เทคโนโลยีสะอาดแข่งขันกันเดือด!! รายใหญ่แห่ลงทุนทั้ง ปตท. บ้านปู การไฟฟ้า รับกระแสรถ EV โตกระฉูด

         ในปัจจุบันจำนวนของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขั้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นมาจากปี 2022 ที่มีมาตรการ EV ส่งผลให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ในระดับที่จับต้องได้ จึงดึงดูดให้คนมาสนใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น 

จนมียอดการจดทะเบียนสูงถึง 20,000 คัน ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า
มากขนาดนี้ และคาดการณ์ว่าจะมียอดผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 50,000 คัน ซึ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 2 – 3 เท่า

         จากยอดของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนสูงขึ้น มีเรื่องสำคัญที่ต้องพูดถึง คือ เรื่องของสถานีชาร์จ

รถยนต์ไฟฟ้า ที่ต้องมีการผลักดันส่งเสริมมากขึ้น โดยต้องมีหัวจ่ายหรือสถานี DC Fast Charge จำนวน 12,000 หัวจ่ายภายในปี 2030 ตามแผนมาตรการของ EV

         เรื่องของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีข้อสงสัยว่าพลังงานไฟฟ้าที่นำมาใช้มาจากแหล่งพลังงานสะอาดหรือไม่ 

ดังนั้นในหลายประเทศจึงมีการผลักดันว่ารถยนต์ไฟฟ้าต้องมาจากแหล่งพลังงานสะอาด (Green Technology)

          ในประเทศไทยมีการตื่นตัวเรื่องของ Green Technology อย่างจริงจัง ซึ่งมีการมุ่งเน้นว่าการผลิตไฟฟ้า
ต้องไม่มีการจากใช้แหล่งพลังงานฟอสซิล ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน แต่ต้องเป็นแหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม แสงแดด ซึ่งเป็นพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสามารถหมุนเวียนได้

          จะเห็นได้ว่ามีบริษัทใหญ่ ๆ เริ่มเข้ามาในตลาดส่วนนี้ เพื่อต้องการที่จะผลักดันรถ EV ให้ยั่งยืน ดังนั้นจึงจะต้องเริ่มจากแหล่งพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ยกตัวอย่าง

          บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มีการลงทุนเงินเป็นจำนวนมากสำหรับ Green Technology เพราะถือว่ายังเป็นพลังงานสะอาดกลุ่มใหม่ที่ยังไม่มีใครเริ่มต้นจับจอง ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานจากลม

          บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีการลงทุนในการพัฒนา Green Hydrogen คือ ใช้ Hydrogen ที่แยกด้วย

ไฟฟ้าจากน้ำ โดยมีการร่วมมือกับทาง กฟผ. ที่นำเทคโนโลยีเกี่ยวกับการไฟฟ้ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด

รูปแบบของพลังงงานสะอาด มีดังต่อไปนี้

Solar

         คือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่นำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก มีการใช้ตามบ้านอย่างแผงโซล่าเซลล์ เป็นผลจากราคาที่เริ่มจับต้องได้ แต่สำหรับเอกชนรายใหญ่มีการลงทุนเป็นโซล่าฟาร์ม (Solar Farm) ขนาดใหญ่ ซึ่งจะทั้งฟาร์มบนบกและฟาร์มในน้ำ

ระบบ Solar ที่นิยมใช้มีทั้งหมด 3 แบบ

         1. แบบ Standalone คือ ระบบที่ไม่มีการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก เมื่อมีการผลิตไฟฟ้าออกมาจะมี
การเก็บกักไว้ในที่ที่ต้องการ เพื่อนำมาใช้ในพื้นที่ปิดและมีความเหมาะสมกับพื้นที่ห่างไกล

          2. แบบระบบ On Grid คือ เป็นการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกับการไฟฟ้า สำหรับในช่วงที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้

จะมาใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแทน แต่ถ้าแผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้จะใช้ส่วนนี้แทน

         3. แบบระบบไฮบริด คือ ใช้โซล่าเซลล์ไปผลิตไฟฟ้าโดยนำไปเก็บกักไว้ แล้วไปใช้แหล่งพลังงานอื่น ๆ แทน เช่น
โซล่าเซลล์กับดีเซล โซล่าเซลล์กับไฮโดรเจน เป็นต้น เป็นการใช้แบบผสมผสานไฮบริด

         ข้อได้เปรียบของ Solar เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณและช่วงเวลาที่แสงแดดมีความเหมาะสมกับต่อ

การผลิตไฟฟ้า

ระบบไฮโดรหรือน้ำ

          เราคุ้นเคยจากการผลิตไฟฟ้าตามเขื่อนต่าง ๆ โดยมีการเก็บแหล่งน้ำบนแอ่งของเขื่อน เมื่อปล่อยน้ำลงมา

เพื่อไปหมุนกังหัน หรือเทอร์ไบน์ กังหันจะไปหมุนตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจนได้พลังงานไฟฟ้าออกมา และนอกจาก

