การพลิกโฉมรถยนต์ไฟฟ้า MG ด้วยแพลตฟอร์มใหม่ NEBULA PLATFORM จะมีความแตกต่างด้านสมรรถนะและความปลอดภัยกับรูปแบบเดิมอย่างไร ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องนี้กันที่ MG Service Center อ่อนนุช
เราจะได้พูดคุยและสอบถามความรู้เกี่ยวรถยนต์ของ MG กับทาง คุณแมนรัตน์ ประสงค์ไทย ผู้เป็น Technical Trainer Supervisor
อย่างที่รู้กันว่ารถยนต์ไฟฟ้า MP 4 ที่เพิ่งเปิดตัวพร้อมกับแพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งในอนาคตจะเป็นต้นแบบให้กับ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นอื่น ๆ นอกจากนี้รถ MG 4 ยังได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากทางยุโรปโดยมีการเรียกชื่อเป็น MG Mulan
สาเหตุ NEBULA PLATFORM มีข้อดีและข้อแตกต่างจากรถยนต์รูปเดิม
1. จากทางด้านหลังที่มีการดึงฐานล้อขยับมาข้างหลัง ทำให้ระยะตรงกลางตัวรถมีความยาวเพิ่มขึ้น สามารถวางแบตเตอรี่ และส่งผลให้ห้องโดยสารมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และตัวมอเตอร์จะอยู่ในตำแหน่งด้านหลังที่ติดกับตัวล้อ จะช่วยขับเคลื่อนให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ประกอบกับในส่วนของล้อด้านหน้ามีหน้าที่เบรคและเลี้ยวอย่างเดีย จากกระบวนการดังกล่าวจะทำให้การเกาะถนนทำได้ดีกว่า
2. ตำแหน่งการวางแบตเตอรี่จะอยู่ในโครงสร้างรถ ทำให้สามารถลดขนาดของแบตเตอรี่ลงได้
3. ส่วนของล้อหน้า เมื่อไม่มีเครื่องยนต์และเพลาขับเคลื่อน จะสามารถขยับไปพื้นที่ไปด้านหน้าได้มากขึ้น
4. ส่วนภายในด้านหน้ารถ มีการออกแบบให้สามารถลดความรุนแรงจากการชน ส่งผลให้ได้รางวัล EURO NCAP ระดับ 5 ดาว
มีการออกแบบให้มีช่องว่างที่จะสามารถรับแรงกระแทก ทำให้เวลาเกิดการชน ตัวรถจะค่อย ๆ ยุบตัว เพื่อให้ห้องโดยสารมีความปลอดภัย
เพื่อให้เห็นของจริง เมื่อเปิดฝากระโปรงรถ ที่ปกติมีการถอดแผงออก จะเห็นได้ว่าจะมีช่วงช่องว่างที่สามารถ หดตัวลง เป็นตัวรับแรงกระแทกในเวลาเกิดการชน เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อห้องโดยสาร
ส่วนด้านหน้าจะเห็นได้ว่ามีการนำตู้แอร์มาไว้ข้างนอก เพื่ออำนวยความสะดวกในการซ่อมแซม และสร้างพื้นที่ว่างรถ รวมทั้งในแพลตฟอร์มจะมีการวางแร็คให้อยู่ส่วนด้านหน้า ทำให้การเข้าโค้งและการควบคุมรถทำได้ดี
ตัวแร็ค
แอร์
คอมเพรสเซอร์
หม้อน้ำ
ด้านในรถ MG 4
จะเห็นได้ว่าพื้นที่จะต่ำลงไป และไม่มีแอร์ใต้คอนโซลที่นั่งข้างคนขับ ทำให้ผู้โดยสารสามารถยืดขาได้อย่างเต็มที ส่วนเบาะด้านหลังเดิมทีจะมีเนินของท่อไอเสีย และตอนนี้พื้นที่ตรงนั้นจะเรียบแทน
วิวัฒนาการแพลตฟอร์มของรถยนต์ MG
1. MG ZS (รถน้ำมัน) น้ำมัน) เป็นแพลตฟอร์มต้นแบบของรถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า
เป็นเครื่องเบนซิน 1.5 ลิตร ที่ขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า และตัวเครื่องยนต์จะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าตัวรถ
Tortsion beam (ช่วงล่างแบบคานเหล็ก) เป็นตัวรับน้ำหนัก ที่อยู่ที่ล้อหลัง กรณีเกิดการตกหลุม อุปกรณ์ ชิ้นส่วนจะช่วยรับน้ำหนัก
การวัดระยะระหว่างคานด้านในจนถึงกึ่งกลางล้อหลังจะมีความยาวอยู่ที่ 61 ซม. แต่ถ้าวัดถึงตัว Torsion beam จะมีระยะห่างอยู่ที่ 80 ซม.
อาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า พอเป็นรถยนต์น้ำมันจะต้องมีที่หลบถังน้ำมัน ดังนั้นจึงอยู่ใต้ที่นั่งแถวสอง
ตัวหุ้มท่อไอเสีย ที่ต้องจัดให้หลบอยู่ด้านใน การจัดแบบจะทำให้นูนเข้าไปในตัวรถ
ถังน้ำมัน ซึ่งจะส่งน้ำมันไปยังเครื่องยนต์
ส่วนชุดรับน้ำหนักด้านหน้า นอกจากจะมีเครื่องยนต์ ส่วนล้อหน้าประกอบด้วย เพลาขับเคลื่อน ตัวบังคับเลี้ยว เบรก และเมื่อวัดระยะระหว่างปลายคานและกลางล้อหน้าอยู่ที่ 70 ซม.
เมื่อทำการวัดความยาวตั้งแต่กึ่งกลางล้อหน้าและล้อหลังจะมีค่าเท่ากับ 256 ซม.
2. MV VS HEV (รถไฮบริด)
เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนามาจาก ZS เริ่มทำการดูด้านหลังรถยนต์ ยังคงมีส่วนประกอบ Torsion beam แต่ส่วนที่เพิ่มขึ้น คือ ตัวแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฮบริดซึ่งมีขนาดเล็ก ที่นำมาใช้ในช่วงของการออกตัว มีกำลังไฟฟ้าประมาณ 1kW/H มีฝาครอบชุดแปลงไฟ และตัวแบตเตอรี่จะใช้ลมแอร์ในการระบายความร้อน
ต่อไปเป็นการวัดระยะระหว่างคานด้านหลังจนถึง Torsion beam อยู่ที่ประมาณ 85 ซม. และเมื่อวัดระยะถึงฐานล้อจะอยู่ที่ 60 ซม. ซึ่งจะมีระยะห่างใกล้เคียงกับรถยนต์ที่น้ำมัน เพราะมีส่วนเสริมของแบตเตอรี่
นอกจากนี้มีชุดที่เพิ่มเติมคือ สายไฟสีส้มที่ต่อมาจากตัวแบตเตอรี่ ที่จะส่งไฟฟ้าพร้อมกับส่วนของน้ำมัน มาที่เครื่องยนต์
ส่วนเครื่องยนต์เป็นแบบเดียวกับ MG ZS คือ เบนซิน 1.5 ลิตร แต่จะเปลี่ยนเป็นเกียร์ CVT (CONTINOUS VARIABLE TRANSMISSION) เป็นเกียร์ที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานตามกำลังที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ พร้อมกับ ตัวมอเตอร์ มีหน้าที่คอยรับส่งกำลัง ทำให้เรื่องน้ำหนักทั้งตัวรถยนต์ไฮบริดจะมากกว่ารถยนต์น้ำมัน
ต่อไปเป็นการวัดระยะระหว่างคานด้านหน้าจนถึงกลางล้อจะอยู่ที่ประมาณ 70 ซม.
