2022 ไทยเข้าสู่ยุครถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ!! ประเดิมยอดปีแรก 3 หมื่นคันจาก Tesla, BYD, MG, Neta, Ora

            ปีนี้ยอดรถ EV ของไทยเป็นอันดับในอาเซียน ประเดิมปีแรกกว่า 30,000 คัน พร้อมหนุนมาตรการดันสู่          การเป็น Hub EV

           ในปี 2022 ถือว่าเป็นปีปฐมบทหรือจุดเริ่มต้นของประเทศไทย  ในการก้าวเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ  จากที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นดีทรอยต์ของอาเซียน คือ ผลิตรถยนต์น้ำมันไฮบริดที่เป็นรถพวงมาลัยขวา      ส่งออกไปหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

           ความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศที่มีจำนวนน้อย เพราะที่ผ่านมาราคารถยนต์ไฟฟ้ามีราคาแพงกว่ารถยนต์น้ำมัน ส่งผลให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้ามีแค่หลักพันไม่ถึง 10,000 คัน แต่เมื่อเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้า ทางประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการออกนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือมาตรการส่งเสริมด้าน EV ทั้งในเรื่องของลดภาษีนำเข้า ลดภาษีสรรพสามิต รวมทั้งมีเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ซึ่งประสบความสำเร็จในการกระตุ้นให้คนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น

           หากมองในฝั่งค่ายรถมีค่ายรถที่เข้าร่วมมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 12 ค่ายเป็นค่ายรถยนต์ทั้งหมด 9 ค่าย และมอเตอร์ไซด์ 3 ค่าย ก่อให้เกิดการลงทุนโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ  ร่วมกว่า 8 หมื่นล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตจากการลงทุนครั้งนี้คาดการณ์ว่าอยู่ที่ 838,775 คัน  ส่วนในฝั่งผู้ใช้งานเมื่อค่ายรถเข้าร่วมมาตรการราคารถถูกลงร่วม 200,000 กว่าบาท ทำให้คนหันมาสนใจใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

           เป็นที่มามีคนจองรถยนต์ไฟฟ้าในปีนี้ยอดสะสมกว่า 3 หมื่นคัน สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน ซึ่งดึงดูดให้ค่ายรถหลาย ๆ ค่าย อย่าง Tesla มียอดจองถึง 4,000 คัน ค่าย BYD มียอดจองร่วมหมื่นคัน จากการที่ประเทศไทยออกมาตรการออกมาสนับสนุนสนับสนุนการตัดสินใจการสั่งซื้อทำได้ง่ายขึ้นและจำนวนมาก ดึงดูดค่ายรถที่น่าสนใจเข้ามาเปิดตัวในบ้านเรา อย่าง Teslaก็มาเปิดตัวเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา

           นอกจากนี้ทาง Hyundai จากเดิมที่แผนไปสร้างโรงงานผลิตที่อินโดนีเซีย พอมาเห็นยอดความต้องการของบ้านเราก็อยากเข้าร่วมมาตรการ แถมยังมีแผนจะสร้างโรงประกอบในประเทศไทย

           วันแรกที่มีนโยบายส่งเสริมด้านยานยนต์ไฟฟ้าหรือมาตรการ EV มีรายละเอียดเรื่องสนับสนุนด้านภาษี          ลดภาษีนำเข้าสูงสุด 40% ถ้าเป็นค่ายจีนก็สามารถใช้สิทธิ์ FTA ภาษีนำเข้า 0% ได้ ส่วนภาษีสรรพสามิตลดจาก 8% เหลือ 2% และมีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลอีก 150,000 บาท สำหรับรถราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทและต้องมีแบตเตอรี่เกิน 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าน้อยกว่าจะได้เงินสนับสนุนเพียงแค่ 70,000 บาท

           ค่ายที่เข้าร่วมมาตรการส่งเสริมด้าน EV มี 2 ค่ายแรก คือ MG และ GWM (Great Wall Motor) ในช่วงงานมอเตอร์โชว์เดือนเมษายนที่ผ่านมา

ค่าย MG

           ขอเริ่มจากค่าย MG มาด้วยรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV คันสีฟ้าที่เป็น SUV ครอสโอเวอร์

           แล้วก็มาเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า MG ที่มีราคาถูก คือ รถ MG EP ทรง Wagon

           และที่มาเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ปีนี้ก็คือ New MG ZS EV ที่ดีไซด์ดูใหม่ขึ้น

           แล้วต่อมามาเป็นรุ่น MG 4 ที่เป็นรถเก๋ง 5 ประตู ที่เปิดตัวในช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2565