แหล่งเขื่อนแล้ว ยังมีคลื่นทะเลที่ใช้การขึ้นลงของคลื่นในการกำเนิดพลังไฟฟ้า

         ข้อดีของพลังงานน้ำ คือ สามารถนำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ได้ โดยถ้าในช่วงที่ความต้องการไฟฟ้าเหลือ
จะนำพลังไฟฟ้าทำให้เครื่องสูบน้ำ ทำการสูบน้ำไปกักเก็บบนเขื่อนแทน เป็นการทำหน้าที่เสมือนแบตเตอรี่ในรูปแบบการกักเก็บของน้ำบนเขื่อน

พลังงานลม

          ที่เห็นอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเป็นกังหันลมที่ผลิตไฟฟ้า ที่มีหลักการใช้แรงลมเพื่อไปหมุนใบพัด 

แล้วใบพัดจะเอาแกนไปปั่นที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าออกมา

          เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นว่าการหมุนของใบพัดมีความเชื่องช้า แต่ภายในจะเป็นเฟื่องทดไปหมุนรอบ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในรอบที่สามารถผลิตไฟฟ้าตามที่ต้องการ ซึ่งลมยิ่งแรงจะมีผลให้ผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น

          ทั้งนี้ต้องมีการสำรวจแรงลมเพื่อหาจุดตั้งกังหันลม อย่างเช่น ที่ลำตะคอง ที่มีการสำรวจแผนที่ลมมาแล้ว
ว่ามีกำลังแรงลมที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า

         แถบยุโรปจะมีการตั้งกังหันลมตามชายทะเล หรือในบางพื้นที่มีการตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ที่ทะเล ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับหลายร้อยครัวเรือน

          จากที่กล่าวถึงกังหันก่อนหน้าจะเป็นกังหันลมแบบแนวนอน แต่จะมีกังหันลมอีกแบบหนึ่ง คือ กังหันลมแนวตั้ง เป็นแกนปั่นไฟแนวตั้งแทน มีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในครัวเรือนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ประกอบกับใช้พื้นที่จำนวนน้อย และเริ่มมีการใช้ในต่างประเทศควบคู่กับ Solar เพื่อสับเปลี่ยนการใช้พลังงานในการผลิตไฟฟ้า

แก๊สชีวมวล

          เป็นการนำของเสียที่สามารถย่อยสลาย หรือเป็นของเสียจากภาคเกษตรกรรม มาทำการหมักด้วยจุลินทรีย์

          สิ่งที่ได้ออกมาจะเป็นก๊าซเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็น LPG ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ CNG (Compressed Natural Gas)

 ที่สามารถนำใช้ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

          ทางตรง จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงโดยต้มหม้อไอน้ำ เพื่อนำไปใช้ในโรงงาน

          ทางอ้อม จะนำมาใช้อย่างพวก Generator ใช้เครื่องยนต์เพื่อปั่นไฟ  ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซหุงต้ม

           ข้อดีและข้อควรระวัง สามารถทำได้แต่แหล่งการผลิตจะต้องครอบคลุมให้อยู่ในมาตรฐาน เพราะว่าติดไฟ
ได้ง่ายและค่อนข้างอันตราย

ตัวกักเก็บพลังงาน

         ขอเกริ่นว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะมีทั้งช่วงที่ต้องการจำนวนมากหรือมีจำนวนน้อย ในความเป็นจริง

การผลิตไฟฟ้าจะได้ปริมาณที่ไม่คงที่ เช่น พลังงานลม แสงแดด ซึ่งต้องอยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตไฟฟ้า

ดังนั้นในช่วงที่ผลิตไฟฟ้าได้จำนวน้อยกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะต้องมีวิธีรับมือ

         จึงเป็นบทบาทของตัวกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ที่ทำหน้าที่เหมือนถังเก็บน้ำ

         เปรียบเทียบเสมือนช่วงที่ความต้องใช้น้ำมีจำนวนมาก และมีน้ำในแท้งค์ก็มีปริมาณมาก ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเพียงพอ และในช่วงเวลาที่ผลิตไฟฟ้าได้จำนวนมาก แต่ความต้องการใช้มีจำนวนน้อย จะไฟฟ้าที่เหลือถูกนำไปกักเก็บไว้

ตัวกักเก็บพลังงาน ที่มีการใช้ที่ประเทศไทย มีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

         1. แบบเขื่อน คือ เก็บ Energy Storage ในรูปแบบของน้ำ เมื่อต้องการผลิตไฟฟ้าจะทำการปล่อยน้ำออกมา ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับไฮโดร มีการกักเก็บพลังงานในรูปแบบของน้ำ

          2. กักเก็บพลังงานในรูปแบบไฟฟ้า (Battery Energy Storage System: BESS)

              คือ การกักเก็บในแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ อย่างที่เข้าใจว่าแบตเตอรี่สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้เป็นจำนวนที่มากขึ้น