3. MG ZS EV (รถไฟฟ้ารุ่นแรก) ที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย
เราจะมาเริ่มดูช่วงล่างด้านหลังจะยังคงเหมือนรถยนต์น้ำมัน แต่จะมีการเปลี่ยนการตั้งค่าเพื่อรองรับแบตเตอรี่ เพิ่มขึ้นมา รวมทั้งโช๊คอัพ ความแข็งของสปริงที่แตกต่างกัน
ส่วนที่เป็นแบตเตอรี่ จะเห็นได้ว่าจะคงมีใช้โครงสร้างของรถยนต์น้ำมัน โดยทำการเอาส่วนน้ำมันออก มีการปรับแต่งให้เหมาะกับกับการทำรถยนต์ไฟฟ้า มีการคานเพื่อยืดด้วยน๊อตกับตัวแบตเตอรี่
จากช่วงล่างที่มีการนำแบตเตอรี่มาใช้โครงด้านล่างของรถยนต์น้ำมัน จะเห็นได้ว่ามีขนาดที่ไม่สอดคล้อง เมื่อวัดระยะห่างระหว่างแชสซีและตัวแบตเตอรี่ต่ำลงมาอยู่ที่ 8 ซม.
ยังคงมีการขับเคลื่อนด้วยล้อหน้าโดยใช้มอเตอร์มาเป็นตัวส่งกำลัง ในส่วนของล้อหน้ายังคงด้วยประกอบ เพลาขับเคลื่อน ตัวบังคับเลี้ยว เบรก
ในความเป็นจริง ส่วนของแบตเตอรี่ควรมีความยาวมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่ด้วยโครงสร้างของรถยนต์น้ำมัน ทำให้ใส่ได้สั้นลง
ส่วนที่เดิมที่เป็นท่อไอเสีย เปลี่ยนทำหน้าที่บรรจุสายไฟและมีการเดินสายไฟมาที่ร่องท่อไอเสียเดิม
การวัดระยะยาวของรถโดยวัดจากกึ่งกลางล้อทั้งสองด้านจะอยู่ที่ 257 ซม.
4. MG 4 ที่เป็นไฮไลท์ของงานนี้
จากวิวัฒนาการของรถยนต์ตั้งแต่รถยนต์น้ำมัน รถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรก ซึ่งยังคงใช้ แพลตฟอร์มรถยนต์น้ำมัน แต่สำหรับ MG 4 จะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งมีข้อดีในเรื่อง การขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่ด้านหลังและระยะห่างระหว่างมอเตอร์และระบบขับหลังอยู่ใกล้กัน ประกอบกับสายไฟที่ต่อจากแบตเตอรี่มาที่มอเตอร์มีความยาวที่สั้นมาก ส่งผลให้การสูญเสียกำลังลดต่ำลง
และส่วนชุดควบคุมมอเตอร์ต่าง ๆ ของไฟฟ้าแรงสูง จะอยู่ในส่วนเดียวกันทั้งหมด
นอกจากนี้ช่างล่างด้านหลัง มีการออกแบบดีไซด์ใหม่ จะมีตัว Multi Link คือ ระบบกันสะเทือนของรถยนต์ประเภทหนึ่งที่มีแขนยึดตามยาวตั้งแต่หนึ่งแขนขึ้นไป ในตัวรถ MG 4 จะมีแขนทั้งหมด 3 ตัว เป็นตัวช่วยกันโครง ปีกผีเสื้อ สามารถขับเคลื่อน 4 ล้อได้อย่างอิสระ
เมื่อวัดระยะจากคานด้านในจนถึงมอเตอร์อยู่ที่ 32 ซม. มีระยะห่างที่ลดลงครึ่งหนึ่งจากแพลตฟอร์มอื่น
จากระยะส่วนหลังใช้พื้นที่น้อย ทำให้มีพื้นที่ในการวางแบตเตอรี่ได้อย่างเต็มที่และอยู่ในตำแหน่งตรงกลางรถ มีการลงน้ำหนักที่ตรงกลาง จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการขับเคลื่อนรถยนต์ให้ทรงตัวและเกาะถนนได้ดีมากขึ้น
ส่วนของแบตเตอรี่ที่ใช้จะเป็นแบบ Cell-to-pack มีขนาดใหญ่ 3 เซลล์ ไม่มีเป็นโมดูล ส่วนด้านนอกจะเป็น อลูมิเนียมทั้งหมด
