาเลือกเป็น DC
หลังจากนั้นจะเซตที่ซีโร่
แผงที่ 1 390 W
ซึ่งเป็นแผงโซล่าเซลล์เทคโนโลยีแบบเก่าเมื่อ 5 ที่ผ่านมา ที่มีเซลล์ขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับแบบอื่นและมีขอบที่ตัดออกไป ส่วนวัสดุที่ทำจะเป็น Monocrystalline ที่ไม่มีชั้น PERC
ดังนั้นเป็นที่แน่นอนว่าแสงจะต้องทะลุผ่านไปได้ เมื่อสังเกตจะเห็นได้ว่าส่วนของเส้นริบบอน (รูปสุดท้าย)
เวลามองที่ด้านข้างแสงจะสะท้อนเข้าตา เป็นเครื่องยืนยันว่าแสงไม่ได้ดูดซับในตัวเซลล์ ทางด้านประสิทธิภาพจึงไม่เทียบเท่ากับรุ่นใหม่
การวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวแผงที่ 1 ทั้งนี้กระแสจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแสงที่ตกกระทบ ค่าที่ได้เท่ากับ
แผงที่ 2 545W
คนนิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีการนำเข้าจากประเทศจีน เซลล์จะมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้น แต่ยังคงมี
การตัดขอบอยู่ ส่วนชนิดจะมีการอัพเกรดที่เรียกว่า Mono PERC ตามที่ได้อธิบายไว้ว่าจะมีกระจกเงาที่ด้านหลังที่สะท้อนแสงเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่ม และจากการสะท้อนแสงที่น้อยกว่าจากตัวริบบอนจะเป็นแบบกลม (รูปขวาล่าง)
มีคุณสมบัติที่จะไม่สะท้อนแสงออกมาเท่ากับริบบอบแบบแบน ทำให้มีประสิทธิภาพดูดซับแสงได้ดี
การวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวแผงที่ 2 ค่าที่ได้เท่ากับ
แผงที่ 3 600W
มีสิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ ขนาดของเซลล์ที่ใหญ่กว่าเป็นเซลล์ขนาด 210 มิลลิเมตร และการตัดขอบที่น้อยมากเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
การวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวแผงที่ 3 ค่าที่ได้เท่ากับ
เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีจึงมีผลต่อการผลิตไฟฟ้า โดยเซลล์ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า
ได้มากกว่า แต่ว่า Voltage จะอยู่ที่การอนุกรมของตัวเซลล์ ซึ่งถือได้ว่าแผงโซล่าเซลล์เปรียบได้ดั่งแบตเตอรี่
แต่อย่างที่เกริ่นเมื่อก่อนหน้าว่านี่ไม่ใช่วิธีการทดสอบที่ได้มาตรฐาน เพราะว่าส่วนที่วัดนั้นยังไม่ใช่จุดการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งจะต้องมีการวัดโวลต์
ซึ่งแผงที่ 1และ แผงที่ 2 จะมีค่าโวลต์ที่ค่อนข้างสูง ส่วนแผงที่ 3 ค่าโวลต์จะต่ำลง ซึ่งกระแสที่มีค่าสูงค่าโวลต์
จะต่ำลง ในแง่ของความปลอดภัยโวลต์ที่มีค่าต่ำจะมีประสิทธิภาพมากกว่า
วิธีทดสอบอย่างมีมาตรฐานที่ทำภายในโรงงาน มีรายละเอียดดังนี้
1. ความเข้มแสง 1,000W/m2
2. Spectrum 1.5 AM
3. อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์อยู่ที่ 25 °C
เมื่อเข้ามามาสู่ภายในโรงงานแล้วแล้ว เราจะเห็นถึงไลน์การผลิตของโซล่าเซลล์ ที่เริ่มตั้งแต่กระบวนการ
การต่อวงจรเซลล์ จนกระทั่งสุดท้ายคือการแพ็คลงกล่อง
ทางคุณกฤษณ์จะพาไปดูในส่วนไฮไลน์ของที่นี้กัน
คือ เครื่องประกอบเซลล์ ซึ่งจะเป็นเซลล์ที่มีขนาด M12 เราจะเข้าสู่ห้องที่มีเครื่องออโต้บราสซิ่ง คือ การเชื่อมวงจรของตัวเซลล์ ก่อนที่จะไปวางบนกระจกให้กลายเป็นแผงโซล่าเซลล์ ถือได้ว่าเป็นหัวใจของแผงโซล่าเซลล์ และ