          อย่าง กฟผ. มีการลงทุน BESS ที่อยู่ใกล้กับแหล่งผลิตลม และ Solar โดยจะมีการเก็บสำรองไว้ที่นี้ ถ้าจุดไหน
มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จะดึงไฟฟ้าที่สำรองไว้ไปใช้ ทำให้การใช้ไฟฟ้าไม่เกิดการติดขัด

            แต่ในเรื่อง BESS จะมีข้อจำกัดด้านราคาของแบตเตอรี่ที่สูงและใช้พื้นที่จำนวนมาก

           3. การไฟฟ้าที่เหลือแยกเป็นไฮโดรเจน

              คือ การนำไฟฟ้าที่ผลิตเหลือมาแยกเป็นไฮโดรเจนและเก็บเป็นรูปแบบของไฮโดรเจนแทน จะสามารถเก็บพลังงานได้มากกว่าและใช้พื้นที่น้อยกว่าแบบ BESS และมีแนวโน้มที่จะใช้การกักเก็บแบบนี้สูงขึ้น แต่ในตอนนี้อาจมีจำนวนที่น้อย ผลจากต้นทุนที่ค่อนข้างสูง

บริหารจัดการไฟฟ้าแบบอัจฉริยะ (Smart Grid)

         นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย จากความสามารถในเรื่องของการบริหารจัดการไฟฟ้าระหว่าง
ผู้ผลิตกับความต้องการใช้ไฟฟ้าให้จุดมากที่สุด

           เพราะจากความไม่แน่นอนทั้งในเรื่องของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าและจำนวนการผลิตไฟฟ้า การบริหารส่วนนี้จะทำการจับคู่ โดยใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นมา คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) 

จะมีฐานข้อมูลเรื่องของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่และช่วงเวลา รวมทั้งปริมาณการผลิตไฟฟ้าในแต่ช่วงเวลาด้วย แล้วตัว AI จะหาค่าที่ดีที่สุดเพื่อนำมาจับคู่ ส่งผลให้การบริหารการจำหน่ายไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดที่สุด

         ซึ่งเครื่องมือนี้จะต้องมีการติดวัดจำนวนการจ่ายไฟ

           และเมื่อคนจะหันมาติดแผงโซล่าเซลล์มากขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่การผลิตไฟฟ้าแล้วมีจำนวนเหลือ
และมีความประสงค์ที่จะขายไฟฟ้าจำนวนนั้นให้กับ Grid แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าในบางช่วงที่มีการผลิตไฟฟ้าได้จำนวนมาก ควรที่จะเลือกนำไปใช้เอง ตัว Smart Grid จะเข้าช่วยแก้ปัญหา

            อย่างปัญหาไฟดับที่ประเทศจีน ตัว AI เมื่อทราบจุดที่ไฟดับแล้ว จะใช้เวลาในการแก้ไขไม่ถึง 1 นาที
โดยมีการดึงไฟฟ้าจากจุดอื่นและหาเส้นทาง เพื่อนำไฟมาแก้ไขในจุดนั้น

          ในอนาคตข้างหน้าจะมีการขยายผลออกไป ดังนั้นในส่วนของเรื่องสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟฟ้าที่จะมีจำนวน

มากขึ้น จะสามารถดูได้ถึงช่วงเวลาและสถานีชาร์จไฟฟ้ามีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จะมีการจัดเตรียมพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งยังรองรับการผลิตไฟฟ้าแผงโซล่าเซลล์

          จากเทคโนโลยีพลังงานสะอาดทั้ง 6 แบบ ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ Solar จากราคาที่จับต้องได้ แสงแดดที่

มากพอ มีทั้งค่ายรายใหญ่ลงเข้ามาเล่นในตลาดมากขึ้น และรายย่อยก็สามารถผลิตไฟฟ้าขายเองได้แล้ว โดยผู้รับซื้อจะเป็นการไฟฟ้าที่รับซื้ิอในจำนวนที่จำกัด เพราะอย่าลืมว่าระบบไฟฟ้าของ กฟผ. ยังไม่ใช่แบบ Smart Grid 

           ในส่วนพลังงานสะอาดแบบอื่น ทางบริษัทรายใหญ่จะมีการใช้แบบผสมผสาน เช่น SCG มีการทุ่มในเรื่องของก๊าซชีวภาพ (Biogas) ใช้ Smart Grid ในองค์กร ในการบริหารจัดการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วน CP มีการนำขยะจากภาคเกษตรกรรมมาหมักเป็นไฮโดรเจน โดยมีการร่วมมือกับทาง Toyota นำมาใช้ในเทคโนโลยี FCEV
เพราะฉะนั้นหลังจากนี้การใช้พลังงานสะอาดจะมีความจริงจังมากยิ่งขึ้น

         หากคุณชอบบทความในเรื่องนี้ สามารถดูได้จากคลิปด้านล่างและหากคุณชอบคลิปนี้ขอฝาก กด LIKE 

กด SHARE และกด SUBSCRIBE ให้ด้วยนะคร้าบ

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.