           ปีนี้มียอดจองสะสมที่จะส่งมอบได้ทั้งหมด 4,000 คันสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 100% แบ่งเป็น New MG EP EV 100 % จำนวน 2,000 คัน ซึ่งมีเสียงตอบรับมาก เนื่องจากได้รับนโยบายสนับสนุนส่วนลด 2 แสนบาท ราคาเดิมของรถอยู่ที่ 900,000 กว่าบาท ทำให้เหลือราคา 700,000 กว่า ๆ  สำหรับ MG ZS EV มียอดจองพร้อมส่งมอบอยู่ที่ 1,600 คัน   ส่วน MG4 ปีนี้จะส่งมอบทั้งหมด 400 คัน แล้วก็ยังมียอดจองค้างสะสมร่วมประมาณ 2-3 พันคัน           ซึ่งจะทยอยส่งในช่วงต้นปี 2023

           ในเรื่องของการให้บริการนั้นซึ่งวันนี้ทาง MG มีศูนย์บริการทั้งหมด 160 แห่ง พร้อมกับตู้ชาร์จที่ทาง MG        บอกว่าจะลงทุน สร้างความมั่นใจให้หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากับตัว MG ซุปเปอร์ชาร์จขนาด 50 กิโลวัตต์ ซึ่งติดตั้งทั้งหมด 129 แห่งทั่วประเทศทั้งในและนอกศูนย์ MG

           ภาคของการผลิต พอได้รับเข้าร่วมมาตรการส่งเสริมแล้ว ก็จะต้องมาผลิตใช้คืน ซึ่งทาง MG ได้มีการลงทุนในเรื่องของไลน์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่กว่า 2,500 ล้านบาท โดยที่จะเริ่มผลิตในช่วงกลางปี 2566 เป็นต้นไป โดยที่โรงงานของ MG แซกมอเตอร์ซีพีตั้งอยู่ที่ชลบุรี

ค่ายที่ 2 GWM (Great Wall Motor)

           ทาง GWM (Great Wall Motor) ที่เซ็นเข้าร่วมมาตรการ EV ช่วงเวลาไล่เลี่ยกับ MG ซึ่งทาง GWM เข้ามาในไทยร่วม 3 ปี โดยการซื้อต่อโรงงานจากทาง GM หรือเ จเนอร์รัลมอเตอร์ ซึ่งอยู่ที่เหมราชจังหวัดระยอง

            มีการเปิดตัวรถไฮบริดภายใต้แบรนด์ HAVAL ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นแบรน์ ORA รถยนต์ไฟฟ้าที่เปิดตัว คือ ORA Good Cat เป็นที่ชื่นชอบของผู้หญิง

           ส่วนปีนี้ก็คือ ORA Good Cat GT ที่มอเตอร์ไฟฟ้าแรงขึ้น

           ในปีนี้ได้ส่งมอบ ORA Good Cat ไปแล้ว 3,752 คัน ถึงเดือนพฤศจิกายนนี้ และในเดือนธันวาคมนี้ จะส่งอีกประมาณ 4 – 500 คัน คาดว่า ORA Good Cat จะส่งมอบในปีนี้ประมาณ 4,252 คัน ก่อนหน้านี้ ORA Good Cat          มีการปิดจองในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพราะเมื่อมีมาตรการส่งเสริม EV ขึ้นมา ความต้องการสั่งซื้อมีจำนวนมากจนปิดจองไป แต่ในวันนี้มีการเปิดจองอีก 2,000 สิทธิ์ แล้วจะส่งมอบรถในปีหน้า

           ส่วน ORA Good Cat GT หลังจากเปิดตัวมียอดส่งมอบในปีนี้ประมาณ 900 คัน ถือว่าเยอะพอสมควร

           เรื่องของศูนย์บริการทาง GWM ชี้แจงว่า มี Direct Store นี้มีทั้งหมด 8 แห่ง มี Partner Store ที่เป็นดีเลอร์อีก 60 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 68 แห่ง  มีการลงทุนจุดชาร์จทั้งหมด 8 แห่ง หนึ่งแห่งที่พร้อมใช้งานอยู่ที่สยามสแควร์ และอีก 7 แห่งตาม Partner Store ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณมกราคมนี้

           ส่วนเรื่องการผลิตทาง GWM ได้สร้างโรงงานผลิตและก็คือโรงงานของ GM มีการเปลี่ยนไลน์การผลิต มีแผนลงทุน 22,600 ล้านบาท ลงทุนไปแล้ว 12,000 ล้านบาท เหลืออีก 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะลงทุนต่อยอดเรื่องของไลน์ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ORA ในประเทศไทย