และจากแพลตฟอร์มที่เป็นรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ ทำให้การวางแบตเตอรี่ราบเรียบกับช่วงล่างของรถ ซี่งจะมี ส่วนที่เห็นพ้นออกมาแค่ 2 ซม. และความสูงจริง ๆ ของตัวแบตเตอรี่จะอยู่ลึกขึ้นเช้าภายในตัวรถอีกที
สามารถแปลได้ว่า ในเรื่องของแบตเตอรี่จะมีโครงที่ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการเกิดการเกิดเสียหายต่อตัวแบตเตอรี่ เช่น การเฉี่ยวชน การวิ่งผ่านเนินสูง และจะมีตัวที่รองรับตัวแรกที่มีความสูงต่ำกว่าแบตเตอรี่ จะเป็น ตัวป้องกันอันดับแรก
ส่วนด้านหน้ารถของ MG 4
มีการออกแบบให้ใช้พื้นที่ส่วนด้านหน้าน้อยที่สุด ประกอบ ตัวหม้อน้ำ แอร์ คอมเพรสเซอร์ ตัวหักเลี้ยว เมื่อทำการวัดระยะคานด้านหน้าจนถึงกลางล้อจะมีความยาวประมาณ 42 ซม. ต่างจากแพลตฟอร์มอื่นที่จะมีความยาวประมาณ 60 – 70 ซม.
ส่วนช่องเดิมที่เป็นส่วนของท่อไอเสียจะถูกยุบตัวขึ้นไป เพราะไม่ต้องใส่หม้อพัก และเมื่อวัดความสูงของแบตเตอรี่ที่เห็นจะอยู่ที่ 9 ซม.
สุดท้ายจะมาวัดระยะจากฐานล้อหน้าและฐานล้อหลัง จะเห็นได้ว่ามีความยาวถึง 269 ซม. มากกว่าของเดิมที่มีความยาวอยู่ที่ 257 ซม.
สรุปสำหรับวันนี้ที่เราได้มาดูแพลตฟอร์มตัวใหม่ NEBULA PLATFORM ของ MG ถือได้ว่าเป็นการพลิกโฉมรถยนต์ไฟฟ้าของจีนนับจากนี้ ที่จะนำไปต่อยอดกับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นอื่น ที่อาจจะเป็น SUV ขับหน้า หรือขับ 4 ล้อ ใส่มิเตอร์ 2 ตัวหน้าหลัง ที่กล่าวถึงไม่ได้ คือ ข้อดีเรื่องสมรรถนะการออกแบบช่วงล่างที่ไม่มีขีดจำกัด การออกแบบ จุดศูนย์ถ่วงแบตเตอรี่ที่อยู่ตรงกลาง มีการกระจายน้ำหนัก ส่งผลให้การขับขี่นุ่มนวลมากขึ้น ในส่วนของมอเตอร์ที่อยู่ด้านหลังที่สามารถลดการสูญเสียของการถ่ายเท ประกอบกับเรื่องความปลอดภัยมีการออกแบบส่วนด้านหน้าที่เพิ่มระยะด้านใน เพื่อลดความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุที่ต่อห้องโดยสาร
เพื่อนๆคิดเห็นยังไงบ้างครับ สำหรับเนื้อหาวันนี้ ที่มีความน่าสนใจทั้งเรื่องวิวัฒนาการของรถยนต์ตั้งแต่รถยนต์น้ำมันจนถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่เราได้ทำการเจาะลึกกันเลยทีเดียว รวมทั้งพระเอกของงานอย่างแพลตฟอร์มใหม่ ที่จะ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแน่นอน
และแน่อนถ้าคุณสนใจดูเนื้อหาฉบับเต็มสามารถดูได้จากลิงค์ด้านล่าง หหรือมีสงสัยสามารถคอมเมนต์ได้ที่ช่อง Youtube ของเรา และหากคุณชอบคลิปนี้ ขอฝากกดไลค์ กดแชร์ กดกด Subscribe เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