ท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดเวลากลุ่มที่ได้รับผลเต็มๆก็คือกลุ่มขนส่ง ทำให้หลายๆสินค้ามีการปรับตัวขึ้นหันไปใช้รถบรรถทุกไฟฟ้าแต่ตอนนี้ก็ยังใช้เวลาชาร์จที่นานด้วยขนาดแบตที่ใหญ่
แต่ล่าสุดก็มีข่าวดีเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา
มีกลุ่มที่ไม่แสวงหาผลกำไร Ev-Movility ได้เปิดระบบ DC Ulitra Chargerแรงกว่าการชาร์จไฟทั่วไป ถึง 10 เท่า มีขนาดถึง 1,000 kW ขึ้นไป เพื่อรองรับกับรถบรรทุกไฟฟ้า หรือ โดยสารไฟฟ้าที่ถูกผลกระทบจากราคาน้ำมันอย่างตอนนี้รถบรรทุกในฝั่งยุโรปเองที่เป็นดีเซล ห้ามเข้าในบางพื้นที่ทำให้รถบรรทุกไฟฟ้าเติบโตอย่างแพร่หลายมากขึ้น
มาดูเจ้าตัวระบบ Megawatt Charging System กันบ้าง
ระบบนี้ถูกพัฒนามาจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน
1.ระยะเวลาการชาร์จ 2.กำลังการชาร์จ 3.ระบบควบคุมระหว่างตู้กับตัวรถ
ซึ่งระบบนี้ถูกพัฒนามาร่วม 4 ปีแล้ว ทำจริงจังตั้งแต่ปี 2018 แล้วและ ตอนนี้ก็ได้เอามาทดสอบใช้กับ รถบรรทุก Scania เป็นที่เรียบร้อยแล้วมันสามารถรับไฟ 1 Mega Wat ได้!รถบรรทุกที่ถูกเอาทดสอบเป็นรถบรรทุกของ Scania สัญชาติสวีเดนมีแบตเตอรี่ถึง 6 แพค มีความจุรวมมากถึง 624 kW หรือเทียบเท่ากับ Ora Goodcat 15 คันวิ่งได้ระยะทาง350km/Charge เท่านั้น เพราะใช้ไฟค่อนข้างเยอะในการบรรทุกมีความเร็วเฉลี่ยที่ 80กม./ชม. มอเตอร์ 2 ตัวขนาด 410 kW ขับเคลื่อนพร้อมบรรทุกน้ำหนักได้สูงสุดถึง 64 ตันสำหรับการชาร์จใช้เวลาไม่เกิน 90 นาทีเท่านั้น ขับรถ 45ชม. ต้องแวะพัก 45 นาที ตามกฎหมายซึ่งเจ้าตัว Scania รองรับการชาร์จ 375 kW = 270-300 กม.ต่อ 1การชาร์จ
ในส่วนค่ายรถบรรทุก Volvo Truck
ได้รับผลตอบรับดีมากๆ มียอดจองถึง 1,100 คัน จาก 20 ประเทศทั่วโลกมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด2 ไซส์
1.แบตเตอรี่แพค 4 ก้อน/ความจุ 375kW
2.แบตเตอรี่แพค 6 ก้อน/ความจุ 565kW ต่อ 1 การชาร์จ วิ่งได้ 300-450 กม. พร้อมมอเตอร์ 2 ตัวขนาด 340kW
ในส่วนการชาร์จ ตัวเล็กใช้เวลา 1ชม.
ถ้าตัวใหญ่ใช้เวลาชาร์จถึง 90 นาทีด้วยกัน
ดังนั้นถ้าใช้ระดับบ mega wat ในการชาร์จ จะลดเวลาได้ถึง1/3 เลยทีเดียว
มาดูในส่วนของระบบ mega wat Charging กันบ้าง
จากข้อมูลสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาได้ถึง 3,000 แอมป์
แรงดันอยู่ที่ 1,250 โวลต์ซึ่งถ้ารวมกำลังจะได้มากถึง 3.75 mega wat เลยทีเดียว แปลว่าจะชาร์จเร็วกว่าเดิมถึง10เท่าจากรถบรรทุกที่ต้องรอเป็น ชม.เหลือเพียงไม่ถึง 10 นาที
จะเห็นว่าการนำระบบ mega wat Charging มาใช้ยังมีการส่งผลเปลี่ยนแปลงหัวชาร์จให้รองรับระดับ Mega wat Charge ซึ่งหมายความว่าจะต้องเปลี่ยนมาตราฐานใหม่ สำหรับรถบรรทุกไฟฟ้า
ตกลงร่วมกันระหว่างค่ายรถ และ ผู้ให้บริการตู้ชาร์จว่าจะวางรูปแบบไหน จัดการกันยังไง ต้องวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งสถานีชาร์จ และ ค่ายรถบรรทุก ตอนนี้ก็อยู่ในช่วงศึกษา วิจัย และ ตกลงร่วมกัน และได้เริ่มออกทดสอบวิ่งที่เยอรมันเป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งหากทำสำเร็จจะขยายจากน้ำมันแบบเดิม ไปเป็นไฟฟ้าแบบ 100% ได้แน่นอน รวมถึงอุสาหกรรมอื่นๆด้วยเช่นกันซึ่งจะเริ่มใช้จริงในปี 2024 หรือ อีก 2 ปีข้างหน้า