วันนี้มาเข้าสู่รายการดราม่า EV เป็นรายการที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาการใช้รถยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งมาหาทางออกร่วมกัน โดยวันนี้เราจะพูดถึงเรื่องของปัญหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นทั้งหมด ร่วมกับคุณ Air Sri EV channel
ปัญหาความกังวลอันดับแรก คือ เรื่องจำนวนของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีจำนวนที่มากพอหรือไม่ เพราะว่าในปี 2565 ทางภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมด้านยานยนต์ไฟฟ้าหรือมาตรการ EV ที่จูงใจให้คนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และมียอดจองรถยนต์ไฟฟ้าร่วมประมาณ 25,000 คัน
และเราจะเห็นว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนที่มากขึ้นโดยเฉพาะรถ BYD ATTO 3 เพราะมีการส่งมอบแล้วมากกว่า 5,000 คัน ร่วมทั้งในอนาคต คนมีความต้องการอยากจะใช้รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่สูงขึ้น
ทางคุณแอร์ได้พูดถึงพฤติกรรมการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า แบ่งเป็นสัดส่วนตามภาพ
จะเห็นได้ว่าผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าสัดส่วนใหญ่ที่ 80% จะนำรถกลับมาชาร์จที่บ้าน อีก 15% จะเป็นการชาร์จตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานที่ทำงาน, Community Mall และ Shopping malls เป็นต้น ที่เป็นสถานที่คนต้องใช้เวลา และสัดส่วนที่เหลือ 5% จะเป็นการใช้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะมีคนใช้บริการเป็นจำนวนมากอย่างมี นัยสำคัญ ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่คนมีการออกเดินทางท่องเที่ยว
ผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
สำหรับคนที่ใช้รถยนต์แบบเติมน้ำมันจะคุ้นเคยกับบริษัทสถานีบริการน้ำมัน อาทิ ปตท. และ เชลล์ ที่มีการทำเรื่องของจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
รวมทั้งมีผู้เล่นจากทั้ง 3 การไฟฟ้า เข้ามาพัฒนาเรื่องของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
มีส่วนของบริษัทเอกชน เช่น on-ion และค่ายรถ เช่น MG และ GMW (Great Wall Motor)
และจำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีจำนวนที่มากขึ้นจากปี 2564 (2021) โดยจะดูจากจำนวน 3 ค่ายหลัก ที่คนใช้รถยนต์ไฟฟ้านิยมไปใช้บริการ คือ PEA VOLTA, PTT EV Station PluZ และ EleX by EGAT มีจำนวนที่ มากขึ้น
ซึ่งทั้ง 3 ค่าย มีการกระจายของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่ แต่ก็ยังมีจุดที่ยังไปไม่ถึง อาทิ เมืองย่อย เส้นทางหลัก เส้นทางรอง และในปี 2566 ทางผู้ให้บริการมีการคุยกันของแต่ละหน่วยงานเรื่องของ การ Roaming ที่จะต้องมีการแชร์ Location และสถานะระหว่างกัน
ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะเข้าไปชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ ปตท. พบว่ามีผู้ใช้บริการจนเต็ม เราก็สามารถเข้าแอปพลิเคชัน EV Station PluZ เห็นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ EleX by EGAT และ PEA VOLTA ในปัจจุบันถ้าเข้าแอปพลิเคชั่น PEA VOLTA ก็จะเห็นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ PEA VOLTA , PTT EV Station PluZ และ EleX by EGAT เช่นเดียวกัน
เรื่องจำนวนของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบันมีการเติบโตที่มากขึ้น แต่ไม่เท่ากับการเติบโตของยอด การใช้รถยนต์ไฟฟ้า
จากรูปจะแสดงค่าการเติบโตของจำนวนหัวชาร์จแต่ละค่ายผู้ให้บริการ ในเดือน ก.ย. 2565 มีจำนวนหัวชาร์จแบบ DC CCS ทั้งหมด 942 หัว เทียบกับยอดจำนวนหัวชาร์จ DC ในเดือน พ.ค. 2564 มีทั้งหมด 771 หัว มีอัตราการเติบโตมากขึ้น 22%
ส่วนการเติบโตของจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า
ปี 2564 รถยนต์ไฟฟ้าประเภทกลุ่มรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่จดทะเบียนมีจำนวน 3,994 คัน
และในปี 2565 มีจำนวน 13,551 คัน มีอัตราการเติบโตสูงถึง 339% หรือประมาณ 3 เท่า ในขณะที่จำนวนหัวชาร์จมีอัตราการเติบโตประมาณ 20 – 30%
ปัญหาเรื่องของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ปัญหาภายนอกของกลุ่มผู้ใช้รถ EV
คนที่ไม่ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามาจอดในช่องจอดจุดชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้า
2. ปัญหาภายในกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า
