จากเรื่องราวที่จีน อเมริกาขึ้นแท่นผู้นำรถ EV แต่ญี่ปุ่นและยุโรปกับสวนทางมุ่งเน้นไฮโดรเจนเกิดอะไรกันขึ้นเรื่องราวจะเป็นยังไง วันนี้ทิศทางของเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคตและพลังงานสะอาดมันจะเป็นอย่างไรต่อไป
ขอเกริ่นว่าในตอนนี้ในไทยมีค่ายรถยนต์จากประเทศจีน โดยเฉพาะรถพลังงานไฟฟ้าต่างก็รุกเข้ามาทำตลาดอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นค่าย BYD ที่เป็นอันดับ 2 ของโลกที่เพิ่งจะมาเปิดตัว
จนมีคนเข้าแถวรอจองรถร่วม 12 ชั่วโมง อย่างที่เห็นจากข่าว ที่ไม่เคยเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ในประเทศไทยมาก่อน แสเดงถึงความต้องการในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นก็บอกว่าในปลายปีนี้จะเปิดตัวรถยนต์พลังงานใหม่ตัวพลังงานไฮโดรเจน คือ Toyota Mirai
ทำให้เกิดประเด็นขึ้นมาว่าไทยจะเลือกทางไฟฟ้าหรือไฮโดรเจน ถ้าอยากให้เข้าใจกลไกต้องมาคุยภาพรวมว่า วันนี้ทิศทางยานยนต์ในอนาคตของโลกเนี่ยมันแบ่งขั้วไปทางไหน
วันนี้ทางคุณเวล เชิญ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน จาก THE STANDARD MORNING WEALTH ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญที่เข้าใจด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของโลก มาพูดคุยถึงประเด็นนี้กัน
ซึ่งทางคุณวิทย์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ การขั้วอำนาจเศรษฐกิจ ทางคุณวิทย์ ได้เล่าว่า ช่วงที่ทำงานกับ BMW ที่รถยนต์เป็นสันดาปภายในอยู่ ทาง BMW เกิดคำถามเกี่ยวกับทิศทางของพลังงานสะอาด ในตอนนั้นเพิ่งออกตัวรถ BMW i4
ด้านของ BMW มีการถามถึงพลังงานมีไฮโดรเจนเหลว บางค่ายก็มีฟิวส์เซลล์ บางค่ายก็มี EV
ในเรื่องภูมิทัศน์เรื่องของพลังงานสะอาดในตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงมาก วันนี้ก็เลยอยากจะลองมาคุยถึง มุมมองที่ได้คุยกับบุคคลต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของ มิติเทคโนโลยี และมิติของทางด้านของภูมิทัศน์โลก การแข่งขันของค่ายรถยนต์อุตสาหกรรมแต่ละประเทศจะมีมุมมองอย่างไร เพราะว่าพลังงานของโลกมีผลในการกุมอำนาจของโลกอุตสาหกรรมนั้น ๆ
ทางคุณวิทย์บอกว่า จีนจะมีบทบาทอย่างแน่นอน และในแต่ละภูมิภาคจะมีบทบาทภูมิภาคที่ไม่เท่ากัน แต่สำหรับภูมิภาคเราทางจีนมีความตั้งใจที่จะมาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ ซึ่งเขาไม่ได้เป็นผู้นำเข้าอย่างเดียว แต่ต้องการตั้งโรงงานที่ไทยจากรื่องของกำลังการผลิต และต้องการให้ไทยเป็นฐานในการส่งออก
ซึ่งไทยเป็นเศรษฐกิจที่เล็กและเปิด มีความหมายว่าสัดส่วน GDP ของไทยมีครึ่งเปอร์เซ็นต์ของ GDP โลก โดยค่า GDPไทย อยูที่ประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ค่า GDP โลก มีค่าประมาณ 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางค่ายรถยนต์แทบจะทุกภูมิภาคทั่วโลกจึงสนใจมาที่ไทย
ทาง ญี่ปุ่น เองก็เป็นเจ้าใหญ่ ยอดขายของเขามีจำนวนมากและอยู่ที่ไทยมา 50 – 60 ปี ถึงแม้ว่าจะมีค่ายใหม่ ๆเข้ามาที่เป็น EV แต่ต้องยอมรับต้องดูทิศทางของทางญี่ปุ่นด้วยเหมือนกันเพราะอยู่ไทยมาอย่างยาวนาน