ค่ายที่ 3 คือ TOYOTA

          TOYOTA ที่เข้าร่วมมาตรการ EV กับเจ้าตัว bZ4X ที่เป็นรถ SUV Crossover เป็นรถขนาด D segment

            ตอนแรกที่เปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์เมษายนเป็นพวงมาลัยฝั่งซ้าย  ซึ่งเปิดดูข้างในตัวรถไม่ได้ มาเปิดตัวอีกทีในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาที่เป็นพวงมาลัยฝั่งขวา ราคาที่เข้าร่วมมาตรการส่งเสริมอยู่ที่ 1,836,000 บาท      นำเข้ามาจำนวน 40 คัน จำหน่ายหมดไปเรียบร้อยแล้ว 

           และปีนี้เป็นปีครบรอบ 60 ปีของโตโยต้าประเทศไทย ซึ่งทางนายอากิโอะ โตโยดะ ประธานใหญ่ของ Toyota มาเยือนประเทศไทย ซึ่งก็บอกทิศทางของ Toyota พร้อมกับมีเซอร์ไพรส์ คือการเปิดตัว รถกระบะ IMV O ที่เป็น Revo เอาตัวแพลตฟอร์มของ Revo มาทำเป็นไฟฟ้า

          โดยจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะไฟฟ้าในการส่งออก ส่วนตัว bZ4X เขาบอกว่ามีแผนจะไปลงทุนทำที่อินโดนีเซีย ส่วนในไทยคาดว่าจะเป็นโรงงานประกอบ

          เรื่องศูนย์บริการทาง Toyota มีจำนวนมาก ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้

ค่ายที่ 4 คือ EV PRIMUS

            EV PRIMUS มากับรถไฟฟ้าซิตี้คาร์ ชื่อว่า VOLT เปิดตัวมาทั้งหมด 2 รุ่น คือรุ่น 2 ประตูและก็ 4 ประตู

           โดยที่รุ่น 2 ประตู ราคาอยู่ที่มา 325,000 บาท รวมมาตรการส่งเสริมอีก 70,000 บาท หักค่ารถเรียบร้อยแล้ว ส่วนรุ่น 4 ประตู ราคาอยู่ที่ 385,000 บาท

            ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ มียอดจองร่วม 1,000 คัน ตั้งแต่เปิดตัว  ตัวรถจะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับขับในเมืองและไม่ใช้ความเร็วมาก ซึ่งในปีนี้ส่งมอบไปแล้ว 300 คันกว่าๆ ยังเหลือประมาณ 700 คัน

            ศูนย์บริการของทาง EV PRIMUS มีศูนย์ทั้งหมด 29 แห่งทั่วประเทศ มีแผนที่จะลงทุนเรื่องการผลิตลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท โดยที่โรงงานจะทำอยู่ที่ฉะเชิงเทรา เกตเวย์

ค่ายที่ 5 BYD

           BYD เป็นที่รู้จักในฐานะค่ายยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลกกับเทคโนโลยีขึ้นชื่อ ก็คือ Blade Battery ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ปลอดภัย หลังจากที่ BYD เข้ามาในประเทศไทย ทำให้หลายคนให้ความสนใจเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีหลากหลายเซกเมนต์ ที่หน้าตา ดีไซน์ และเทคโนโลยีที่ดี ราคาที่เข้าถึงง่าย ซึ่งมียอดขายในจีนเป็นอันดับหนึ่ง เพราะว่ามีรถหลากหลายเซกเมนต์ การเปิดตัวรถรุ่นแรกในไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็คือรุ่น ATTO 3

           ที่เป็น SUV Cross Over ขนาด B segment หรือ B-SUV โดยที่มีให้เลือก 2 รุ่นคือรุ่น Excellent ซึ่งวิ่งได้ 480 กิโลเมตร และรุ่น Standard วิ่งได้ประมาณ 400 กิโลเมตร ปีนี้มีโควต้าให้จำนวน 5,000 คัน ส่งมอบไปแล้ว 4,500 คัน มียอดจองสะสมทั้งหมดตั้งแต่เปิดมาก็คือ 10,000 คัน เพราะฉะนั้นยังเหลืออีกประมาณ 5,000 คัน ที่ต้องส่งมอบในปีหน้า จะทยอยส่งมอบในช่วงกุมภาพันธ์ให้แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมานี้ปิดรับจองไว้เรียบร้อยแล้ว

