วันนี้จะเป็นเรื่องของการใช้รถไฟฟ้าที่จะส่งผลให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นเดือนละเท่าไหร่ และมีวิธีการประหยัดแบบไหนบ้างเอาเป็นว่าเดี๋ยวมาเล่ารายละเอียดกัน
ในปัจจุบันคนหันมานิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อหลีกหนีปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และมีปัจจัยสนับสนุนการ ส่งเสริมจากรัฐบาล คือ แพ๊กเกจสนับสนุน EV
แน่นอนว่าเมื่อมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้นจะทำให้ค่าไฟฟ้าในบ้านเพิ่มขึ้น จึงต้องพูดถึงแนวทางที่ช่วยเรื่องการประหยัดไฟในบ้านและในอนาคตจะมีเทคโนโลยีการประหยัดไฟรูปแบบไหน
ทางแบงค์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการเรียนเชิญคุณเวลมาถ่ายทอดเรื่องของการมาของรถยนต์ไฟฟ้ากับวิธีการและเทคโนโลยีเรื่องของการประหยัดพลังงาน
คุณเวลบอกว่าถ้าใช้รถยนต์ไฟฟ้าแน่นอนว่าค่าไฟฟ้าในบ้านจะเพิ่มขึ้น จนมีคนตั้งคำถามเปรียบเทียบว่าปกติแล้วถ้าใช้รถยนต์ปกติมีค่าเติมน้ำมันประมาณเดือนละ 5,000 บาท แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน ต้นทุนค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเท่าไร
จากการลองคำนวณสมมติว่าบ้านอยู่ในพื้นที่ชานเมืองและต้องเดินทางมาทำงานในเมือง ต้องขับรถไปทำงาน วันละ 150 กิโลเมตร ตีระยะทางขาไปและขากลับ เท่ากับ 75 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายของ MG ZS EV อยู่ที่ประมาณ 0.13 kWh/km ราคาอยู่ที่กิโลเมตรละ 50 สตางค์
ในช่วง 1 วัน จะใช้ไฟฟ้าที่ 19.5 หน่วย ค่าไฟหน่วยละ 4 บาท เท่ากับว่ามีค่าไฟฟ้าต่อวันที่ 78 บาท รวมเป็น 1 เดือน ที่มีวันทำงาน 23 วัน ยอดรวมค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,794 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าไฟฟ้าอย่างอื่นที่ใช้ในบ้าน
ดังนั้นแม้ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนยังต่ำกว่าการใช้น้ำมันต่อค่าเดินทางระยะทางอยู่ที่ 1.50 บาท
การใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถประหยัดต้นทุนได้กว่า 3 เท่า อยู่ที่ 50 สตางค์ต่อกิโลเมตร แต่ในเมื่อเราเลือกที่จะใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็จะกระทบเรื่องของค่าไฟแทน จึงต้องมาพูดถึงแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งได้มีการรวบรวมของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ มีแนวทางดังนี้
แนวทางแรก
1. ถ้าต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้เปลี่ยนมิเตอร์มาใช้แบบ TOU
มิเตอร์ TOU จะมีการเก็บค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1. ช่วงเวลา On Peak ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 22.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาทำงานตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ คิดราคาหน่วยละ 5.79 บาท
2. ช่วงเวลา Off Peak จะเป็นช่วงตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 9.00 น. เฉพาะวันจันทร์ – วันศุกร์ รวมทั้งช่วงเวลา ทั้งวันของวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งจะมีการใช้ไฟจำนวนน้อย คิดราคาหน่วยละ 2.3 บาท
การขอใช้มิเตอร์ TOU สามารถทำเรื่องขอได้ที่เขตการไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายประมาณ 6,640 บาท เพื่อให้คุ้มทุนผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องมีพฤติกรรมทำงานในตอนกลางวัน และกลับมาชาร์จไฟในตอนกลางคืน เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ากลับจากที่ทำงานมาเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน
ทั้งนี้เทคโนโลยีของเครื่องชาร์จไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ สามารถตั้งเวลาในการชาร์จได้ จะทำการตั้งเวลาเริ่มชาร์จที่เวลาสี่ทุ่มหนึ่งนาที และสั่งหยุดการชาร์จก่อนเวลาเก้าโมง ซึ่งค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จจะอยู่ช่วงของ Off Peak ที่ 2.30 บาท จะถูกกว่าการคิดค่าไฟฟ้าปกติที่หน่วยละ 4 บาท
2. การติดโซล่าเซลล์