ใช้เทคโนโลยี M12 คือ ขนาดเซลล์ 210 mm เป็นเซลล์มีขนาดใหญ่ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูง
แต่ทั้งนี้เซลล์ที่มีการผลิตมาจะมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่จะต้องมีการตัดครึ่งโดยใช้กระบวนการเลเซอร์ เนื่องจากทั้งเซลล์ที่ผลิตออกมาได้มีจะผลิตกระไฟฟ้าที่ประมาณ 40 แอมป์ ซึ่งมีค่าที่สูงเกินไปกับการใช้งานปกติ
จึงต้องตัดออกครึ่งให้เหลือเท่ากับ 20 แอมป์ ทั้งนี้จริงอยู่ที่ว่ากระแสไฟฟ้ายิ่งมีจำนวนมากเป็นผลดี แต่อุปกรณ์ที่
ใช้ไฟต้องมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับด้วย
เมื่อทำการตัดเซลล์เรียบร้อยแล้ว จะมีตัวโรบอทที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของเซลล์
ต่อมาเมื่อตัวโรบอทมีการยืนยันว่าไม่มีการเสียหาย จะนำเซลล์มาวางบนริบบอนที่เป็นตัวที่นำกระแสไฟฟ้า
ซึ่งหมายถึงตัวเชื่อมเซลล์ให้เข้าหากัน
สำหรับเซลล์เมื่อ 5 ที่แล้ว ตัวริบบอนจะมีขนาดหนาและแบน แต่ในตัวล่าสุดที่สะท้อนแสงได้น้อยกว่า จะเป็น
ริบบอนแบบกลม จะมีเส้นเหมือนลวด ซึ่งการที่เป็นลวดจะเรียกว่า Super Multi Bus Bar จะมีเส้นนำไฟฟ้า
จำนวน 12 เส้น อยู่ตัวเซลล์ ทำให้กระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และเซลล์ที่มีการเลือกใช้จะมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า PERC
ที่เคยกล่าวไว้
ต่อไปจะเป็นการ QC โดยมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบว่าเซลล์ทั้งหมดมีการเชื่อมต่อกับวงจรอย่างถูกต้องและ
มีความสวยงาม โดย 1 แถว จะเป็นรุ่น High Voltage 600 w มี 20 เซลล์อนุกรม
ทีมวิจัยและพัฒนา
ทาง PPM เป็นโรงงานประกอบที่มีทีมวิจัยและพัฒนา ที่สามารถผลิตสินค้าตรงกับตามความต้องการของลูกค้าได้ ยกตัวอย่าง การที่นำเซลล์มาอนุกรมเพื่อให้ได้โวลต์ที่สูง ทำให้กระแสไฟฟ้าจะลดลง จะถูกนำไปใช้กับโซล่าเพื่อ
การเกษตร ที่ต้องการโวลต์ที่สูงเพื่อไปขับมอเตอร์ โดยที่กระแสไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องสูงมาก ซึ่งกระบวนการทั้งหมด
ที่กล่าวถึง คือ แผนกวิจัยและพัฒนา (Research and Development, R&D) ในส่วนของสินค้าและ Manufacturing (การผลิต)
ส่วนต่อมา คือ การตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์ ในเรื่องของช่องว่างระหว่างเซลล์ เป็นที่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะว่าถ้าเซลล์เกิดการโดนกันจะมีความเสี่ยงเกิดความร้อนสะสม ดังนั้นต้องมีรูปแบบการจัดวางเซลล์ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าหรือแรงดันออกมาได้สูงสุด
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสินค้าได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสเกล ขนาดที่แตกต่าง เพื่อให้ตรงกับความต้องการในการใช้งาน
ห้องทำความสะอาด
เวลากระบวนการที่ผลิตซิลิโคนสำหรับใช้ในการยิงขอบเฟรม จะเกิดคราบเล็กน้อย ดังนั้นก่อนที่จะนำ
แผงโซล่าเซลล์บรรจุลงกล่อง ต้องมีความมั่นใจว่ากระจกด้านหน้ามีความสะอาด 100% ที่พร้อมรับแสงแดด
และจะเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ
การตรวจสอบคุณภาพด้านการผลิตและประสิทธิภาพ
จะต้องมีการตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์ทุกแผ่น 100% โดยแผงโซล่าเซลล์จะถูกลำเลียงเข้าสู่เครื่อง I-V Test
ตัว I ย่อมาจากกระแส ส่วนตัว V ย่อมาจากโวลต์ จึงหมายความว่าเป็นเครื่องทดสอบกระแสและโวลต์ของ
แผงโซล่าเซลล์ เพื่อตรวจสอบดูว่าสเปคของแผงโซล่าเซลล์เป็นไปตามการใช้งาน อย่างเช่น แผง 600 วัตต์
ต้องสามารถผลิตกระแสและโวลต์คูณได้ 600 วัตต์
วิธีการทดสอบ
1. แผงโซล่าเซลล์จากไลน์ผลิตจะวิ่งเข้าไปในห้อง
2. ในห้องนี้จะมีแสงแฟลชส่องมาจากทางด้านบน ซึ่งแสงแฟรชที่ออกมาต้องมีความเข้มข้นแสง 1,000 W/m2 และ Spectrumของแสงจะต้องอยู่ที่ 1.5 AM
3. อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์จะต้องอยู่ที่ 25 °C
การตรวจสอบรอบสุดท้ายก่อนการบรรจุลงกล่อง หลังจากที่แผงโซล่าเซลล์ผ่านการทดสอบ
โดยจะมีการตรวจสอบทุกส่วน ทั้งในเรื่องของความสะอาด ช่องว่างของเซลล์ที่เป็นหัวใจที่สำคัญ
การตรวจสอบตรงขอบมุมต่าง ๆ ของแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้ความมั่นใจว่าลูกค้าได้สินค้าตามที่ต้องการและ
มีคุณภาพสูงสุด
การทดสอบแผงโซล่าเซลล์ทั้ง 3 รูปแบบ
อยู่ภายใต้เงื่อนไขการรักษาอุณหภูมที่ 25 °C ให้เหมาะสมกับการทดสอบ และขอเสริมว่า เครื่อง I-V Test
มีเพียงแค่ 3 แห่งในประเทศไทย สาเหตุมาจากราคาที่สูงและต้องได้มาตรฐานตาม IEC
ข้อมูลของแผงโซล่าเซลล์ มีดังต่อไปนี้
ค่า Pmax (Maximum Power) คือ ค่ากำลังการไฟฟ้าสูงสุดของแผงโซล่าเซลล์
ค่า Voc (Open Circuit Voltage) คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าตอนวงจรเปิด วัดได้จากขั้วบวกและลบของ
แผงโซล่าเซลล์ขณะไม่มีต่อโหลดไฟฟ้า
ค่า Isc (Short Circuit Current) คือ ค่ากระแสลัดวงจร เป็นค่าที่ได้จากการวัดค่ากระแสด้านบวกและลบ
ของแผงโซล่าเซลล์
สรุปผลการทดสอบแผงโซล่าเซลล์ทั้ง 3 แบบ เป็นดังนี้
สำหรับวันนี้เราได้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เกี่ยวข้องในของราคา เทคโนโลยีของแผงโซล่าเซลล์ จนถึงขึ้นตอนของการทดสอบ ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่หน้างาน
สรุปสำหรับการติดแผงโซล่าเซลล์ที่เราได้ไปดูกันในวันนี้ ถึงการเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ ผลของราคามี
ความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจากที่เราได้ความรู้จะเห็นถึงเทคโนโลยีในการผลิตแผงโซล่าเซลล์แบบต่าง ๆ
รวมทั้งขนาดของโซล่าเซลล์ยังมีผลต่อการผลิตไฟฟ้า ที่สำคัญจะมีในส่วนของคุณภาพการผลิตแผงโซล่าเซลล์
ที่ต้องมีประสิทธิภาพตรงตามมาตรฐาน ซึ่งต้องผ่านการทดสอบ เพื่อความปลอดภัย
แผงโซล่าเซลล์ของ PMM มีการรับประกันตัวแผงโซล่าเซลล์ 15 ปี และรับประกันประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า 25 ปี และที่สำคัญยังเป็นโรงงานของคนไทย และสามารถติดต่อได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลย
ถ้าหากคุณต้องการดูภาพรวมเรื่องแผงโซล่าเซลล์ฉบับเต็ม สามารถดูได้จากคลิปด้านล่างนี้ และถ้าคุณชอบ
คลิปนี้ขอฝาก กดไลค์ กดแชร์ กด Subscribe ให้ด้วยน้า