มีคนนำรถยนต์ไฟฟ้ามาชาร์จที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แต่พอชาร์จเสร็จแล้วก็จอดแช่ทิ้งไว้ หรือบางคนจอดรถยนต์ไฟฟ้าทิ้งไว้ โดยไม่ได้ชาร์จไฟฟ้าจริง ทำให้เวลาคนที่ต้องการนำรถมาชาร์จไฟฟ้าต่อ เมื่อเข้าแอปพริเคชันของผู้ให้บริการ จะยังคงแสดงค่าว่าสามารถนำรถมาชาร์จไฟฟ้าได้ ทั้งที่ยังคงมีรถที่จอดขวางอยู่ ซึ่งพฤติกรรม เหล่านี้จะทำให้คนอื่นเสียโอกาสไป
ปัญหาเรื่องของสายชาร์จที่สั้นไปรถจอดไม่ถึง ทำให้คนนำรถมาชาร์จต้องจอดในลักษณะที่ไม่ตรงตามช่องจอด หรือต้องไปจอดในที่ของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแทน ซึ่งปัญหานี้มีข้อจำกัดเรื่องของการเปลี่ยนสายในตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งเสร็จแล้ว เนื่องจากมีการประกัน แต่สำหรับจุดที่มีการวางแผนจะลงตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของช่องจอดให้สอดคล้องกับความยาวของสายชาร์จ หรือเพิ่มความยาวของสายชาร์จได้
วิธีการแก้ไข
ทางคุณแอร์ได้พูดถึงในภาพรวมว่า ทางผู้ให้บริการทุกค่ายมีการทำสัญลักษณ์บ่งบอกเอาไว้ เพราะเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องใหม่ที่อาจจะมีคนที่ไม่รู้
การแก้ไขปัญหาเรื่องของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาจอดที่ช่องของรถยนต์ไฟฟ้า มีการนำตัว Blocker เข้ามาใช้ ที่มีความสามารถดีเทคกับตัวรถยนต์ไฟฟ้า และจะต้องมี กลไกเรื่องของการเก็บเงิน เข้ามาช่วยด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ คนที่นำรถยนต์ไฟฟ้ามาชาร์จจนเต็มแต่ไม่ได้มีการนำรถออกไปจากช่อง
ยกตัวอย่าง on-ion ที่ห้างเซ็นทรัล ที่มีการใช้ Blocker
เมื่อคนจะนำรถยนต์ไฟฟ้ามาชาร์จที่จุดนี้ เมื่อเข้าแอปพลิเคชันจะกดเข้าดูรายละเอียดของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เรื่องของค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการเก็บเป็นรายชั่วโมงหรือตามปริมาณไฟฟ้าที่ชาร์จ และมีค่า Overtime Free ที่เพิ่มขึ้นมา (ส่วนของรูปแบบการคิดเงินจะเป็นไปตามกลยุทธ์ของทางค่ายผู้ให้บริการ) แล้วกดเลือกใช้บริการ ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการ และ กด Confirm & Open Blocker เพื่อให้ตัว Blocker พับลงไป ก็จะสามารถนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาทำการชาร์จได้
ดังนั้้นการแก้ปัญหาคนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้านำรถมาจอดและไม่มีการชาร์จ สามารถป้องกันได้ด้วยเรื่องของ ค่า Parking Free
ในฝั่งอเมริกา มีคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla เป็นจำนวนมาก และตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla มีขนาด 250 kW ทำให้การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใช้เวลาน้อย แต่ถ้าเมื่อทำการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จแล้ว แต่ไม่มีการเอา หัวชาร์จออกจะถูกคิดค่าปรับเป็นนาที
และถ้าเป็นรถน้ำมันมาจอดในจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะมีการยกรถยนต์ดังกล่าวออกไป เพราะถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน
ส่วนเรื่องสุดท้าย ทางคุณเวลได้คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีรถจดทะเบียนที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้ามียอดจองเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 50,000 คัน จึงสอบถามว่าในมุมของผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีการวางแผน การเก็บข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเพิ่มสถานีชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไร
ทางคุณแอร์ชี้แจ้งว่าในปี 2566 แต่ละค่ายมีแผนการเพิ่มตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะเน้นจุดที่ยังไม่มีเพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เช่น มีการเพิ่มจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EleX by EGAT ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่เรื่องการเพิ่มตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่มีการลงทุนในระยะสั้น เนื่องจากว่าการใช้บริการตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีไม่ถึง 50%
สำหรับจุดที่มีคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ทางคุณแอร์ตอบว่าเป็นไปได้ที่จะเพิ่มตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีขนาด 120 kW แต่จากขนาดหม้อแปลง 250 kVA สามารถลงตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มได้ 1 ตู้ จะเป็นขนาด 50 – 60 kW มีค่ารวมทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 180 – 200 kW
หากคุณต้องการดูเนื้อหา สามารถดูที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย และถ้าชอบฝากกดไลค์ กดแชร์กันด้วยนะครับ