ในประทศอื่น ๆ อย่างนอร์เวย์ ซึ่งมีสัดส่วนของยานยนต์ไฟฟ้าเยอะที่สุดในโลก เนื่องจากไม่มีอุตสาหกรรม ยานยนต์เป็นของตัวเอง ทำให้สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานแบบไหนก็ได้ โดยใช้เวลาไม่กี่ปี เพราะมีการกำหนดอายุรถ เมื่อรถเดิมหมดอายุก็เปลี่ยนได้รถเจนเนอเรชั่นใหใม่
แต่ที่ไทยมีฐานเดิมอยู่และการจะหลีกเลี่ยง ICE ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นในช่วงของเปลี่ยนผ่านจะมีความท้าทาย ขณะเดียวกันทางญี่ปุ่นก็มี ICE ต่อ แต่ทาง ญี่ปุ่น ก็ได้เกริ่นกับทางไทยว่าถ้าจะมีพลังงานทางเลือกรูปแบบอื่นที่อาจจะไม่ใช่ EV เราจะมาร่วมกันพิจารณาไหม จะมีหลาย ๆ ระบบในเวลาเดียวกัน
เพราะฉะนั้นทางไทยต้องยอมรับแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงการแบ่งขั้วระหว่างญี่ปุ่นผู้ผลิตฐานเดิมที่จะทำทั้งไฮบริดและพลังงานไฮโดรเจนที่จะเปิดในช่วงปลายปี ส่วนทางจีนจะเป็นทาง EV
เรื่องการแบ่งขั้วเกิดทั้งที่ไทยและต่างประเทศ เพราะวันนี้ทางประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาจะใช้รถยนต์ไฟฟ้า สวนทางกับประเทศญี่ปุ่นและยุโรปที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน
ซึ่งถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ ในช่วงประมาณ 30 ปีนี้ เป็นช่วงที่จะมีการเปลี่ยนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือค่อนข้างใหญ่ ยุคก่อนจะเป็นโทรศัพท์ที่ใช้โทรเข้าโทรออกแล้วมี SMS ถัดมาจะเป็นโลกของสมาร์ทโฟนซึ่งมี 2 แพลตฟอร์มคือ iOS และAndroid ซึ่งก่อนที่จะเป็นยุคของสมาร์ทโฟน
ต้องผ่านการทดลองว่าแพลตฟอร์มไหนจะดีที่สุด หลังจากยุคของโทรศัพท์รุ่นเดิม คือ NOKIA ก็เกิดคลื่นลูกใหม่อย่าง Blackberry ทำให้คนมองว่านี้จะเป็นแพลตฟอร์มใหม่แทนที่ NOKIA
ทาง Nokia แก้เกมการใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian
แต่ในปัจจุบันจะเป็นยุคของสมารืทโฟนที่เกิดทั้งค่าย iOS และ Andiod ทำให้คนต้องตัดสินใจหาทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเอง ถ้าคนไม่ชอบระบบ iOS ที่เป็นระบบปิด ก็สามารถเลือกไปใช้ระบบ Android แทนได้
จึงเป็นเคสที่เกี่ยวข้องกับ Generation ใหม่ของยานยนต์ ซึ่งอาจเป็นแค่ช่วงเปลี่ยนผ่านยังไม่ถึงตอนจบ เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ตลอด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีหลายแพลตฟอร์ม
จีนมีความคิดที่ว่าการเติบโตของจีนต้องมากกว่าคนอื่น อย่างการพัฒนาเศรษฐกิจแบงค์จีน ยังมีลักษณะที่ คงเดิมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพราะทางจีนมาจากระบบแบงค์ปั๊บและสกิปข้ามขั้นไป 2 Generation เป็นการโอนแบบ alipay
ดังนั้นถ้าจีนต้องการจะเป็นยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์ จึงเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV แล้วเนื่องด้วยเศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่ที่สามารถผลักดันให้ทั่วโลกมาใช้แพลตฟอร์ม EV
สหรัฐอเมริกา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากทาง Elon Musk
ต้องยอมรับว่ากระแสยานยนต์ไฮบริดไฟฟ้าของอเมริกาเกิดขึ้นจาก Toyota Prius
จากนั้นคำว่ายานยนต์อเมริกันกับยานยนต์ไฟฟ้าจะได้ยินคำว่า Tesla เยอะที่สุด จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเทศ มีเสียงค่อนข้างใหญ่และสามารถเดินหน้าได้เร็ว
จากที่คุณเวลได้สอบถามว่าแล้วญี่ปุ่นและยุโรปที่ยังมีอิทธิพลสูงมากในวงการยานยนต์โลกจะมีบทบาทอย่างไร จากที่เขามีฐานการผลิตเดิม และในตอนนี้มีความสนใจเรื่องพลังงานสะอาดใช้ไฮโดรเจน
ทางคุณวิทย์บอกว่าทางยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีความใส่ใจเรื่องของโลกร้อนมายาวนานแล้ว
ตามมาตรฐานยูโร1234 ก่อนที่ใช้ยูโรวันใช้เวลาเป็น 10 ปีกว่าที่จะมีเทคโนโลยี แล้วพัฒนามาเรื่อย ๆ จนได้ผลลัพธ์ คือ ต้องใช้รถยนต์ปัจจุบันจำนวนถึง 40 คัน ถึงจะผลิตไอเสียได้เท่ากับรถยานยนต์ในสมัยทศวรรษ 70 จำนวน 1 คัน หมายความว่าสามารถลดไอเสียได้มหาศาล แต่จำนวนการลดก็ยังไม่เพียงพอ
ทาง BMW จึงคิดถึงเรื่องไฮโดรเจนเหลว แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนที่มีไม่มากพอที่จะทำในเชิงพาณิชย์ จึงต้องพัฒนาต่อไป และ ณ เวลานั้นต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีไฟฟ้า การใช้แบตเตอรี่ทั้งคันที่ยังไม่มีวิวัฒนาการสูงเท่าปัจจุบัน เช่น ชาร์จ 1 ครั้ง สามารถวิ่งได้ 90 กิโลเมตร
แต่เมื่อโลกมีการพัฒนา EV ขึ้นมาได้และจากการที่ยุโรปเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับต้น ๆ ของโลก มีหลายปรเทศ เช่นเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และประเทศอื่น ๆ ที่เมีสัดส่วนจำนวนมากในโลก ยังไม่กล้าตัดสินใจที่จะพัฒนามาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV แบบ 100% ซึ่งต้องดูว่า Transition Period จะเดินหน้าเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ในระหว่างที่ทำการวิจัยศึกษาว่าไฮโดนเจนสามารถเกิดแบบอื่นได้ไหม ไฮโดรเจนจะเป็นไฮโดรเจนแบบฟิวเซลล์ หรือจะเป็นไฮโดรเจนแบบที่สันดานไฮโดรเจนในห้องเครื่องเหมือนสมัยก่อน
โปรเจคคลีนเอเนอจี้ของ BMW คือเติมเป็นไฮโดรเจนเหลวและมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องของ EV ได้ทำการศึกษาในหลายแพลตฟอร์มอยู่ในเวลานี้ เพียงแต่ทุกคนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเราต้องไปทางไฟฟ้า แต่ด้วยพื้นฐานที่มีอยู่การเปลี่ยนแบบ 100% อย่างรวดเร็วไม่ไช่เรื่องง่าย
ในช่วงเวลานี้จะเห็นความพร้อมของการใช้พลังงาน 2 ขั้ว คือทางฝั่งอเมริกาและจีนที่มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ในส่วนญี่ปุ่นและยุโรปอยู่ในช่วงกำลังเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจะเลือกพลังงานใด
ส่วนที่ไทยเรียกได้ว่าตอบรับทุกแพลตฟอร์ม ทางญี่ปุ่นมีการเปิดตัว Toyota Mirai และนำสื่อไปดู Corolla Cross ที่ใช้ไฮโดรเจน และยังมีรถยนต์ไฟฟ้า Toyata bZ4X เตรียมมาจำหน่าย และในปลายปีมีหลายค่ายที่จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า แล้วทางไทยจะมีแนวโน้มไปทิศทางใด
ส่วนที่ 1 เรื่องการลงทุนทางธุรกิจไม่ว่าจะมีการนำเข้ามาเป็น CBU หรือ CKD เมื่อการกำหนดราคา ทางค่ายจะตรวจสอบถึงความต้องการซื้อและความหนาแน่นของของประชากรที่มีต่อแพลตฟอร์มมีจำนวนมากหรือไม่
ส่วนที่ 2 ไทยไม่มียานยนต์เป็นของชาติตัวเอง และรับทุกแพลตฟอร์มของทุกค่ายตามนโยบาย
แต่มีประเด็นที่สำคัญ คือ เรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะเป็นผู้เลือกความต้องการการเติมพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการเป็นชาร์จเติมไฮโดรเจนสายฟิวส์เซลล์หรือเติมน้ำมัน ทางประเทศไทยมีความเป็นไปได้ในการเลือกว่าจะมีหลายๆแพลตฟอร์มในเวลาเดียวกันหรือเลือกแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด
ที่โลกตื่นตัวกับยานยนต์ไฟฟ้าในช่วงปี 2008 มีสาเหตุมาจากเรื่องของราคาพลังงาน ในปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ประมาณ 90 ดอลลาร์ ต่อ 1 บาร์เรล แต่ในช่วงก่อนหน้านั้นราคาน้ำมันอยู่ที่ 147 ดอลลาร์ 1 บาร์เรล สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
ยกตัวอย่างรถ Range Rover ที่เติมน้ำมัน 1 ถัง ค่าน้ำมันอยู่ที่ราคา 5,000 บาท และถ้าราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะขยับสูงขึ้นอีก โดยที่พึ่งน้ำมันจากตะวันออกกลางรัสเซีย จึงเป็นสาเหตุทำให้โลกต้องหันมาศึกษาเรื่อง EV อย่างจริงจัง เพื่อหาหนทางอื่นแทนที่จะไปพึ่งพาน้ำมันที่เป็นปิโตรเลียม
แต่ปรากฏว่า 1 ปีถัดมา ราคาน้ำมันต่ำลงเหลือ 80 ดอลลาร์ ต่อ 1 บาร์เรล
ลดความกังวลเรื่องของการขาดแคลนพลังงานต่ำลงไป ดังนั้นการมองภูมิทัศน์เรื่องยานยนต์เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนอีกเรื่องเป็นพลังงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป หรือในอนาคตอาจมีประเด็น อย่างทางยุโรปบอกว่า พลังงานไฟฟ้าที่จะใช้ในการเติมรถยนต์จะนำมาจากแหล่งไหน เพราะว่ารัสเซียจะไม่ปล่อยท่อก๊าซ Nord Stream ออกมา เมื่อก๊าซธรรมชาติมีน้อยจะไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอ ก็ต้องหันมาใช้พลังงานอื่น ๆ
ส่วนฝรั่งเศสมีพลังงาน 70% มาจากนิวเคลียร์ ในขณะที่เยอรมันมีพลังงานไม่ถึง 14% และปฏิเสธการใช้พลังงานจากนิวเคลียร์ ถ้าไม่สามารถแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางพลังงานเรื่องก๊าซผ่านท่อ Nord Stream ได้ ทางเยอรมันก็จะเกิดปัญหา เพราะบอกว่าจะมีรถไฟฟ้า 1 ล้านคันในประเทศ
ในขณะที่จีนมีทั้งพลังงานไฟฟ้า นิวเคลียร์ และพลังงานเขื่อน เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงแต่ะละประเทศมีไม่เหมือนกัน สมมุติว่าญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้าและเป็นประเภท Net Importer พลังงาน คือผลิตพลังงานด้วยตัวเองได้น้อยมาก แล้วเมื่อ 11 ปีที่แล้ว เกิดเหตุการณ์สึนามิ ทำให้เขาต้องปิดเตาปฏิกรณ์ปรมาณูไป แถมประสบกับปัจจัยลบจากราคาพลังงานที่สูง ทำให้เกิดความชั่งใจว่าพลังงานไฟฟ้าคือคำตอบของเขาไหม เพราะฉะนั้นการมองภูมิทัศน์โลกมองรถยนต์และแหล่งพลังานรถยนต์
พูดได้เลยว่าในแต่ละประเทศมีความมั่นคงด้านพลังงานแตกต่างกัน อย่างเช่นทางตะวันออกกลางจะไม่สนใจด้าน EV
แต่ทางซาอุดิอาระเบีย มกุฎราชกุมารมุฮัมมัด บิน ซัลมาน
กล่าวว่าภายในปี 2030 หรือ 18 ปีข้างหน้า มีนโยบายลดรายได้พลังงานคือปิโตรเลียมไม่แน่ใจจาก 80 เป็น 50
อย่างที่กล่าวมาภูมิทัศน์ของยานยนต์กับพลังงานต้องพิจารณาคู่กันและแต่ละบริบทอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่ใช่ช่วงของการก้าวกระโดด จาก ICE เป็น EV ในช่วงเวลาอันสั้น แต่จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ใช้พลังงานทั้งจากฟอสซิล พลังงานไฟฟ้า และไฮโดรเจนที่กำลังศึกษา
ดังนั้นในช่วงแบบนี้ในฐานะคนที่ใช้รถยนต์ ก็ต้องดูพฤติกรรมการใช้พลังงานของแต่ละบุคคล ความเหมาะสมของเทคโนโลยี และข้อดีในกรณีที่มีหลายแพลตฟอร์มได้
เรื่องพลังงานของไทยมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้า 50,000 เมกะวัตต์
ทางคุณวิทย์ได้พูดคุยกับ คุณสมโภชน์ อาหุนัย ในฐานะผู้ก่อตั้งพลังงานบริสุทธิ์ ท่านได้ยกตัวอย่างที่ไทยอุณหภูมิร้อนที่สุดในช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. มีการเปิดใช้แอร์มากที่สุด ซึ่งใช้พลังงานสูงสุดอยู่ที่ 30,000 เมกะวัตต์
มีส่วนที่เหลืออยู่ประมาณ 42% ถึงแม้ว่าจะมีการส่งพลังงานไฟฟ้ามาที่รถ EV จำนวน 700,000 คัน ไทยก็มีพลังงานไฟฟ้าใช้เพียงพอแน่นอน
แต่มีเรื่องที่สำคัญ คือ ต้นทางของพลังงานไฟฟ้าที่มาจากก๊าซธรรมชาติประมาณกว่า 60% ซึ่งนำเข้าจากเมียนมาร์ประมาณ อีก 40% พลังงานไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติที่อ่าวไทย ตอนนี้พลังงานสะอาดมีประมาณ 16% ซึ่งยังไม่รวมโซลาร์เซลล์ของบ้านและโรงงาน เชื่อว่าไทยมีพลังงานสะอาด คือ พลังงานน้ำ มากที่สุด รวมกับพลังงานอื่น ๆ อีกประมาณ 20% และที่เหลือจะมีพลังงานดีเซล พลังงานลม การเผาน้ำมันดิบ และถ่านหิน จากแหล่งที่มาของพลังงาน สามารถบ่งบอกได้ว่าไทยมีความมั่นคงทางพลังงานอยู่ในระดับดี ทั้งในเรื่องของพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติน้ำมันที่ไทยมีการนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ค้าประจำก็คือ UAE และมีความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบียที่เข้มแข็ง
ทางผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ถ้าเกิดชาติมหาอำนาจอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา มีนโยบายกีดกันให้ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยไม่ซื้อก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ แล้วประเทศไทยพึ่งพาพลังงานจากเมียนมาร์ประมาณ 36% ถ้าจะต้องใช้ชีวิตปกติต้องดับไฟฟ้า 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่ากังวลต่อการดำเนินชีวิต
ต้องมีการพิจารณาในภาพรวมเรื่องแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในฐานะที่ไทยเป็นเศรษฐกิจเล็กและการเปิดที่รับการลงทุน
จากเหตุการณ์ที่กล่าวเบื้องต้นที่ราคาน้ำมันลดลงคงเหลือประมาณ 80 ดอลลาร์ ต่อ 1 บาร์เรล ถัดมาหลังจาก 1 ปี ที่ราคาน้ำมันสูงอยู่ที่ 147 บาร์เรล ต่อ 1 บาร์เรล เกิดจากการที่สหรัฐอเมริกามีเทคโนโลยีในการขุดเจาะน้ำมันในชั้นหินดินดาน เรียกว่า Fracking Technology
ได้น้ำมัน เรียกว่า น้ำมันในร่องหิน หรือที่เรียกว่า เชลออยล์ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ ต่อ 1 บาร์เรล ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลง และทำให้แนวโน้มการเติบโตของ EV ต้องชะลอตัว
เพราะฉะนั้นสามารถสรุปได้ว่าการมองด้านภูมิทัศน์มีหลายเหตุการณ์มีการเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอน แต่ในไทยมีข้อโชคดีที่มีคู่ค้าหลายค่ายและมีความมั่นคงทางพลังงานจากหลายแหล่ง สามารถป้องกันกับปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
ขอสรุปที่ได้มาคุยกัน ไทยทั้งในมุมมองเทคโนโลยียานยนต์ ความพร้อมรถยนต์ไฟฟ้า และในมุมของพลังงาน ทางไทยต้องมีปรับตัวอย่างไร ทางคุณวิทย์ได้เน้นย้ำเรื่องพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์เป็นรูปแบบใด ถ้าเราใช้รถยนต์ในพื้นที่ในเมืองมีแท่นชาร์จในบ้าน ถึงแม้ว่าค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้น แต่เนื่องจากไทยมีพลังงานไฟฟ้าเหลือ 42% มีแนวโน้มเดินหน้าไปด้าน EV แต่ถ้ามีการใช้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ข้ามพื้นที่จะต้องใช้พลังงาน ICE
ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่ เรียกว่า รถยนต์เพื่อการพาณิชย์แบบใส่ถ่าน หรือใส่แบตเตอรี่ เป็นแบบ BEV ที่สามารถชาร์จเสร็จภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถตอบโจทย์ได้ หรือในกรณีบ้านอยู่คอนโดที่สายส่งไม่พอไม่สามารถชาร์จได้ เพราะฉะนั้นเราต้องดูพฤติกรรมของเราเป็นหลัก
รวมทั้งปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบ เช่น สงครามรัสเซียยูเครนไม่มีแนวโน้มสิ้นสุด ทำให้ราคาน้ำมันมากกว่า 100 ดอลลาร์ ต่อ 1 บาร์เรล ก็มองหาตัวเลือกอื่นทดแทน เช่น พลังงานไฮโดรเจนฟิวส์เซลล์ หรือในอุตสาหกรรมเองก็อาจมีทดลองปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องเริ่มมาจากมุมมองพฤติกรรมของตัวเราก่อน เพราะว่าความมั่นคงทางพลังงานไทย ถือว่าอยู่ในระดับสามารถเดินหน้าใช้พลังงานได้โดยไร้ความกังวล ส่วนในด้านอุตสาหกรรมเนื่องจากไทยเป็นเศรษฐกิจเล็กและเปิดที่รับทุกแพลตฟอร์ม ต้องดูในเรื่องของ Supply Chain ซึ่งทางเราจะต้องมองในแง่บวก
สุดท้ายเลยประเทศไทยเป็นที่ดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนทุกแพลตฟอร์ม โดยสนใจไทยเป็นแพลตฟอร์มที่มีความสามารถในการส่งออก ขึ้นอยู่ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ในส่วนไหน แยกกับตัวระบบรถ ระบบส่งกำลัง และ ในตัวรถยนต์มีส่วนประกอบ เช่น ช่วงล่าง ยางล้อ และส่วนอื่น ๆ ที่ Supplier มีเชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเติบโต
ส่วนสนับสนุนที่สำคัญอีกอย่าง คือ เรื่องของสื่อที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวงการรถยนต์ที่มีตลอดเวลา ในหลายทุกช่องทาง และทางค่ายรถยนต์ก็ยินดีที่เสนอข้อมูล ที่ช่วยในการประมวลข้อมูลจากหลายแหล่งในคราวเดียว
วันนี้เป็นการคุยกัน เพื่อแชร์ความมรู้มุมมองของการเมืองโลก เศรษฐกิจพลังงานและอุตสาหกรรมนะทำให้เห็นภาพรวมหลาย ๆ อย่าง ถึงแม้ว่าไทยจะเปิดรับทุกแพลตฟอร์ม แต่สุดท้ายการพฤติกรรมของแต่ละคนจะเป็นคนเลือกอยู่ดี
หากคุณสนใจเนื้อหาการพูดคุยเรื่องนี้ฉบับเต็มสามารถดูได้จากคลิปด้านล่างนี้เลย