           ส่วนเรื่องของการลงทุนในเรื่องของการทำศูนย์บริการ BYD มีศูนย์ที่ให้บริการเปิดแล้ว Active แล้วมี 28 ศูนย์บริการทั่วประเทศ เรื่องของการลงทุนการผลิตมีข่าวว่า BYD มาลงทุนซื้อที่ของนิคมดับบลิวเอชเอที่จังหวัดระยอง จำนวนเงินกว่า 17,900 ล้านบาท โดยตั้งเป้าจะเป็นโรงงานที่ผลิตรถไฟฟ้า BYD พวงมาลัยฝั่งขวา สามารถผลิตได้ 1.5 แสนคันต่อปี รวมทั้งจะดันไทยเป็นHub EV ส่งออกรถไฟฟ้าพวงมาลัยฝั่งขวาทั้งหมด

ค่ายที่ 6 คือ NETA

           ค่ายที่ 6 คือ NETA ที่เป็นค่ายน้องใหม่ ที่เปิดตัว NETA V ในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมาเดือนเมษายน ภายใต้      ดีเลอร์คนแรกก็คือ BRG 

          ส่วน NETA U Pro ก็เอามาเปิดในบูธของ ปตทอรุณพัฒน์ 

           ในปีนี้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาส่งมอบได้แค่ 70 คัน เพราะติดปัญหาเรื่องของ MOU แต่ในช่วงก่อนหน้านี้มีการทำ MOU กับทางบริษัท บางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี จำกัด

             ซึ่งเป็นโรงงานรับจ้างผลิตให้กับทาง NETA ทำให้สามารถส่งมอบรถได้ 1,0000 กว่าคัน โดยที่เริ่มส่งมอบรถในงาน Motor Expo เดือนธันวาคมที่ผ่านมา และจะส่งมอบให้ได้ตามเป้าปีนี้  ก็คือ 3,000 คัน ซึ่งใความเป็นจริง        ถ้าทาง NETA ไม่ติดเรื่อง MOU อาจจะเป็นดาวรุ่ง เพราะว่าราคาเข้าถึงง่ายอยู่ที่ 549,000 บาท แล้วจะปรับราคาขึ้นมาเป็น 599,000 บาท หลังจากปีหน้าเป็นต้นไป ก็ต้องมาลองดูว่าเขาปรับล็อตใหม่เมื่อไหร่ 

           ส่วนเรื่องของสาขาต้องบอกว่า NETA มีศูนย์บริการทั้งหมด 24 แห่งทั่วประเทศ โดยที่จะมีแผนในการทำโรงงานผลิตที่ร่วมกับบางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี มีการลงทุน 1,000 ล้านบาทในประเทศไทย โดยจะเริ่มปี 2566

ค่ายที่ 7 คือ Mercedes Benz

           เป็นค่ายรถยนต์สุดท้ายที่เข้าร่วมการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าหรือมาตรการ EV ในปีนี้ สำหรับ Mercedes Benz เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกก็คือ EQS 450 Plus ที่เปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ช่วงเมษายนที่ผ่านมา แล้วก็ได้มีการส่งมอบไปบางส่วนเรียบร้อยแล้ว  

           ส่วนรุ่นที่จะผลิตในประเทศไทยน่าจะเป็นรุ่น EQS 500 มีแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นสามารถวิ่งได้ไกลมากขึ้น 

           ก่อนหน้านี้ทางเบนซ์เกิดการลังเลว่าจะเข้าร่วมมาตรการดีหรือไม่ เป็นเพราะว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าราคาเกิน        2 ล้านบาท จะไม่ได้เงินสนับสนุน 150,000 บาท แต่จะได้การสนับสนุนทางด้านภาษี อาทิ ภาษีนำเข้า ลดภาษีนำเข้า      ลดภาษีสรรพสามิต ซึ่งต่อคันจะลดลงไป 700,000 – 800,000 บาทเท่านั้น แต่สุดท้ายทางเบนซ์ก็เข้าร่วมจนได้

           ทางเบนซ์ลงทุนโรงงานกว่า 4,000 ล้านบาท ในการทำไลน์ผลิตแบตเตอรี่แล้วก็ประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งไลน์แบตเตอรี่ก็เดิมเป็นไลน์แบตเตอรี่สำหรับปลั๊กอิน  สามารถเพิ่มขยายสเกลรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น                        ซึ่งโรงประกอบทำที่ธนบุรีประกอบยนต์เหมือนเดิม ถือได้ว่าเป็นข่าวดีที่ค่ายรถหรู Luxury ยัง Mercedes-benz เข้าร่วมมาตรการ EV ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

           ค่ายที่ 8 คือ Fomm และ ค่ายที่ 9 คือ Mine Mobility และยังมีค่ายอื่น ๆ ที่พร้อมรอเข้าร่วมไม่ว่าจะเป็น Honda ค่ายของปตท. FOXCONN หรือค่ายจีนอื่น ๆ ที่กำลังเข้ามาร่วมในอนาคต

            ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีค่ายรถมาเข้าร่วมในตลาดซึ่งเป็นคนละกลุ่ม คนละsegment ถ้าแบ่งตามราคาจากต่ำสุดไปสูงสุด มีการเรียงลำดับตามนี้

            1. VOLT ที่เป็น City Car EV ราคาประมาณ 3 แสนกว่า ๆ ไม่เกิน 5 แสนบาท

            2. NETA V ก็อยู่ประมาณ 5 แสนกลาง ๆ ไม่เกิน 6 แสนบาท

            3. กลุ่มราคาประมาณแสนปลายๆไม่เกิน 1 ล้านบาท ประกอบด้วย MG EP MG ZS EV ตัวเริ่มต้น Ora Good Cat ตัวเริ่มต้น Ora Good Cat ตัวกลาง ถ้าเป็น Ora Good Cat ตัวท็อป ราคาจะอยู่ประมาณเกือบล้าน

           4. BYD ที่ราคาอยู่ประมาณล้านต้น ๆ ซึ่งรวมมาตรการส่งเสริมจากรัฐบาลแล้ว

           5. Tesla ด้วยที่มาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการนำเข้ามาขายอยู่ ราคาอยู่ที่ประมาณล้านปลาย ๆ ถึง        2 ล้าน มียอดจอง 6,000 กว่าคัน

            6. Volvo ราคาอยู่ที่ 2 ล้านกว่าจะถึง 2 ล้านปลาย ๆ สำหรับรถ xc40 c40 ราคาอยู่ที่ 2,790,000 บาท

            7. BMW, Audi และ Mercedes Benz

           เห็นได้ว่าวันนี้ในประเทศไทยเริ่มมีค่ายรถไฟฟ้าหลากหลายกลุ่มหลากหลาย Segment มาทำตลาดที่ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อได้ ใครที่สนใจรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับวันนี้ถือว่ามีตัวเลือกสูงขึ้น และในอนาคตจะมีแนวโน้มมากขึ้นอีก

           สรุปสำหรับในปีนี้ 2022 หรือปี 2565 ต้องจารึกไว้ว่าประเทศไทยเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ และมีการประกาศใช้นโยบายส่งเสริมด้านยานยนต์ไฟฟ้าหรือมาตรการ EV เป็นปีแรก ที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ส่งผลให้มียอดจองกว่า 30,000 คันรวมทั้งราคารถไฟฟ้าที่ถูกลงมาใกล้เคียงกับรถน้ำมัน จากจำนวนความต้องการสูงขึ้น ทำให้ค่ายรถมีความสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น

           จากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในไทย และมีมาตรการที่สนับสนุนด้าน EV ทำให้ค่ายรถเข้าร่วมถึง 12 ค่าย มีการลงทุนทำโรงงานผลิตกว่า 80,000 ล้านบาทในประเทศไทย ถือว่าทางบอร์ด EV ประสบความสำเร็จเป็นไปด้วยดีในปีแรก และมีการจัดสรรงบ 4.3 หมื่นล้านบาท เพื่อสนับสนุนนโยบายนี้จนถึงปี 2568 ซึ่งปัจจุบันมีการสนับสนุนไปแล้วกว่า 1,800 คัน ตีเป็นงบที่ใช้ไปเท่ากับ 200 กว่าล้าน ยังเหลืออีกประมาณ 40,000 กว่าล้าน ก็เพียงพอถึงปี 2568 แน่นอน เพราะว่ายอดขายจะการเติบโตแบบก้าวกระโดด ในปี 2566 คาดว่าจะมียอดรถประมาณ 50,000 กว่าคัน การผลิตในประเทศปี 2568 ที่เริ่มผลิตจะต้องผลิตให้ได้ 225,000คัน/ปี สำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และจะต้องผลิตไปถึงปี 2030 คือปี 2573 ต้องผลิตให้ได้ 725,000 คัน ซึ่งเป็นเป้าหมายของประเทศไทยที่จะต้องผลิตได้ 30% ของยอดขายภายในปี 2030 ตามโรดแมป เพื่อผลักดันประเทศไทยไทยสู่การเป็น Hub EV ในอาเซียน

            หากคุณสนใจเนื้อหาฉบับเต็มสามารถดูได้จากคลิปด้านล่างนี้

Share

FOLLOW US


WELLDONE GUARANTEE

452 Pecthkraseam Rd. Laksong Bangkhae, Bangkok 10160
Email : welldone.guarantee@gmail.com Tel. 0889415944

Copyright © 2022 EV GUARANTEE All rights reserved.