การติดโซล่าเซลล์ เนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า แต่ก็ต้องเป็นพฤติกรรมการที่ต้องใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันจำนวนมาก เช่น เปิดแอร์ทั้งวัน เพราะว่าการติดโซล่าเซลล์ที่ต่อร่วมกับระบบไฟในบ้าน จะเป็นการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเองมากกว่าใช้ไฟหลวง
แต่ถ้าต้องการชาร์จไฟตอนกลางคืนก็มีวิธี จากทาง Tesla ที่นอกจากจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาจำหน่าย มีการทำ Energy Solution (การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ)
ประกอบด้วย Solar Roof, Power Wall และ Home charger
เริ่มต้นติดโซล่าเซลล์ Power Wall หรือแบตเตอรี่เก็บไฟ แล้วนำไฟที่ชาร์จกับแบตเตอรี่มาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเวลากลางคืน
สรุปขั้นตอนคือผลิตไฟฟ้าตอนกลางวัน มาเก็บในแบตเตอรี่ เมื่อถึงเวลากลางคืนจะนำไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่ออกมาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ถ้าไม่มีที่เก็บไฟฟ้าส่วนไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้จะทิ้งลงดิน
ดังนั้นวิธีที่คนส่วนใหญ่ใช้ คือ เปลี่ยนมาใช้มิเตอร์แบบเป็น TOU (Time of Use tariff) หรือเพิ่มการติดโซล่าเซลล์ที่มีแบตเตอรี่เพื่อการเก็บไฟฟ้า ช่วงเวลาที่เก็บไฟฟ้า คือ 4 ชั่วโมง คือประมาณช่วงเวลาหกโมงถึงสี่ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีกิจกรรม เช่น ทานอาหาร ดูทีวี หรืออาจเผลอชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และหลังจากสี่ทุ่มจะใช้ไฟฟ้าในอัตราค่าไฟฟ้า Off Peak แทน นี้คือ Solution ในการประหยัดพลังงาน
ในอนาคตสามารถนำไฟฟ้ามาขาย คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดโซล่าเซลล์สามารถนำไฟฟ้ามาขายได้
ที่ยุโรปเมื่อนำรถยนต์ไฟฟ้ามาเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า จะมองว่ารถยนต์ไฟฟ้า คือ แบตเตอรี่ที่สามารถดึงไฟฟ้ามาขายได้
สร้างมุมมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถสร้างรายได้ ช่วงที่จอดรถยนต์ไฟฟ้าอยู่กับที่ก็สามารถดึงไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้ามาขายกับการไฟฟ้าช่วงที่ไฟฟ้าขาด
ช่วงที่ราคาแพงจะนำไฟฟ้ามาขาย ส่วนช่วงราคาถูกก็นำไฟฟ้ามาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแทน
จะสามารถทำได้ต้องมีเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้
ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าเป็นแบตเตอรี่ก้อนใหญ่ที่นำไฟฟ้าออกมาไปใช้ทำอย่างอื่น ตัว V ย่อมาจาก Vehicle
1. V2H (Vehicle to home) คือ นำไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้าส่งไปในบ้าน
2. V2G (Vehicle to Grid) คือ นำไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้าส่งไปสู่ระบบไฟสาธารณะ
3. V2L (Vehicle-to-load ) คือ ดึงไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้าไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
วันนี้ในไทยมีรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV ที่มีระบบ V2L
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเที่ยวแบบนอกสถานที่ เช่น แคมป์ปิ้ง เมื่อเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าก็สามารถนำไฟฟ้าต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและถ้าต้องการเปิดแอร์ก็สามารถสตาร์ทรถไว้ได้ เนื่องจากไม่มีไอเสีย ซึ่งเป็นที่นิยมในต่างประเทศ
รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV มีกำลังสูงถึง 2,200 วัตต์ มีค่าเท่ากับตู้ไมโครเวฟเครื่องนึง
แนวทางที่ 2
กรณีที่ไม่ต้องการใช้ Power Wall ที่มีราคาสูง สามารถนำรถยนต์ไฟฟ้ามาเป็นไฟสำรองในบ้าน ในช่วงไฟดับสามารถดึงไฟฟ้าจากรถมาใช้ในบ้านได้
ส่วนที่สิงคโปร์จะเป็นตู้ชาร์จสาธารณะ
โดยส่งไฟฟ้ามาเก็บไว้ที่รถยนต์ไฟฟ้าและขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าหรือ V2G (Vehicle to Grid)
และนี้คือเรื่องราวการมาถึงของรถยนต์ไฟฟ้า และเเนวทางการประหยัดค่าไฟฟ้า รวมทั้งมุมมองของรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สามารถขายไฟฟ้าได้ถือได้นี้คือแหล่งพลังงานอีกหนึ่งอย่าง ถ้าหากคุณต้องการดูการบรรยายฉบับเต็มเพิ่มเติมสามารถคลิกที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย